หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ สารสนเทศวิเคราะห์ Research performance หัวข้อ Telehealth
Research performance หัวข้อ Telehealth
27 มิ.ย. 2566
0
คลังความรู้
สารสนเทศวิเคราะห์
สารสนเทศวิเคราะห์

ภาพรวมข้อมูลความสามารถด้านการวิจัย (research performance) หัวข้อเรื่อง Telehealth จากการวิเคราะห์ข้อมูลการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและวิชาการที่ถูกทำดัชนีในฐานข้อมูล Scopus ทั้งในภาพรวมโลกและประเทศไทย ในช่วงปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน เพื่อติดตามสถานภาพของการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยในเรื่องดังกล่าว จากการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและวิชาการที่มีการรวบรวมและเผยแพร่ รวมถึงจากการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อติดตามสถานภาพและแนวโน้มของการแข่งขัน

ฐานข้อมูลและเทคนิคการสืบค้น : ผลงานตีพิมพ์

  • ฐานข้อมูลที่ใช้สืบค้น คือ ฐานข้อมูล Scopus https://www.scopus.com ฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปของสำนักพิมพ์ Elsevier เป็นฐานข้อมูลการอ้างอิงและอ้างถึง (citation database) ครอบคลุมเนื้อหาสหสาขาวิชา รวบรวมรายการบทความจากวารสารและสิ่งพิมพ์อื่นๆ จำนวนมากกว่า 80 ล้านรายการ จากวารสารมากกว่า 25,000 รายชื่อ จากสำนักพิมพ์ทั่วโลกกว่า 7,000 แห่ง
  • คำค้นและเขตข้อมูลที่ใช้สืบค้น คือ telehealth ในเขตข้อมูล ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ และคำสำคัญ
  • ช่วงเวลาของผลงานตีพิมพ์ที่สืบค้น คือ ตลอดระยะเวลาตีพิมพ์ และ ในช่วงปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบผลการสืบค้น
  • วันเดือนปีที่สืบค้น คือ 15 มิถุนายน 2566

จำนวนผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพรวมโลก

ในภาพรวม จากฐานข้อมูล Scopus มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและวิชาการ หัวข้อเรื่อง Telehealth ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 โดยตั้งแต่ปี 1978-ปัจจุบัน มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 24,417 รายการ หากพิจารณาเฉพาะช่วงปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 15,331 รายการ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยมา (*ปี ค.ศ. 2023 ยังไม่จบปี) สันนิษฐานว่าปัจจัยผลักดันสำคัญ คือ การพบการแพร่ระบาดของ COVID-19 และ Digital technology

ปีที่ตีพิมพ์ จำนวนผลงานตีพิมพ์
2020 3,333 รายการ
2021 4,713 รายการ
2022 5,139 รายการ
2023 2,146 รายการ

ประเภทของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพรวมโลก

จากจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 15,331 รายการ เมื่อพิจารณาประเภทผลงาน (document type) พบว่าส่วนใหญ่เป็นผลงานประเภทบทความวารสาร (article) จำนวน 10,179 รายการ หรือ 66.4% รองลงมา คือ บทวิจารณ์ (review) จำนวน 2,362 รายการ หรือ 15.4% และ note จำนวน 689 รายการ หรือ 4.5% ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบภาพรวมโลกในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการ หัวข้อเรื่อง Telehealth แบบไม่จำกัดปีที่ตีพิมพ์ของผลงาน พบว่า บทความวารสาร (article) และ บทวิจารณ์ (review) เป็นประเภทผลงานที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุดซึ่งสอดคล้องกัน ยกเว้น เอกสารการประชุมทางวิชการ (conference paper) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 3 แต่ไม่ติด Top 5 ประเภทผลงานที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน

Top 5 ประเภทของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน Top 5 ประเภทของผลงานตีพิมพ์ แบบไม่จำกัดปีที่ตีพิมพ์
ประเภท จำนวนผลงานตีพิมพ์ สัดส่วนผลงานตีพิมพ์ ประเภท จำนวนผลงานตีพิมพ์ สัดส่วนผลงานตีพิมพ์
Article 10,179 66.4% Article 15,700 64.3%
Review 2,362 15.4% Review 3,571 14.6%
Note 689 4.5% Conference Paper 1,671 6.8%
Editorial 650 4.2% Note 969 4.0%
Letter 524 3.4% Editorial 952 3.9%

สาขาวิชาของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพรวมโลก

จากจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 15,331 รายการ เมื่อพิจารณาสาขาวิชา (subject area) ของเนื้อหา พบว่าผลงานจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรก อยู่ในกลุ่มทางด้านการแพทย์และสุขภาพ คือ อยู่ในกลุ่ม Medicine จำนวน 12,667 รายการ หรือ 54.1% รองลงมา คือ กลุ่ม Health Professions จำนวน 1,660 รายการ หรือ 7.1% และ กลุ่ม Nursing จำนวน 1,519 รายการ หรือ 6.5% ตามลำดับ ขณะที่อันดับที่ 4 และ 5 อยู่ในกลุ่ม Psychology และ Social Sciences ส่วนกลุ่ม Computer Science และ Engineering ไม่อยู่ใน Top 5 กลุ่มสาขาวิชาแรกที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุดในช่วงปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน

เมื่อเปรียบเทียบภาพรวมโลกในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการ หัวข้อเรื่อง Telehealth แบบไม่จำกัดปีที่ตีพิมพ์ของผลงาน พบว่า อันดับที่ 1-3 ยังคงเหมือนกัน ขณะที่อันดับที่ 4-5 แตกต่างกัน

หมายเหตุ : ผลงาน 1 ชื่อเรื่อง/รายการ อาจมีเนื้อหาครอบคลุมมากกว่า 1 สาขาวิชา

Top 10 สาขาวิชาของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน Top 10 สาขาวิชาของผลงานตีพิมพ์ แบบไม่จำกัดปีที่ตีพิมพ์
สาขาวิชา จำนวนผลงานตีพิมพ์ สัดส่วนผลงานตีพิมพ์ สาขาวิชา จำนวนผลงานตีพิมพ์ สัดส่วนผลงานตีพิมพ์
Medicine 12,667 54.1% Medicine 19,660 51.7%
Health Professions 1,660 7.1% Health Professions 3,434 9.0%
Nursing 1,519 6.5% Nursing 2,417 6.4%
Psychology 1,273 5.4% Engineering 1,925 5.1%
Social Sciences 1,088 4.6% Computer Science 1,875 4.9%
Computer Science 908 3.9% Psychology 1,819 4.8%
Engineering 776 3.3% Social Sciences 1,681 4.4%
Biochemistry, Genetics and Molecular Biology 697 3.0% Biochemistry, Genetics and Molecular Biology 1,032 2.7%
Neuroscience 574 2.5% Neuroscience 770 2.0%
Environmental Science 375 1.6% Pharmacology, Toxicology and Pharmaceutics 595 1.6%

Topic cluster ของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพรวมโลก

เมื่อพิจารณา Topic cluster ของเนื้อหา พบว่าผลงานจำนวนมากที่สุด 5 อันดับแรก อยู่ใน Topic cluster ตามที่ปรากฏในตารางด้านล่าง โดย Telemedicine; Technology; Patients เป็น Topic cluster ที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ และมีสัดส่วน Publication share มากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว (จำนวนผลงานตีพิมพ์ 3,513 รายการ และสัดส่วน Publication share 32.94%) ขณะที่ Urinary Bladder; Overactive Urinary Bladder; Women เป็น Topic cluster ที่มีสัดส่วน Publication share growth มากที่สุด คือ 584.7%

Topic Cluster จำนวนผลงานตีพิมพ์ Publication share (%) Publication Share growth (%)
Telemedicine; Technology; Patients 3,513 32.94 32.1
COVID-19; SARS-CoV-2; Coronavirus 1,805 0.84 -36.9
Health Literacy; Patients; Internet 415 3.31 -12
Neoplasms; Patients; Palliative Care 414 1.15 38.3
HIV; HIV Infections; HIV-1 408 1.14 81.5

Keyphase ของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพรวมโลก

เมื่อพิจารณา Keyphase ของเนื้อหา พบว่า Keyphase ที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด คือ E-health

ประเทศกับผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพรวมโลก

ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 15,331 รายการ เมื่อพิจารณาประเทศที่สังกัดของหน่วยงานของผู้แต่ง พบว่าประเทศที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ United States จำนวน 8,069รายการ รองลงมาคือ Australia จำนวน 1,743 รายการ และ United Kingdom จำนวน 1,099 รายการ

เมื่อเปรียบเทียบภาพรวมโลกในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการ หัวข้อเรื่อง Telehealth แบบไม่จำกัดปีที่ตีพิมพ์ของผลงาน พบว่าประเทศที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด 3 อันดับแรกยังคงเป็นเช่นเดิม ประเทศในทวีปเอเชียที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด คือ India จำนวน 386 รายการ ขณะที่ประเทศไทยมีจำนวนผลงานตีพิมพ์ 77 รายการ อยู่ในอันดับที่ 37

Top 10 ประเทศที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน Top 10 ประเทศที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด แบบไม่จำกัดปีที่ตีพิมพ์
ประเทศ จำนวนผลงานตีพิมพ์ ประเทศ จำนวนผลงานตีพิมพ์
United States 8,069 United States 11,837
Australia 1,743 Australia 2,744
United Kingdom 1,099 United Kingdom 1,982
Canada 940 Canada 1,730
Italy 530 Netherlands 830
Netherlands 497 Germany 751
Germany 469 Italy 725
India 386 India 537
China 339 Spain 530
Spain 337 Brazil 507

หน่วยงานกับผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพรวมโลก

ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 15,331 รายการ เมื่อพิจารณาหน่วยงานที่สังกัดของผู้แต่ง พบว่าหน่วยงานที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Harvard Medical School จำนวน 537 รายการ รองลงมาคือ University of California, San Francisco จำนวน 321 รายการ และ University of Melbourne จำนวน 311 รายการ

เมื่อเปรียบเทียบภาพรวมโลกในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการ หัวข้อเรื่อง Telehealth แบบไม่จำกัดปีที่ตีพิมพ์ของผลงาน พบว่า Harvard Medical School ยังคงเป็นหน่วยงานที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มาก แต่ที่น่าสนใจคือ University of California, San Francisco และ University of Melbourne ขยับจากอันดับที่ 6 ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 และ อันดับที่ 5 ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 ตามลำดับ

Top 10 หน่วยงานที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน Top 10 หน่วยงานที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด แบบไม่จำกัดปี
หน่วยงาน จำนวนผลงานตีพิมพ์ หน่วยงาน จำนวนผลงานตีพิมพ์
Harvard Medical School 537 Harvard Medical School 674
U. of California, San Francisco 321 VA Medical Center 544
University of Melbourne 311 University of Queensland 499
VA Medical Center 294 University of Sydney 404
Monash University 280 University of Melbourne 398
University of Queensland 276 University of Washington 387
University of Sydney 275 U. of California, San Francisco 385
University of Toronto 245 University of Toronto 356
University of Washington 243 Monash University 345
Massachusetts General Hospital 236 Massachusetts General Hospital 301

ผู้แต่งที่ตีพิมพ์ผลงานมากที่สุด ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน

ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 15,331 รายการ ข้อมูลด้านล่างแสดงรายชื่อผู้แต่งที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด 10 อันดับแรก

  1. Smith, Anthony C. จาก Syddansk Universitet (Denmark) ผลงานจำนวน 39 รายการ
  2. Caffery, Liam J. จาก Faculty Of Medicine, U. of Queensland (Australia) ผลงานจำนวน 33 รายการ
  3. Snoswell, Centaine L. จาก University of Queensland (Australia) ผลงานจำนวน 33 รายการ
  4. Mehrotra, Ateev จาก National Bureau of Economic Research (United States) ผลงานจำนวน 30 รายการ
  5. Uscher-Pines, Lori จาก RAND Corporation (United States) ผลงานจำนวน 25 รายการ
  6. Torous, John Blake จาก Harvard Medical School (United States) ผลงานจำนวน 23 รายการ
  7. Marcin, James Paul จาก University of California (United States) ผลงานจำนวน 22 รายการ
  8. Ellimoottil, C. จาก University of Michigan Medical School, Ann Arbor (United States) ผลงานจำนวน 21 รายการ
  9. Looi, Jeffrey Chee Leong จาก ANU Medical School, The Australian National University (Australia) ผลงานจำนวน 21 รายการ
  10. Hinman, Rana S. จาก University of Melbourne (Australia) ผลงานจำนวน 20 รายการ

ผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุด

ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 15,331 รายการ ตารางด้านล่างแสดงผลงาน 5 รายการแรกที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด ทั้งนี้โดยปกติผลงานที่พึ่งตีพิมพ์มีแนวโน้มจำนวนการอ้างอิงน้อยกว่าผลงานที่เก่ากว่า

ผลงานทั้ง 5 รายการตีพิมพ์ในปีเดียวกัน คือ ค.ศ. 2020 และเกี่ยวข้องกับ COVID-19 สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ Telehealth เพื่อรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาด

ชื่อผลงาน ประเภท Open Access ปีที่ตีพิมพ์ ชื่อวารสาร จำนวนอ้างอิง FWCI
Virtually perfect? Telemedicine for covid-19 Review OA 2020 New England Journal of Medicine 1,843 95.43
The Mental Health Consequences of COVID-19 and Physical Distancing: The Need for Prevention and Early Intervention Note OA 2020 JAMA Internal Medicine 1,278 167.54
Telehealth for global emergencies: Implications for coronavirus disease 2019 (COVID-19) Article OA 2020 Journal of Telemedicine and Telecare 973 64.36
Challenges and burden of the Coronavirus 2019 (COVID-19) pandemic for child and adolescent mental health Review OA 2020 Child and Adolescent Psychiatry and Mental Health 921 56.12
Telehealth transformation: COVID-19 and the rise of virtual care Review OA 2020 Journal of the American Medical Informatics Association 814 25.7
  • หาก FWCI = 1.0 หมายความว่า บทความถูกอ้างถึงเท่ากับค่าคาดหวังเฉลี่ยของโลก (ค่าเฉลี่ยของโลกในทุกสาขาวิชาเท่ากับ 1.00)
  • หาก FWCI มากกว่า 1.00 หมายความว่า บทความนั้นได้รับการอ้างอิงมากกว่าค่าคาดหวังเฉลี่ยของโลก เช่น บทความมีค่า FWCI = 1.48 หมายความว่า บทความถูกอ้างถึงมากกว่าค่าคาดหวังเฉลี่ยของโลก 48%
  • หาก FWCI น้อยกว่า 1.00 หมายความว่า บทความนั้นได้รับการอ้างน้อยกว่าค่าคาดหวังเฉลี่ยของโลก เช่น บทความมีค่า FWCI = 0.48 หมายความว่า บทความถูกอ้างถึงน้อยกว่าค่าคาดหวังเฉลี่ยของโลก 52%

จำนวนผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพของประเทศไทย

ในภาพรวม จากฐานข้อมูล Scopus มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและวิชาการ หัวข้อเรื่อง Telehealth ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 โดยตั้งแต่ปี 1978-ปัจจุบัน มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 24,417 รายการ (*ปี ค.ศ. 2023 ยังไม่จบปี) หากพิจารณาเฉพาะช่วงปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 15,331 รายการ (*ปี ค.ศ. 2023 ยังไม่จบปี) ในจำนวนผลงานตีพิมพ์ รวม 15,331 รายการ มีผลงานของผู้แต่งที่ระบุหน่วยงานที่สังกัด คือ ประเทศไทย จำนวน 77 รายการ

ปีที่ตีพิมพ์ จำนวนผลงานตีพิมพ์
2020 19 รายการ
2021 17 รายการ
2022 33 รายการ
2023 8 รายการ

ประเภทของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพของประเทศไทย

ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ของประเทศไทย รวม 77 รายการ เมื่อพิจารณา ประเภทผลงาน (document type) พบว่าส่วนใหญ่เป็นผลงานประเภทบทความวารสาร (article) จำนวน 45 รายการ หรือ 58.4% รองลงมา คือ บทวิจารณ์ (review) จำนวน 12 รายการ หรือ 15.6% และ Conference Paper และ Letter จำนวน 8 รายการเท่ากัน หรือ 10.4% ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับประเภทของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน หัวข้อเรื่อง Telehealth ในภาพรวมโลก พบว่า Conference Paper ไม่ติด Top 5 ประเภทผลงานที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด

Top 5 ประเภทของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน Top 5 ประเภทของผลงานตีพิมพ์ แบบไม่จำกัดปีที่ตีพิมพ์
ประเภท จำนวนผลงานตีพิมพ์ สัดส่วนผลงานตีพิมพ์ ประเภท จำนวนผลงานตีพิมพ์ สัดส่วนผลงานตีพิมพ์
Article 45 58.4% Article 54 60.0%
Review 12 15.6% Review 12 13.3%
Conference Paper 8 10.4% Conference Paper 10 11.1%
Letter 8 10.4% Letter 10 11.1%
Note 3 3.9% Note 3 3.3%

สาขาวิชาของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพของประเทศไทย

ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ของประเทศไทย รวม 77 รายการ เมื่อพิจารณาสาขาวิชา (subject area) ของเนื้อหา พบว่าผลงานจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรก อยู่ในกลุ่มทางด้านการแพทย์และสุขภาพ คือ อยู่ในกลุ่ม Medicine จำนวน 58 รายการ หรือ 46.8% รองลงมา คือ Computer Science จำนวน 10 รายการ หรือ 8.1% และ Engineering จำนวน 9 รายการ หรือ 7.3% เท่ากับ Nursing

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบผลงานตีพิมพ์ หัวข้อเรื่อง Telehealth ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพรวมโลก พบว่าอันดับที่ 1 ยังคงเป็น กลุ่ม Medicine แต่อันดับที่ 2-3 แตกต่างกัน คือ กลุ่มสาขา Health Professions และ Nursing

หมายเหตุ : ผลงาน 1 ชื่อเรื่อง/รายการ อาจมีเนื้อหาครอบคลุมมากกว่า 1 subject area

Top 10 สาขาวิชาของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน Top 10 สาขาวิชาของผลงานตีพิมพ์ แบบไม่จำกัดปีที่ตีพิมพ์
สาขาวิชา จำนวนผลงานตีพิมพ์ สาขาวิชา จำนวนผลงานตีพิมพ์
Medicine 58 Medicine 69
Computer Science 10 Computer Science 11
Engineering 9 Engineering 10
Nursing 9 Nursing 9
Health Professions 7 Health Professions 8
Social Sciences 5 Social Sciences 7
Environmental Science 4 Biochemistry, Genetics and Molecular Biology 4
Biochemistry, Genetics and Molecular Biology 3 Environmental Science 4
Decision Sciences 3 Decision Sciences 3
Multidisciplinary 3 Multidisciplinary 3

Topic cluster ของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพของประเทศไทย

ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ของประเทศไทย รวม 77 รายการ เมื่อพิจารณา Topic cluster ของเนื้อหา พบว่าผลงานจำนวนมากที่สุด 5 อันดับแรก อยู่ใน Topic cluster ตามที่ปรากฏในตารางด้านล่าง

COVID-19; SARS-CoV-2; Coronavirus เป็น Topic cluster ที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ มากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว (จำนวนผลงานตีพิมพ์ 20 รายการ) ขณะที่ Telemedicine; Technology; Patients มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากเป็นอันดับที่ 2 แต่มีสัดส่วน Publication share มากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว (สัดส่วน Publication share 0.08%)

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบผลงานตีพิมพ์ หัวข้อเรื่อง Telehealth ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพรวมโลก พบว่า Topic cluster Telemedicine; Technology; Patients มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด ส่วน COVID-19; SARS-CoV-2; Coronavirus อยู่ในอันดับที่ 2 ส่วน 3 Topic cluster สุดท้ายในตารางด้านล่าง ไม่อยู่ใน Top 5 Topic cluster ที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด

Topic Cluster จำนวนผลงานตีพิมพ์ Publication share (%)
COVID-19; SARS-CoV-2; Coronavirus 20 0.01
Telemedicine; Technology; Patients 8 0.08
HIV; HIV Infections; HIV-1 7 0.02
Obesity; Motor Activity; Child 3 0.01
Insulin; Type 2 Diabetes Mellitus; Glucose 3 0.01
Hypertension; Blood Pressure; Patients 3 0.03

Keyphase ของผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ในภาพของประเทศไทย

เมื่อพิจารณา Keyphase ของเนื้อหา พบว่า Keyphase ที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด คือ E-health

หน่วยงานและผู้แต่งกับผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ประเทศไทย

ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) หัวข้อเรื่อง Telehealth มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ของประเทศไทย รวม 77 รายการ เมื่อพิจารณาหน่วยงานที่สังกัดของผู้แต่ง พบว่าหน่วยงานที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ

  1. Mahidol University จำนวน 24 รายการ
  2. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University จำนวน 10 รายการ
  3. Chulalongkorn University จำนวน 9 รายการ

เมื่อพิจารณาผู้แต่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่ร่วมงานกับหน่วยงานสังกัดประเทศไทย โดยผู้แต่งชาวไทยที่มีจำนวนผลงานตีพิมพ์มากที่สุด Ngarmukos, Tachapong จาก Mahidol University มีจำนวนผลงาน 5 รายการ โดยเกือบทั้งหมดตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2021 ทั้งหมดอยู่ภายใต้ Topic cluster COVID-19; SARS-CoV-2; Coronavirus

ผลงานตีพิมพ์ ปี ค.ศ. 2020-ปัจจุบัน ที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุด ในภาพของประเทศไทย

ตารางด้านล่างแสดงผลงาน 5 รายการแรกที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด ทั้งนี้โดยปกติผลงานที่พึ่งตีพิมพ์มีแนวโน้มจำนวนการอ้างอิงน้อยกว่าผลงานที่เก่ากว่า ผลงานทั้ง 5 รายการตีพิมพ์ในปีเดียวกัน คือ ค.ศ. 2020

ชื่อผลงาน ประเภท Open Access ปีที่ตีพิมพ์ ชื่อวารสาร จำนวนอ้างอิง Keyword
Health equity and COVID-19: Global perspectives Review OA 2020 International Journal for Equity in Health 342 Covid-19; Health equity; Humanitarian crisis; Pandemic
The effect of e-health interventions promoting physical activity in older people: A systematic review and meta-analysis Review OA 2020 European Review of Aging and Physical Activity 49 E-health; Older people; Physical activity; Physical activity energy expenditure; Step count
An architecture and management platform for blockchain-based personal health record exchange: Development and usability study Article OA 2020 Journal of Medical Internet Research 46 Blockchain; Health information interoperability; Health information management; Personal health records; Precision health care
Artificial intelligence, the internet of things, and virtual clinics: ophthalmology at the digital translation forefront Note OA 2020 The Lancet Digital Health 38 Artificial Intelligence; Digital Technology; Internet of Things; Ophthalmology; Telemedicine
Sustainable health promotion for the seniors during COVID-19 outbreak: A lesson from Tokyo Article OA 2020 Journal of Infection in Developing Countries 36 Aging; Care prevention; Japan; Pandemic; Public health; Telehealth

ฐานข้อมูลและเทคนิคการสืบค้น : สิทธิบัตร

  • ฐานข้อมูลที่ใช้สืบค้น คือ ฐานข้อมูล Innosabi Insight ฐานข้อมูลนำเสนอภาพรวมข้อมูลทางธุรกิจ เช่น สภาวะการแข่งขัน ข้อมูลบริษัท โดยใช้ข้อมูลมากกว่า 50 ประเภท เช่น สิทธิบัตร ผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ ข้อมูลโครงการวิจัย ข่าวสารด้านธุรกิจ และข้อมูลจากเว็บไซต์ ที่สืบค้นจากแหล่งสารสนเทศกว่า 500 แหล่งทั่วโลก แสดงผลการวิเคราะห์เทคโนโลยีแบบภูมิทัศน์ (Technology Landscape) เพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา
  • คำค้นและเขตข้อมูลที่ใช้สืบค้น คือ telehealthcare (or telehomecare, telemedicine, telehealth, ehealth, telecare, telemonitor)(both singular and plural forms are automatically included).I also want toboost my searchas much as possible by including variation of concepts (conjugated form, word family…) and extending search to extra fields.
  • ช่วงเวลาของผลงานตีพิมพ์ที่สืบค้น คือ ไม่ระบุ
  • วันเดือนปีที่สืบค้น คือ 19 มิถุนายน 2566

จำนวนสิทธิบัตรในภาพรวมโลก คือ 13,441 inventions แบ่งเป็น Alive = 8,536 และ Dead = 4,905

Patent Investment Dynamic พบว่า เทคโนโลยี Telehealth มีอัตราการเติบโต 16.47% ระหว่างปี 2017-2020

Global Main Markets: Geographic Protection ประเทศที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยี Telehealth โดยการวิเคราะห์ประเทศที่ได้รับการคุ้มครองของ patent families พบว่า กิจกรรม IP ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งการคุ้มครองสิทธิบัตรและการยื่นจดสิทธิบัตรครั้งแรก สะท้อนถึงประเทศที่เป็นตลาดหลักและพื้นที่ที่เทคโนโลยีกำลังระเบิด นอกจากนี้ การวิเคราะห์ first fillings หรือ ยื่นจดสิทธิบัตรครั้งแรก พบว่า กิจกรรม R&D ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศจีน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศอินเดีย ตามลำดับ สะท้อนถึงประเทศที่ให้ความสำคัญในแง่ของการวิจัยและพัฒนา

Top Player กราฟด้านล่างแสดง Top 10 player ด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดในตลาดทั่วโลกเรื่อง Telehealth ที่สืบค้น การวิเคราะห์ผู้เล่น (player) เพื่อให้ทราบเกี่ยวกับคู่แข่งที่มีบทบาทมากที่สุดในแง่ของความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย ด้วยผลงานสิ่งประดิษฐ์ 650 ชิ้น (invention) ผู้เล่นหลักในเทคโนโลยีนี้ คือ QUALCOMM เมื่อรวมกับผู้เล่นหลักอีก 4 ราย คิดเป็น 39.99% ของ TOP 100 player

Technical Concepts ด้วยการวิเคราะห์คำหลักที่พบบ่อยที่สุดในสิทธิบัตรของโดเมนที่วิเคราะห์ จากการวิเคราะห์สิทธิบัตร เทคโนโลยี Telehealth มุ่งเน้นไปที่ Telemedicine, Wireless Communication & Doctor เป็นหลัก ขณะที่ Main Applications แอพลิเคชันหลักของเทคโนโลยี 3 อันดับแรก คือ Medical Technology, Telecommunications & Computer Technology

จากข้อมูลข้างต้นเห็นได้ว่าความสนใจในการศึกษาวิจัยและตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง Telehealth มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยมา โดยเฉพาะช่วงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพหันมาใช้ telehealth โดยเฉพาะเพื่อรับมือกับการต้องเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) แต่เมื่อสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ (post-pandemic) คาดการณ์ว่า telehealth จะยังได้รับความสนใจในการนำมาใช้เพื่อการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ โดยไม่เพียงมอบประสบการณ์ที่สะดวกมากขึ้นให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังขยายการเข้าถึงการดูแลไปยังผู้ที่อาจมีปัญหาในการเข้าถึงบริการอีกด้วย ขณะที่การยื่นจดสิทธิบัตรก็มีตัวเลขเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งการคุ้มครองสิทธิบัตรและการยื่นจดสิทธิบัตรครั้งแรก สะท้อนถึงประเทศที่เป็นตลาดหลักและพื้นที่ที่เทคโนโลยีกำลังระเบิด โดยเน้นไปในแง่ของด้านการแพทย์ทั้ง  technical concept และ main application

แชร์หน้านี้: