ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย


จริยธรรมการวิจัย

การเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนา เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การวิจัยและพัฒนาอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามแนวทางจริยธรรมการวิจัยและกฏหมายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่พึงตระหนัก สวทช. ได้จัดตั้งฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (The Office of Research Integrity, ORI) เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งรับผิดชอบในการรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนทางด้านพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย (Research Misconduct) เพื่อนำเรื่องร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการสืบสวนและพิจารณาต่อไป

Research integrity หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริตในการวิจัย โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ แนวทาง มาตรฐานวิชาชีพ และหลักจริยธรรมการวิจัย ซึ่งในทางปฏิบัติ คือ การทำวิจัยในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นมีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในวิธีการทดลองที่ใช้และผลการวิจัยที่เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่

  • ความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ในการนำเสนองานวิจัย การทำวิจัย และการรายงานผลวิจัย
  • การแจ้งหรือประกาศการขัดกันของผลประโยชน์ (Conflicts of Interest)
  • ความถูกต้องและเป็นธรรม ในการมีส่วนร่วมต่อข้อเสนอโครงการวิจัยและการรายงานผล
  • การปกป้องคุ้มครองอาสาสมัครตามหลักจรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์
  • การประชุม World Conference on Research Integrity (WCRI) ครั้งที่ 6
    • เอกสารแนบ
    • รับชมย้อนหลัง
  • การดูแลและปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมตามหลักจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
  • การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มวิจัยในเชิงวิชาการ การสื่อสาร และการแบ่งปันข้อมูลหรือทรัพยากร
  • ความยึดมั่นต่อการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างที่นักวิจัยที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงและผู้ฝึกปฏิบัติงาน
  • ความเชี่ยวชาญและเป็นธรรมในการตรวจทานงานวิจัย
นโยบายด้านการบริหารคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย สวทช.

ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย ร่วมกับฝ่ายกฎหมาย ได้จัดทำ ระเบียบสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ว่าด้วยจริยธรรมการวิจัยและการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย พ.ศ.2563 ขึ้น โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย สวทช. และได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เนื้อหาว่าด้วย ข้อบังคับ ระเบียบ การกำหนดความรับผิดเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยเป็นการเฉพาะ การประพฤติมิชอบทางการวิจัย เช่น การลักลอกข้อมูลการวิจัย (Plagiarism) การลักลอกข้อมูลการวิจัยของตนเอง (Self-plagiarism) การปลอมแปลงข้อมูลการวิจัย (Falsification) และ การแต่งข้อมูลการวิจัยขึ้นเอง (Fabrication) เป็นต้น

  • ระเบียบสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ว่าด้วยจริยธรรมการวิจัยและการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย พ.ศ.2563 |
  • ประกาศสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เรื่อง แนวปฏิบัติการวิจัยที่เกี่ยวโยงกับจริยธรรม สำหรับผู้วิจัย
  • ประกาศสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เรื่อง แนวปฏิบัติการบริหารโครงการวิจัยที่เกี่ยวโยงกับจริยธรรมการวิจัย
  • คู่มือการใช้ แบบการเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรับรองการรักษาความลับในโครงการวิจัย
    1. สำหรับผู้เชี่ยวชาญประเมินโครงการ [แบบลงนามเป็นรายโครงการ] |
    2. สำหรับคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ
      1. แบบลงนามครั้งเดียว |
      2. แบบลงนามทุกครั้งของการประชุม |
    3. สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการวิจัย [Checklist ประจำปี] |
    4. สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้เข้าร่วมประชุม [แบบลงนามเป็นรายโครงการ] |
  • ประกาศสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เรื่อง นโยบายด้านการบริหารคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย

จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • รายงานการประชุมวิชาการนานาชาติ “International Forum: Research Integrity – Challenges and Solutions” ( 5 สิงหาคม 2565)
  • รายงานการประชุมวิชาการนานาชาติ “International Forum on Research Integrity in the Developing World” (16 สิงหาคม 2564)
  • คณะกรรมการจริยธรรมของ UNESCO เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาด้านจริยธรรมของ COVID-19 certificates
  • รายงานการประชุมเสวนาโต๊ะกลม จริยธรรมในปัญญาประดิษฐ์ – ก้าวสู่ Trustworthy AI (7 กุมภาพันธ์ 2563)
  • รายงานการประชุมเสวนา เรื่อง “วิกฤติ COVID-19 กับมาตรการการรับมือที่เข้มข้น ภายใต้จริยธรรมที่เข้มแข็ง” (2 มิถุนายน 2563)
  • คำแถลงเรื่องโควิด-19 (COVID-19): ข้อพิจารณาด้านจริยธรรมจากมุมมองระดับโลก ฉบับภาษาไทย โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
  • รายงานการประชุมนานาชาติ เรื่อง The Ethics of Science & Technology and Sustainable Development (5-6 กรกฎาคม 2562)
  • การจัดประชุมนานาชาติ เรื่อง Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development
  • สารจากประธานคณะกรรมการส่งเสริมจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี น.พ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
งานด้านจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
1. คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของ สวทช.
2. แบบตรวจสอบกิจกรรม/งานวิจัย เข้าข่ายการวิจัยโดยใช้สัตว์ทดลอง
3. คู่มือการดำเนินงานตามระบบบริหารคุณภาพ ISO
1. คู่มือการทำงาน Department Manual (DM)  
2. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน Procedure Manual (PM)
2.1 การพิจารณาข้อเสนอโครงการขอใช้สัตว์ฯ
2.2 การติดตามรายงานโครงการวิจัยขอใช้สัตว์ฯ
2.3 การพิจารณารายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์โครงการใช้สัตว์ฯ
4. พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 2558
5. แผนผังกระบวนการพิจารณาข้อเสนอโครงการการขอใช้สัตว์
6. แบบข้อเสนอโครงการขอใช้สัตว์
6.1 แบบขอรับรองการทำวิจัยในสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
1. กลุ่มสัตว์ทดลอง |
2. กลุ่มสัตว์น้ำ |
3. กลุ่มสัตว์เกษตรและสัตว์ธรรมชาติ |
4. กลุ่มแมลงและแมง |
6.2 แบบประเมินความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เชื้อโรคและพิษจากสัตว์  |
6.3 แบบแจ้งการจ้างดำเนินการในสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์  |
7. รายงานการเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ทุกๆ 6 เดือน โดยหัวหน้าโครงการ  |
8. รายงานการเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดยสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 
9. แผนผังการติดตามรายงานความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ 
10. รายงานการเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ฉบับสมบูรณ์  |
11. รายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่มีผลกระทบต่อสัตว์  |
งานด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
1. วิธีดำเนินการมาตรฐาน คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ของ สวทช. (NSTDA-Institutional Review Board Standard Operating Procedure, NSTDA-IRB SOP) [NEW]
NSTDA-IRB SOP Version 01.0
  • บทที่ 1 การเตรียมวิธีดำเนินการมาตรฐาน
  • บทที่ 2 องค์ประกอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • บทที่ 3 การบริหารจัดการกับโครงการวิจัยที่ยื่นขอรับการพิจารณา
  • บทที่ 4 การทบทวนและประเมินโครงการวิจัย
  • บทที่ 5 การพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แบบยกเว้นและแบบเร่งด่วน
  • บทที่ 6 การพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แบบเต็มคณะ
  • บทที่ 7 การพิจารณาโครงการวิจัยเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
  • บทที่ 8 การพิจารณาโครงการวิจัยที่ส่งเข้ามาใหม่ ภายหลังการแก้ไข
  • บทที่ 9 การประเมินต่อเนื่องของโครงการวิจัยที่ผ่านการรับรอง
  • บทที่ 10 การตรวจเยี่ยม
  • บทที่ 11 การเตรียมระเบียบวาระการประชุม การจัดประชุม และรายงานการประชุม
  • บทที่ 12 การบันทึกการติดต่อสื่อสาร
  • บทที่ 13 การบริหารจัดการเอกสารโครงการวิจัย
  • บทที่ 14 การตรวจเยี่ยมคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  • บทที่ 15 ความร่วมมือกับคณะกรรมการจริยธรรมอื่น
  • วิธีดำเนินการมาตรฐาน (ฉบับเต็ม)

 

2. แบบฟอร์มและเอกสารที่ใช้ประกอบเพื่อขอรับการพิจารณาจากคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ของ สวทช. [NEW]
โครงการวิจัยที่ยื่นเสนอครั้งแรก
  • AF 03-01 แบบตรวจสอบประเภทโครงการวิจัย |
  • AF 03-02 แบบเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ |
  • AF 03-03 ตัวอย่างเอกสารชี้แจงข้อมูลสำหรับผู้เข้าร่วมวิจัย และหนังสือแสดงความยินยอมเข้าร่วมการวิจัย |
โครงการวิจัยที่ผ่านการรับรองแล้ว
  • AF 09-01 แบบฟอร์มการขอปรับเปลี่ยนโครงการวิจัยที่ได้รับการรับรองแล้ว |
  • AF 09-02 แบบรายงานผลการดำเนินงานวิจัย แจ้งปิดโครงการ หรือขอต่ออายุหนังสือรับรอง |
  • AF 09-03 แบบรายงานการเบี่ยงเบน/ฝ่าฝืน/การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด |
  • AF 09-04 แบบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง |
อื่นๆ
  • AF 01-05 แบบคำร้องขอปรับปรุงวิธีดำเนินการมาตรฐาน |
  • AF 03-09 ข้อปฏิบัติสำหรับผู้วิจัย

 

3. แบบตรวจสอบกิจกรรม/งานวิจัย เข้าข่ายการวิจัยในมนุษย์

 

4. เอกสารประกอบเพิ่มเติม
– วิวัฒนาการของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ 
– แนวทางจริยธรรม การทำวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐

 

5. คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
งานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ

กำกับดูแลให้งานวิจัยด้านชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์และงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และสิ่งมีชีวิตที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม มีมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสากล และเพื่อควบคุมดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

1. กฎหมาย และประกาศที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
1) คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2) พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘
3) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การศึกษาวิจัย เพื่อการควบคุมโรค การป้องกันโรค และการบำบัดโรค พ.ศ. ๒๕๖๑
4) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา ๑๘ พ.ศ. ๒๕๖๑
5) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา ๑๘ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
6) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา ๑๘ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ (SARS-CoV-2)
7) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง พิษจากสัตว์ที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา ๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๒
8) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดทำและส่งรายงานประจำปีในการผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย นำผ่าน หรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๑
2. แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ
1) แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2564
2) ช่องทางรับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่อแนวทางปฏิบัติฯ
3. แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
1) รายการตรวจสอบสำหรับรับรองงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ สวทช. |
2) แบบประเมินความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ |
3) แบบรายงานสำหรับการประเมินความปลอดภัยของเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ |
4) แบบตรวจสอบการขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการวิจัย/บริการวิชาการ |
5) แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย/บริการวิชาการ |
6) เอกสารรับรองโครงการวิจัย/บริการวิชาการ
7) แบบฟอร์มสำหรับการเคลื่อนย้ายเชื้อโรค พิษจากสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม สารชีวภาพ ระหว่างหน่วยงาน |
8) แบบฟอร์มข้อตกลงการใช้ตัวอย่างชีวภาพ (Material Transfer Agreement – MTA) |
9) แบบประเมินความเสี่ยงทางชีวภาพของโครงการ |
10) แบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุด้านชีวภาพ สวทช. |
11) แบบฟอร์มข้อมูลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อใช้จัดทำรายงานประจำปี
งานด้านจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์
แนวทางการยื่นขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัย
  • แนวทางการยื่นขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัย [NEW]
  • กําหนดการประชุมคณะกรรมการฯ ประจําปี 2567 [NEW]
  • กระบวนการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย [NEW]
  • คำแนะนำสำหรับผู้วิจัยในการส่งเอกสารประกอบการพิจารณาข้อเสนอโครงการ [NEW]
กิจกรรมที่น่าสนใจ
กิจกรรมเดือน กุมภาพันธ์ 2567
“คลินิก อย.” รับให้ปรึกษาด้านเครื่องมือแพทย์
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุม CO-113 อาคารสำนักงานกลาง และผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน มกราคม 2567
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงานด้านจริยธรรมการวิจัย ของ สวทช. จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ 10 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม Four South Boardroom อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • สรุปงานกิจกรรม
งานอบรมหลักสูตร “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)”
ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2567 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กันยายน 2566
กิจกรรม “คลินิกจริยธรรม” รับปรึกษาเรื่องการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลอง
วันที่ 7 กันยายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco WebEx
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน สิงหาคม 2566
กิจกรรม “คลินิกสถิติเพื่อการวิจัย”
วันที่ 24 สิงหาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco WebEx
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
งานอบรม “ก้าวทัน งานวิจัยผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ในสัตว์ทดลอง”
วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco WebEx
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กรกฎาคม 2566
งานอบรมเสวนา “ไขข้อข้องใจ กิจกรรมแบบใดต้องขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์”
วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องออดิทอเรียม (CO-113) อาคารสำนักงานกลาง และผ่านระบบออนไลน์ Cisco WebEx
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
ประชุมเสวนา “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity”
วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องแมจิก 3 ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบออนไลน์ Cisco WebEx
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
งานอบรม “จริยธรรมการวิจัย เรื่องใกล้ตัวที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน”
วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco WebEx
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน มีนาคม 2566
การเข้าร่วมงานและนำเสนอผลงานในการประชุม Asia Pacific Research Integrity (APRI) Network 2023
วันที่ 20 – 22 มีนาคม 2566 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
  • สรุปงานกิจกรรม
งานสัมมนา “บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์”
วันที่ 29 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และผ่านระบบออนไลน์ Cisco WebEx
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กุมภาพันธ์ 2566
งานอบรมหลักสูตร “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)”
วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ และ กำหนดการอบรม
กิจกรรมเดือน ธันวาคม 2565
งานอบรมเชิงปฏิบัติการ “เลือกใช้สถิติและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรให้ตอบโจทย์งานวิจัย”
วันที่ 14-16 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุม SD-601 ชั้น 6 อาคารสราญวิทย์ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน พฤศจิกายน 2565
งานฝึกอบรม หัวข้อ “ธรรมภิบาลและจริยธรรมการวิจัย” ภายใต้โครงการ “การพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ”
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส กรุงเทพฯ
  • สรุปงานกิจกรรม
กิจกรรมเดือน ตุลาคม 2565
งานประกาศรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี พ.ศ. 2565
วันที่ 19 ตุลาคม 2565 ณ Grand Hall, ดิ แอทธินี โฮเต็ล
  • สรุปงานกิจกรรม
กิจกรรมเดือน กันยายน 2565
“คลินิกจริยธรรม” รับปรึกษาเรื่องการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลอง
วันที่ 14 กันยายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
งานเสวนา “การใช้ AI และ Big Data อย่างมีจริยธรรม ในการขับเคลื่อนประเทศไทย”
วันที่ 27 กันยายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน สิงหาคม 2565
งานประชุมวิชาการนานาชาติ “International Forum: Research Integrity – Challenges and Solutions”
วันที่ 5 สิงหาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
งานฝึกอบรม หัวข้อ “ธรรมภิบาลและจริยธรรมการวิจัย” ภายใต้โครงการ “การพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ”
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 และวันที่ 23-24 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร
  • สรุปงานกิจกรรม
กิจกรรมเดือน กรกฎาคม 2565
การประชุมโต๊ะกลม “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity” ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
งานอบรมเสวนา “แนวทางประเมินคุณประโยชน์ต่อความเสี่ยงในการวิจัย และความเปราะบางของอาสาสมัคร”
วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน มิถุนายน 2565
งานอบรมเสวนา “ตามทันสถานการณ์ COVID-19 กับการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง”
วันที่ 7 มิถุนายน 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
งานอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (BSL-2)
วันที่ 28-29 มิถุนายน 2565 ณ ห้องออดิทอเรียม (CO-113) อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน พฤษภาคม 2565
งานแถลงข่าว “สวทช. เสริมแกร่งศักยภาพด้าน วทน. ด้วย e-Learning ชุดความรู้เพื่ออาชีพแห่ง อนาคต…ครบ…จบ….คุ้ม…”
วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ
  • สรุปงานกิจกรรม
กิจกรรม “คลินิกสถิติเพื่อการวิจัย”
วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ณ ห้อง CO-115 ชั้น 1 อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน มีนาคม 2565
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรม”ระหว่าง สวทช.-จุฬาฯ-มจธ.
วันที่ 2 มีนาคม 2565 ณ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สรุปงานกิจกรรม
“คลินิกจริยธรรม” รับปรึกษาเรื่องการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลอง
วันที่ 3 มีนาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meeting
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
งานสัมมนา “ชีวิตในโลกยุคใหม่ และการอยู่ร่วมกับ AI อย่างรู้เท่าทัน”
วันที่ 29 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุม CC 305 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยและผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meeting
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กุมภาพันธ์ 2565
การอบรมหลักสูตร “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)”
ระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
การประชุมโต๊ะกลม “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity”
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน มกราคม 2565
งานเสวนา “รู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์: กฎหมาย และจริยธรรมที่ควรคำนึงถึง”
วันที่ 18 มกราคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน ธันวาคม 2564
งานอบรมเชิงปฏิบัติการ “เลือกใช้สถิติและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรให้ตอบโจทย์งานวิจัย”
วันที่ 1-3 ธันวาคม 2564 ณ ห้องออดิทอเรียม (CO-113) อาคารสำนักงานกลาง และผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน พฤศจิกายน 2564
ประชุมโต๊ะกลม “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity” ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กันยายน 2564
ประชุมประชาพิจารณ์ให้ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แนวปฏิบัติจริยธรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ ของ สวทช.
วันที่ 13 กันยายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรม “คลินิกจริยธรรม” รับปรึกษาเรื่องการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลอง
วันที่ 16 กันยายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
พิธีลงนาม MOU โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และโปรแกรม copycatch
วันที่ 27 กันยายน 2564 ณ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน สิงหาคม 2564
งานอบรมเสวนา “ก้าวทันเทคโนโลยี กับการวิจัยในสัตว์ทดลอง”
วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
งานประชุมวิชาการนานาชาติ “International Forum on Research Integrity in the Developing World”
วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex event
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กรกฎาคม 2564
งานอบรมเสวนา “แนวทางการเขียนเอกสารข้อมูลและขอความยินยอม สำหรับโครงการวิจัยในมนุษย์”
วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน มิถุนายน 2564
งานอบรมพื้นฐาน “ความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”
วันที่ 18 มิถุนายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ [1] | [2]
กิจกรรมเดือน พฤษภาคม 2564
งานอบรม”ทำอย่างไรไม่ให้ละเมิดจริยธรรมการวิจัย”
วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
  • รับชมย้อนหลัง
ประชุมโต๊ะกลม “การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย”
วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องประชุม Board room 402 ชั้น 4 อาคาร Convention center อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี และผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน มีนาคม 2564
กิจกรรม “คลินิกสถิติเพื่อการวิจัย”
วันที่ 11 มีนาคม 2564 ณ ห้อง 713 ชั้น 7 อาคาร สวทช. (โยธี) และผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
งานประชาพิจารณ์ (ร่าง) แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ สวทช. พ.ศ. …
วันที่ 19 มีนาคม 2564 ณ ห้อง CO-101 อาคาร สำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กุมภาพันธ์ 2564
การอบรม หลักสูตร “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)”
วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2564 ผ่านระบบประชุมออนไลน์ Cisco Webex Meetings
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ |
กิจกรรมเดือน มกราคม 2564
กิจกรรม “คลินิกจริยธรรม” รับปรึกษาเรื่องการวิจัยในสัตว์ทดลองและในมนุษย์
วันที่ 21 มกราคม 2564 ณ ห้องริมสวน 1 อาคาร NECTEC อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน ธันวาคม 2563
งานอบรมเชิงปฏิบัติการ “เลือกใช้สถิติและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรให้ตอบโจทย์งานวิจัย”
วันที่ 14-16 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุม SD 601 ชั้น 6 อาคารสราญวิทย์ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ |
กิจกรรมเดือน พฤศจิกายน 2563
งานอบรม “ก้าวผ่านกับดัก plagiarism”
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้อง Auditorium (CO-113) อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กันยายน 2563
งานประชุมโต๊ะกลม “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity”
วันที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมสุพรรณกัลยา 1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน สิงหาคม 2563
งานอบรมเชิงปฏิบัติการ “ชีวสถิติการวิจัยในสัตว์ และการขอรับรองโครงการ…อย่างถูกต้อง…ไม่ยากอย่างที่คิด”
วันที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กรกฎาคม 2563
ประชุมโต๊ะกลม “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity”
วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน มิถุนายน 2563
เสวนา”วิกฤติ COVID-19 กับมาตรการการรับมือที่เข้มข้น ภายใต้จริยธรรมที่เข้มแข็ง”
วันที่ 2 มิถุนายน 2563 ณ ห้องประชุม 711 ชั้น 7 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ
  • รับชมย้อนหลัง
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน มีนาคม 2563
งานประชุมเสวนา “จรรยาบรรณการวิจัย เรื่อง หลักการเขียนข้อเสนอโครงการและรายงานการวิจัยที่ดี”
วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม (CO-113) อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
  • รับชมย้อนหลัง
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดือน กุมภาพันธ์ 2563
เสวนาโต๊ะกลม จริยธรรมในปัญญาประดิษฐ์-ก้าวสู่ Trustworthy AI
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุม Garden 1 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
เสวนาโต๊ะกลม “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity”
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอประชุม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สรุปงานกิจกรรม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
การประชุมโต๊ะกลม พรบ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้อง 711 ชั้น 7 อาคาร สวทช. โยธี
  • สรุปงานกิจกรรม
  • สรุปประชุม
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
การอบรมเรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ Human Research Ethics)”

เมื่อวันที่ 15-17 มกราคม 2563 ณ ห้องออดิทอเรียม (CO-113) อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (The Office of Research Integrity, ORI) สวทช. ร่วมกับ ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย (Forum for Ethical Review Committees in Thailand (FERCIT)) และมูลนิธิชิดเคอร์-เฟอร์แคฟ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์ (The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review (SIDCER) และ Forum for Ethical Review Committees in Asia and the Western Pacific (FERCAP)) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์ ได้จัดการอบรมในหัวข้อ “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ Human Research Ethics)”

  • สรุปงานกิจกรรม พร้อมภาพบรรยากาศ
กิจกรรมเดือน ธันวาคม 2562
  • การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ และประเมินผลความก้าวหน้าโครงการขอใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 ณ ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กิจกรรมเดือน พฤศจิกายน 2562
  • การประชุมจริยธรรมการวิจัยและการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย เมื่อวันที่ 6-7 และ 11 พฤศจิกายน 2562 จัดโดยฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย ร่วมกับฝ่ายกฎหมาย
กิจกรรมเดือน กันยายน 2562
  • กิจกรรม “คลินิกจริยธรรม” รับปรึกษาเรื่องการวิจัยในสัตว์ทดลอง เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 ณ ห้องริมสวน 1 อาคาร NECTEC อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • การอบรมแนวทางการใช้สัตว์ทดลองและสถิติสำหรับการวิจัยที่ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุม CO 113 อาคารส านักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • งานบรรยาย เรื่อง “จริยธรรมในการวิจัย…สำคัญอย่างไร” เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 จัดโดยฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย ร่วมกับศูนย์นาโนเทค
กิจกรรมเดือน สิงหาคม 2562
  • “คลินิกจริยธรรม” รับปรึกษาเรื่องการวิจัยในมนุษย์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 ณ ห้องริมสวน 2 อาคารเนคเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
งานเสวนา “ต่อยอดงานวิจัยอย่างไร ไม่ให้ติดกับดัก Plagiarism”

จัดขึ้นวันที่ 8 สิงหาคม 2562 ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี งานเสวนาฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าฟังเสวนาฯ ตระหนักถึงจริยธรรมการวิจัย รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง Plagiarism และควรต่อยอดงานวิจัยอย่างไร เพื่อลดโอกาสจากการทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

  • สรุปงานเสวนา
  • รูปภาพบรรยากาศในการประชุม

 

 

 

 

 

 

 

 

การประชุมวิชาการ Conference on the Ethics of Science & Technology and Sustainable Development www.stethicsconference2019.net

จัดขึ้นวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม A โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว

  • สรุปประเด็นในการประชุม
  • รูปภาพบรรยากาศในการประชุม
    (เครดิตภาพ: ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษาฯ , นาย วีระวุฒิ ฟุ้งรัตนตรัย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวทช.)

 

 

 

 

 

 

งานเสวนา หัวข้อ “การเขียนรายงานวิจัยที่ดี และการตรวจความซ้ำซ้อนทางงานวิจัย”

จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2561 เวลา 13.30-15.30 น ณ ห้องออดิทอเรียม 113 อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

การเสวนา เปิดประตูจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2561 เวลา 8.30-13.30 น. ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร ร่วมจัดโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

  • สรุปการจัดงาน
ประชุมวิชาการประจำปี สวทช.
  • สรุปประเด็นสัมมนา
E-Learning

แนะนำหลักสูตรด้านมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย สวทช.

E-Learning ชุดที่ 1

1. หลักสูตร “จริยธรรมการวิจัย 01 (Research Integrity 01)”

รวบรวมสรุปเนื้อหาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย (Research misconduct) ได้แก่

  • Fabrication : การสร้างข้อมูลเท็จหรือการปั้นแต่งข้อมูลวิจัย
  • Falsification : การปลอมแปลงข้อมูลหรือผลการวิจัย
  • Plagiarism : การคัดลอกงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ วรรณกรรม หรือข้อเสนอโครงการ ของผู้อื่น โดยไม่อ้างถึงแหล่งข้อมูล

พร้อมทั้งยกตัวอย่างการกระทำที่เข้าข่ายพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัยในแบบต่างๆ รวมไปถึงแนะนำโปรแกรมตรวจสอบความคล้ายของผลงานทางวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งประโยชน์และความสำคัญของการอ้างอิงข้อมูล เพื่อให้นักวิจัยอาวุโส นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ผู้ช่วยวิจัย ของ สวทช. และบุคคลภายนอก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในจริยธรรมการวิจัย เพื่อเป็นแบบอย่างในการทำงานที่มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบได้

จึงขอเชิญชวนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นักวิเคราะห์โครงการ และผู้ที่สนใจ รับชม E-Learning ดังกล่าว เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องจริยธรรมการวิจัย และเป็นส่วนหนึ่งของการรักษามาตรฐานในการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไป

หลักสูตรการเรียนรู้ ชุดที่ 1 ดังนี้
Link บทเรียน

2. หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง จรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558

จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมไปถึงสร้างความตระหนัก ให้แก่นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย นักวิเคราะห์โครงการ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดยหัวข้อเนื้อหาในหลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ ประกอบไปด้วย

1. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ IACUC
2. คำจัดกัดความของ “สัตว์” และประเภทของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
3. ลักษณะงานทางวิทยาศาสตร์ เช่น งานวิจัย งานทดสอบ และการดัดแปลงพันธุกรรม เป็นต้น
4. จรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
5. หลักเกณฑ์และหน้าที่ของผู้ใช้สัตว์/ผู้ผลิตสัตว์/ผู้รับผิดชอบสถานที่ดำเนินการ
6. แบบสำรวจโครงการวิจัยที่เข้าข่ายการวิจัยในสัตว์ และแผนผังแนวทางการยื่นข้อเสนอโครงการ

หลักสูตรการเรียนรู้ เรื่อง จรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 ดังนี้
Link บทเรียน

3. หลักสูตร “จริยธรรมการวิจัย 02 (Research Integrity 02)”

หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ ที่รวบรวมเนื้อหาและตัวอย่างกระทำที่ถือว่าเข้าข่ายการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย ได้แก่

  • การลักลอกความคิดและผลงานการวิจัย (Plagiarism)
  • การปลอมแปลงข้อมูลการวิจัย (Falsification)
  • การแต่งข้อมูลการวิจัยขึ้นเอง (Fabrication)

และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย รวมไปถึงวิธีการป้องกัน นโยบาย และช่องทางการร้องเรียน เมื่อมีข้อสงสัยหรือพบเห็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยเกิดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากร สวทช. กลุ่มวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม บุคลากรกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นักศึกษา และบุคคลภายนอก ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย และไม่ประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยหวังว่า งานวิจัยที่แล้วเสร็จ จะมีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับ และสามารถทำซ้ำได้

หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง “จริยธรรมการวิจัย 02 (Research Integrity 02)” ดังนี้
Link บทเรียน

4. หลักสูตร “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)”

หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ ที่รวบรวมเนื้อหาและสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงเมื่อจะดำเนินการวิจัยในมนุษย์ เช่น หลักจริยธรรมพื้นฐานของการวิจัยในมนุษย์ ได้แก่

  • หลักความเคารพในบุคคล (Respect for Persons)
  • หลักคุณประโยชน์ ไม่ก่ออันตราย (Beneficence)
  • หลักความยุติธรรม (Justice)

รวมถึง ตัวอย่างลักษณะงานวิจัยที่ถือว่าเข้าข่ายการวิจัยในมนุษย์ กระบวนการขอความยินยอม การพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยง และการคัดเลือกอาสาสมัคร เป็นต้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากร สวทช. กลุ่มวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม บุคลากรกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นักศึกษา และบุคคลภายนอก ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักจริยธรรมพื้นฐานของการวิจัยในมนุษย์ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยให้ถูกต้อง รวมทั้งสามารถคุ้มครองดูแลและรักษาสวัสดิภาพของอาสาสมัครอย่างสม่ำเสมอตลอดการศึกษาวิจัย เพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพและมาตรฐานที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Ethics)” ดังนี้
Link บทเรียน

หากท่านมีคำถาม หรือคำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตร กรุณาติดต่อ ori@nstda.or.th

แจ้งเบาะแสและร้องเรียนพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช.

เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของ สวทช. ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และเชื่อถือได้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัย หรือพบเห็นการกระทำ/พฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัย (Research misconduct) ที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ได้แก่

1. Fabrication การสร้างข้อมูลเท็จหรือการปั้นแต่งข้อมูลวิจัย
2. Falsification การปลอมแปลงข้อมูลหรือผลการวิจัย
3. Plagiarism การคัดลอกงานวิจัยของตนเองและผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างถึง แหล่งข้อมูลที่ได้มา
4. อื่นๆ

ท่านสามารถแจ้งเบาะแสและร้องเรียนพฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ผ่านทางช่องทางที่ให้ไว้ด้านล่าง

 

ทั้งนี้:

1. สวทช. จะรักษาข้อมูลที่ได้รับเป็นความลับ จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลและตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องเรียนต่อสาธารณชน
2. ข้อมูลการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนที่ระบุต้องเป็นความจริง
3. หากข้อมูลไม่เพียงพอที่จะดำเนินการตรวจสอบและสืบหาข้อเท็จจริงได้ สวทช. จะยุติเรื่อง และเก็บบันทึกเป็นข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
4. ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนสามารถเลือกเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ระบุชื่อ-สกุล หรือ อีเมล์ของท่าน อย่างไรก็ตาม การให้ชื่อและอีเมล์จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

 

ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน

1. รายละเอียดเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบทางจริยธรรมการวิจัย (โปรดแนบหลักฐานเพิ่มเติม)*
2. อีเมล์
3. ชื่อ-สกุล

หมายเหตุ: ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน ข้อ 2) อีเมล์ และ 3) ชื่อ-สกุล ผู้แจ้งเบาะแสสามารถละเว้นไว้หรือใช้อีเมล์แฝง/นามแฝงได้ อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลในการติดต่อกลับ จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ท่านสามารถส่งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของท่านมาที่อีเมล์: ORI2@nstda.or.th
หรือแจ้งเบาะแสผ่านทางระบบออนไลน์ คลิก

ติดต่อ-สอบถาม

ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

Email: QRI@nstda.or.th
โทรศัพท์: 0-2564-7000 ต่อ 71843-44,71834