หน้าแรก ผลงาน ผลงาน/นวัตกรรมรับมือโควิด-19 การสกัด RNA โดยไม่ใช้ Commercial Kit
การสกัด RNA โดยไม่ใช้ Commercial Kit
2 พ.ย. 2563
0
ผลงาน/นวัตกรรมรับมือโควิด-19
ผลงานวิจัยเด่น

การตรวจผู้ป่วยโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิค Real-time RT-PCR เป็นการตรวจมาตรฐานสูงสุด (Gold standard test) หรือการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม แต่ในการสกัดสารพันธุกรรม หรืออาร์เอ็นเอ (Ribonucleic acid, RNA) ของไวรัส SARS-CoV-2 มีข้อจำกัดคือต้องใช้เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ (Automated) และใช้น้ำยาสกัดสารพันธุกรรมที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 120-300 บาท

การวิจัยและพัฒนาวิธีการสกัดอาร์เอ็นเอที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติและน้ำยาสกัดจากต่างประเทศ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการตรวจตัวอย่างแล้ว ยังไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำยาสกัดที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศอีกด้วย

 

 

ทีมวิจัยจากศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ หรือ National Omics Center (NOC) หน่วยงานภายใต้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดำเนินการวิจัย และพัฒนาการสกดัอาร์เอ็นเอ ด้วย Magnetic bead ที่ผลิตในไทย ซึ่งมีต้นทุนการสกัดประมาณ 50 บาท/ตัวอย่าง โดยได้มอบนํ้ายาที่พัฒนาขึ้น 20 ชุดให้คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำไปทดสอบเปรียบเทียบในเบื้องต้นพบว่าได้ผลดีและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับชุดน้ำยาสกัดอาร์เอ็นเอ ที่ซื้อจากต่างประเทศ

 

 

ปัจจุบันศูนย์ฯ ได้ดำเนินการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย โดยมีเป้าหมายพัฒนาวิธีการสกัดอาร์เอ็นเอโดยใช้สารเคมีในประเทศเปรียบเทียบกับชุดสกัดนำเข้าและผลิตชุดสกัดที่พัฒนาขึ้น 100,000 ชุด ให้เครือข่ายโรงพยาบาลต่างๆ นำไปใช้คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคม 2563 จะพัฒนากระบวนการสกัดและผลิตได้ 200 ชุดเพื่อให้คณะเวชศาสตร์ฯ ทดสอบเพิ่มเติม พร้อมจัดเตรียมคู่มือ (Procedure) ในการผลิตและใช้น้ำยากับเครื่อง RT-PCR ตลอดจนเตรียมหารือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และพันธมิตรเพื่อการขยายผลภายในเดือนกรกฎาคม 2563 นี้

 

ติดต่อ: ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง
ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

เบอร์โทรศัพท์: 02 564 6700 ต่อ 3537, 3531
E-mail: sithichoke.tan@biotec.or.th

2 พ.ย. 2563
0
แชร์หน้านี้: