หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ BCG BCG Implementation การพัฒนาวัคซีน ASF สายพันธุ์ไทย
การพัฒนาวัคซีน ASF สายพันธุ์ไทย
20 ธ.ค. 2566
0
BCG Implementation

วัตถุประสงค์

  1. พัฒนาต้นแบบวัคซีน สำหรับโรคระบาดในสุกรและสัตว์ปีก
  2. พัฒนาต้นแบบวัคซีนออโตจีนัส FMDV (สุกร)
  3. พัฒนากระบวนการ/ชุดทดสอบโรค หรือประสิทธิภาพของต้นแบบวัคซีนต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบจากความเสียหายจากโรคระบาด กรณี ASF อย่างน้อย 15,000 ล้านบาท จากการเพิ่มการเข้าถึงของผลิตภัณฑ์ควบคุมการระบาดของโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร
โดยการนำไปใช้ในพื้นที่ Sandbox จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ จ.ชลบุรี จำนวน 30 ฟาร์ม และดำเนินงานร่วมกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อขยายการใช้งาน Autogenous Vaccine ในวงกว้าง กลุ่มเป้าหมายฟาร์มสุกรในพื้นที่ จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ จ.ชลบุรี จำนวน 30 ฟาร์ม (พ.ศ. 2567-2571)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

ลดผลกระทบจากความเสียหายจากโรคระบาด กรณี ASF อย่างน้อย 15,000 ล้านบาท จากการเพิ่มการเข้าถึงของผลิตภัณฑ์ควบคุมการระบาดของโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร โดยการนำไปใช้ในพื้นที่ Sandbox จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ จ.ชลบุรี จำนวน 30 ฟาร์ม และดำเนินงานร่วมกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อขยายการใช้งาน Autogenous vaccine ในวงกว้าง 

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ต้นแบบวัคซีนออโตจีนัส ASFV เชื้อตายผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ
  2. เซลล์ไลน์สุกรชนิดใหม่
  3. วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์สำหรับ ASFV ในรูปแบบ Single-Cycle และ Gene-Deleted ASFV ที่พัฒนาขึ้นจากสายพันธุ์ไทย
  4. หน่วยงานผู้ผลิต/พัฒนาวัคซีนในไทยรับถ่ายทอดเทคโนโลยี (ราย)

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. ต้นแบบวัคซีนออโตจีนัส ASFV เชื้อตายผ่านการทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพระดับห้องปฏิบัติการ
  2. ต้นแบบวัคซีนออโตจีนัสแบคทีเรียเชื้อตายผ่านการทดสอบในภาคสนาม (ราชบุรี)
  3. เทคนิคการสร้าง ASFV ที่มีการแสดงออกของโปรตีนอื่นด้วยวิธี Homologous recombination
  4. กระบวนการผลิตโปรตีนของไวรัส ASFV แต่ละชนิดเพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบการสร้าง ASFV ที่เพิ่มปริมาณได้ครั้งเดียว (Single-Cycle ASFV) เพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนภูมิคุ้มกันต่อไวรัส ASFV ด้วยเทคนิค ELISA
แชร์หน้านี้: