ผลการค้นหา :

ยกระดับชุมชนด้วย Smart Micro Grid & ETP ต้นแบบโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ
นักวิจัย สวทช. ร่วมกับหลายหน่วยงานจากภาคส่วนต่าง ๆ พัฒนา ต้นแบบโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะขนาดเล็ก และพัฒนา แพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้า เรียกว่า Smart Micro Grid and ETP เป็นความร่วมมือในการสร้างโครงข่ายการบริหารจัดการไฟฟ้า นำร่องในพื้นที่ระดับชุมชน เริ่มตั้งแต่การสนับสนุนให้ชุมชนผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ และใช้ร่วมกับพื้นที่ทางการเกษตรด้วยการปลูกพืชมูลค่าสูงใต้แผงโซลาร์ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าของชุมชนผ่านแพลตฟอร์ม ETP เป็นการยกระดับชุมชน เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมกับสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศอย่างยั่งยืน
พบกับทีมนักวิจัยและผู้พัฒนา Smart Micro Grid and ETP ในงานการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 หรือ NAC2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2566 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ www.nstda.or.th/nac
คลิปสั้นทันเหตุการณ์

นักวิจัย นาโนเทค สวทช. ต่อยอด Nano Coating สู่น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ “ลดฝุ่นเกาะ-สะท้อนน้ำ” นวัตกรรมตอบโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้านเศรษฐกิจสีเขียว
‘ฝุ่น’ ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของมนุษย์เรา แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะในหน้าแล้งที่ประสิทธิภาพลดลง 6-10% นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาน้ำยาเคลือบผิวโซลาร์เซลล์ ด้วยเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) ลดการเกาะของฝุ่น เพิ่มสมบัติสะท้อนน้ำ พร้อมขยับสู่ดีพเทคสตาร์ตอัปในชื่อ “นาโน โค๊ตติ้ง เทค” นำนวัตกรรมหนุนอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะโซลาร์เซลล์และโซลาร์ฟาร์ม ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เพิ่มความยั่งยืนทางพลังงาน รับลูกโมเดลเศรษฐกิจ BCG
ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยเราคือ การพัฒนาสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับพื้นผิวหลากหลายประเภท เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้กับพื้นผิวตามความต้องการ โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในอุตสาหกรรมผลิตพลังงาน อุตสาหกรรมสิ่งก่อสร้าง พลาสติก กระดาษ รวมถึงพื้นผิวอื่นๆ หนึ่งในนั้นคือ โซลาร์เซลล์ ที่เราพบว่า เทคโนโลยีเคลือบนาโนนี้ สามารถแก้ปัญหาที่กลุ่มผู้ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในระดับโรงงานอุตสาหกรรม โซลาร์ฟาร์ม รวมถึงผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์กำลังเผชิญ
ฝุ่น นับว่า เป็นปัญหาใหญ่สำหรับโซลาร์เซลล์ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการรับแสงอาทิตย์ที่จะนำไปผลิตเป็นไฟฟ้าลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในระดับโรงงานอุตสาหกรรมหรือการทำโซลาร์ฟาร์มที่ต้องติดตั้งแผงจำนวนมาก เนื่องจากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน หรือหน้าแล้งนั้น ไทยต้องเจอกับฝุ่นจำนวนมาก ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ลดลง 6-8% และหากเป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเขม่าควันหรือละอองน้ำมันจับที่หน้าแผง ประสิทธิภาพอาจลดลงได้ถึง 9-10%
นักวิจัยนาโนเทคชี้ว่า โดยปกติแล้ว ผู้ประกอบการจะแก้ปัญหานี้ด้วยการทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูง รวมถึงต้องใช้บุคลากรที่มีใบประกอบวิชาชีพด้านการทำงานบนที่สูง หากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนที่สูงหรือหลังคา และยังต้องคำนึงถึงความชำนาญในการทำความสะอาด เพื่อลดความเสี่ยงของรอยขีดข่วน ชำรุดของโซลาร์เซลล์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเช่นกัน
น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ จากเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) ดร.ธันยกร อธิบายว่า เป็นการพัฒนาสูตรขึ้นเป็นพิเศษ โดยปรับค่ามุมสัมผัสของน้ำบนวัสดุ (Water contact angle) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการลดการเกาะของฝุ่นให้แก่พื้นผิว และยังมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ โดยของเหลวที่ตกกระทบพื้นผิววัสดุที่ผ่านการเคลือบ จะมีลักษณะเป็นก้อนกลมกลิ้งไหลออกจากพื้นผิว ลดการยึดเกาะและชำระล้างฝุ่นรวมถึงสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากแผงโซลาร์เซลล์โดยไม่ทิ้งคราบน้ำ ทำให้แผงผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 5ในช่วงหน้าแล้ง
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังออกแบบและพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบให้ใช้งานง่ายในรูปแบบสเปรย์ และปาดเคลือบ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพพื้นผิววัสดุ ซึ่งเป็นอีกจุดเด่นของสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษคือ การลดข้อจำกัดด้านการเคลือบโซลาร์เซลล์ ที่ปัจจุบันในท้องตลาดจะเป็นการเคลือบแบบถาวร ซึ่งการเคลือบถาวรนี้ จะส่งผลให้การรับประกันแผงโซลาร์เซลล์ในระยะเวลา 25 ปี ถูกยกเลิก แต่หากใช้สารเคลือบนาโนนี้ ยังสามารถชำระล้างออกตามธรรมชาติได้ภายใน 1-2 ปี ไม่ส่งผลต่อการรับประกันแผง อีกทั้งยังผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อผู้ใช้
นอกจากประสิทธิภาพต่างๆ ที่โดดเด่นแล้ว เมื่อมองทิศทางของตลาดโซลาร์เซลล์และภาพรวมของพลังงานทางเลือกก็มีแนวโน้มไปในทางบวก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ประเมินว่า ตลาดโซลาร์รูฟท็อปภาคธุรกิจในปี 65 น่าจะขยายตัวสู่ระดับ 125.9 เมกะวัตต์ หรือเติบโตราว 54.2% จากปี 64 โดยค่าไฟที่จะประหยัดได้จริงของแต่ละธุรกิจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์ ปริมาณการใช้ไฟ เงินลงทุนในการติดตั้งและงบการเงินของกิจการ สำหรับแรงหนุนของตลาดโซลาร์รูฟท็อปภาคธุรกิจในปี 65 คาดว่าจะมาจากกลุ่มธุรกิจที่มีสัดส่วนต้นทุนการดำเนินธุรกิจจากค่าไฟที่สูง ทั้งธุรกิจในภาคการผลิต ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมผลิตซีเมนต์และเหล็ก และธุรกิจในภาคบริการ เช่น โกดังสินค้า โรงแรมและค้าปลีกอย่างห้างสรรพสินค้า ที่เน้นให้ความสำคัญกับการประหยัดต้นทุนและความคุ้มค่าของการลงทุนในระยะกลางถึงยาว ในขณะที่ผู้ประกอบการโซลาร์รูฟท็อปแข่งขันนำเสนอโมเดลการลงทุนที่จูงใจผู้ประกอบการ ทั้งการช่วยลดภาระจากการลงทุนและบำรุงรักษาโซลาร์รูฟท็อป โดยในระยะข้างหน้าการลงทุนโซลาร์รูฟท็อปน่าจะทวีความสำคัญมากขึ้น จากกระแสการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) รวมถึงแรงผลักดันจากนโยบายภาครัฐในหลายประเทศรวมถึงไทยที่ตั้งเป้ามุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 93 และน่าจะมีการทยอยออกมาตรการผลักดันที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นตามมา
เช่นเดียวกับข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประเมินว่า อัตราค่าไฟฟ้าโดยรวมของไทยในปี 2566 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึง 5 บาทต่อหน่วย โดยสะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่แท้จริงที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ตลาดโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ในประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดดเฉลี่ยปีละ 22% หรือแตะระดับ 6.7หมื่นล้านบาท ในปี 2568 ส่วนหนึ่งมาจากที่ประเทศไทยค่อนข้างได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งที่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยไทยมีค่าเฉลี่ยความเข้มรังสีของแสงอาทิตย์สูงเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับสภาพอากาศในปัจจุบันที่แปรปรวนและร้อนอบอ้าว ส่งผลให้ไทยมีความพร้อมทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทานที่จะช่วยดันให้ตลาดติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เติบโตได้ดีในระยะต่อไป
“โอกาสและศักยภาพของเทคโนโลยีเคลือบนาโนที่ทีมวิจัยนาโนเทคเดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เรามองเป็นช่องว่างทางธุรกิจที่จะนำนวัตกรรมที่เรามีความเชี่ยวชาญไปต่อยอด จึงสปินออฟสู่การเป็นดีพเทคสตาร์ทอัพภายใต้ บริษัท นาโน โค๊ตติ้ง เทค จำกัด ที่นำร่องด้วยนวัตกรรมน้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ พร้อมให้บริการด้านการเคลือบนาโนอีกด้วย” ดร.ธันยกรกล่าวในฐานะ Managing Director ของ นาโน โค๊ตติ้ง เทค
บริษัท นาโน โค๊ตติ้ง เทค จำกัด เริ่มดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม 2565 ดร.ธันยกรเผยว่า การตอบรับดีมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในระดับโรงงานอุตสาหกรรม, โซลาร์ฟาร์ม รวมถึงผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท เท็กซ์พลอร์ จำกัด ที่ให้ความสนใจเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเท็กซ์พลอร์ ที่มีความเชี่ยวชาญ และฐานลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่แล้ว จะทำหน้าที่เป็นดิสทริบิวเตอร์ นำนวัตกรรมสารเคลือบนาโนนี้ ไปหาลูกค้ากลุ่มที่มีความต้องการใช้งานอีกด้วย
ปัจจุบัน กำลังการผลิตสารเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ของนาโน โค๊ตติ้ง เทค อยู่ที่ 20,000 ลิตรต่อเดือน ซึ่งจะสร้างรายได้ราว 20 ล้านบาทต่อเดือน ด้วยเป้าหมายที่วางไว้ว่า ภายใน 5 ปี นาโน โค๊ตติ้ง เทคจะเป็นเบอร์ 1 ทางด้านสารเคลือบในแถบอาเซียน
นอกจากนี้ ยังวางแผนขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีเคลือบนาโนออกไปสู่ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคลือบนาโนสำหรับใช้ปกป้องพื้นผิววัสดุสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำยาเคลือบพื้นผิววัสดุสิ่งก่อสร้าง สำหรับคอนกรีต ไม้ และกระจก เพื่อลดการเกิดคราบน้ำ ตะไคร่ และการเกาะตัวของฝุ่น ซึ่งจะช่วยลดความถี่ในการทำความสะอาด และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งาน โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างและผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงมีบริการด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำยาเคลือบพื้นผิววัสดุตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
บริษัท นาโน โค๊ตติ้ง เทค จำกัด
อีเมล nanocoatingtech.thailand@gmail.com
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

Ross เทคโนโลยีชุดเสริมแรงการก้มยก! ลดเสี่ยงบาดเจ็บกล้ามเนื้อหลัง
นักวิจัยเอ็มเทค สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีชุดสวมใส่ช่วยในการเคลื่อนไหวและป้องกันการบาดเจ็บสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เรียกว่า Ross Motion-Assist Exosuit รุ่น Back Support ถูกออกแบบเป็นชุดอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบา สวมใส่เข้ากับร่างกายได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เหมาะสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุในกรณีที่ต้องยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยชุด Ross จะช่วยเสริมแรงพยุงส่วนหลังของผู้สวมใส่ในระหว่างการก้มยกของหนัก ป้องกันและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลังได้
พบกับเทคโนโลยีชุด Ross และทีมผู้พัฒนาได้ในงาน การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 หรือ NAC2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2566 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ www.nstda.or.th/nac
คลิปสั้นทันเหตุการณ์

นวัตกรรม ‘คอปเปอร์ไอออน’ สารยับยั้งเชื้อก่อโรคประสิทธิภาพสูง ช่วยบรรเทาปัญหาโรคระบาดในสุกร
For English-version news, please visit : https://www.nstda.or.th/en/news/news-years-2023/ionic-copper-innovation-leads-to-effective-animal-health-products.html
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหาราคาเนื้อสุกรพุ่งสูง เนื่องจากการระบาดหนักของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่ทำให้สุกรล้มป่วยและตายแบบเฉียบพลันจำนวนมาก แม้ผ่านมาราวปีครึ่งแล้ว ราคาของเนื้อสุกรก็ยังไม่ลดลงเทียบเท่าสถานการณ์ปกติ สาเหตุหนึ่งมาจากต้นทุนด้านการรับมือโรคระบาดที่ค่อนข้างสูง จนเกษตรกรหลายรายจำต้องหยุดทำฟาร์มชั่วคราวหรือถาวร ส่งผลให้กำลังการผลิตเนื้อสุกรภายในประเทศลดลง
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนา ‘นวัตกรรมสารคอปเปอร์ไอออน (Ionic Copper) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคสูง’ เพื่อหนุนแก้ปัญหาโรคระบาดในสุกร ลดค่าใช้จ่าย และลดสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
[caption id="attachment_40872" align="aligncenter" width="450"] ดร.วรายุทธ สะโจมแสง นักวิจัย นาโนเทค สวทช.[/caption]
ดร.วรายุทธ สะโจมแสง ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน นาโนเทค สวทช. เล่าว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยและประเทศข้างเคียงพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) โรคร้ายแรงที่ทำให้สุกรตายอย่างเฉียบพลัน และยังพบการระบาดของโรคอื่นๆ อาทิ โรคท้องร่วงในสุกร (Porcine Epidemic Diarrhea: PED) และโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome: PRRS) ทำให้มีสุกรป่วยและตายจำนวนมาก ส่งผลให้เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งจากค่าใช้จ่ายด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biocontrol) ค่ายาปฏิชีวนะเพื่อรักษาและป้องกันโรค (การป้องกันโรคด้วยยาปฏิชีวนะเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องและส่งผลให้เชื้อดื้อยา) และการจัดหาแม่พันธุ์และสุกรตัวใหม่มาเลี้ยง
“ดังนั้นแล้วการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สุกรติดเชื้อเป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งการดำเนินงานตามมาตรการที่กรมปศุสัตว์กำหนด และการทำความสะอาดด้วยสารยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพ เช่น สารประเภท ‘คอปเปอร์ไอออน’ หรือ ‘เกลือคอปเปอร์’ ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและลบ รวมถึงไวรัส ที่ค่อนข้างครอบคลุมโรคระบาดสำคัญในสุกร อย่างไรก็ตามสารชนิดนี้ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่เช่นกัน เพราะเป็น ‘สารที่ไม่คงทนต่อสภาพแวดล้อม’ ทำให้มีโอกาสที่สารจะออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกษตรกรต้องใช้สารในปริมาณมาก ต้นทุนการผลิตสูง และอาจก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในพื้นที่อีกด้วย”
จากปัญหาดังกล่าวทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. ไม่นิ่งนอนใจ เร่งนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคีเลชัน (Chelation technology) มาพัฒนาสารคอปเปอร์ไอออนให้อยู่ในรูปที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคได้สูงในสภาพแวดล้อมที่ใช้งานจริง
ดร.วรายุทธ อธิบายว่า ทีมวิจัยได้พัฒนากระบวนการคีเลชันสารคอปเปอร์ไอออนด้วยคีเลติงเอเจนต์ธรรมชาติ (Natural chelating agent) เพื่อทำให้คอปเปอร์ไอออนมีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ไม่เสียประจุไอออนบวกที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคได้ง่ายและไม่ตกตะกอน ทำให้สารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคได้เต็มประสิทธิภาพ ช่วยลดปริมาณการใช้สารได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การคีเลชันคอปเปอร์ไอออนด้วยด้วยคีเลติงเอเจนต์ธรรมชาติยังช่วยให้พืชดูดซึมสารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ (คอปเปอร์เป็นธาตุอาหารเสริมของพืช) ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม และไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในระบบนิเวศอีกด้วย
ปัจจุบันทีมวิจัยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการคีเลชันคอปเปอร์ไอออนให้แก่บริษัทสมาร์ท เวท จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทฯ ได้ต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ดูแลสุขภาพสัตว์ทั้งในการทำปศุสัตว์และประมง
ดร.วรายุทธ แนะนำว่า ผลงานที่บริษัทฯ วางจำหน่ายแล้วในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ ‘BLUERACLE’ ผลิตภัณฑ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและลบ รวมถึงเชื้อไวรัส ใช้ได้กับทั้งอาหารสุกรและไก่ และน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ‘BLEN IONIC’ ผลิตภัณฑ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคท้องเสียในสุกร การใช้งานเป็นรูปแบบปั๊มเข้าปาก และ ‘BLUE TEC’ ผลิตภัณฑ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารสำหรับใช้กับอาหารสุกรและไก่ และใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคในระบบกระจายลม (Evaporative cooling system) ในฟาร์มได้
“จุดเด่นของ ‘นวัตกรรมสารคอปเปอร์ไอออนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคสูง’ คือ ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดผ่านการควบคุมและป้องกัน นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนการผลิต ทำให้เกษตรกรที่เคยประสบปัญหาขาดทุนมีโอกาสได้หวนกลับมาผลิตสุกรเพื่อหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมอาหารไทยมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญสารคอปเปอร์ไอออนไม่ใช่ ‘ยาปฏิชีวนะ’ หรือ ‘สารเคมีอันตราย’ จึงเหมาะแก่การใช้เป็นสารทางเลือกสำหรับดูแลสุขภาพสัตว์ (ในปริมาณที่เหมาะสม) เพื่อช่วยลดข้อจำกัดทางการค้า เพิ่มโอกาสในการส่งออกเนื้อสุกรและเนื้อสุกรแปรรูปในอนาคต ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว” ดร.วรายุทธ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้ประกอบการท่านใดสนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่บริษัทสมาร์ท เวท จำกัด และหากสนใจใช้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารด้วยเทคโนโลยีนาโน ติดต่อได้ที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อีเมล pr@nanotec.or.th
เรียบเรียงโดย ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
อาร์ตเวิร์กโดย ภัทรา สัปปินันทน์
ภาพประกอบโดย ภัทรา สัปปินันทน์ และ shutterstock
BCG
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความ
ผลงานวิจัยเด่น

“สนทนา” (Sontana) แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ Avatar AI ถามได้ – ตอบได้!
นักวิจัยเนคเทค สวทช. พัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ชื่อว่า "สนทนา" (Sontana) เป็นระบบการแปลงเสียงพูดให้เป็นข้อความ และแปลงข้อความเป็นเสียงพูด พร้อมมีระบบการค้นหาคำตอบให้ตรงกับเสียงหรือข้อความคำถามซึ่งสามารถปรับแต่งหรือป้อนข้อมูลในระบบได้ โดยสนทนาจะแสดงผลในรูปแบบของ Avatar AI คุยโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เบื้องต้น "สนทนา" สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นระบบให้บริการตอบคำถามอัตโนมัติได้
พบกับ แพลตฟอร์ม "สนทนา" ในงาน การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 หรือ NAC2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2566 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ www.nstda.or.th/nac
คลิปสั้นทันเหตุการณ์

[NAC2023] แนะนำ Open House เส้นทางต่อยอดธุรกิจในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18
Open House เยี่ยมชม 27 ห้องปฏิบัติการ 7 กลุ่มอุตสาหกรรม
เบื้องหลังการสร้างนวัตกรรมที่โดดเด่นสำหรับธุรกิจยุคใหม่
สวทช. เปิดบ้านต้อนรับนักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม และนักลงทุน ที่มีความสนใจ เยี่ยมชมเทคโนโลยีจากศักยภาพของบุคลากรวิจัยและห้องปฏิบัติการ สวทช. ตลอดจนนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ธุรกิจจากบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี ที่จะเป็นตัวช่วยให้การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปเพิ่มศักยภาพและกำไรให้กับธุรกิจ
29-31 มีนาคม 2566
*รับเฉพาะภาคเอกชนและจำนวนจำกัด
(วันละ 1 รอบ/ช่วงเช้า)
Modern Agriculture
เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
Food for the Future
เทคโนโลยีที่ช่วยปรับอาหารให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และทำให้อาหารเพื่อสุขภาพมีรสชาติอร่อย ตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภค
Cosmeceutical
เทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง ต่อยอดธุรกิจของคุณด้วยการให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่การพัฒนาสูตรตำรับ การทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย และบริการผลิตเครื่องสำอางโดยโรงงานต้นแบบมาตรฐาน ASEAN COSMETIC GMP
Digital Transformation
หมุนไปพร้อมกับโลกของข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
Energy
ต่อยอดธุรกิจด้วยนวัตกรรมพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
Health and Wellness
เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านสุขภาพการแพทย์และความปลอดภัย
Agriculture for Animal
เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เพื่อตอบสนองคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน
ข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนร่วมงานที่ https://www.nstda.or.th/nac/2023/open-house/
ปฏิทินกิจกรรม

ครั้งแรกกับ สเปรย์เติมความ “สด” ให้พืช ‘iPlant Multipurpose Spray’ ตอบโจทย์ธุรกิจส่งออกพืชเมืองหนาว
อากาศยิ่งร้อน พืชพรรณก็ยิ่งเฉา นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาสเปรย์ทำความเย็นอัดแก๊สแรงดันสูงที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากธรรมชาติ รวมถึงธาตุอาหารเสริมและรอง ในชื่อ ‘iPlant Multipurpose Spray’ ช่วยลดอุณหภูมิภายในของพืช ลดการคายน้ำจากอากาศร้อน ช่วยให้พืชสดชื่น ไม่เหี่ยวเฉา ตอบความต้องการธุรกิจไม้ดอก ไม้ประดับ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไม้เมืองหนาวราคาสูงที่นำมาปลูกในประเทศไทย
ดร.วรล อินทะสันตา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ปัจจุบัน สภาพอากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตและความอยู่รอดของพืช สภาพอากาศที่เหมาะสมจะเป็นตัวแปรสำคัญในการดำรงชีวิตของพืช โดยทั่วไป อากาศที่ร้อนจัดมักจะส่งผลกระทบต่อพืชได้มากกว่าอากาศหนาว เนื่องจากอากาศร้อนจะทำให้พืชเกิดการคายน้ำอย่างรุนแรง และนำมาซึ่งการเสียสมดุลของน้ำภายในพืช จนกระทั่งทำให้พืชเหี่ยวเฉาและตายในที่สุด
[caption id="attachment_41192" align="aligncenter" width="2560"] ดร.วรล อินทะสันตา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ[/caption]
“งานวิจัยนี้ เป็นการพัฒนาสเปรย์ทำความเย็นอัดแก๊สแรงดันสูงที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากธรรมชาติรวมถึงธาตุอาหารเสริมและรอง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายในของพืช รวมถึงลดการคายน้ำจากอากาศที่ร้อนจัด และทำให้พืชสามารถทนทานกับสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ดียิ่งขึ้น” นักวิจัยนาโนเทคเผย
ปกติ ไม้เมืองหนาวที่ต้องอยู่ในสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัดในไทย ทำให้พืชมีความเครียดเนื่องจากต้องสูญเสียน้ำโดยเฉพาะทางใบ การรดน้ำต้นไม้ช่วยได้ในระดับหนึ่งและเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีต้นทุนสูงสำหรับบางพื้นที่ ดร.วรล เผยว่า เมื่อนำสเปรย์ทำความเย็น iPlant มาประยุกต์ใช้พ่นบนใบของพืชพบว่า ได้ผลดี สามารถลดอุณหภูมิได้มากถึง 2-3 องศาเซลเซียส ยืดเวลาในการเหี่ยวเฉาออกไปได้ iPlant สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไม้เมืองหนาวเช่นต้นกุหลาบ ต้นไฮเดรนเยีย และต้นไซคลาเมน ซึ่งเป็นกลุ่มของไม้เมืองหนาวที่มีราคาสูงและทำรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก
นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทางทีมวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้ผลิตขึ้นนี้ นับเป็นครั้งแรกโดยอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งคาดว่า หากสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีไปถึงมือผู้ใช้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมไม้เมืองหนาวที่นำมาปลูกในประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มของไม้เมืองหนาวราคาสูง ที่จะเป็นแหล่งรายได้ให้กับเกษตรกร
‘iPlant Multipurpose Spray’ จะนำไปร่วมจัดแสดงในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (18th NSTDA Annual Conference: NAC2023) ภายใต้หัวข้อ สวทช.: ขุมพลังหลัก วทน. เร่งการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืน (NSTDA: STI powerhouse to drive BCG economy for Thailand's sustainable development) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

สวทช. ร่วมกับ วช. จัดกิจกรรม โครงการรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายฝึกทักษะวิจัย/ครูวิทยาศาสตร์
(13 มีนาคม 2566) ณ ห้องออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรม โครงการรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายฝึกทักษะวิจัย/ครูวิทยาศาสตร์ ณ ห้องปฏิบัติการวิจัยของศูนย์วิจัยแห่งชาติ สวทช. ภาคฤดูร้อน ประจำปี 2566 (ปีที่ 6) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ หรือในโครงการพิเศษสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมและครูวิทยาศาสตร์ ได้มีโอกาสเข้ามาฝึกฝนทักษะการวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัย ของศูนย์วิจัยแห่งชาติของ สวทช.
โดยมีทีมนักวิจัย สวทช. เป็นผู้ดูแล พร้อมเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เข้ามาฝึกทักษะวิจัย ได้เห็นบรรยากาศการทำงานวิจัย ได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยอาชีพ และปลูกฝังความรักและความศรัทธาในวิชาชีพนักวิจัย ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต้อนรับ
ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ตระหนักถึงการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายพิเศษ การฝึกอบรม กิจกรรมค่าย และการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เยาวชนได้ฝึกฝน เรียนรู้ และทำวิจัยภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของไทย และบ่มเพาะเยาวชนเหล่านี้สู่เส้นทางการเป็นนักวิทยาศาสตร์ต่อไปในอนาคต จึงได้ริเริ่มโครงการรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายฝึกทักษะวิจัย ณ ห้องปฏิบัติการวิจัยของศูนย์วิจัยแห่งชาติ สวทช. ภาคฤดูร้อน ในปี 2561 เป็นรุ่นแรก ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมฝึกทักษะวิจัยรวมแล้วมากกว่า 300 คนได้มีโอกาสมาเรียนรู้ทักษะวิจัยนักวิจัย สวทช. ได้เห็น บรรยากาศของการทำงานในห้องปฏิบัติการวิจัยของนักวิจัยแบบมืออาชีพ ซึ่งจุดประกายให้เห็นเส้นทางอาชีพนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์
ในปีพ.ศ. 2564 เป็นต้นมา เป็นโอกาสที่ดี ทาง สวทช. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานสำคัญของประเทศอีกหน่วยงาน คือ วช. ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาร่วมเป็นพันธมิตรและให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมโครงการ นอกจากนี้ ยังเป็นปีสองที่ทางโครงการได้เปิดโอกาสให้กลุ่มนักเรียนจากห้องเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การสนับสนุนของ สพฐ. รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้ครูวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้สมัครเข้าร่วมโครงการอีกด้วย
ในปี 2566 นี้ มีนักเรียนจากโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 174 คน ครู 14 คน โดยมีนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกและยืนยันเข้าร่วมโครงการ รวมจำนวน 85 คน และมีครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 7 คน รวมทั้งหมดมีผู้เข้าร่วมโครงการ 92 คนจาก 53 โรงเรียนทั่วประเทศ นักเรียนและครูจะอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิจัย สวทช. ซึ่งจะเป็นพี่เลี้ยงหลักดูแลให้คำปรึกษาให้แก่นักเรียนและครู จำนวน 28 คน และจะมีผู้ช่วยวิจัยในทีมอีกจำนวนหนึ่งช่วยดูแลเพิ่มเติม จากศูนย์วิจัยแห่งชาติของ สวทช. ได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และยังมีในส่วนของหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ เป็นต้น
ข่าวประชาสัมพันธ์

อนุภาคนาโนนำส่งสารกลุ่มกัญชา-กัญชง ติดปีกอุตสาหกรรมเวชสำอาง
For English-version news, please visit : https://www.nstda.or.th/en/news/news-years-2023/nanotec-nstda-introduces-cbd-loaded-nanoparticles-for-applications-in-cosmeceutical-industry.html
นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนากระบวนการสังเคราะห์อนุภาคนาโน ช่วยนำส่ง CBD หรือสารสกัดจากพืชกลุ่มกัญชา-กัญชง ลดข้อจำกัด เพิ่มความสามารถในการละลายน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพทางเภสัชวิทยา ขยายการนำไปต่อยอดใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมได้หลากหลาย เพิ่มโอกาสต่อยอดเชิงพาณิชย์ รับเทรนด์ตลาดกัญชา-กัญชงโลก และตลาดกัญชงไทยที่จะโตถึง 126% ในปี 2568
Cannabidiol (CBD) คือสารสกัดจากพืชตระกูลกัญชง-กัญชา (Cannabis sativa L.) ซึ่งได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งการนำไปใช้ทางการแพทย์และการวิจัยทางคลินิก เนื่องจากมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาทางการบำบัด รวมทั้งการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ ซึ่งสารสกัด CBD ไม่ก่อให้เกิดการเสพติดและมีความเป็นพิษต่อระบบประสาทต่ำ
ดร.คทาวุธ นามดี จากทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า แม้สารสกัดจากกัญชา-กัญชงจะมีฤทธิ์ที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่การนำสารสกัด CBD ไปใช้ในทางการแพทย์นั้นยังมีข้อจำกัดอยู่หลายด้าน เช่น การละลาย ซึ่งพบว่า CBD มีชีวประสิทธิผลต่ำเนื่องจากความสามารถในการละลายน้ำได้น้อยและส่งผลให้การดูดซึมสารสกัดไม่สมบูรณ์ อีกทั้งปัจจัยด้านความคงสภาพของสารสกัด CBD เสื่อมสภาพได้จากอุณหภูมิ แสง ค่าความเป็นกรด-ด่าง และปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ และข้อจำกัดด้านการนำส่งสารสกัดผ่านผิวหนัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถส่งผ่านสารสกัดได้ แต่อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการส่งสารผ่านผิวหนังนั้นยังไม่สูงเท่าที่ควร เนื่องจากสารสกัดประกอบด้วยโมเลกุลที่ละลายได้ดีในน้ำมัน ซึ่งจะสะสมอยู่ที่หนังกำพร้าชั้นนอก และไม่สามารถซึมผ่านลงไปได้ทั้งหมด
“จากข้อจำกัดดังกล่าว ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาอนุภาคนาโนเพื่อการนำส่งสารสกัดจากพืชตระกูลกัญชง-กัญชา ซึ่งช่วยให้สารสกัดมีความสามารถในการกระจายตัวในน้ำ ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะในกลุ่มเวชสำอาง หรือผลิตภัณฑ์สำหรับสปา/เวลเนส ที่เดิมมักเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมัน หรือครีมเนื้อหนัก” ดร.คทาวุธกล่าว พร้อมชี้ว่า อนุภาคนาโนฯ นี้ ยังลดความเป็นพิษจากสารสกัดโดยตรงและเพิ่มประสิทธิภาพทางเภสัชวิทยา ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาด้านต่างๆ ต่อไป
ปัจจุบัน ดร.คทาวุธชี้ว่า คนไทยเริ่มคุ้นชินกับสารสกัด CBD หรือกัญชา กัญชง ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้ว ตามที่ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่อนุญาตให้ใช้กัญชาอย่างถูกกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่ 1) ตั้งแต่ตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน ตลาดกัญชาถูกกฎหมายของไทยยังมีมูลค่าน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นส่วนผสมอยู่ในตำรับยาไทย และแม้ว่าจะมีการปลดล็อคให้มีการใช้กัญชาอย่างถูกกฎหมาย แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการทดลองทางการแพทย์เพื่อใช้กับผู้ป่วย และยังต้องได้รับการควบคุมดูแลโดยหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
ส่วนภาพรวมของโลกนั้น จากรายงาน The Global Cannabis Report ของ Prohibition Partners ผู้ให้บริการข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ชั้นนำระดับโลก คาดว่า มูลค่าตลาดกัญชาทั่วโลกจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 103.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2567 แบ่งเป็น ตลาดกัญชาเพื่อการแพทย์มีสัดส่วนราวร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดกัญชาทั้งหมด และอีกร้อยละ 40 เป็นตลาดกัญชาเพื่อการสันทนาการ อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน เริ่มมีบริษัทยักษ์ใหญ่กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มของโลก สนใจที่จะใช้สารสกัดจากกัญชาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์กลุ่มดังกล่าว ส่งผลให้คาดว่า ในระยะข้างหน้า มูลค่าตลาดกัญชาโลกจะเติบโตและกระจายไปในหลายธุรกิจมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน ความต้องการสารสกัด CBD และน้ำมันเมล็ดกัญชง เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม อาหารเสริม อาหารสัตว์ รวมถึงเส้นใย สำหรับเป็นวัตถุดิบในสินค้านวัตกรรม เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ พลาสติกชีวภาพ เป็นต้น มีแนวโน้มเติบโตทั้งในประเทศและตลาดโลก จะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการลงทุนเพาะปลูกกัญชงเพิ่มมากขึ้น มีการประเมินว่า ตลาดกัญชงโลกในปี 2563 มีมูลค่าราว 4,748 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเร่งตัวขึ้นไปแตะ 18,608 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 22.4 ต่อปี
เช่นเดียวกับวิจัยกรุงศรี ที่ชี้ว่า มูลค่าอุตสาหกรรมกัญชง ของไทย ปี 2564 อุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีกัญชงผสมจะมีมูลค่า 280 ล้านบาท รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากกัญชง 240 ล้านบาท ยาและอาหารเสริมจากกัญชง 50 ล้านบาท เครื่องแต่งกายที่ทำด้วยใยกัญชง 30 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลประเมินว่า ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นหลักในปีแรก ซึ่งทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ดังกล่าวจะมีการนำกัญชงไปใช้มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท และคาดว่าผลิตภัณฑ์กัญชงไทยจะเติบโตอย่างมากในช่วง 5 ปีแรกหลังรัฐปลดล็อคการประกอบธุรกิจ โดยตลาดกัญชงไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 15,770 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 126% ต่อปี
“อนุภาคนาโนนำส่งสารสกัด CBD ที่ทีมวิจัยนาโนเทคพัฒนาขึ้นนี้ มีจุดเด่นตอบความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในแง่ของความสามารถในการละลายน้ำที่ช่วยให้สามารถเติมเข้าไปในสูตรผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อสัมผัสได้หลากหลาย ไม่จำกัดเพียงแค่น้ำมัน, และยังช่วยลดการใช้ active dose เนื่องจากอนุภาคนาโนสามารถนำส่งสารสกัดได้มีประสิทธิภาพ เพิ่มการซึมผ่านได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดต้นทุนการใช้สารสกัด CBD ได้อีกด้วย” นักวิจัยนาโนเทคชี้
ปัจจุบัน นวัตกรรมอนุภาคนาโนช่วยนำส่งสารสกัดจากพืชกลุ่มกัญชา-กัญชงนี้ วิจัยและพัฒนาแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเสาะหาผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี ทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบในกลุ่มของอิมัลเจล ครีม และโทนิค เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง และจะจัดแสดงภายในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (18th NSTDA Annual Conference: NAC2023) ภายใต้หัวข้อ สวทช.: ขุมพลังหลัก วทน. เร่งการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืน (NSTDA: STI powerhouse to drive BCG economy for Thailand's sustainable development) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

กิจกรรม R&D Pitching: Empowering your business with R & D
พลาดไม่ได้กับกิจกรรม R&D Pitching: Empowering your business with R & D
กิจกรรม Highlight ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (NAC 2023) 29-30 มีนาคม 2566
ชั้น 1 ห้องแกรนด์ฮอลล์ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
พบกับการนำเสนองานวิจัยและแอดวานซ์เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม (Advanced Technology Platform)
ที่พร้อมร่วมมือต่อยอดธุรกิจนวัตกรรมกับภาคอุตสาหกรรม
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ QR Code ตามที่ปรากฏในโปสเตอร์ หรือ
Link ที่ https://www.nstda.or.th/nac/2023/rd-pitching/ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
สอบถามเพิ่มเติม Email: nac2023pitching@nstda.or.th
ปฏิทินกิจกรรม

สวทช. เปิดตัว “โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค”
ไบโอเทค สวทช. เปิดตัว "โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค" BIOTEC Bioprocessing Facility (BBF) สำหรับการดำเนินงานวิจัยและให้บริการด้านการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมฐานชีวภาพของไทย
สำหรับโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค ตั้งอยู่ที่อาคาร BIOTEC pilot plant อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่บุกเบิกด้านการผลิตผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ทั่วไปและจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ภายใต้สถานที่ผลิตอาหารตามมาตรฐานสากล Codex GHPs และ HACCP ครอบคลุมกระบวนการต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อ , การทดสอบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ , การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ตลอดจนให้คำปรึกษาและสร้างพันธมิตรด้านเทคโนโลยีชีวกระบวนการในระดับขยายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 564 7000 , หรืออีเมล์ kobkul@biotec.or.th
คลิปสั้นทันเหตุการณ์

สวทช. ผนึกกำลัง ดีป้า หนุน ผู้ประกอบการ-สตาร์ตอัป เปิดตัว “ศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว-TD-X Center” เร่งสปีดงานวิจัยสู่ตลาด
For English-version news, please visit : https://www.nstda.or.th/en/news/news-years-2023/nstda-and-depa-unveils-td-x-center-helping-enterprises-bring-ideas-to-market.html
10 มีนาคม 2566 ณ โถงอาคารกลุ่มนวัตกรรม 1 (INC1) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี: ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa ร่วมแถลงข่าวเปิดศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว (TD-X Center: Thailand Science Park & depa Acceleration Center)
โดยมีคุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ (กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล) depa ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ(กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล) depa ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. และ ผศ.ดร. วีรชัย อาจหาญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ร่วมงาน โดยศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว จัดตั้งขึ้นและดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สวทช. และ depa เพื่อพัฒนา Platform และสร้าง Ecosystem ในการเร่งการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs Startup สำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านนวัตกรรม ตั้งแต่การออกแบบและพัฒนาต้นแบบที่ครบวงจรอย่างรวดเร็ว โดยอาศัย Platform เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. มีความยินดีที่ได้รับโอกาสพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาต้นแบบร่วมกับ depa และร่วมกันเปิดศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว (TD-X Center: Thailand Science Park & depa Acceleration Center) ในวันนี้ โดย สวทช. มีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของทัพนักวิจัย ซึ่งจะเป็นขุมพลังหลักทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่ง สวทช. มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับพันธมิตร ที่เป็นเจ้าของโจทย์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พร้อมที่จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเสริมความแข็งแกร่งในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ depa เพื่อร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs Startup ให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ โดยอาศัยความร่วมมือเชิงพันธมิตรกับหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม มาปรับใช้ในองค์กรเพื่อปรับปรุงนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ให้เกิดการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตท่ามกลางบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว หรือ TD-X Center ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา Platform และสร้าง Ecosystem ในการเร่งการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs Startup สำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านนวัตกรรม ตั้งแต่การออกแบบและพัฒนาต้นแบบที่ครบวงจรอย่างรวดเร็ว โดยอาศัย Platform เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน การให้ความรู้ คำแนะนำ และหน่วยงานสนับสนุนเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับให้บริการออกแบบ บริการผลิตต้นแบบ การทดสอบคุณภาพตามมาตรฐาน รวมถึงการทำ Market Validation หรือ MVP (Minimum Viable Product) เพื่อศึกษา Function และ Features ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาต้นแบบเชิงอุตสาหกรรม การบ่มเพาะธุรกิจ การลงทุน ขยายการผลิตผลิตภัณฑ์ออกสู่เชิงพาณิชย์
เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs Startup สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพมาตรฐาน และตรงความต้องการของตลาด ลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ชิ้นส่วนจากต่างประเทศ สามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ สร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
“การเปิดศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว TD-X Center ในวันนี้ ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่าง depa และ สวทช. ยังมีผลงานวิจัยพัฒนา เทคโนโลยี และนวัตกรรมอีกหลายด้านที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs Startup และภาคอุตสาหกรรมของ depa เพื่อสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมดิจิทัล เกิด Digital Transformation การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนำไปสู่การพัฒนาและเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ depa กล่าวว่า หนึ่งในภารกิจสำคัญของ depa คือการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงการดำเนินการเพื่อเร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย depa มุ่งส่งเสริมให้เกิดการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อให้ภาคเอกชนและผู้ประกอบการได้ใช้ประโยชน์และสอดรับกับการพัฒนาระบบนิเวศวิจัยของประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบ วิเคราะห์ และทดสอบทดลอง ผ่านกลไกการดำเนินของ depa
สำหรับโครงการพัฒนาศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว หรือ TD-X Center ถือเป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐทั้งสองหน่วยงานที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายการเป็นประเทศที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผ่านการดำเนินงานด้านการพัฒนาศักยภาพและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้กับ สวทช. เพื่อให้เกิดการยกระดับมาตรฐานทางเทคโนโลยีของเครื่องมือ รวมไปถึงการพัฒนาและปรับปรุงแพลตฟอร์มให้มีความทันสมัย ซึ่งจะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัยและนักพัฒนาในการสร้างต้นแบบรวดเร็ว (Rapid Prototype) ช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนผลักดันงานวิจัยสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญช่วยให้นักวิจัยสามารถนำส่งการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขยายผลไปสู่การเกิดขึ้นของธุรกิจใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินงาน หรือ Digital Startup ได้อีกจำนวนมาก ซึ่งในหลายประเทศได้รับการพิสูจน์แล้วว่า Digital Startup ถือเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมให้สามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางวิกฤติและความท้าทายใหม่ที่คาดเดาไม่ได้
“เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การส่งเสริมสนับสนุนและทำงานร่วมกันระหว่างพันธมิตรทั้งสองฝ่าย จะช่วยให้เกิดระบบนิเวศของธุรกิจที่ช่วยผลักดันให้เกิดวงรอบของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดผลกระทบในวงการวิจัยที่ช่วยให้สามารถต่อยอดการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างแท้จริง”
ข่าวประชาสัมพันธ์