หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ รายงานสถานภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสบการณ์การวิจัยนานาชาติ
ประสบการณ์การวิจัยนานาชาติ
11 ม.ค. 2554
0
รายงานสถานภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศวิเคราะห์

Thomson Reuters : Healthcare & Science  ได้เปิดเว็บไซต์ชื่อ Intelligent Information for Life มีการนำเสนอคอลัมน์ ชื่อ Find out what Intelligent Information can do for you  มีคำนำว่า นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลกมากกว่า 20 ล้านคน จำเป็นต้องใช้แหล่งข้อมูลวิชาการคุณภาพเพื่อขับเคลื่อน ค้นพบ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพิ่มความเร็วในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ รวมถึงช่วยปรับปรุงคุณภาพในการรักษาและความปลอดภัยในชีวิตของผู้ป่วยคอลัมน์นี้เป็นการเล่าประสบการณ์การวิจัยผ่านการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์นานาชาติผู้ที่ใช้บริการแหล่งข้อมูลของ Thomson ด้วยฐานข้อมูลชื่อต่างๆ ในเรื่องการทำงานวิจัย เช่น หลักคิดงานวิจัย  หัวข้องานวิจัยการใช้แหล่งข้อมูลวิจัยวิชาการ ประสบการณ์ต่างๆ ของนักวิทยาศาสตร์จากประเทศต่างๆ รวม 30 เรื่อง เป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยบทความนี้ขอนำเสนอประสบการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ 8 ประเทศแถบเอเชียเป็นหลัก ใน 9 เรื่อง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และไทย คาดหวังว่าเราจะได้ทราบถึงความก้าวหน้างานวิจัยวิทยาศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน ดังต่อไปนี้

งานวิจัยที่ 1 ประเทศสหรัฐอเมริกา เรื่องการรักษาเยียวยาโลก (Healing the World)โดย Dr. Eugenio de hostos, Amanda L’ Espesance แห่งสถาบัน Institute of One World Health (iOWH),  San Francisco, USA.  ใช้แหล่งข้อมูลวิชาการชื่อ Thomson Pharma  ตั้งแต่ปี 2009

สถาบันกำลังทำงานวิจัยเรื่องวิธีการรักษาโรค Visceral Leishmaniasis(VL) (โรคเกี่ยวกับอวัยวะภายใน) โรคมาลาเรีย และ โรคท้องร่วง มีนักวิทยาศาสตร์ร่วมงานจากหลากหลายพื้นฐาน ทั้งภาคการศึกษา อุตสาหกรรมยา และภาคสาธารณสุข  สถิติล่าสุดแสดงตัวเลขมีเด็ก 1.6 ล้านคน เสียชีวิตเพราะเชื้อท้องร่วง ดังนั้น iOWH จึงจัดตั้งโปรแกรมวิจัยเพื่อวิจัยพัฒนายารักษาเชื้อโรคนี้  ซึ่งได้รับข้อเสนอโครงการวิจัยจำนวนมาก โดย iOWH ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยก้อนใหญ่ จากมูลนิธิ บิลและเมลินดา เกตส์

สิ่งแรกสุดในการเริ่มต้นวิจัยคือการสืบค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยารักษาโรค นี้ โดยใช้แหล่งข้อมูล ชื่อ Thomson Pharma  โปรแกรมวิจัย Visceral Leishmaniasis (VL) ถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความสำเร็จมากที่สุด iOWH เริ่มดำเนินการทางคลินิก โดยการใช้ยา Paromomycin IM  ซึ่งเป็นยาที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลอินเดีย และกำลังนำเข้าเป็นรายชื่อยาสำคัญของ WHO ซึ่งจะช่วยรักษาชีวิตผู้คนราว 5 แสนคนต่อปี

การดำเนินการคู่ขนานอีกอย่างหนึ่งที่ iOWHกับการวิจัยพัฒนายาคือ การให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อโรค และอาการของโรคนี้ แก่ประชากรที่ไม่รู้ถึงเชื้อโรค VLแหล่งข้อมูลเพื่อการวิจัยเป็นข้อมูลที่จำเป็นที่สุดขาดเสียมิได้ เป็นปัจจัยพื้นฐาน (Essential  Information) นักวิจัยของ iOWH  ทำการสืบค้นแหล่งข้อมูลเป็นกิจวัตรประจำ  (routine) เพื่อที่ให้ทราบถึงยารักษาโรคต่างๆ หรือยาที่อยู่ในระหว่างการอนุมัติ และรวมถึงตรวจสอบในเรื่องสถานภาพทางทรัพย์สินทางปัญญาของยาชื่อต่างๆตลอดเวลา ซึ่งได้ทำวิธีการนี้มาถึง 15 ปี พบว่ามีประโยชน์มากโดยมีรูปภาพแสดง เด็กกำลังเล่นอยู่ท่ามกลางกองขยะมหึมา ที่เขต Tondo กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเขตที่ที่มีผู้อาศัยอยู่หากินจากการเก็บขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้กับนำไปเป็นถ่าน

อ้างอิงจาก  http://intelligentinformationforlife.com/dehostos/

งานวิจัยที่ 2 ประเทศสิงคโปร์ เรื่องผู้ปลูกอวัยวะเทียม(The Organ Growers) โดย Assoc. Prof. Chua Chec Kai, School of Mechanical & Aerospace Eng., Nanyang Technological  Univ. , Singappore  ใช้แหล่งข้อมูลวิชาการชื่อ  Web of Science, WOS  ตั้งแต่ปี 2009

ผศ. Chua มีคุณวุฒิการศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล ทำงานวิจัยในสาขานี้มามากกว่า 20 ปี ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นสาขา Biomedical Engineering อย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ละน้อย จนที่สุดมาเป็นเรื่องเฉพาะ Tissue Engineering โดยทำงานวิจัยร่วมกับโรงพยาบาลในสิงคโปร์เรื่องการใส่อวัยวะเทียมที่ปรับ เปลี่ยน ตามความต้องการของผู้ป่วย (Customizing Prostheses)

จุดสนใจ ที่สำคัญสำหรับทีมงานวิจัยในขณะนี้ คือประดิษฐ์อวัยวะที่ทำหน้าที่แทน สวมตำแหน่งแทนให้แก่เนื้อเยื่อของผู้ป่วยแต่ละราย เช่นผู้ป่วยหูข้างขวาขาด ทีมวิจัยใช้เทคนิค CAD เพื่อวาดภาพหูข้างซ้าย และนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ จากจุดนี้ ทีมวิจัยสามารถทำรูปภาพเสมือน ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่า หูข้างขวาและซ้ายเป็นสมมาตรกัน นี้คืองานวิจัยที่เรากำลังดำเนินการ และต่อมาเปลี่ยนมาเป็นการวิจัย เรื่อง tissue scaffolds (โครงร่างที่สร้างขึ้นมาเพื่อนำเซลล์มาปลูกถ่ายและเลี้ยงให้เจริญเติบโตเป็นอวัยวะที่ต้องการ)

ขณะนี้มีผู้ป่วยจำนวนมากกำลังรอคอยอวัยวะปลูกถ่าย แต่ด้วยมีจำนวนผู้บริจาคไม่เพียงพอ และอัตราการไม่สนองตอบมีจำนวนสูง จึงทำให้มีความต้องการในการพัฒนาความรู้เรื่อง อวัยวะเทียมนี้อย่างมาก

อวัยวะของมนุษย์เป็นเรื่องยากมากที่จะประดิษฐ์ขึ้นมาหรือให้เติบโต ตัวอย่าง ไต หัวใจ เป็นอวัยวะที่สลับซับซ้อนมาก ขณะนี้มีแนวคิดประดิษฐ์อวัยวะประเภทกระดูก (Bone) ในลักษณะเนื้อเยื่อแบบอ่อน (soft tissue) เช่น เส้นเอ็นของกระดูกอ่อน (cartilage tendon) มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งกว่ากระดูก ซึ่งช่วยให้เราเตรียมความพร้อมในการประดิษฐ์อวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ ไตและตับ ถือว่าอยู่ในสาขา Biomaterial ซึ่งประกอบด้วยสาขาย่อย คือ Cell Biology และ Biochemistry ดังนั้นทีมนักวิจัยต้องมาจากหลากหลายตามความเชี่ยวชาญและความร่วมมือกัน

ทีมวิจัยของเรา เริ่มทำการวิจัยเรื่องนี้มา 10 ปีที่ผ่านมา ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางบทความวิจัย ซึ่งขณะนี้ได้รับการอ้างอิง จากทีมวิจัยอื่นๆ มากขึ้น แหล่งข้อมูล หรือห้องสมุดในเรื่องนี้ทีมวิจัยได้ใช้ฐานข้อมูล Web of Science, WOS เกือบทุกวัน เพื่อติดตามบทความใหม่ ทำการอ่านเร็ว ๆ และส่งต่อให้ทีมงาน จากข้อมูลทำให้สามารถทราบถึงทีมวิจัยอื่น ๆ ที่อ้างอิงงานเรา และลักษณะงานวิจัยของเขา และใช้ข้อมูล WOS เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอโครงการวิจัย (Drafting  Research Proposal) หรือบทความวิจัยเสนอตีพิมพ์ในวารสาร รายงานการประชุม

หัวข้องานวิจัย Tissue Engineering เป็นสาขาวิจัยที่น่าตื่นเต้น ในปี 1990 Joseph Murray ได้รับรางวัลในเบลในงานวิจัยเรื่อง การปลูกถ่ายอวัยวะเทียม (organ transplants) ซึ่งนั้นเป็นแรงบันดาลใจของทีมวิจัยเรา

อ้างอิงจาก   http://intelligentinformationforlife.com/chua/

งานวิจัยเรื่องที่ 3 เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เรื่อง ฮ่องกงฮับ (Hong Kong Hub) โดย David Palmer, System Librarian, Main Library, University of Hong Kong (HKU) ใช้แหล่งข้อมูลวิชาการชื่อ  Web of Science, WOS ตั้งแต่ปี  2000

ได้เดินทางมาฮ่องกง ตั้งแต่ 20 ปีที่ผ่านมา เริ่มทำงานเป็นบรรณารักษ์ระบบของมหาวิทยาลัยฮ่องกง และในปี 2005 ได้รับตำแหน่งผู้จัดการโครงการ Hong Kong Scholar Hub คือ เป็นฮับที่เป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลวิชาาการแบบเสรีเปิดฟรี (Free Open Access Scholarly Content)  ที่มีสถิติการดาว์นโหลดเข้าใช้ในจำนวนสูง

HKU ผลิตบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการแบบ Peer Reviewed ราว 3,000 บทความต่อปี  ฮับนี้ได้ทำการจัดเก็บบทความของนักวิจัย HKU ได้เพียงเปอร์เซ็นต์เล็กน้อย เนื่องจากยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนสำหรับการจัดเก็บและการขออนุญาตจัดเก็บ

งาน ที่สำเร็จไปแล้วอย่างดีคือการจัดเก็บวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตศึกษา ซึ่งขณะนี้จัดเก็บได้ 17,000 เรื่อง เปิดบริการออนไลน์แบบเปิด  ภาระกิจสำคัญของ HKU ตั้งแต่ปี 1941  มีอยู่ 3 ส่วน คือ การเรียนการสอน การวิจัย และการแลกเปลี่ยนความรู้ บริการฮับนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ HKU สามารถแสดงและวัดถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Exchange, KE) นอกจากเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ ฮับนี้ยังทำหน้าที่ เป็นแหล่งค้นหาชื่อผู้เชี่ยวชาญ จากภาครัฐบาลและอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการวิจัยร่วมกันที่ปรึกษาร่วมมือ อื่นๆ นอกจากนี้ฮับทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลเพื่อการประเมินผลงานวิจัย (Research Assessment Exercise

หน่วยวัดที่ต้องการเพื่อประเมินศักยภาพงานวิจัย ของ HKU คือฐานข้อมูล WOS ในปีที่ผ่านมาได้เริ่มศึกษาปัญหาในการสืบค้นด้วยชื่อนักวิทยาศาสตร์ในภาษา จีนของฐานข้อมูล  WOS เมื่อทำการถอดถ่ายตัวอักษร (Transliterate) ให้เป็นอักษรโรมัน พบว่าอาจมีชื่อนักวิจัย ถึง 20 ชื่อ ที่ใช้ภาษาโรมันเดียวกัน เช่น ชื่อ Chan, KW. ซึ่งเป็นเรื่องน่าเบื่อมาก

เมื่อ ได้ติดต่อผู้บริหาร Jim Pringle ของ Thomson ISI  ซึ่งได้แนะนำถึงแหล่งข้อมูล Researcher ID ซึ่งได้ช่วยแก้ไขปัญหาชื่อผู้แต่งบทความ ได้เรียบร้อย อย่างเป็นระเบียบ และยังให้บริการหน่วยวัดสำหรับนักวิทยาศาสตร์ แต่ละชื่อ (จำนวนบทความ จำนวนการอ้างอิง) จากนั้นจึงได้เริ่มสร้างบัญชี 900 ชุด ResearcherID สำหรับนักวิจัย ทั้งสาขาวิศวกรรม แพทย์ ทันตแพทย์ และคณะอื่น ๆ ของ HKU

คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มีความสนใจกระตือรือร้นในเรื่องงานวิจัย และ KE มาก รวมถึงเรื่องผลกระทบ เมื่อส่งไฟล์ข้อมูลรายชื่อนักวิจัยของคณะไปให้ และข้อมูลจาก   ResearcherID  badges ที่แสดงข้อมูลเป็นแบบกราฟ รูปแบบต่างๆ มีความพึงพอใจมาก จากนั้นผู้บริหารให้ทีมงานฮับไปแนะนำบริการ  ResearcherID ทั่ว HKU

ได้เริ่มทำ Web of Science API ซึ่งสามารถช่วยเชื่อมโยงจำนวนนับของการอ้างอิงต่อไปให้ได้ ขณะนี้ฮับกำลังดำเนินการ แสดงข้อมูลงานวิจัย หน่วยวัดคุณภาพงานวิจัยของนักวิจัยแต่ละชื่อ ใน HKU

อ้างอิงจาก http://intelligentinformationforlife.com/palmer/

หัวข้อวิจัยเรื่องที่ 4 ประเทศไทย  เรื่อง คำสัญญาในเรื่องโปรตีน (The Promise of Proteins)  โดย  รศ. นพ. วิศิษฏ์ ทองบุญเกิด   Head of Medical  Proteomics Unit คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ ใช้แหล่งข้อมูลวิชาการชื่อ   Web of Knowledge, WOK  ตั้งแต่ปี 2000

โรคนิ่วในไต (kidney stones) เป็นสาเหตุที่ทำให้เจ็บปวดทรมานแก่ มนุษยชาติตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ โดยที่นักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบหลักฐานนิ่วในไตใน ซากมัมมี่ ที่มีอายุเก่าแก่ 7,000 ปีของยุคอียิปต์และปัจจุบัน มันยังคงเป็นโรคสามัญ ที่พบอยู่ทั่วโลก จากการศึกษาถึงระดับโปรตีน เรากำลังสร้าง ความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้นของโรคนี้ เพื่อให้ทราบถึงว่านิ่วเกิดขี้นมาได้อย่างไร และมีความหวังว่าเราจะสามารถป้องกันโรคนี้ได้ในอนาคต

ดร.วิศิษฏ์ จบการศึกษาแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใน ปี 1994 ผ่านการฝึกอบรมระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาคลินิกวิทยา  แผนกอายุรกรรมและไตวิทยา (Nephrology) ในช่วงปี 1995 – 2000 ในปี 2000 เริ่มศึกษา Proteomics ที่ Univ. Louisville, USA. และในปี 2004 กลับประเทศไทยมาทำงานที่โรงพยาบาลศิริราชฯ  มหาวิทยาลัยมหิดล

โปรตีน ทำงานหนักเป็นเครื่องจักรเสมือนม้าที่ถูกใช้งานในร่างกายมนุษย์เป็นส่วนที่ จำเป็นกับชีวิต คำว่า proteome มาจาก 2 คำผสมกันคือ protein กับ genome ถูกใช้ครั้งแรกในปี 1994 โดยนักวิทยาศาสตร์ Marc Wiilkins จากประเทศออสเตรเลีย  ส่วนคำว่า Proteomics หมายถึงการวิเคราะห์โปรตีนอย่างเป็นระบบเพื่อระบุเพื่อหาปริมาณจำนวน เพื่อทราบถึงกลไกการทำงานของระบบเซลล์ เนื้อเยื่อ  ชีววิทยาที่สนใจหนึ่งๆ เป็นเรื่องที่สำคัญที่อาจค้นพบโปรตีนพิเศษในเซลล์มะเร็ง โปรตีนพิเศษสำหรับพัฒนายาชนิดใหม่ การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ยากซับซ้อนเพราะร่างกายมนุษย์มีโปรตีนมากมาย และมีความแตกต่างกันในแต่ละเซลล์ในแต่ละช่วงเวลา

นพ.วิศิษฏ์ ได้พัฒนาเทคนิคในการวิเคราะห์ โปรทีโอมิกส์ ที่แตกต่างจากวิธีการเดิม ซึ่งช่วยให้สามารถศึกษาโปรตีนจำนวนมากในเวลาเดียวกันได้ โดยศึกษาโปรตีนในปัสสาวะ (urinary protein) ที่ช่วยยับยั้งการเกิดนิ่วในไตได้ ความต้องการที่สำคัญคือความร่วมมือเพื่อ ประสบความสำเร็จในคำมั่นสัญญาของโปรทีโอมิกส์  ขณะนี้ นพ.วิศิษฏ์  ทำหน้าที่ เป็นกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการหลายชื่อ และได้รับให้เป็นสมาชิกขององค์กร Human Proteome Organisation (HUPO) ซึ่งมีการจัดประชุมทางวิชาการรายปี ได้รับหน้าที่ให้จัดตั้งมาตรฐานและคู่มือ ในการวิเคราะห์โปรทีโอมิกส์ของปัสสาวะ ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับเครือข่ายทั่วโลก รวมทั้งขณะนี้ที่ โรงพยาบาลศิริราช มีเพื่อนร่วมงานที่สนใจการประยุกต์โปรทีโอมิกส์  ในประเด็นต่างๆ เช่นไวรัส แบคทีเรีย

แหล่งข้อมูลที่ใช้บ่อย เพื่อทบทวนวรรณกรรม คือ Web of  Knowledge, WOK รวมทั้งดูถึงจำนวนการอ้างอิงและค่า Impact Factor, IF ของวารสาร และใช้โปรแกรม EndNote ในการจัดการข้อมูลบรรณานุกรม  เริ่มใช้ WOK ตั้งแต่ปี 2000 ในช่วงที่เรียนอยู่ที่ Univ.Louisville เมื่อกลับมาเมืองไทยและใช้อย่างต่อเนื่อง WOK มีประโยชน์อย่างแน่นอน ทำให้ทราบถึงงานวิจัยอื่น ๆ จากทั่วโลก ขณะนี้กำลังหาวิธีใช้ประโยชน์จากบริการ Researcher ID

อ้างอิงจาก  http://intelligentinformationforlife.com/thongboonkerd/

งานวิจัยที่ 5 ประเทศสิงคโปร์  เรื่อง มือที่ช่วยรักษา (Healing Hands) โดย Ass. Prof. Plan Toan Thang, National University of Singapore, Singapore  ใช้แหล่งข้อมูลวิชาการชื่อ  Web of Knowledge, WOK ตั้งแต่ปี 2000

ทำการวิจัยเรื่องการสร้าง (formation) เนื้อเยื่อของผิวหนังและรอยแผลเป็น (scar) เพื่อค้นหาความเข้าใจว่าทำไมจึงมีการสร้างแผลเป็นหลังจากเป็นแผลบาดเจ็บ (wounding) จุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีรักษาใหม่ เพื่อรักษาผิวหนังและแผลจากการบาดเจ็บ (wounds) มีเป้าหมายสุดท้าย คือหาวิธีการป้องกันการสร้างแผลเป็น (scars)

ผศ.Plan จบการศึกษาจากประเทศเวียดนาม มี ความสนใจในการรักษา เยียวยา บำบัดแผลบาดเจ็บในช่วงระยะแรกสุดของการเกิด ได้ทำงานที่ National Institute of Burns มา 4 ปี รักษาเหยื่อจากสงครามเวียดนาม  ทหารผ่านศึก  ทั้งที่เป็นทหารและพลเรือน จากนั้นได้รับทุนการศึกษาที่ Oxford  ที่สถาบัน Wound Healing Institute, Dept. of  Dermatology ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้และได้พัฒนาความรู้ของตนเองที่

นั้นในปี 1998 Dr.Ivor Lim และ ผศ. Phan ได้จัดตั้งกลุ่มวิจัย คือ Wound Healing & Stem Cell Research Group มุ่งเน้นศึกษาชีววิทยาของผิวหนังและเนื้อเยื่อแผลเป็นคีรอยด์ (keloid scar) จนปัจจุบันกลุ่มวิจัยนี้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกในการวิจัย เรื่องนี้

ปัจจุบัน ผศ. Phan ทำงานที่ National University of Singapore โดยมุ่งน้นทำงานวิจัย 2 แนวทาง คือ 1.รักษาผิวหนังและแผลเป็น 2. Stem cell ได้ค้นพบแหล่งกำเนิดของ stem cell แหล่งใหม่คือ จากเนื้อเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นบุในของสายสะดือ (umbilical cord lining membrane) ซึ่งมีประโยชน์ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และการงอกขึ้นมาใหม่ ทำงานวิจัยเข้มข้นร่วมกับเพื่อนร่วมงานต่างชาติ คือ อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนของบริษัทเกิดใหม่ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ 2 แห่ง ในสิงคโปร์ ชื่อ Cell Research Corporation Pte Ltd. และ Cord Labs Pte Ltd. ทั้ง 2 บริษัทมุ่งดำเนินการแบบเชิงพาณิชย์

การทำงานขณะนี้ บางครั้งทำในห้องปฏิบัติการ ร่วมกับนักศึกษาปริญญาโท บางครั้งทำการทดสอบที่ได้ตัวอย่างจริงมา รวมทั้งเดินทางเข้าร่วมการประชุมต่างประเทศ

แหล่งข้อมูลวิชาการที่ใช้ บ่อยมากคือ Web of Knowledge ที่มีบริการที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ทำให้ตรวจสอบหาค่า Impact Factor , IFของวารสาร รวมถึงใช้เพื่อประเมินคุณภาพงานวิจัยโดยดูจากค่าการอ้างอิงที่ได้รับของบท ความเรา ซึ่งคิดว่าสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยทั่วโลก ก็ใช้แหล่งข้อมูลวิชาการชื่อนี้เช่นกัน และยังได้ลงทะเบียนใช้บริการ Researeher ID ด้วย เป้าหมายงานวิจัยวิชาการ คือ หาวิธีที่การประยุกต์ที่แตกต่างของเดิม เช่น การสร้างกระดูก (bone regeneration) มีความต้องการที่จะคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ อุปกรณ์ใหม่ เพื่อรักษาโรคที่ยาก เช่น โรคเกี่ยวกับตับ โรคหัวใจ ตอนนี้มีสิทธิบัตรที่ถือครองในเรื่อง umbilical cord membrane

อ้างอิงจาก http://intelligentinformationforlife.com/phan/

งานวิจัยที่ 6 ประเทศญี่ปุ่น เรื่อง วัสดุมายากล (Magician with Materials)  โดย Prof. Dr. Yoshinori Tokura สาขาฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ญี่ปุ่นใช้แหล่งข้อมูลวิชาการชื่อ  Web of Science, WOS ตั้งแต่ปี 2000

ทำงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ อิเล็กตรอนในวัสดุ (electron materials) ซึ่งอิเล็กตรอนในของแข็งอยู่ในสถานะ จำกัดอยู่เฉพาะที่อย่างแน่นอน (strictly localized state) หรือเสมือนเข็มหมุด (pinned) อิเล็กตรอนมีพฤติกรรม (behave) คล้ายคลื่นประเภทหนึ่งในของแข็ง ด้วยอิเล็กตรอนอนุภาคหนึ่งสามารถหยุดอิเล็กตรอนอนุภาคหนึ่งได้ด้วยทำ ปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน ( mutual interaction) ฉะนั้นการเคลื่อนไหวจึงเกือบหยุดนิ่ง (freezed out) นั่นคือความสัมพันธ์ที่สำคัญของระบบอิเล็กตรอน ในกรณีซึ่งเมื่อสารตัวนำไฟฟ้าอย่างยิ่งยวดชนิดทองแดงออกไซด์ แบบHigh – Tc (copper oxide high-Tc Superconductors) มีอิเล็กตรอนแบบแช่แข็งนี้ จึงนำมาสร้างเป็น ฉนวนเครื่องกันไฟฟ้าในโลหะ ต่อมาสร้างเป็นซุปเปอร์คอนดัคเตอร์ ส่วนในสารประกอบประเภทอื่น เช่น ferromagneticmetal มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน  นี้คือการเล่นแร่แปรธาตุประเภทหนึ่ง (alchemy)

มีคำหนึ่งที่เป็นที่ ชื่นชอบ คือ คำว่า emergence ซึ่งหมายถึง มีองค์ประกอบอิสระมากมายเมื่อมารวมกัน อาจสร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจได้  คุณสมบัติของวัสดุทั้งหมดไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการรวมองค์ประกอบต่างๆเข้า ด้วยกัน

ในส่วนตัวมีความเชื่อว่าเรื่องความสัมพันธ์ของอิเล็กตรอนใน วัสดุจะเป็นสาขาที่สำคัญหนึ่งของ วิทยาศาสตร์ เป้าหมายคือการพัฒนาอิเล็กตรอนแบบใหม่ ซึ่งมีความหมายแตกต่างอิเล็กทรอนิกส์เซมิคอนดักเตอร์แบบเดิม

เพิ่งอ่านหนังสือชื่อเรื่อง Physics of the Impossible โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน Michio Kaky ด้วยความประทับใจ อันที่จริงแล้วเป้าหมายส่วนตัวของฉัน ต้องการทราบถึงกึ่งๆของฟิสิกส์ ที่จะนำไปสู่นวัตกรรมและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี  ขอเรียกว่า Innovation 4 ซึ่งอาจเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ ผ่านจากการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทางฟิสิกส์  อุณหภูมิห้อง เมื่อต้องการถ่ายเทพลังงาน ต้องการใช้พลังงานที่มีอุณหภูมิถึง 400 องศาเคลวินด้วย superconductors ขณะนี้เรามีเพียง superconductors ชนิด 130-140 kelvin ดังนั้นเราต้องการความพยายามอีก 3 เท่า โดยเป้าหมายหลักของเราคือการทำวิจัย High-Tc

อีกกรณีคือความสัมพันธ์ ระหว่างไฟฟ้ากับความร้อน (thermoelectric)  เรามีเป้าหมายผลิตวัสดุที่มีการใช้พลังงานต่ำ (ultra-low energy cousuming electronics) ตัวอย่างเครื่องปรับอากาศ ที่ใช้คอมเพรสเซอร์ในการทำความเย็น นั้นเป็นหลักการความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนกับพลังงานกล (thermodynamics) ของยุคศตวรรษที่ 19 แต่หากสามารถเปลี่ยน กระแสไฟฟ้าแบบตรงไปเป็น heat conduction จะช่วยให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หน่วยวัดค่าความร้อนเป็น merit (ZT) ที่ขณะนี้มีหน่วย ZT เพียง1 หรือน้อยกว่า หากมีการพัฒนาให้มีค่ามากเป็น 3-4  สามารถเลิกใช้คอมเพรสเซอร์  เราจะสามารถแทนที่อย่างทันทีด้วย direct heat electricity transformation

Prof. Dr. Yoshinori ใช้แหล่งข้อมูล Web of Science ทุกวันเป็นหลัก เพื่อระบุวัสดุใหม่ หรือ ค่าวัดใหม่ทางฟิสิกส์(new physical parameter) สืบค้นโดยใช้คำค้นสามัญ (Key word) เมื่อผลลัพธ์ออกมามากเป็นหลักพันจะมุ่งสนใจเฉพาะบทความวิจัยที่ได้รับการ อ้างอิงสูงๆ (highly cited papers) นอกจากนั้นยังเป็นการค้นหาผู้เข้าร่วมแข่งขัน(candidates) ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อทางคณะได้รับข้อเสนอโครงการวิจัยจำนวนมาก จะทำการสืบค้นหาภูมิหลังของ นักวิทยาศาสตร์ผู้ขอทุน เพื่อทราบถึงกิจกรรมวิจัยและการมีชื่อเสียงในสาขา ที่ภาควิชานี้คณาจารย์ทุกท่านใช้ฐานข้อมูล Web of  Science กันมากและทราบถึงวิธีการสืบค้นที่ถูกต้องอย่างดีอีกด้วย

อ้างอิงจาก   http://intelligentinformationforlife.com/tokura/

งานวิจัยที่ 7 ประเทศมาเลเซีย  เรื่องรู้จักด้านซ้ายจากด้านขวา (Knowing left from right) โดย Prof. Fun Hoomg  Kun ภาควิชาฟิสิกส์   มหาวิทยาลัยเซ็นต์มาเลเซีย ปีนัง มาเลเซีย  ใช้แหล่งข้อมูลวิชาการ ชื่อWeb of Science, WOS  และ ReseaecherID ตั้งแต่ปี 2002

หากเรา ต้องการหาคำตอบให้คำถาม 1 คำถาม ธรรมชาติเป็นที่ที่ควรหาคำตอบในเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องสลับซับซ้อนที่เราต้องใช้ความระมัดระวังอย่างที่สุด งานวิจัยที่กำลังหาคำตอบคือ เรื่องโครงสร้างคริสตัลของโมเลกุลของสารอินทรีย์ (crystal structure of organic molecules) ที่พบได้ในผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เมื่อเรามองดูในโครงสร้างแบบ 3 มิติ (3 D) ของโมเลกุล ความโน้มเอียงในการใช้มือข้างใดมากกว่าอีกข้างหนึ่ง (handedness) ของโมเลกุลเป็นสิ่งที่สำคัญมากบางครั้งความแตกต่างของอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ทำให้คุณสมบัติทั้งหมดแตกต่างกันไปด้วย

ยกตัวอย่างยาชื่อThalidomide (ยาแก้แพ้ท้องประเภทสังเคราะห์) ที่ถูกพัฒนาและใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี 1970 ที่ช่วยรักษาอาการแพ้ท้องของหญิงตั้งครรภ์  ยาที่สังเคราะห์เพื่อเชิงพานิชย์นั้นมีโมเลกุลแบบ 2 แขน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมีโมเลกุลเพียง 1 แขน แขนที่ 2 ของโมเลกุล ยานั้นมีผลอย่างร้ายแรงต่อทารกที่เกิดขึ้น

จากผลลัพธ์นั้นนำไปสู่คำ ถามที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์สารประกอบ ยกตัวอย่าง ยาฆ่าแมลง ที่สังเคราะห์ขึ้นมาบนหลักการจากคุณสมบัติสารธรรมชาติ เมื่อนำไปฉีดพ่นต้นไม้ที่นำมาเป็นอาหารของมนุษย์ แขนอีก 1 แขนของโมเลกุล มีผลกระทบอย่างไร ต้องมีการทดสอบ ในเรื่อง enantiomorphs ของโมเลกุลที่สังเคราะห์ เพื่อยืนยันความปลอดภัยก่อนที่จะปล่อยออกสู่เชิงพานิชย์

Prof. Dr.Fun  เป็นนักถ่ายภาพเอ็กเรย์ระดับโมเลกุลของคริสตัล สนใจในสาขาวิชานี้ มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาโครงสร้าง 3D ของโมเลกุลเล็กๆ กำลังค้นหาวิธีการประยุกต์ ที่มีศักยภาพต่อวงการแพทย์ รวมถึง possessing non-linear optical และคุณสมบัติของฟูออเรสเซนต์

ทีมงานวิจัยของเรา สนใจถึงประโยชน์ของสารประกอบที่มาจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะ เรื่อง supramolecule network ในคริสตัลของสารอินทรีย์ โดยในปี 2001 ได้ค้นพบระยะการส่งผ่านแบบใหม่ (phase transition) ชื่อ FAST (Fun Anwar Suchada Transition) หลังจากนั้นก็ค้นพบตัวอย่างของ FAST มากมาย ได้ค้นพบพฤติกรรม กลไก ของ FAST พบว่าเป็นปฏิกิริยาร่วมกันระหว่าง hydrogen bonds กับ lattice phonons ในคริสตัล ทฤษฎี Landau กับ ทฤษฎี microscopic ที่อยู่บนหลักการกลไกควันตัม ได้ถูกพัฒนา ด้วยคำอธิบายของ 2nd-order FAST

จน ถึงปัจจุบัน Prof. Dr. Fun ได้ตีพิมพ์บทความวิจัยรวม 1462 เรื่อง ถูกทำดัชนีในฐานข้อมูล Web of  Science รวมทั้งใช้ WOS และ Researcher ID เป็นประจำซึ่งช่วยให้ติดตามจำนวนนับของการได้รับการอ้างอิง

อ้างอิงจาก   http://intelligentinformationforlife.com/fun/

งานวิจัยที่ 8 ประเทศไต้หวัน  เรื่องหมอยา (Medicine Man ) โดย Dr. Chang Yu-Li-Hsinchu, Taiwan จาก Industrial Technology Research Institute, ITRI, Taiwan ใช้แหล่งข้อมูลวิชาการชื่อ Thomson Pharma มาตั้งแต่ปี 2007

งานวิจัยที่กำลังดำเนินการคือ การวิจัยพัฒนาด้านพรีคลินิก ยาสมุนไพรชนิดใหม่จากยาสมุนไพรจีนดั้งเดิม รวมถึงการสำรวจหาโมเลกุลขนาดเล็กของยาชนิดใหม่เพื่อใช้ในคลินิก

ยาสมุนไพรเป็นสิ่งที่มีค่าเป็นมรดกสมบัติของชาติ และส่วนตัวเองมีความเชื่อว่ามันสามารถมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ทีมงานวิจัยเราจึงสนใจในความเป็นไปได้ในอนาคตว่าสักวันหนึ่งเราจะสามารถออก แบบและพัฒนายาสมุนไพรที่มาจากของดั้งเดิมได้ด้วยธรรมชาติของยาสมุนไพรนั้นโดยทั่วไปมีความอ่อนโยน มีประสิทธิภาพที่ผู้คนสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ ทีมงานเราทำการสกัดสาร เพื่อกลั่นกรองสารออกฤทธิ์ที่มีปฏิกิริยาทางชีววิทยาหรือทำให้บริสุทธิ์ และทำการควบคุมคุณภาพทำในเชิงอุตสาหกรรมและพัฒนาทางพรีคลินิก

ขณะนี้ เรากำลังสนใจมุ่งในโรคตับ เช่น Chronic hepatitisB,C,  liver fiibrous, cirrhosis และ hepato cellular carcinoma เพราะว่าเป็นโรคที่พบอย่างแพร่หลายในประเทศจีน งานวิจัยของเราเป็นขบวนการตรวจสอบยาใหม่ (Investigation New Drug , IND)

ทีมงานวิจัยใช้แหล่งข้อมูล Thomsom Pharma ที่มีประโยชน์มากมีการรวบรวมข้อมูลยาที่มีเนื้อหาเข้าเรื่องในงานวิจัยเรา ฐานข้อมูลให้รายงานที่มีการเรียบเรียงและจัดเป็นระเบียบอย่างดีและยังให้ ข้อมูลใหม่ล่าสุดเสมอ ให้ข้อมูลครอบคลุมทุกสถานะของการพัฒนายา 1 ชนิด เช่น deal situation, patent position, chemistry, toxicity, mechanism of action และข้อมูลการทดสอบทางคลินิก

ITRI บอกรับเป็นสมาชิกฐานข้อมูล Thomsom Pharma ตั้งแต่ปี 2007 ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเทคนิคและด้านเชิงพานิชย์ของยา

อ้างอิงจาก http://intelligentinformationforlife.com/chang/

งานวิจัยเรื่องที่ 9 ชื่อเรื่องการวิจัยทรัพย์สินทางปัญญาจาก 3 ฝ่าย (The IP Trinity) โดย Ms. Yukie Akakabe & Mr. Hiroshi Oyama บริษัท Showa Denko K.K. and Denka, Tokyo, Japan ใช้ฐานข้อมูล Derwent World Patent Index, DWPI ตั้งแต่ปี 1995

บทสัมภาษณ์ Ms. Yukie Akakabe
บริษัท ของเรา Showa Denka K.K. บริษัทของเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ในเรื่องธุรกิจเทคโนโลยีที่ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้า หลายประเภท ขณะนี้เรากำลังทำงานในสนามที่มีการแข่งขันสูงมาก เช่นเรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสายตา (Optoelectronic devices) เราได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลสิทธิบัตรอย่างเข้มข้นและมีประสิทธิภาพมากสำหรับงานวางแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจเทคโนโลยี (Business strategy) ตัวอย่าง หากบริษัทเราเป็นผู้มาทีหลัง (latecomers) การวิเคราะห์สิทธิบัตร สามารถช่วยเราได้อย่างยิ่งในการหาช่อง โพรง สำหรับบริษัทเรา เมื่อนักวิจัยมาบอกว่า ไม่รู้เรื่องนี้มาก่อนทำให้ฉันมีความพึงพอใจในผลงานของตนเองมาก นั่นคือฉันได้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ในเรื่องการละเมิดสิทธิบัตร (Patent Infringement) ให้แก่บริษัทได้

ในอดีต ฉันทำหน้าที่เพียงสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรตามคำขอเท่านั้น  ต่อมาในช่วงเวลาที่ไม่นานมานี้นั้นลักษณะงานได้ปรับเปลี่ยนไปมาก กลายเป็นงานใหม่ที่มีชื่อกลุ่มว่า Holy Trinity ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของงาน 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ฝ่ายธุรกิจ (Commercial) และฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญา (IP Specilaist) กลุ่มงานใหม่นี้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มต้นโครงการวิจัยเรื่องหนึ่งๆ

ปัจจุบันต้องเดินทางไปพบปะทีมงานแบบตัวต่อตัว ใช้ข้อมูลเป็นหลักการในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ไม่ทึกทักว่าเป็นจริงเอาเองอย่างที่เคยทำมาก่อน ทีมงานจะร่วมกันตัดสินใจ หาวิธีการพัฒนา

วิธีป้องกัน และการตลาดอย่างดีที่สุด สำหรับนวัตกรรมของบริษัทเรา เรามีปฏิสัมพันธ์กันและสนุกสนานมากในสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ เราจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในแต่ละโครงการ

บทสัมภาษณ์ Mr. Hiroshi Oyama
ประเทศ จีนมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องรวดเร็วกว่าระบเศรษฐกิจใดๆ ด้วยเหตุผลสำคัญคือ จีนมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน จีนมีจำนวนผู้บริโภคสูงมากถึง 1.3 พันล้านคน เป็นตลาดที่ใหญ่มหึมา เพื่อให้บริษัท Denka ประสบความสำเร็จในจีน จำเป็นต้องทำการทำแฟ้มการยื่นขอจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ให้มากเพื่อเจาะตลาดในจีน บริษัทเน้นธุรกิจเทคโนโลยี โพลิเมอร์  ขั้นสูง (advanced polymer) ที่ประยุกต์เป็นชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ และรถยนต์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงเสมอ รวมทั้งเรายังสนใจสิทธิบัตรด้านยาอีกด้วย

เรา 2 คนมีความเชี่ยวชาญในข้อมูลสิทธิบัตรจีนได้ร่วมกันเขียนหนังสือ เรื่อง The Knack of searching Chinese Patents ในการทำงานและเขียนหนังสือ ได้ใช้แหล่งข้อมูลจากฐานข้อมูล Derwent World Patent Index, DWPIเป็นหลัก DWPI เป็นแหล่ง ข้อมูลสิทธิบัตรที่มีคุณภาพสูงและครอบคลุมทั่วโลก

อ้างอิงจาก http://intelligentinformationforlife.com/akakabeoyama/

เรียบเรียง โดย รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่ 6 พฤษภาคม 2553

แชร์หน้านี้: