NSTDA Core Business
NSTDA Core Business นำพลังวิจัย รับใช้สังคม

สวทช. เป็นหน่วยงานวิจัยระดับประเทศ มีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร โดยการจัดกระบวนทัพนำความรู้ เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญที่บ่มเพาะมานานกว่า 30 ปี มาสร้างกระบวนการวิจัยและกลไกที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์สำคัญเร่งด่วนของประเทศ ปัญหาของภาคอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือประชาชนและชุมชนต้องเข้าถึงงานวิจัยที่ใช้ได้จริง ด้วยปัญหาคอขวดที่งานวิจัยของประเทศไทยจำนวนมากยังไม่สามารถผลักดันไปสู่การใช้จริงในภาคส่วนต่างๆ ได้ สวทช. ยุค 6.0 ภายใต้การบริหารของ ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ในวาระแรกนี้ ได้กำหนดนโยบายที่เรียกว่า “NSTDA Core Business” โดยในระยะแรกได้คัดเลือกงานวิจัยที่เป็นความเชี่ยวชาญและตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมี 4 เรื่องหลัก คือ

 

Traffy Fondue

Traffy Fondue แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองที่นำแนวคิด Platform Revolution มาปรับปรุงกระบวน (User Journey) การรับแจ้ง การแก้ไข และบริหารจัดการปัญหาเมือง ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยหน่วยงานของรัฐรับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและช่วยให้เจ้าหน้าที่บริหารจัดการปัญหาต่าง ๆ ของเมืองได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

รายละเอียด https://www.traffy.in.th/
_


FoodSERP

FoodSERP แพลตฟอร์มให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชัน ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์กลุ่มสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) โดยให้บริการตลอดห่วงโซ่การผลิตตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะ (Tailor made) ของลูกค้า ในรูปแบบ One stop service ที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบและมาตรฐาน และหน่วยงานภาควิชาการ และกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ Startup กลุ่ม SMEs และผู้ประกอบการขนาดใหญ่ รวมถึงเครือข่ายผู้ประกอบการผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ข้อมูลโดยย่อ https://www.nstda.or.th/home/services_post/foodserp/

เว็บไซต์หลัก  https://www.nstda.or.th/foodserp/
_


Digital Healthcare Platform

Digital Healthcare Platform แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล (Digital Healthcare Platform) เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนในเรื่อง ความแออัดของหน่วยบริการสาธารณสุข ในมุมของหน่วยบริการสาธารณสุข โดยพัฒนาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุข ทั้งในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสภาวิชาชีพด้านการแพทย์ เน้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปยกระดับการให้บริการของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ

NSTDA Digital Healthcare platform

ให้บริการ 5 ระบบ ดังนี้

1. A-MED Care for Pharmacy สำหรับร้านยาบริการดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ
เป็นความร่วมมือกันระหว่าง สปสช. สภาเภสัชกรรม เครือข่ายร้านยาคุณภาพ ให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทอง
สำหรับร้านยาคุณภาพ เข้าใช้งาน : https://amed-care.hii.in.th/
รายงานสถานการณ์การใช้งาน : https://dashboard-amed-care.hii.in.th/

ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง

 

2. DMS Home ward สำหรับโรงพยาบาลดูแลรักษาผู้ป่วยในที่บ้าน (Hospital care at home)
เป็นความร่วมมือกันระหว่าง สปสช. กรมการแพทย์ สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ (สสป.) กรมสุขภาพจิต
สำหรับโรงพยาบาลทั่วไป เข้าใช้งาน : https://homeward.dms.go.th/
รายงานสถานการณ์การใช้งาน : https://dashboard-homeward.hii.in.th/

3. บริการ A-MED Care สำหรับคลินิกเทดเลเมต (OP Telemed)
บริการการแพทย์ทางไกลในลักษณะผู้ป่วยนอกทั่วไป” (OP Telemedicine) ครอบคลุมรักษา 42 กลุ่มโรคและอาการ
โดยร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชันด้านสุขภาพดิจิทัล จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

  1. แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology (กู๊ด ด็อกเตอร์) โดยจีดีทีคลินิกเวชกรรม
  2. แอปพลิเคชัน Clicknic (คลิกนิก) โดยคลิกนิกเฮลท์คลินิกเวชกรรม
  3. แอปพลิเคชัน Mordee (หมอดี) โดยชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม
  4. แอปพลิเคชัน Saluber MD (ซาลูเบอร์ เอ็ม ดี) โดยสุขสบายคลินิกเวชกรรม

เพื่อเป็นการดูแลประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท
รายงานสถานการณ์การใช้งาน : https://dashboard-optelemed.hii.in.th/

4. บริการ A-MED Care สำหรับคลินิกพยาบาล สำหรับบริการเจ็บป่วยเล็กน้อย
เป็นความร่วมมือกันระหว่าง สปสช. สภาการพยาบาล เครือข่ายคลินิกพยาบาลอบอุ่น ให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทอง
รายงานสถานการณ์การใช้งาน : https://dashboard-nurse-clinic.hii.in.th

5. ระบบบริหารจัดการสถานดูแลผู้สูงอายุ (Nirun Platform)
เป็นระบบบริหารจัดการสถานดูแลผู้สูงอายุ ออกแบบและพัฒนาร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ เพื่อใช้ในการดูแลผู้สูงอายุภายในหน่วยงาน รองรับการทำงานของพยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัด ตลอดจนพี่เลี้ยงในการดูแลผู้สูงอายุร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในระบบนิรันจะมีการสรุปภาพรวมประจำศูนย์ สัดส่วนผู้สูงอายุตามกลุ่มต่าง ๆ เช่น แบ่งตามกลุ่มอายุ แบ่งตามกลุ่มการประเมิน เป็นต้น ระบบนิรันยังมีแบบประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุมากมาย เช่น แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า เป็นต้น ติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุได้จากแบบประเมิน

นอกจากนี้มีการเชื่อมต่อระบบภายนอกเช่น เครื่องตรวจสุขภาพอัตโนมัติ (Health Check Up Kiosk for Elderly Persons) เป็นอุปกรณ์ตรวจสุขภาพเบื้องต้น มีการส่งข้อมูลจากเครื่องตรวจสุขภาพอัตโนมัติมายังระบบนิรันโดยอัตโนมัติ และเชื่อมต่อระบบจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นระบบที่จัดรายการอาหารและตรวจสอบคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ

ปัจจุบันมีการใช้งานที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุทั้ง 12 ศูนย์ ดังนี้

  1. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
  2. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ จ.พระนครศรีอยุธยา
  3. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จ.ชลบุรี
  4. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุธรรมปกรณ์เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
  5. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
  6. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต จ.ภูเก็ต
  7. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี
  8. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น
  9. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม
  10. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง
  11. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านทักษิณ จังหวัดยะลา
  12. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา

เจ้าหน้าที่ กรมกิจการผู้สูงอายุเข้าใช้งานได้ที่ https://dop.nirun.life


Thailand i4.0 Platform

Thailand i4.0 Platform แพลตฟอร์มที่ให้บริการ Digital transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบครบวงจรเพื่อแก้ปัญหาในภาคการผลิตของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยยกระดับภาคการผลิตอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นแรกคือการประเมินความพร้อมในปัจจุบัน ขั้นที่ 2 คือการวางแผนจัดทำแผนปฏิบัติการ (Transformation roadmap) ที่มีรายละเอียดในการดำเนินงานอย่างชัดเจน และขั้นที่ 3 คือการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ในโรงงาน โดยมีบริการจาก Thailand i4.0 Platform ให้บริการตลอดทั้งกระบวนการ

ข้อมูลโดยย่อ https://www.nstda.or.th/home/services_post/thailand-i4-0-platform/

เว็บไซต์หลัก https://www.nstda.or.th/i4platform/
_


_

ผู้ขับเคลื่อนหลัก Core Business