หน้าแรก การเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วม
การเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วม
28 เม.ย. 2564
0
ข่าว
การมีส่วนร่วมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก
ปี 2567

กิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2567 และการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง เกษตรกร หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และ สวทช.
ในหัวข้อ“การบูรณาการความร่วมมือ ตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 – 16.30 น.
ณ แปลงเกษตรกรนายรังสรรค์ อยู่สุข บ้านคำฮี หมู่ 10 ตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี

มันสำปะหลังอินทรีย์เป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี เริ่มให้ความนิยมปลูกเพื่อสร้างรายได้ โดยจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ประมาณ 4,673.50 ไร่ ผลผลิต 16,357 ตัว/ปี บริษัท อุบลไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) เป็นโรงงานรับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์และแปรรูปมันสำปะหลังอินทรีย์ ในจังหวัดอุบลราชธานี ต้องการหัวมันสดอินทรีย์ ปริมาณ 100,000 ตัน/ปี โดยมีราคารับซื้อสูงกว่ามันสำปะหลังเคมี 0.50 สตางค์/กิโลกรัม

สวทช. สวก. ได้ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานีและบริษัท อุบลไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) จัดทำแปลงต้นแบบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินในการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ ผลการดำเนินงานพบว่าแปลงต้นแบบการปรับใช้เทคโนโลยีมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น และกำไรมากขึ้น โดยแปลงต้นแบบของนายรังสรรค์ อยู่สุข อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี ได้ผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น 2 ตันต่อไร่ ได้กำไรเพิ่มขึ้นถึง 5,000 บาท ต่อไร่ ดังนั้น คณะทำงานจึงได้จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนการปรับใช้เทคโนโลยีขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสนใจ ได้เข้าเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในแปลงตัวอย่าง ผ่านฐานการเรียนรู้ 6 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่
1) ฐานการตรวจวิเคราะห์ดิน และผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ โดย สวทช.
2) ฐานการป้องกันศัตรูพืชการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี
3) ฐานสถานการณ์ และการเฝ้าระวัง โรคใบด่างมันสำปะหลังและพันธุ์สะอาด โดยศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์
4) ฐานการบริหารจัดการแปลงมันสำปะหลังอินทรีย์ และการขอรับรองมาตรฐาน Organic Thailand โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 อุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร
5) ฐานการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงการตลาดมันสำปะหลังอินทรีย์ โดยบริษัท อุบลไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน)
6) ฐานเทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตร โดยบริษัท ศรีเมืองยนต์ 1991 จำกัด และบริษัทรวมสินไทยแทรกเตอร์ จำกัด

โดยมีเกษตรกรได้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดิน ของจังหวัดอุบลราชธานี อำเภอละ 40 ราย รวมทั้งสิ้น 249 คน ประกอบด้วย
1. อำเภอตาลสุม
2. อำเภอศรีเมืองใหม่
3. อำเภอตระการพืชผล
4. อำเภอดอนมดแดง
5. อำเภอสว่างวีระวงศ์
6. อำเภอพิบูลมังสาหาร

ผลจากการเข้าร่วมเสวนา พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมเสวนาได้ให้ความสนใจในการปรับใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินเนื่องจากเห็นผลที่ชัดเจน คุ้มค่าการลงทุน จึงได้นำผลการเข้าร่วมเสวนามาขยายผลในการตรวจวิเคราะห์ดินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในปี 2567 นี้ ซึ่งจะดำเนินงานผ่านทางสำนักงานเกษตรจังหวัด และจะดำเนินการตรวจวิเคราะห์ดินให้เกษตรกรที่สนใจภายในเดือนเมษายนและพฤกษาคม 2567 ก่อนเริ่มต้นฤดูการปลูกมันสำปะหลัง

นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมการเสวนาได้ให้ข้อเสนอแนะถึงความต้องการให้หน่วยงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการวัชพืชในการปลูกในระบบอินทรีย์ เนื่องจากการจำกัดวัชพืชในระบบอินทรีย์นั้น ใช้ต้นทุนและแรงงานมาก ซึ่งเป็นอีกปัญหาสำคัญในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์


ภาพกิจกรรมการเสวนา “การบูรณาการความร่วมมือ ตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์


ภาพกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2567


ภาพกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2567
บูทจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ความรู้กับเกษตรกร

 

โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านพืชสมุนไพร

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “การยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม: ด้านพืช สมุนไพร”ร่วมกับ 3 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม

โดยโครงการได้มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาดำเนินการและยกระดับการปลูกพืชสมุนไพรนำร่อง ได้แก่ ขิง ไพล ฟ้าทะลายโจร พร้อมทั้งเชื่อมโยงโดยได้รับความร่วมมือจากทาง บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) และบริษัท กุยลิ้มฮึ้ง จำกัด ในการรับซื้อผลผลิตคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และเปิดช่องทางการตลาดใหม่ในการสร้างเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากให้ยั่งยืนโดยใช้ฐานทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์

 

การมีส่วนร่วมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน
28 เม.ย. 2564
0
แชร์หน้านี้: