หน้าแรก คลังความรู้ 30 ปี สวทช. งานวิจัย 30 ปี สวทช. “บัญชีนวัตกรรมไทย” สร้างโอกาสผู้ประกอบการบุก “ตลาดภาครัฐ”
“บัญชีนวัตกรรมไทย” สร้างโอกาสผู้ประกอบการบุก “ตลาดภาครัฐ”
14 มิ.ย. 2564
0
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

“บัญชีนวัตกรรมไทย” สร้างโอกาสผู้ประกอบการบุก “ตลาดภาครัฐ”

            ปัจจุบันผลงานวิจัยทั้งในภาครัฐและเอกชนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ได้รับการนำมาใช้เชิงพาณิชย์ ผลงานเหล่านี้ไม่ใช่…ไม่มีประโยชน์ เพียงแต่ยังขาดโอกาสและแรงผลักดันให้ก้าวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่การเป็นที่ยอมรับและแห่งทันได้ในเชิงพาณิชย์

            รัฐบาลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” และเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดแนวทางส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมไทยผ่านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ

            จัดทำเป็น “บัญชีนวัตกรรมไทย” เพื่อเป็นเครื่องมือในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมผลักดันสู่เชิงพาณิชย์อย่างมีมาตรฐานในระดับที่เชื่อถือได้

            จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2558 มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย และมอบหมายให้สำนักงบประมาณเป็นหน่วยตรวจสอบราคาของผลิตภัณฑ์และบริการ

            สำหรับคำว่า “นวัตกรรมไทย” ที่สามารถขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยได้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นของใหม่หรือไม่เคยมีมาก่อนในโลก
ขอเพียงเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัย พัฒนา ปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการเต็มด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยคนไทยมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่มีอยู่แล้วก็ได้

            รวมถึงนวัตกรรมไทยในที่นี้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นในประเทศทั้งหมด อาจซื้อหรือนำเข้าบางส่วนมาจากต่างประเทศ โดยผลงานที่ได้รับการขึ้นบัญชีไปแล้ว 462 ผลงาน (ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563) บางรายการก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก แต่เป็นการวิจัยพัฒนาโดยภาคเอกชนไทย ซึ่งบางอย่างพัฒนาเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศหรือมีคุณสมบัติใกล้เคียง หรือดีกว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน

            นอกเหนือจากเพื่อให้เกิดการนำไปใช้งานจริงแล้ว มีข้อกำหนดให้ภาครัฐจัดซื้อสินค้าหรือบริการตามรายการในบัญชีนวัตกรรมไทยใต้ไม่น้อยกว่า 30% ของงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทยโดยวิธีเฉพาะเจาะจงหรือวิธีคัดเลือก (กรณีมีผู้ขายหรือผู้ให้บริการ 2 รายขึ้นไป)

            สำหรับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมนั้น กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ขอขึ้นทะเบียนต้องเป็นผลมาจากการวิจัยหรือพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ โดยสถาบันวิจัยไทย สถาบันการศึกษาของไทย หรือภาคเอกชนไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ การค้า และมีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51% หรือองค์กรภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการผลิตและจำหน่าย

            ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ขอขึ้นทะเบียนต้องผ่านการรับรองมาตรฐานบังคับของ ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ (ถ้ามี) รวมทั้งผ่านการตรวจสอบจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ และผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามที่ระบุในเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมถึงต้องผ่านการทดสอบความปลอดภัยในการใช้งาน และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานวิเคราะห์ทดสอบที่เชื่อถือได้

            อย่างไรก็ดีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยเป็นเวลาสูงสุด 8 ปี ในกรณีไม่เคยจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐมาก่อนหรืออย่างน้อย 3 ปี หากเคยจัดซื้อจัดจ้างมาแล้วเพื่อให้เอกชนไทยมีตลาด รองรับและเริ่มแข่งขันได้

            หนึ่งในตัวอย่างผลงานวิจัยคนไทยที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยแล้วประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักในตลาดมากขึ้นก็คือ “คีนน์” ผลิตภัณฑ์สารชีวบำบัดขจัดคราบอเนกประสงค์ รวมถึง “คราบน้ำมัน” ของบริษัทคีนน์ จำกัด ซึ่งต่อยอดมาจากงานวิจัยโดยเป็นสูตรผสมของจุลินทรีย์ เอนไซม์ และสารประกอบทางชีวภาพ มีคุณสมบัติย่อยสลายโมเลกุลน้ำมัน คราบน้ำมัน สิ่งสกปรก และสารอินทรีย์ต่าง ๆ มีสภาวะเป็นกลาง ไม่กัดกร่อน ไม่เป็นอันตราย – สามารถใช้ทำความสะอาดอเนกประสงค์ได้

            ผลิตภัณฑ์นี้แม้ผู้ผลิตจะนำออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ แต่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงตัดสินใจเข้าสู่ตลาดภาครัฐ เพราะมองว่ามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นประตูไปสู่หน่วยงานอื่นๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก จึงยื่นขอขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยผ่านกลไกการพิจารณาที่ผลิตภัณฑ์ต้องมีมาตรฐานและการรับรองความเป็นนวัตกรรมด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เมื่อทำสำเร็จ รายชื่อสินค้าจากคืนนี้จึงปรากฏอยู่ในแค็ตตาล็อกของตลาดภาครัฐ การเข้าสู่ตลาดภาครัฐได้สำเร็จครั้งนั้น ทำให้ “คีนน์” เป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้มีมูลค่าการเติบโต สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่แบรนด์ที่ผ่านการปั้น “บัญชี นวัตกรรมไทย” จึงเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่จะเป็นใบเบิกทางไป สู่ตลาดอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว กระตุ้นการใช้ วทน. และสร้าง รายได้มากขึ้น

ดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม

แชร์หน้านี้: