หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ ข้อมูล Coastal จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด
ข้อมูล Coastal จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด
19 ก.ย. 2565
0
สารสนเทศวิเคราะห์

การดำเนินงาน NSTDA Agenda ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับ 7 (พ.ศ. 2565-2570) หัวข้อ Biodiversity ที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเก็บรักษา ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างมีคุณค่าและยั่งยืน โดย Coastal หรือ ชายฝั่งทะเล เป็นหนึ่งใน Core technology ของ Agenda Biodiversity

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus สำหรับเรื่อง Coastal (คำค้นจากเขตข้อมูล Title, Abstract, Keyword ด้วยคำค้น coastal และเลือก keyword คือ Coastal Engineering, Erosion, Coastal Sediment, Coastal Erosion และ Shore Protection ผลงานทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus วันที่ 28 มิถุนายน 2565) พบจำนวนบทความทางวิชาการความเชี่ยวชาญทางด้าน Coastal เฉพาะของประเทศไทย จำนวน 144 รายการ โดย 5 อันดับหน่วยงาน/สถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยสูงสุด ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 31 รายการ รองลงมา คือ Asian Institute of Technology 25 รายการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 25 รายการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15 รายการ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 11 รายการ นอกจากข้อมูลบทความวิจัยแล้ว Coastal ยังมีข้อมูลประเภทผลิตภัณฑ์จากฐานข้อมูล Mintel

Mintel คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มตลาดทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต มีบทวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ พร้อมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมจากทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลของส่วนผสม (Ingredient) ที่มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และโภชนาการ โดยมีทีมนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญของ Mintel จากทั่วโลก วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน โดย สวทช. บอกรับและให้บริการครบทั้ง 3 แพลตฟอร์ม คือ Food & Drink (MFD), Beauty & Personal Care (BPC) และ Household & Personal Care (HPC)

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ฐานข้อมูล Mintel: www.mintel.com

ภาพที่ 2 ตัวอย่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Coastal

ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรน้ำของอินโดนีเซียพัฒนาเทคโนโลยีคอนกรีตใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องชุมชนชายฝั่งจากการกัดเซาะของแผ่นดินและคลื่นสูงเป็นพิเศษ คอนกรีตบล็อกใหม่ได้รับการพัฒนาโดยปรับใช้ระบบประสานปฏิวัติ revolutionary interlocking system ที่สามารถให้การป้องกันที่เสริมกำลังริมทะเลจากคลื่นสูงถึง 1.5 เมตร

ผู้คนจากทุกทวีปต่างกังวลกับผลกระทบของภาวะโลกร้อน ซึ่งรวมถึงสภาพอากาศตามฤดูกาลที่ทวีความรุนแรงขึ้นและการคุกคามที่มากขึ้นจากภัยธรรมชาติที่เกิดจากสภาพอากาศ สิ่งนี้กดดันรัฐบาลให้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการป้องกันเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น บริเวณชายฝั่งและที่ราบลุ่มแม่น้ำ ผู้ให้บริการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพจะพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งให้ข้อมูลการติดตามและกลไกการเตือนที่แม่นยำแบบเรียลไทม์

19 ก.ย. 2565
0
แชร์หน้านี้: