อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

Thailand Science Park นิคมวิจัยและพัฒนาครบวงจรแห่งแรกของไทย
เหมาะสำหรับ
Start-up
SMEs
ธุรกิจขนาดใหญ่

ศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนทุกระดับ สามารถเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานสนับสนุนของภาครัฐ สถาบัน การศึกษา ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยพัฒนา บริการวิเคราะห์ทดสอบพร้อมด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ทันสมัย อีกทั้งยังเป็นแหล่งบ่มเพาะผู้ประกอบการ Start-up เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีนวัตกรรมเป็นฐาน

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
บนพื้นที่กว่า 200 ไร่ ติดกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
ที่ตั้งของศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี และ 5 ศูนย์วิจัยแห่งชาติ: BIOTEC, MTEC, NECTEC, NANOTEC, ENTEC และสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
ที่ตั้งของบริษัทเอกชนทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 100 บริษัท 30% เป็นบริษัทต่างชาติ อาทิ TUV SUD, ECOLAB และ Polyplastics เป็นต้น

บริการพื้นที่ห้องปฏิบัติการและที่ดินเช่าสำหรับภาคเอกชน องค์กรของรัฐ เพื่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา

ช่วยเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจนวัตกรรม ตลอดจนบริการต่างๆให้ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

บริการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ผู้ประกอบการในอุทยานฯ ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดในการสนับสนุนการลงทุนจาก BOI และกรมสรรพากร

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
02 564 7222, 02 564 7200 ต่อ 5360, 5362 – 5363

ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช.
ห้องประชุมใหญ่ออดิทอเรียม 376 ท่าน

ห้องประชุมใหญ่ออดิทอเรียม
376 ท่าน

ห้องประชุมขนาดกลางและขนาดเล็ก 25 -70 ท่าน

ห้องประชุมขนาดกลางและขนาดเล็ก
25 -70 ท่าน

ห้องแกรนด์ฮอลล์ 1,500 ท่าน

ห้องแกรนด์ฮอลล์
1,500 ท่าน

ห้องบอร์ดรูม 61 ท่าน

ห้องบอร์ดรูม
61 ท่าน

ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช.
รองรับการจัดการประชุม – สัมมนา และกิจกรรมต่างๆ ด้วยห้องสัมมนากว่า 13 ห้อง และพื้นที่จัดนิทรรศการกว่า 2,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้กว่า 3,000 คน พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการในการจัดงาน

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย

Software Park Thailand
เหมาะสำหรับ
Start-up
SMEs
ธุรกิจขนาดใหญ่

1. สนับสนุนการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้มาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration)

2. ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการส่งเสริมเทคโนโลยี

3. สร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4. บริการห้องฝึกปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม ห้องสัมมนา พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง

เร่งยกระดับและพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ของประเทศ

เพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์และพัฒนาโมเดลธุรกิจ

ผลักดันและส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรม

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย
2 583 9992 ต่อ 1411, 1454

เมืองนวัตกรรมอาหาร

Food Innopolis
เหมาะสำหรับ
Start-up
SMEs
ธุรกิจขนาดใหญ่

สนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารของภาคเอกชน ด้วยการเชื่อมโยงบริการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

เมืองนวัตกรรมอาหาร
094 341 7111, 094 249 7333, 094 340 4333

ศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์

Food and Feed Innovation Center
เหมาะสำหรับ
Start-up
SMEs
ธุรกิจขนาดใหญ่
วิจัยและพัฒนา
  • ค้นหาและใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์และเอนไซม์
  • บูรณาการด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
  • ใช้ประโยชน์วัสดุเศษเหลือจากอุตสาหกรรม
ให้บริการทางวิชาการ
  • ฝึกอบรมเฉพาะทาง
  • ให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาของภาคอุตสาหกรรม
พัฒนาระบบการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรม
  • ขยายขนาดการผลิต
  • ประเมินศักยภาพของผลิตภัณฑ์/เทคโนโลยีเชิงธุรกิจ
วิจัยและพัฒนา
  • เทคโนโลยีการผลิต
  • ต้นเชื้อจุลินทรีย์
  • ชุดทดสอบสำเร็จรูป
การสร้างพันธมิตรและจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการไทย
ศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์
02 117 8031

 

ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย

Thailand Bioresource Research Center
เหมาะสำหรับ
Start-up
SMEs
ธุรกิจขนาดใหญ่

ศูนย์กลางการให้บริการชีววัสดุประเภทต่างๆ เช่น จุลินทรีย์ พลาสมิด โมโนโคลนอลแอนติบอดี รวมทั้งให้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีววัสดุแบบครบวงจรเพื่อการวิจัยประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

ชีววัสดุ
  • บริการชีววัสดุที่มีคุณภาพด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน
  • บริการรับฝากเก็บรักษา รวมทั้งให้บริการเช่าพื้นที่เก็บรักษาชีววัสดุ
  • บริการด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดจำแนกชนิดจุลินทรีย์
  • ฝึกอบรมการเก็บรักษาและการจัดจำแนกชนิดจุลินทรีย์
กฎหมายชีวภาพ
  • บริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพในเชิงกฎหมาย เช่น การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์
  • บริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายชีวภาพ
ข้อมูลชีววัสดุ
  • บริการข้อมูลชีววัสดุโดยใช้
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ฝึกอบรมการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ ให้แก่สมาชิกเครือข่าย
การวิจัยประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

อุตสาหกรรมเกษตร

อุตสาหกรรมอาหาร

อุตสาหกรรมสีเขียว
(สิ่งแวดล้อม)

อุตสาหกรรมสุขภาพและยารักษาโรค

ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย