รายงานข่าววิทย์ปริทัศน์ เดือนสิงหาคม 2563

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน สิงหาคม 2563

บทบาทของสถานเอกอัครราชทูตฯ ในช่วงการระบาด

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับผลกระทบ
จากไวรัสโควิด – 19 ทั้งการมอบถุงยังชีพแก่คนไทย และการให้กำลังใจ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่มีการห้ามอากาศยานพาณิชย์ลงจอดในประเทศไทย
สถานเอกอัครราชทูต ได้จัดเที่ยวบินพิเศษของสายการบินพาณิชย์ (Repatriation Flight) นำคนไทยกลับประเทศรวม 10 เที่ยวบิน

ความสัมพันธ์ไทย – แคนาดา ในด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

แคนาดาและไทยได้สร้างความร่วมมือโดยนำความรู้ และแนวปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา การแพทย์และสาธารณสุข
เทคโนโลยีและนวัตกรรม พลังงาน สิ่งแวดล้อม และการร่วมกันแก้ไขปัญหาและความท้าทายระหว่างประเทศ ซึ่งไทยและแคนาดามีความ
ร่วมมือร่วมกันอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน

ความร่วมมือด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ไทยและแคนาดาสร้างความร่วมมือหลายด้าน เช่น

-แคนาดาสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ของไทย และมีการสนับสนุนทุนวิจัยร่วมกับ TDRI อย่างต่อเนื่อง
เช่น ความร่วมมือภายใต้โครงการท้าทายแคนาดา (Grand Challenges Canada – GCC) ซึ่งรัฐบาลแคนาดาสนับสนุนงบประมาณทุนวิจัยและ
พัฒนานวัตกรรมด้านสาธารณสุข ซึ่งไทยได้นำรูปแบบดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโครงการท้าทายไทย (Grand Challenges Thailand)

-การแลกเปลี่ยนบุคลากรและการทำวิจัยร่วมทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึง ความร่วมมือระดับสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ เช่น โครงการ
ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัย McGill กับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

-การสนับสนุนให้เพิ่มการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษา รวมทั้ง นักเรียนทุนรัฐบาล โดยแคนาดามีข้อได้เปรียบด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
ค่าใช้จ่าไม่สูงมาก และมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

-ในปี 2560 แคนาดาได้หารือกับภาคเอกชนในจังหวัดภูเก็ต และเชียงใหม่ เกี่ยวกับการนำต้นแบบการบริหารจัดการรูปแบบ Smart City
มาประยุกต์ใช้ในไทย ซึ่งบริษัทกิจการด้านพลังงานสะอาดของไทยสนใจและอยู่ระหว่างการประสานงานกับภาคธุรกิจของแคนาดา

-ธันวาคม 2561 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา (The National Research
Council of Canada-NRC) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อมุ่ง
พัฒนาความร่วมมือในนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ และเกษตรกรรมสมัยใหม่

การพัฒนานวัตกรรมในแคนาดา

ความท้าทายที่กำหนดอนาคต

การเติบโตของเศรษฐกิจ แคนาดามีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าแคนาดาจะได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
และอัตราภาษีลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่ยังไม่เพียงพอทั้งนี้แคนาดมีคนในวัยทำงานน้อยลงทำให้การเติบโตในอนาคตมีแนวโน้มลดลง

เทคโนโลยีขั้นสูง เทคโนโลยีเปลี่ยนเป็นดิจิทัลและทำให้ชีวิตของคนเป็นรูปแบบอัตโนมัติ อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีอื่นๆ ช่วนให้การสื่อสาร
จากทุกมุมโลกเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องเปิดกว้างเพื่อนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นในอนาคต

ยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ยุคแห่งการแข่งขันการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ เพื่อเติบโตทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดแรงกดดัน
ในการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกที่เข้มข้นขึ้น

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ จากผลกระทบการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แคนาดาทุ่มเงินทุนจำนวนมาก
เพื่อผลักดันนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด

Innovation Agenda

รัฐบาลแคนาดาวางกลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมไว้ 4 ส่วน คือ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี มีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถ
ของทรัพยากรบุคคลในประเทศเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ

การพัฒนาทักษะ

Clean Tech การพัฒนาพลังงานสะอาด

การพัฒนาพลังงานสะอาด เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนานวัตกรรม Innovation and Skills Plan เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางด้าน
เทคโนโลยีสะอาด โดยกระจายในเขตมณฑลต่างๆ

 

เขตมณฑล British Columbia

Click Materials บริษัทผลิตกระจกสำหรับที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และตลาดยานยนต์ มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพของกระจก
ช่วยประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับอาคารอัจฉริยะ/บ้านอัจฉริยะที่สั่งงานด้วยเสียง

Cryologistics พัฒนาภาชนะหุ้มฉนวนที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวเป็นสารทำความเย็นตามธรรมชาติ สำหรับการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์
ทางชีวภาพที่ไวต่ออุณหภูมิ

เขตมณฑล Alberta

Quebe Technologies Inc. พัฒนาอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม AI เพื่อตรวจจับและลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกในโรงงานผลิตน้ำมันและก๊าซ

เขตมณฑล Nova Scotia

Salient Energy พัฒนาแบตเตอรี่พลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ โดยใช้ซิงค์ไอออน (Zinc-Ion) ซึ่งมีราคาถูก ปลอดภัย และมีอายุการใช้งาน
ยาวนานกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้กันในปัจจุบัน

เขตมณฑล Ontario

EcoPackers เปลี่ยนผลผลิตได้จากการเกษตรให้เป็นทางเลือกใหม่แทนการใช้พลาสติก โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชและย่อยสลายได้ 100%

Aspire Food Group สร้างฟาร์มจิ้งหรีด โดยใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ เช่นการใช้หุ่นยนต์ และการเก็บข้อมูลอัตโนมัติ และมุ่งไปที่ตลาดที่ใช้แมลง
เพื่อการใช้งานทางด้านชีวการแพทย์ เคมีเกษตร และด้านโภชนาการ

Pantonium โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในระบบขนส่งสาธารณะเส้นทางเดินรถ และตอบสนองแบบเรียลไทม์

เขตมณฑล Quebec

Anomera ผลิตนาโนคริสตัลเซลลูโลสคาร์บอกซิล (Carboxylated Cellulose Nanocrystals : CNC) ใช้ทดแทนพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลาย
นำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและเครื่องสำอาง ปูนซีเมนต์ ส่วนประกอบโพลิเมอร์ สารเคลือบ การเกษตร และการแพทย์

Effenco สำหรับใช้ในรถบรรทุกเชิงพาณิชย์ที่สามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้ถึง 10% และลดต้นทุนการทำนุบำรุงรักษายานพาหนะ
และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Sollum Technologies Inc. พัฒนาระบบแสงสว่างอัจฉริยะและสามารถปรับระดับแสงธรรมชาติ ช่วยลดการใช้พลังงานได้ 30%

National Research Council (NRC)

สภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา เป็นองค์กรวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของรัฐบาลแคนาดา มุ่งเน้นศึกษาและพัฒนา 5 สาขาหลัก ได้แก่ 1) เทคโนโลยีดิจิทัล
2) เทคโนโลยีอุบัติใหม่ 3) วิศวกรรม 4) ชีววิทยาศาสตร์ และ 5) การขนส่งและการผลิต

 

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-aug2020.pdf

 

ข่าว BCG จากแหล่งข่าวภายนอก

 

=> ข่าว BCG จากแหล่งข่าวภายนอก 2566
=> ข่าว BCG จากแหล่งข่าวภายนอก 2565
=> ข่าว BCG จากแหล่งข่าวภายนอก 2564

KM (knowledge management, การจัดการความรู้) ช่วยผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดความรู้ได้อย่างไร

APQC (American Productivity and Quality Center) ได้จัดวิธีการถ่ายทอดความรู้ของผู้เชี่ยวชาญออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. Structured elicitation ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปมีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์, การทำแผนที่ความรู้ หรือกิจกรรมที่คล้ายกันที่ถูกออกแบบเพื่อสกัดความรู้ในตัวผู้เชี่ยวชาญและบันทึกหรือถ่ายทอดโดยตรงไปยังผู้เชี่ยวชาญที่กำลังจะประสบความสำเร็จ
  2. Peer-based knowledge transfer ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ผ่านชุมชนนักปฏิบัติ (communities of practice), เครือข่ายทางสังคมของบริษัท, ที่ประชุมการอภิปราย, การแนะนำ หรือเครื่องมือ expertise location
  3. Learning sessions and events ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สอน, ผู้นำเสนอ, ผู้อำนวยความสะดวก และหรือผู้พัฒนาหลักสูตรสำหรับการอบรม, webinars, workshops หรือกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ
  4. Documentation ผู้เชี่ยวชาญสร้าง, ทบทวน หรือทำให้ถูกต้องเนื้อหาความรู้ตามความสนใจ

5 คำแนะนำเพื่อทำให้ผู้เชี่ยวชาญถ่ายทอดความรู้

1. เข้าใจอะไรที่กระตุ้นผู้เชี่ยวชาญและใช้ให้เป็นประโยชน์
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ต้องการให้หน่วยงานประสบผลสำเร็จ แต่จะถูกกระตุ้นมากกว่าถ้าเห็นประโยชน์ส่วนตัว คุยกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้เป็นวิธีแก้ปัญหา ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการถ่ายทอดความรู้เป็นโอกาสในการมีชื่อเสียง ไม่เพียงแต่เป็นงานที่ต้องทำให้สำเร็จ ผู้เชี่ยวชาญควรรู้สึกว่าสถานะกำลังเป็นที่รู้จักและการให้มีคุณค่า เชื่อมโยงการถ่ายทอดกับโอกาสทางอาชีพหรือโปรแกรมที่โดดเด่นเป็นหนึ่งหนทางในการยกระดับการมีส่วนร่วมใน KM

2. กำหนดให้แน่นอนว่าต้องการอะไรและใช้เวลาเท่าไร
ผู้เชี่ยวชาญยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้มากกว่าถ้าได้รับคำถามที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้จัดการของผู้เชี่ยวชาญหลีกเลี่ยงจากการมอบหมายที่ไม่ชัดเจน บางชนิดของการถ่ายทอดง่ายกว่าในการจำกัดจำนวน แต่ต้องแน่ใจว่าคิดผ่านรายละเอียดและสามารถให้การประมาณอย่างหยาบๆ ในเรื่องเวลา ตัวอย่างเช่น structured elicitation ทำงานดีที่สุดเป็นโครงการที่ถูกจำกัด ด้วยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุด, จำนวนชั่วโมงโดยประมาณที่ต้องการ และความคาดหวังสำหรับผู้เข้าร่วมแต่ละคน หน่วยงานพบว่าง่ายกว่าที่จะดึงดูดที่ปรึกษาเมื่อการให้คำปรึกษามี timelines ที่ชัดเจน (โดยปกติ 3-6 เดือน) ชุมชนมีแนวโน้มที่จะมีโครงสร้างน้อยกว่าเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม แต่ยังคงได้ประโยชน์จากตัวแปรที่ชัดเจน เช่น ความต้องการใช้ 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตอบคำถามสมาชิก

3. ทำให้การมีส่วนร่วมง่ายไม่ซับซ้อนเท่าที่จะเป็นไปได้
วางแผนขบวนการถ่ายทอดความรู้จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ และรู้วิธีปรับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจสร้างแม่แบบที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้เพื่อผู้เชี่ยวชาญใช้, มอบหมายผู้อำนวยความสะดวกให้ช่วยผู้เชี่ยวชาญสำรวจและทำความรู้ให้เป็นเอกสาร หรือสร้างระบบซึ่งส่งคำถามที่เฉพาะแก่ผู้เชี่ยวชาญดังนั้นไม่ต้องเข้าไปเจอกับ posts ที่ไม่น่าสนใจ

4. อย่าให้ผู้เชี่ยวชาญทำงานที่คนอื่นสามารถทำ
ผู้เชี่ยวชาญจะรู้สึกผิดหวังถ้าให้ทำกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่า เช่น จัดกำหนดการ webinars, นำเนื้อหาออกเผยแพร่ หรือเพิ่ม metadata ดีกว่าถ้าจัดให้มีเพื่อนร่วมงานรุ่นน้องที่สามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ ให้เวลาผู้เชี่ยวชาญกับงานที่สามารถทำ และมอบหมายที่เหลือแก่ผู้อื่น

5. ขยายความเชี่ยวชาญ
หนทางสุดท้ายที่จะลดภาระของผู้เชี่ยวชาญให้น้อยที่สุด คือ ให้ mid-career professionals เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ไร้ประสบการณ์, สร้างเนื้อหาความรู้พื้นฐาน และจัดการคำถามและคำร้องขอที่ไม่ซับซ้อน บางสถานการณ์ต้องการผู้เชี่ยวชาญแต่สถานการณ์อื่นๆ สามารถจัดการได้ง่ายโดยคนทำงานที่มีศักยภาพซึ่งไม่ได้มีสถานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ


ที่มา: Lauren Trees (October 15, 2020). How KM Gets Experts to Transfer Their Knowledge. Retrieved December 29, 2020, from https://www.apqc.org/blog/how-km-gets-experts-transfer-their-knowledge

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2563

วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2563

การประชุมวิชาการประจำปีของนักเรียนไทยในทวีปยุโรปครั้งที่ 9 (TSAC 2020)

เมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2563 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ตัวแทนนักเรียนไทยในทวีปยุโรป
ได้จัดงานประชุมวิชาการออนไลน์ของนักเรียนไทย Virtual TSAC 2020 (the 9th Thai Student Academic Conference) ภายใต้หัวข้อ
“Living in the Digital Transformation Era” เป้าหมายเพื่อการแบ่งปันองค์ความรู้และสร้างความร่วมมือเชิงนวัตกรรมระหว่างนักเรียนไทย
หน่วยงานในประเทศไทย และหน่วยงานในทวีปยุโรป เพื่อไปสู่ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในอนาคต ทั้งนี้การจัดประชุม
วิชาการประจำปีของนักเรียนในทวีปยุโรป ในรูปแบบ Virtual Conference บรรยายโดยวิทยากรรับเชิญพิเศษ อาทิ ผู้บริหารจากกระทรวงอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการนำเสนอผลของนักเรียนไทยในยุโรป ซึ่งครอบคลุมนำเสนอผลของนักเรียนไทยในวิทยาศาสตร์ การแพทย์
วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์  

การบรรยายพิเศษ

การบรรยายโดยวิทยากรพิเศษประกอบด้วย
ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หัวข้อ
“Empowering the Next Gen for the Future”
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) หัวข้อ
“การปรับตัวต่อเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก”
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หัวข้อ “นวัตกรรมกับบทบาทใหม่ เมื่อโลกกำลังทำให้มนุษยชาติเปลี่ยนแปลง”

การนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักเรียนไทย

กิจกรรมการนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักเรียนไทย จำนวน 13 คน แบ่งออกเป็น 3 ห้อง ประกอบด้วย
1. สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
2. สาขาชีววิทยาและการแพทย์
3. สาขากฎหมายและเศรษฐศาสตร์

รายงานผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรป ประจำปี ค.ศ. 2020 (European Innovation Scoreboard 2020)

ในทุกๆ ปี คณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทำ Innovation Scoreboard เพื่อเป็นตัวชี้วัดถึงผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรม (Innovation Performance)
ได้มาจากการวิแคราะห์เชิงเปรียบเทียบของสมาชิกในสหภาพยุโรป โดยมีการประเมินถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของระบบนวัตกรรมในแต่ละประเทศพร้อมทั้ง
ระบุถึงประเด็นที่แต่ละประเทศควรให้ความสนใจและพัฒนา

การจัดลำดับ 4 กลุ่มประเทศนวัตกรรม

  1. ผู้นำนวัตกรรม (Inovoftion Leaadrs) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมสูงกว่า ประเทศที่ถูกจัดลำดับอยู่ในกลุ่มผู้นำนวัตกรรม ได้แก่
    สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก และสวัสเซอร์แลนด์
  2. ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (Strong innovators) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมใกล้เคียง ประเทศที่ถูกจัดลำดับอยู่ในกลุ่ม
    ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เอสโตเนีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์และโปรตุเกส
  3. ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประเทศที่ถูกจัดลำดับ
    อยู่ในกลุ่มผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง ได้แก่ โครเอเชีย ไซปรัส เช็กเกีย กรีซ ฮังการี อิตาลี ลัตเย ลิทัวเนีย มอลตา โปแสนด์ สโลวะเกีย,
    สโลวีเนีย และสเปน
  4. ผู้สร้างสรรนวัตกรรมพอประมาณ (modest innovators) ซึ่ง่มีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ประเทศที่ถูกจัดอยุ่ในกลุ่ม
    นวัตกรรมระดับกลาง ได้แก่ บัลกาเรีย และโรย่เนีย

ภาพรวมของการพัฒนานวัตกรรมของยุโรป

การจัดลำดับประเทศนวัตกรรมของสหภาพยุโรปในปี ค.ศ.2020 ในปีนี้ประเทศสวีเดนยังเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในสหภาพยุโรป ตามด้วยฟินแลนด์
เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศที่มีการเปลียนสถานะของหมวดประเทศนวัตกรรม ได้แก่ ประเทศลักเซมเบิร์ก ที่พัฒนาจากผู้สร้างสรรค์
นวัตกรรมระดับสูงเป็นผู้นำนวัตกรรม ขณะที่ประเทศโปรตุเกสได้พัฒนาจากผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลางเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง
ผลของการจัด Innovation Scoeboard ในปี ค.ศ. 2020 ชี้ให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรปพัฒนาขึ้นร้อยละ 8.9
โดยเพิ่มขึ้นใน 24 ประเทศและลดลง 3ประเทศ ประเทศที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ได้แก่ ลิธัวเนีย มอลตา ลัตเวีย โปรตุเกส และกรีซ
ในขณะที่โรมาเนีย และสโลวาเนีย มีความสามารถลดลงมากที่สุด เนื่องมาจากการพัฒนาปัจจัยดังนี้คือ สถาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
โดยเฉพาะในด้านเครือข่ายสื่อสารไร้สาย (broadband penetration) รวมไปถึงเงินร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้
ภาคเอกชนลงทุนด้ายวิจัยและพัฒนา

การเปรียบเทียบการพัฒนานวัตกรรมของยุโรปกับประเทศอื่นทั่วโลก

สหภาพยุโรปมีประสิทธิผลทางนวัตกรรมเป็นอันดับ 5 รองจากประเทศเกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น โดยนำหน้าสหรัฐฯ (เป็นปีที่ 2)
และจีน ตลอดจนประเทศอื่นๆ ใน 10 อันดับแรกของโลก เช่น ประเทศรัสเซีย บราซิล แอฟริกาใต้ และอินเดีย ประเทศจีนถือเป็นประเทศคู่แข่งที่
น่ากลัวสำหรับสหภาพยุโรปเนื่องจากมีการพัฒนาประสิทธิผลทางนวัตกรรมสูงสุดซึ่งปัจจุบันจีนมีอัตราขยายตัวสูงกว่าสหภาพยุโรปถึง 5 เท่า

จุดแข็งเชิงนวัตกรรมของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป

กลุ่มประเทศที่ถูกจัดให้เป็นผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (Strong innovators) ซึ่งมีจุดแข็งเชิง
นวัตกรรมแตกต่างกัน ดังนี้

ระบบการวิจัยที่น่าดึงดูด: ประเทศลักเซมเบิร์ก เป็นประเทศที่มีระบบการวิจัยที่มากที่สุด ตามด้วยเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ประเทศ
เหล่านี้เปิดกว้างสำหรับการสร้างความร่วมมือทางด้านการวิจัยกับประเทศที่สามนักวิจัยมีการติดต่อกับเครือข่ายระดับนานาชาติ และคุณภาพ
ผลงานวิจัยอยู่ในระดับสูง

การพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: ประเทศลักเซมเบิร์กเป็นประเทศผู้นำที่มีความโดดเด่น ตามด้วยฟินแลนด์
ออสเตรีย และเบลเยียม ประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการทางธุรกิจในระดับสูง

ความร่วมมือและการเชื่อมโยงทางนวัตกรรม: ประเทศออสเตรียเป็นประเทศผู้นำที่มีความโดดเด่นด้านนี้ ตามด้วยเบลเยียม ฟินด์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์
โดยประเทศเหล่านี้มีความสามารถทางนวัตกรรมที่หลากหลายเนื่องจากเข้าร่วมพัฒนานวัตกรรมกับบริษัทเอกชน หรือ องค์กรภาครัฐต่างๆ ระบบการวิจัย
ยังตอบโจทย์ความต้องการของบริษัทเอกชนเพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
สำหรับด้านอื่นๆ สวีเดนเป็นผู้นำด้านทรัพยากรมนุษย์ เดนมาร์กเป็นผู้นำด้านการเงิน เยอรมนีเป็นผู้นำด้านการลงทุนของภาคเอกชน ลักเซมเบิร์กเป็น
ประเทศผู้นำด้านทรัพย์สินทางปัญญา

การประชุมของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศว่าด้วยแผนการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงาน

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์
ครั้งที่ 5 โดยมีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้

ปัจจุบันพบว่าประสิทธิภาพทางพลังงานไม่ได้ถูกพัฒนาเร็วเท่าที่ควรเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ทางพลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานได้มากเท่าที่ควร นอกจากนี้ในปี 2563 การระบาดของโรคโควิด-19 ได้แปรสภาพ
ภูมิทัศน์พลังงาน

แผนการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานโลก

ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมธิการว่าด้วยภาวะเร่งด่วนในการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานโลกสามารถสรุปได้เป็น 10 ข้อ ดังนี้

1 จัดลำดับความสำคัญของแผนงานว่าด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานและประโยชน์ที่จะได้รับต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยรัฐบาลควร
จัดทำแผนนโยบายและมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การลดคาร์บอนในประเทศ

2 การพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานจะช่วยสร้างโอกาสและพัฒนาประสิทธิภาพของการสร้างงานให้สูงขึ้น

3 การสร้างและกระตุ้นอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการที่ใช้พลังงานสูง จะช่วยให้การพัฒนาส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานได้รวดเร็วและช่วยกระตุ้นให้เกิด
กิจกรรมในตลาดพลังงาน

4 การระดมเงินเพื่อสนับสนุน

5 การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้จะช่วยให้กำหนดนโยบาย ควบคุม จัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบพลังงาน

6 ภาครัฐควรจัดสรรงบลงทุนในการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของภาครัฐ กระตุ้นการสร้างนวัตกรรม และพัฒนามาตรฐาน

7 แผนงานพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานต้องถูกดำเนินในทุกระดับของสังคม ซึ่งทั้งภาคสังคม ธุรกิจ และชุมชนท้องถิ่น ต้องเข้ามามีส่วนร่วม

8 การศึกษาวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมของประชาชนจำทำให้ได้ข้อมูลที่ช่วยในการออกแบบนโยบายเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ของประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจหลักการพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงาน

9 การสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ว่าด้วยแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างประเทศ จะช่วยให้เรียนรู้ซึ่งกันและกันใช้
แนวทางปฏิบัติและมาตรฐานที่เหมาะสม

10 รัฐบาลควรกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาประสิทธิภาพทางพลังงานให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

แนวโน้มของตลาดพลังงาน

ตลาดพลังงานหมุนเวียนกำลังพัฒนาและมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เหตุนี้ระบบการจัดการและซื้อขายต้องปรับเปลี่ยนตาม นำไปสู่แนวโน้มของตลาด
พลังงานหมุนเวียนแบบเรียลไทม์ มองว่าเป็นทิศทางหลักในอนาคต ความไม่แน่นอนของการผลิตพลังงาน คือ จุดอ่อนที่สำคัญของพลังงานหมุนเวียน
เพราะสภาวะธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ เช่น วันที่มีแสงแดดน้อย ตลาดพลังงานก้าวไปสู่ระบบตลาดเรียลไทม์ คือ ข้อมูลและการใช้ระบบอัลกอริทึม
นักวิจัยพยายามคิดค้นว่าทำอย่างไรให้แบตเตอรี่มีขนาดเล็ก แต่สามารถเก็บบรรจุพลังงานได้จำนวนมาก โดยที่ราคาไม่สูงเกินไป ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี
ของแบตเตอรี่สามารถสำรองไฟฟ้าให้ระบบกริดขนาดเล็กระดับไมโคร โดยเป็นแหล่งไฟฟ้สำรองในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดและเป็นแหล่งเก็บพลังงาน
ส่วนเกินในช่วงที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่ำ

 

 ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200921-newsletter-brussels-no07-jul63.pdf

10 Technologies to Watch 2020

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. บรรยายเรื่อง 10 เทคโนโลยีที่ควรจับตามอง ในปีนี้ 10 เทคโนโลยี ที่สวทช. เลือกมาเป็นการคาดการณ์เทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบได้อย่างชัดเจนใน 3-5 ปีข้างหน้า แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะส่งผลกระทบกับชีวิตและธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้

BCG Economy Model คืออะไร

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวช้า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีรายได้น้อย และประเทศไทยยังติดกับดักรายได้ปานกลางมาอย่างยาวนาน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า BCG Economy Model ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”

BCG Economy Model จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจายรายได้ และนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง นำพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน

การพัฒนาประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ต้องก้าวข้ามปัญหา อุปสรรคต่างๆ อาทิ ปัญหาทรัพยากรเสื่อมโทรม ขยะล้นเมือง โลกร้อน รวมถึงรายได้เกษตรกรที่ไม่เพิ่มขึ้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งขับเคลื่อน BCG โมเดล รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ที่เร่งให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างทั่วถึง บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

BCG โมเดล สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการเติบโตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใน 20 ปี จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรมากกว่า 3 เท่าตัว และลดการใช้ทรัพยากรเหลือสองในสามจากปัจจุบัน

BCG โมเดล ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน

BCG Economy Model

อ่านความเป็นมา BCG จากเว็บไซต์ BCG : https://www.bcg.in.th/background/

เดิมประเทศไทยมีโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก มีสัดส่วนประชากรในภาคเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก รายงานของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2013) ระบุว่า แรงงานในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนมากถึง 32.3% ขณะที่ในภาคอุตสาหกรรมมีเพียง 17% และในภาคบริการมี 7% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่จะมาจากภาคเกษตรกรรม แต่คนทำงานกลับมีรายได้น้อย ทำให้แรงงานรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตรน้อยลง

แนวโน้มปัจจัยที่จะส่งผลกระทบในอนาคตอันใกล้ ได้แก่ เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นมากมาย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทยที่กลายเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว และแรงงานที่เข้าสู่ตลาดลดน้อยลง รัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาจึงพยายามผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มีลักษณะสำคัญคือ (1) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นแนวคิดแบบใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี (2) เป็นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาความรู้ การจัดการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยต้องนำจุดเด่นของประเทศคือ ตำแหน่งที่ตั้ง ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงความเข้มแข็งขอบบุคลากรในบางสาขาเช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งในแง่การวิจัยและบริการ และลักษณะสำคัญข้อสุดท้ายคือ (3) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์มากและปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว เช่น การประยุกต์ใช้ข้อมูล Big Data กับการวางแผนจัดการระบบการเกษตรโดยรวมของประเทศ

เศรษฐกิจใหม่ครอบคลุม 6 ด้านสำคัญ โดยมีแนวทางโดยย่อดังนี้

(1) เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เน้นการนำความรู้ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ประเทศไทยมีอยู่มากมาเป็นตัวขับเคลื่อน

(2) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ ตลอดวัฏจักรชีวิต และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

(3) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายสูงสุด

(4) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy) เป็นการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาอำนวยความสะดวก ช่วยวางแผน และจัดการระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น

(5) เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่อิงกับการให้บริการแบบทางเลือกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้รถยนต์โดยสารและการหาที่พักผ่านแอปพลิเคชัน ที่แแต่ละคนสามารถเลือกใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ ได้อย่างสะดวกและยืดหยุ่นกว่าเดิม

(6) เศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) ระบบที่นำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้ ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและความสุข อีกทั้งเทคโนโลยีเหล่านี้ยังใช้ได้กับกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสด้วย

หากประเทศไทยสามารถพัฒนาและปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีตามแนวทางที่กล่าวมา ก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่มีความเข้มแข็งและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พร้อมก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างเต็มภาคภูมิ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐกิจสีเขียว GREEN ECONOMY

เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เข้ามาแก้ปัญหาโลกที่กำลังเผชิญกับความเสียสมดุลจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกที่นำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งด้านอาหารและพลังงาน พื้นที่ทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ทำให้ทรัพยากรลดจำนวนลงไปมาก บางส่วนเสื่อมโทรม มีการปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมากเกินความสามารถของโลกที่จะรองรับได้ ดังนั้นเศรษฐกิจที่พัฒนาด้วยการคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและตระหนักถึงคุณค่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงจึงเป็นเศรษฐกิจที่ทุกประเทศต้องนำไปเป็นแนวทางพัฒนา

เศรษฐกิจสีเขียว GREEN ECONOMY
สวทช. กับเศรษฐกิจสีเขียว

สวทช. มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียวเพิ่มมากขึ้น เช่น เซลล์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์, วิธีการประเมินหรือแอปพลิเคชันช่วยวัดคาร์บอนฟุตพรินต์, ห้องปฏิบัติการการทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุ (ฺBiodegradation Testing), ปุ๋ยสูตรผสม NPK ชนิดควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารสำหรับพืชเศรษฐกิจ (ปุ๋ยสั่งได้) ช่วยลดการใช้ปุ๋ยมากเกินจำเป็น, สารบีเทพ (BeThEPS) สารรักษาสภาพน้ำยางสดเพื่อแปรรูปยางแผ่นทดแทนการใช้สารเคมี, เอนไซม์ ENZease สำหรับการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว, ENZbleach เอนไซม์ทนด่างจากปลวกสำหรับฟอกเยื่อกระดาษ

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคเงินเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เงินที่ได้รับบริจาคเข้ามาในกองทุน สวทช. จะจัดสรรไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้แก่เยาวชน ครู และอาจารย์ ตัวอย่างกิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น โครงการเรียนรู้สะเต็มศึกษา กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เฉพาะทาง และการจัดประกวดแข่งขัน

สวทช. มีเป้าหมายในการดำเนินงานภายใต้กองทุนนี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ และเกิดการต่อยอดองค์ความรู้ไปพัฒนาประเทศ โดยนอกจากผู้บริจาคจะได้ร่วมสนับสนุนการพัฒนาประเทศแล้ว ยังสามารถนำยอดการบริจาค ไปใช้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ข้าวเหนียวหอมนาคา แข็งแรง ทนทาน สะเทินน้ำ สะเทินบก ให้ผลผลิตสูง

นักวิจัย สวทช. พัฒนาข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์หอมนาคา” มีคุณสมบัติทนทานต่อภาวะน้ำท่วมฉับพลับ ทนแล้ง ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรงไม่หักล้มง่าย ขนาดต้นสูงปานกลาง ทำให้เก็บเกี่ยวง่าย สอดรับกับการทำนาสมัยใหม่ และแนวโน้มการทำนาในอนาคต ที่ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน

ข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคา เป็นข้าวไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดปี มีระยะเวลาการปลูกประมาณ 130-140 วัน ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ยประมาณ 800 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อหุงสุกจะมีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว เคี้ยวอร่อย โดย สวทช. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และสหกรณ์การเกษตรห้างฉัตร จำกัด ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปลูก และผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวหอมนาคาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ จ.ลำปาง จ.พะเยา และ จ.เชียงราย

ติดตามรายการพลังวิทย์ทั้งหมดได้ที่ รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย