โครงการค่ายเรียนรู้วิทยาศาสร์และเทคโนโลยีการเกษตร SMART AGGIE PROJECTS 2022 ภายใต้แนวคิด "Learn to Earn (เรียนรู้เพื่ออยู่รอด) นวัตกรรมจากโรงเรียนสู่การพัฒนาท้องถิ่น

โครงการค่ายเรียนรู้วิทยาศาสร์และเทคโนโลยีการเกษตร SMART AGGIE PROJECTS 2022 ภายใต้แนวคิด “Learn to Earn (เรียนรู้เพื่ออยู่รอด) นวัตกรรมจากโรงเรียนสู่การพัฒนาท้องถิ่น

 

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห;งชาติ (สวทช.) โดยสายงานพัฒนากําลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) โดยคณะเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิเอสซีจี เชิญชวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ในเขตภาคเหนือ เข้าร่วมกิจกรรมค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร SMART AGGIE PROJECTS 2022 ภายใต้แนวคิด “Learn to Earn (เรียนรู้เพื่ออยู่รอด): นวัตกรรมจากโรงเรียนสู่การพัฒนาการเกษตรท้องถิ่น” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตภาคเหนือที่มีความสนใจในปัญหาหรือประเด็นทางด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับบริบทโดยรอบของชุมชนท้องถิ่นตนเอง ได้มีโอกาสเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ ทักษะการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง และสร้างทัศนคติที่ดี มีความเชื่อมั่นต;อการนําวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้เพื่อยู่รอดในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาประเด็นใกล้ตัวให้ดียิ่งขึ้น โดยผ่านการเข้าร่วมค่ายเรียนรู้วิชาการ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่าง ชิงทุนเรียนฟรีตลอดหลักสูตร 4 ปี  และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย 

นักเรียนที่ผ่านเข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับการสนับสนุนและสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
1.     ได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการ จำนวน 4 วัน 3 คืน ณ มช.
2.     ได้จัดทำโครงงานนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรของชุมชน โดยอาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษคอยให้คำปรึกษาจาก คณะเกษตรศาสตร์ มช. และ สวทช. ภายในระยะเวลาที่กำหนด
3.     เงินสนับสนุนการจัดทำโครงงานฯ จากมูลนิธิเอสซีจี จำนวนไม่เกิน 10,000 บาทต่อโครงงานฯ
4.     ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้รับใบประกาศนียบัตร สามารถใช้เป็น Port Folio ในการยื่นสมัครเรียน TCAS1 ได้ สำหรับคณะเกษตรศาสตร์ มช. สามารถยื่นเพื่อพิจารณารับเข้าศึกษาต่อในระดับ ป.ตรี ได้เลย และยังสามารถใช้ยื่นประกอบเป็นหลักฐานกับสถาบันอื่นได้ด้วยตนเอง หากประสงค์ศึกษาที่อื่น
5.     ผู้ชนะเลิศ 3 คนจะได้รับทุนการศึกษาตลอดหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีจาก คณะเกษตรศาสตร์ มช.
นอกจากนี้ มูลนิธิเอสซีจี ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรม จะร่วมกับ สวทช. และ มช. พิจารณาส่งเสริมโครงงานฯ ที่มีศักยภาพต่อยอดสู่ชุมชน ด้วยงบสนับสนุนไม่เกินโครงงานฯ ละ 30,000 บาท รวมถึงทุนการศึกษาพิเศษ สำหรับนักเรียนที่มีความสนใจศึกษาต่อและกลับมาพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิดของตนเองอีกด้วย (ขึ้นอยู่กับศักยภาพของโครงงานฯ และนักเรียน โดยจะมีกรรมการตัดสินต่อไป)

สนใจส่งข้อเสนอโครงงานและหลักฐานหลักฐานแสดงผลการเรียนร ระหว่าง 31 สิงหาคม – 9 กันยายน 2565  ในรูปแบบไฟล์ .doc และ .pdf ทาง e-mail :eduagricmu@gmail.com และ srs@nstda.or.th

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิ๊ก Project Smart Aggie Camp 2022

หลักสูตรอบรม/บรรยาย

อบรมเชิงปฏิบัติการ
การพัฒนาทักษะและจิตวิญญาณเพื่อการพัฒนาผลงานนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน
ระหว่างวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2565
ณ โรงเรียนศรีเกษตรวิทยา วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม
อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

WorkshopSkillSpritforSDG

ใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

ขออภัยในความไม่สะดวก ขณะนี้มีผู้สมัครเต็มจำนวนแล้ว ข้อมูล ณ 23 มิถุนายน 2565

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาทักษะและจิตวิญญาณเพื่อการพัฒนาผลงานนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน
ระหว่างวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2565 
ณ  โรงเรียนศรีเกษตรวิทยา วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม
อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

หลักการและเหตุผล

การศึกษาและวิทยาศาสตร์เป็นกุญแจสำคัญในการเตรียมความพร้อมเยาวชนเพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เป็นหนึ่งเวทีการแข่งขันที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้และสนุกไปกับการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน เยาวชนได้มีโอกาสตระหนักและร่วมกันคิดเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน (Sustainable) พร้อมทั้งยังมีโอกาสได้แสดงศักยภาพ และพัฒนาความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ         

          เด็กและเยาวชนของชาติเป็นบุคคลที่มีบทบาทและส่วนสำคัญอย่างยิ่ง การสร้างนักวิจัย หรือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรากฐานและกำลังสำคัญในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งส่งเสริมและกระตุ้นให้เยาวชน ตลอดจนครูที่ปรึกษาโครงงานซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันเยาวชนหันมาสนใจและเพิ่มพูนทักษะทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ในระดับนักเรียน อีกทั้งสนับสนุนให้เยาวชนรู้จักใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ประสานกับความรู้และหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาผลงานหรือประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมฐานความรู้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้แผนกลยุทธ์ฉบับที่ 7 เน้นการส่งมอบผลงานเพื่อตอบแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) และแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (National AI Strategy Plan) โดย สวทช. จะสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างผลกระทบ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างเสริมคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศ โดยการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ถ่ายทอดไปสู่แผนงานที่ชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติ เกิดการบูรณาการร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรในการดำเนินงานกับหน่วยงานภายนอก และมหาวิทยาลัย ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการตอบโจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ไปตอบสนองต่อความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ และโจทย์ของประเทศ ให้บรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์ของ สวทช. ที่จะเป็น “องค์กรวิจัยชั้นนำที่สร้างองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ วทน. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

          ในการนี้ สวทช. โดยโครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามพระราชดำริฯ งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท ร่วมกับโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสต์รุ่นเยาว์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กำหนดจัดกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาทักษะและจิตวิญญาณเพื่อการพัฒนาผลงานสู่ความยั่งยืน (Skills and Spirituals for Project development towards Sustainable)” ระหว่างวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2565 ณ ณ  โรงเรียนศรีเกษตรวิทยา วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ให้แก่ครูที่ปรึกษาและเยาวชนรุ่นใหม่ให้เข้าใจแนวคิด ความสำคัญ รวมถึงประโยชน์ของการพัฒนาผลงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมไปสู่ความยั่งยืนของประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับโรงเรียน ตลอดจนเข้าใจหลักการ กระบวนการ และขั้นตอนของการพัฒนาผลงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน พร้อมทั้งลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม (Inequality) ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกภาคส่วนเติบโตไปด้วยกัน รวมถึงสร้างโอกาสการกระจายตัวและการขยายผลของนวัตกรรมไปสู่วงกว้างในระดับพื้นที่ เพื่อให้ครูที่ปรึกษาและเยาวชนในระดับพื้นที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ อาทิ ความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate Change) ทั้งปัญหาหมอกควัน มลพิษ ภัยแล้ง และขยะ โดยเริ่มจากการตระหนักและการสร้างจิตสำนึกในการรับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้น และรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงต่อยอดการสร้างนวัตกรรมให้ไปสู่ธุรกิจนวัตกรรม โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร ครูขุนทอง คล้ายทอง ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2564 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ครูชิตพงษ์ เหนือเกาะหวาย ครูรางวัลครูผู้มีนวัตกรรม จากกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายจิรพนธ์ เส็งหนองเเบน และนายฐิติพงศ์ หลานเดช นักเรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ผู้ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศในการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 24 (YSC 2022) ในการประกวดโครงงานระดับประเทศ และได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม (Earth and Environmental Sciences) และรางวัลชนะเลิศในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเป็นผลงานการวิจัยที่มีการบูรณาการวิทยาการจากหลากหลายสาขายอดเยี่ยม จาก Sigma Xi, The Scientific Research Honor Society จากการนำเสนอผลงานโครงงานการพัฒนานวัตกรรมซ่อมแซมแนวป่าชายเลนด้านในด้วยวัสดุปลูกลอยน้ำเลียนแบบลักษณะโครงสร้างของผลจิกทะเล ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ Regeneron ISEF 2022 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นวิทยากรหลักในกิจกรรมนี้  

วัตุถประสงค์

1. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิด และมุมมองใหม่ๆ ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ระหว่างครูและนักเรียน
2. เพื่อเสริมสร้างแนวทาง/แนวคิดการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ให้กับครูที่ปรึกษาการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และสามเณรนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ  
3. เพื่อกระตุ้นให้ครูที่ปรึกษา เยาวชนและสามเณรนักเรียนสนใจมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาผลงานวิทยาศาสตร์ฉละนวัตกรรมไปสู่ความยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย

ครูวิทยาศาสตร์ ครูคอมพิวเตอร์ นักเรียน และสามเณรนักเรียน รวม 110 คน จำแนกเป็น

  1. ครูวิทยาศาสตร์ ครูคอมพิวเตอร์ และสามเณรนักเรียนทั้งระดับม.ต้นและม.ปลาย อย่างน้อยระดับชั้นละ 3 รูป จากโรงเรียนพระปริยัติธรรม ฯ ในโครงการตามพระราชดำริ จังหวัดศรีสะเกษ
  2. ครูวิทยาศาสตร์ ครูคอมพิวเตอร์ และนักเรียนจากโรงเรียนในจังหวัดศรีษะเกษ โรงเรียนละไม่เกิน 5 คน

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ  

  1. เข้าใจความหมาย แนวคิด ความสำคัญ รวมถึงประโยชน์ของการพัฒนาผลงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมไปสู่ความยั่งยืนของประเทศ
  2. รับรู้ Sustainability Trends ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับโรงเรียน
  3. เข้าใจหลักการ กระบวนการ และขั้นตอนของการพัฒนาผลงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน
  4. เรียนรู้ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนในองค์กรประสบความสำเร็จ
  5. เรียนรู้วิธีการดำเนินงานของครูและเยาวชนต้นแบบในการพัฒนาผลงานและนวัตกรรมสู่ความอย่างยั่งยืน

ค่าใช้จ่าย

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน

วิธีการสมัคร

          กรอกใบสมัครผ่าน URL https://forms.gle/BZBV6wxSWorKVDCFA

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางสาวสุคนธา  อาวัชนาการ      
นักวิชาการอาวุโส
โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ
 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

นางสาวสุนทรี กริชชัยศักดิ์         
นักวิชาการ
โครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

กำหนดการวันที่ 28 มิกุนายน 2565

เวลา

เนื้อหา

08.00 – 08.30 น.

ลงทะเบียนวิทยากรและผู้เข้าอบรม

08.30 – 09.00 น.

พิธีเปิด

09.00 – 09.45 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “จากก้าวแรกสู่ความสำเร็จบนถนนโครงงานและนวัตกรรม”

09.45 – 10.00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10.00 – 11.00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการหาหัวข้อโครงงานใครว่ายาก”  

 11.00 – 12.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.00 – 14.30 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง จากปัญหาสู่โครงงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่ออนาคต

14.30 – 14.45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง จากปัญหาสู่โครงงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่ออนาคต (ต่อ)

 กำหนดการวันที่ 29 มิกุนายน 2565

เวลา

เนื้อหา

08.30 – 09.00 น.

ลงทะเบียนวิทยากรและผู้เข้าอบรม

09.00 – 09.45 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง วางแผนเส้นชัยด้วยข้อเสนอโครงงานวิจัยสุด Cool

09.45 – 10.00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10.00 – 11.00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง วางแผนเส้นชัยด้วยข้อเสนอโครงงานวิจัยสุด Cool (ต่อ)

11.00 – 12.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

 


หลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์

เรื่อง การสกัดคอนเทนต์สไตล์งานวิจัยเพื่อใช้ในการนำเสนอ
วันที่ 21 – 22 สิงหาคม 2564
เวลา 08.30 – 16.30 น.
สถานที่: กิจกรรมออนไลน์