หน้าแรก ค้นหา
ผลการค้นหา :
Mastigone สมุนไพรรักษาเต้านมอักเสบในโคนม ทำจาก “ฝาง-ว่านหางจระเข้”
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนา MASTIGONE Milking cow therapy ยาสอดเต้ารักษาโรคเต้านมอักเสบในโคนม ทำจากสมุนไพรธรรมชาติฝางและว่านหางจระเข้ เพื่อช่วยลดความรุนแรงและรักษาโรคเต้านมอักเสบในโคนม เหมาะกับฟาร์มปศุสัตว์ที่ต้องการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ช่วยลดปัญหาคุณภาพนมโคที่อาจได้รับจากยาปฏิชีวนะได้
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
7 – 9 ตุลาคม 2565 นี้ เตรียมพบกับ การแข่งขันผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ “FoodInnopolis Innovaion Contest 2022 Demo Days”
✨ Book Your Calendar!!! 7 - 9 ตุลาคม 2565 นี้ เตรียมพบกับ การแข่งขันผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ “FoodInnopolis Innovaion Contest 2022 Demo Days” ที่เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม ชั้น G เมืองนวัตกรรมอาหาร (FoodInnopolis) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ บริษัท ฟู้ดแฟคเตอร์ จำกัด ในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ และผู้สนับสนุน โดย ศูนย์การศึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปวิทยาการอาหารนานาชาติ (iGTC), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA), บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท พลังผัก จำกัด เชิญชวนทุกท่าน 🚀ร่วมลุ้นและเชียร์การแข่งขันผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 รุ่น (รุ่นมัธยม มหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป) ในโครงการ "FoodInnopolis Innovation Contest 2022 Demo Days" ปีที่ 5 🥫 ร่วมทดสอบ 40 นวัตกรรมอาหารที่คุณจะไม่เคยได้ลิ้มรสที่ไหนมาก่อน 💡 รับฟังไอเดียธุรกิจสุดล้ำจากนวัตกรเจ้าของธุรกิจ Tann:D Egg White Noodles และ Ampersand Gelato 🧪 เรียนรู้วิทยาศาสตร์แสนอร่อยกับ “เชฟทักษ์” นักวิทยาศาสตร์อาหารที่จะมาแบ่งปันเทคนิคแพรวพราวให้เราไปสร้างอาหารสุดล้ำได้เองที่บ้าน 🍄ทดลองชิมผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดและลุ้นรับของที่ระลึกจากผู้ร่วมจัดงาน Food Factor อีกทั้งผู้สนับสนุนหลัก KCG และ พลังผัก 🎶 สนุกกับ mini concert จาก Yes Indeed! ศิลปินเปิดหมวกสุด Hot! และเกมชิงรางวัลมากมาย 📅 พลาดไม่ได้!!! พบกัน 7-9 ตุลาคมนี้ ⏰ เวลา 10.30 – 19.00น. 📍 ที่เมืองสุขสยาม ณ ไอคอนสยาม ชั้น G ลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับกำหนดการและการแจ้งเตือนได้ที่นี่ https://bit.ly/3SisHqu
ปฏิทินกิจกรรม
 
สวทช. ร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ IASP World Conference 2022 แสดงศักยภาพของอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย พร้อมเชิญชวนต่างชาติมาลงทุน
For English-version news, please visit : NSTDA demonstrates its potential at IASP World Conference 2022 ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (อวท.) พร้อมกับผู้บริหารเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ IASP World Conference 2022 ครั้งที่ 39 ในหัวข้อ "Green and digital change powered by innovation ณ เมือง Seville ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 27-30 กันยายน 2565 ซึ่งจัดขึ้นโดย International Association of Science Parks and Area of Innovation หรือ IASP โดยในงานนี้ได้พบประชุมหารือกับ Ms.Ebba Lund, CEO ของ IASP เกี่ยวกับความร่วมมือของอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยกับ IASP รวมทั้งสมาชิกของ IASP ซึ่งมี 350 แห่ง ใน 77 ประเทศ ทั่วโลก มีบริษัทหรือองค์กรวิจัยในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ที่เป็นสมาชิกมากกว่า 115,000 บริษัททั่วโลก ซึ่งจะช่วยพัฒนาระบบนิเวศน์นวัตกรรมและส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีในประเทศไทยให้เจริญเติบโต รวมทั้งได้พบปะหารือกับผู้บริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศต่างๆ ที่มาร่วมงานครั้งนี้ในการเชิญชวนธุรกิจเทคโนโลยีที่เป็นสมาชิกของอุทยานวิทยาศาสตร์เหล่านั้นให้มาลงทุนในประเทศไทยเพื่อขยายตลาดไปทางอาเซียนที่มีประชากรเกือบ 700 ล้านคน โดยจัดตั้ง R&D Center หรือ Technology Center ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยซึ่งเป็นนิคมวิจัยแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย                    ขณะนี้ อวท. มีสมาชิกมากกว่า 110 บริษัท เป็นบริษัทต่างชาติประมาณ 38% โดย อวท.ได้จัดให้มีบริการใหม่ๆ ได้แก่ ConneX ศูนย์เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่ภาคธุรกิจ ที่จะให้บริการครบวงจร พื้นที่พิเศษ Inno-X รองรับการทำ Soft Landing สำหรับบริษัทจากต่างประเทศที่ต้องการมาศึกษาดูลู่ทางการลงทุนในประเทศไทย TD-X Center ศูนย์เร่งรัดต้นแบบรวดเร็ว รองรับการทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับธุรกิจโดยมีเครื่อง 3-D Composite ที่ทันสมัย ทั้งหมดนี้จะมีนักวิจัยและบุคลากรของสวทช.จำนวนมากกว่า 3000 คน พร้อมโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศที่จะช่วยภาคธุรกิจให้เจริญเติบโต 📢 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย คือ พันธมิตรธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และ นวัตกรรม 🔬 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย 📌 The Integrated Ecosystem where Innovation Grows 🎯 Faster Better Prosper 🌐 www.sciencepark.or.th 📞 02-5647200 📧 customerrelation@sciencepark.or.th 🚙https://goo.gl/maps/GHtjhg1NoJWpAbN99
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
โรงพยาบาลทหาร 3 เหล่าทัพนำร่องใช้นวัตกรรม “ลิฟต์ไร้สัมผัส MagikTuch”
เมื่อวันที่ 28 ก.ย.2565 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ พลโทสมเกียรติ สัมพันธ์ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ร่วมกันแถลงข่าวการส่งมอบนวัตกรรม "MagikTuch ระบบปุ่มกดลิฟต์ไร้สัมผัส แบบ 2 in 1" ให้กับโรงพยาบาลในสังกัดกรมแพทย์ทหาร 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ , โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สังกัดกรมแพทย์ทหารบก และโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ   โดยโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง ได้นำร่องทดลองใช้แล้วต่างตอบรับว่าเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์ช่วยลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อจากการสัมผัสปุ่มกดลิฟต์ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้มารับบริการในโรงพยาบาล   ลิฟต์ไร้สัมผัส MagikTuch เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดยทีมนักวิจัย NSD สวทช. ที่คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมลดการสัมผัสปุ่มกดลิฟต์โดยสารสาธารณะ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และโรคติดเชื้ออื่นๆ โดยได้ออกแบบเป็นอุปกรณ์เซ็นเซอร์ สามารถนำไปติดตั้งปรับแปลงกับปุ่มกดลิฟต์ที่มีอยู่เดิมได้ทุกรุ่น โดยไม่กระทบกับโครงสร้างเดิม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ที่ต้องการขยายผลนวัตกรรม MagikTuch ไปสู่การใช้ประโยชน์และใช้งานจริงในวงกว้างต่อไป   สำหรับหน่วยงานใดที่สนใจนวัตกรรม MagikTuch สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 0 2564 6900 ต่อ 2650
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
สวทช. ผนึกกำลัง สพฐ. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการอบรมครูแกนนำ “การสร้างสรรค์นวัตกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียนตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG”
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการอบรมครูแกนนำ “การสร้างสรรค์นวัตกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโรงเรียนตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG” ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2565 ณ โรงแรมรอแยลเบญจา สุขุมวิท กรุงเทพฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะ สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG นำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสะเต็มศึกษา เตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนเกิดทักษะ สมรรถนะ เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG พัฒนาต่อยอดเป็นทักษะทางอาชีพ ซึ่งจะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้แก่เด็กและเยาวชนได้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ที่รับผิดชอบสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 76 คน และบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ นางฤทัย จงสฤษดิ์  ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช. กล่าวต้อนรับ และแนะนำภาพรวมกิจกรรมโดยกล่าวถึงหัวใจของ BCG Model อันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะช่วยส่งเสริมการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงการนำความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เชื่อมโยงสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์และการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1  เรียนรู้ BCG กับความหลากหลายทางชีวภาพ นำโดย ดร. วียะวัฒน์ ใจตรง และ นายทัศนัย จีนทอง นักวิชาการจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เริ่มด้วยการบรรยายในหัวข้อ ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย และความหลากหลายทางชีวภาพของมดที่เชื่อมโยงไปสู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้านเศรษฐกิจและอาหาร เรียนรู้วิธีการเลี้ยงมดในหลอดทดลอง และการเลี้ยงมดเป็นอาหารเพื่อสร้างรายได้ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเช่น ไข่มดแดงกระป๋อง กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ BCG เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดย ดร. ปิยวิทย์ คุ้มพงษ์  ผู้จัดการงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท และทีมงานจาก สวทช. เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการทดสอบคุณสมบัติของพลาสติกชนิดต่าง ๆ และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ ผ่าน 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) พิจารณาส่วนประกอบ 2) จำแนกชนิดตามสัญลักษณ์ recycle 3) ทดสอบการจม - ลอยในน้ำ 4) การหดของพลาสติกบางชนิดเมื่อได้รับความร้อน เพื่อประดิษฐ์พวงกุญแจ   กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ BCG เรื่องนวัตกรรมอาหาร โดย น.ส.สุปราณี สิทธิไพโรจน์สกุล นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้  สวทช. เป็นการบรรยายให้ความรู้และลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมอาหารที่นำมาใช้ตอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรมย่อยที่หลากหลาย เช่น การแปรรูปอาหารเพิ่มมูลค่าโปรตีนทางเลือกจากพืช (plant-based protein)นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ “ถ้วยร้อน” และการทดลองทำ “อาหารโมเลกุล” กิจกรรมที่น่าสนใจ กิจกรรมที่ 4 เรียนรู้ BCG เรื่องเกษตรกรรมสมัยใหม่ โดย น.ส.จิดากาญจน์ สีหาราช นักวิชาการ ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้  สวทช. เป็นการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ และนวัตกรรม ผสานกับภูมิปัญญาเพื่อการผลิตให้ได้มาตรฐานทั้งด้านโภชนาการ มีคุณภาพและความปลอดภัยสูง ระบบการผลิตยั่งยืน มีประสิทธิภาพ โดยนำเสนอโรงงานผลิตพืช  การปลูกพืชไมโครกรีน แล้วทดลองปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มเพื่อประกอบอุปกรณ์แจ้งเตือนการรดน้ำต้นไม้ ต่อยอดระดมความคิดออกแบบชุดปลูกไมโครกรีน ต่อด้วย กิจกรรมกลุ่มระดมสมองการนำองค์ความรู้ BCG มาเชื่อมโยงสู่กิจกรรมในชั้นเรียน โดยวิทยากร รศ.ดร. ชาตรี ฝ่ายคำตา และนายณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน พร้อมนำเสนอผลงานรายกลุ่ม วันแรกปิดท้ายด้วยกิจกรรม “BCG Ambassador” ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมได้นำเสนอผลิตภัณฑ์จากชุมชนที่โดดเด่นด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์สำคัญของชุมชนตนเอง แยกจัดเป็นนิทรรศการตามภูมิภาคแสดงให้เห็นความหลากหลายของทรัพยากรจากแต่ละจังหวัด พร้อมกันนี้ ได้ส่งภาพผลงานพร้อมแคปชั่นโดนใจลงใน Padlet เพื่อร่วมกันโหวต วันที่ 2 เป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย “กิจกรรมที่ 6 เทคนิคนำแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาใช้ในการสร้างสรรค์โครงงานและสิ่งประดิษฐ์ระดับโรงเรียน/หนึ่งจังหวัดหนึ่งโครงการ BCG” เป็นการลงมือพัฒนา Conceptual โครงงานและสิ่งประดิษฐ์สะเต็มศึกษาตามแนวทางความคิดเชิงออกแบบ โดยคำนึงถึงบริบทท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์สำคัญในชุมชน นำเสนอแนวคิด สรุปเพิ่มเติมเสริมด้วยคำแนะนำ สะท้อนผลงานจากคณะวิทยากร เพื่อให้เป็นแนวทางการดำเนินการ ปรับปรุง พัฒนา ต่อยอดและนำไปประยุกต์ใช้จริงในสถานศึกษาอันเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมอบรมต่อไป ตัวอย่างผลงานแนวทางการพัฒนาโครงงานตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ BCG เช่น เสื้อนาโนเคลือบสารยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์จากเปลือกมังคุด หม่ำจิ๋วคีโตเพื่อคนรักสุขภาพ แอพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย เสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากผู้เข้าร่วมอบรม คุณครูวิวิศน์  ธนะจิตต์สิน โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า “ดีใจที่ได้มาเรียนรู้ในเรื่องของ BCG พอได้มารู้จักแนวคิด BCG รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่สนใจมากสำหรับแนวคิดการนำเรื่องที่ใกล้ตัวมามองในมุมของความยั่งยืนและบริบทความหลากหลายในท้องถิ่น จากการมาร่วมอบรมในครั้งนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองการทำโครงงานตามแนวทาง BCG  ร่วมกับคุณครูจากหลายจังหวัด และสนใจนำแนวคิดการคิดเชิงออกแบบไปต่อยอดกับโครงงานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน” “ก่อนมาอบรมไม่รู้จักแนวคิด BCG มาก่อน เมื่อได้มาร่วมอบรมการทำโครงงานตามแนวทาง BCG  เป็นความรู้ที่แปลกใหม่และมีประโยชน์มาก การอบรมสนุกมีกิจกรรมให้ได้ลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เห็นมุมมองใหม่ๆ เกิดไอเดียที่จะนำไปต่อยอดกับการจัดกิจกรรมในโรงเรียนซึ่งตอนนี้ทางโรงเรียนของคุณครูมีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น อุทยานธรณีโลกสตูล และคุณครูกับเด็กๆ กำลังทำโครงงาน eco printing จากใบไม้พืชท้องถิ่น คุณครูจะนำหลักการ BCG เรื่องของพัฒนาโครงงานให้ออกมาเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดึงจุดเด่นของบริบทชุมชน การอนุรักษ์ใบไม้ท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า ที่ได้เรียนรู้ไปถ่ายทอดต่อให้กับเด็กๆ เพื่อพัฒนาโครงงานให้สามารถขยายผลเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป” จาก คุณครูวัลลัดดา สุขหรรษา โรงเรียนบ้านหาญ จ.สตูล
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
Ve-Chick ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช รสชาติ-เนื้อสัมผัสเหมือนไก่แท้!
เอ็มเทค สวทช. แถลงเปิดตัว Ve-Chick ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช พัฒนาโดยทีมนักวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร ที่อาศัยความเชื่ยวชาญนำเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์อาหารมาประยุกต์ใช้กับองค์ความรู้เกี่ยวกับโปรตีนพืช มาพัฒนาเนื้อสัมผัสอาหารโดยเสริมเส้นใยจากการสกัดวัตถุดิบทางการเกษตร จนมีเนื้อสัมผัสและรสชาติที่ใกล้เคียงเนื้อสัตว์มากที่สุด   ปัจจุบัน เอ็มเทค สวทช. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี Ve-Chick ให้กับผู้ประกอบการเอกชนแล้ว 3 ราย ล่าสุดถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับ บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด นำไปออกเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Gin Zhai เป็นอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ต้องการทานเนื้อสัตว์ แต่ยังได้โปรตีนทดแทนครบถ้วน และยังได้รสชาติ เนื้อสัมผัสเหมือนเนื้อไก่   ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยี Ve-Chick สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เอ็มเทค สวทช. โทร. 02 564 6500 ต่อ 4788
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
มรภ.ราชนครินทร์ จับมือ สวทช. และภาคเอกชน มุ่งเสริมกำลังสมรรถนะ‘บุคลากร-นักศึกษา’ ตอบโจทย์ภาคการผลิต สู่การขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG
วันที่ 28 กันยายน 2565 : ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย NTT DATA Business Solutions (Thailand) Ltd. และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อร่วมมือการดำเนินการ ว่าด้วยโครงการพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มุ่งบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาประเทศจากกำลังทรัพยากรบุคคล องค์ความรู้ เทคโนโลยี งานวิจัยสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศอย่างแท้จริง ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า "ด้วยนโยบายของกระทรวง อว. มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model : BCG Model) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือที่เข้มแข็งจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน ที่พร้อมจะขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สถาบันในระดับอุดมศึกษาจะต้องถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจให้กับบุคลากร เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม นำไปสู่การสร้างสรรค์องค์ความรู้ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่มีฐานมูลค่าและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง" รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีความมุ่งมั่นพัฒนาคนหรือบุคลากรในทุกระดับ โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการส่งเสริมงานวิจัย เพื่อนำไปช่วยพัฒนาชุมชนต่างๆ ด้วยการบูรณาการการทำงานร่วมกันจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อดึงเอาจุดเด่น นั่นคือองค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศ โดยกระทรวง อว. ได้ร่วมเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้กับบุคลากร นิสิต นักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีความพร้อมทั้งในด้านการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชากร เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่ตอบโจทย์ภาคการผลิต ในขณะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ ในฐานะมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ จะต้องเร่งสร้างบุคลากรที่จะเข้าไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมความมั่นคงให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น และช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยโครงการพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายกระทรวง อว. มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนาทักษะอนาคตที่สำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 2. เพื่อร่วมกันวางแผนและพัฒนางานด้านการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ และ 3. เพื่อพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม"แนวทางการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย เป็นกระบวนการสำคัญในการปรับเปลี่ยนบทบาทของมหาวิทยาลัยให้มีความทันสมัย มีการทำงานที่ตรงกับเป้าหมายในการพัฒนาบุคคลให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะ องค์ความรู้ที่ทันสมัย ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยจะต้องปรับตัวให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยแต่ละสถาบันจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นเลิศในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้ทราบถึงแนวทางที่จะต้องทุ่มเททรัพยากร ความสนใจ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในด้านนั้นๆ โดยทางมหาวิทยาลัยฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำหลักสูตรต่างๆ ทั้งหลักสูตรระยะสั้น ระยะยาว เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากร ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษาบุคลากรมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตโดยเฉพาะในภาคการเกษตร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมระดับฐานรากที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ" รศ. ดร.ดวงพร กล่าวทิ้งท้าย ด้าน ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ สวทช. ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พัฒนาหลักสูตร และถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตให้กับผู้ประกอบการเกษตรในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา และบริเวณใกล้เคียง โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การถ่ายทอดความรู้เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการหลักสูตรระยะสั้น 3-5 วันต่อหลักสูตร ผ่านความร่วมมือจากนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ผู้ประกอบการภายใต้โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ สวทช. นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ หน่วยงานพันธมิตรในการถ่ายทอดความรู้และความเชี่ยวชาญ ได้แก่ 1. หลักสูตร HandySense ‘ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ’ ขั้นพื้นฐาน 2. หลักสูตร HandySense ‘ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ’ ขั้นสูง ที่นำเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติ ซึ่งนักวิจัยได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 3. หลักสูตรการผลิตยางพาราตามมาตรฐานการแพทย์และสุขภาพ นำความรู้กระบวนการปลูกยางเพื่อการใช้น้ำยาง การเก็บน้ำยางและมาตรฐานน้ำยางเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และ 4. หลักสูตรระบบบริหารจัดการและติดตามการผลิตพืชปลอดภัย GAP (SMART Farm_KASETTRACK) แอปพลิเคชันติดตามการปลูกพืชผักของเกษตรกร ซึ่งทำให้เกษตรกรรู้ชนิดพืชที่กำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและสามารถวางแผนบริหารจัดการด้านการขาย โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต นอกจากนี้ในความร่วมมือดังกล่าว สวทช. ยังมีการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ,การผลิตพริกคุณภาพแบบปลอดภัย ,การผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร : พันธุ์ถั่วเขียวพันธุ์ KUML และสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ ซึ่งพัฒนาระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ “รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการจะเป็นหลักสูตรระยะสั้น 3-5 วันต่อหลักสูตร เพื่อเสริมทักษะและสร้างแนวทางต่อยอดการเพิ่มมูลค่าทั้งผลผลิต และการพัฒนาเป็นอาชีพเสริม โดยผู้ผ่านการอบรมเฉลี่ย 30 คนต่อหลักสูตร จะได้รับประกาศนียบัตรรับรอง ส่วนการถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเกษตร จะมีสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. มาร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ ไปพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและความปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค และยังสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ทั้งนี้ สวทช. พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี โดยเฉพาะการขับเคลื่อนตามแนวนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งรัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการในภาคการเกษตร เปลี่ยนวิถีการผลิตแบบเดิมที่ ‘ทำมากแต่ได้น้อย’ ไปสู่ ‘ทำน้อยแต่ได้มาก’ ด้วยการประยุกต์และปรับใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไปเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมและชุมชนตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองได้อย่างยั่งยืน
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
วช. – สวทช.-วท.กห. ส่งมอบนวัตกรรม MagikTuch แก่ โรงพยาบาลทหาร 3 เหล่าทัพ สู่ชีวิตวิถีใหม่ ด้วย ‘ลิฟต์ไร้สัมผัส’ ช่วยลดเสี่ยง-เลี่ยงเชื้อโรค
28 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุม พล.ร.ท.สนิท โปษะกฤษณะ ชั้น 5 อาคารพิเคราะห์และบำบัดโรค โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สวทช. และพล.ท.สมเกียรติ สัมพันธ์ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) ร่วมกันส่งมอบนวัตกรรม MagikTuch ระบบปุ่มกดลิฟต์ไร้สัมผัส แบบ 2 in 1 ภายหลังจากทีมวิจัยติดตั้งแล้วเสร็จและมีผู้บริหารโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่งเข้ารับมอบ ได้แก่ พลเรือตรี ณัฐ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า พ.อ.สมภพ ภู่พิทย์ ผู้อำนวยการกองออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และนาวาเอก วรพจน์ วิทยกฤตศิริกุล แพทย์ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช  ทั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทีมบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป ซึ่งมีความจำเป็นต้องโดยสารลิฟต์ภายในโรงพยาบาลของรัฐทั้ง 3 แห่ง โดยนวัตกรรมปุ่มกดลิฟต์แบบไร้สัมผัส มีจุดเด่นสำคัญ คือ ไม่จำเป็นต้องสัมผัสปุ่มกดลิฟต์ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อก่อโรคที่อาจสะสมอยู่บนปุ่มกดลิฟต์ที่ประชาชนมาใช้บริการจำนวนมาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช. กล่าวว่า เกือบ 3 ปีแล้วที่คนไทยและทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวง อว. ได้มีส่วนร่วมในการคลี่คลายสถานการณ์โควิด-19 โดย วช. ได้รวบรวมนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คน มาทำการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยลดผลกระทบจากโควิด-19 มุ่งเน้นผลงานเชิงสุขภาพให้หลากหลาย โดยนวัตกรรม “MagikTuch” ระบบปุ่มกดลิฟต์ไร้สัมผัส แบบ 2 in 1 ถือเป็นหนึ่ง ในผลงาน ที่ วช. ให้การสนับสนุนนักวิจัย สวทช. เพื่อขยายผลสู่การใช้งานจริงเพื่อบรรเทาวิกฤตการระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศ ด้วยการแปลงระบบลิฟต์ทั่วไปให้เป็นลิฟต์แบบไร้สัมผัส เนื่องจากลิฟต์ในที่สาธารณะมีประชาชนใช้งานจำนวนมาก ดังนั้นการมีนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงของประชาชนในการสัมผัสเชื้อโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สวทช. กล่าวว่า ปัจจุบันมีโรคระบาดเกิดขึ้นจำนวนมาก และหลายโรคสามารถติดต่อกันผ่านการสัมผัสสิ่งของต่างๆ ที่มีสารคัดหลั่งหรือเชื้อโรคจากผู้ป่วยติดค้างอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งของต่างๆ ที่มีคนใช้งานร่วมกัน เช่น ที่จับประตู ราวบันไดเลื่อน ก๊อกน้ำ รวมถึงปุ่มกดลิฟต์โดยสารซึ่งเป็นระบบขนส่งที่มีผู้คนใช้ร่วมกันจำนวนมาก ทีมวิจัยจึงพัฒนานวัตกรรมเมจิกทัช (MagikTuch) เพื่อเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน ลดการเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค โดยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสกับปุ่มกดลิฟต์ที่อาจมีสารคัดหลั่งหรือเชื้อโรคต่างๆ ของผู้ป่วยติดค้างอยู่ จึงสามารถช่วยลดการแพร่กระจายโรคโควิด-19 ได้ ดร.ศิวรักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการส่งมอบ MagikTuch ให้กับโรงพยาบาลทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ทีมวิจัยได้ดำเนินการเพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้ประโยชน์ โดยวันนี้ได้ส่งมอบ 3 โรงพยาบาล ได้แก่ 1. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ทีมวิจัยได้ดำเนินการติดตั้งระบบลิฟต์ไร้สัมผัส (MagikTuch) ณ อาคารพิเคราะห์และบำบัดโรค ตั้งแต่ชั้น B ถึง ชั้น 6 จำนวน 2 ชุด พร้อมติดตั้งแผงด้านในที่ลิฟต์จำนวน 2 ตัว และแผงด้านนอกลิฟต์จำนวน 5 แผง 2. โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบลิฟต์ไร้สัมผัส (MagikTuch) ณ อาคารคุ้มเกศ ตั้งแต่ชั้น  B ถึง ชั้น 5 จำนวน 2 ชุด พร้อมติดตั้งแผงด้านในที่ลิฟต์จำนวน 2 ตัว และแผงด้านนอกลิฟต์จำนวน 6 แผง และ 3. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้ดำเนินการติดตั้งระบบลิฟต์ไร้สัมผัส (MagikTuch) ณ อาคารมหาวชิราลงกรณ์ ตั้งแต่ชั้น 1 ถึง ชั้น 7 จำนวน 1 ชุด พร้อมติดตั้งแผงด้านในที่ลิฟต์จำนวน 1 ตัว และแผงด้านนอกลิฟต์จำนวน 4 แผง รวมทั้ง 3 โรงพยาบาล ติดตั้งลิฟต์ไร้สัมผัสจำนวนทั้งสิ้น  5 ชุด 20 แผงสั่งการลิฟต์ไร้สัมผัส อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา สวทช. ได้ดำเนินการติดตั้งใช้งานระบบ MagikTuch ตามสถานที่ต่างๆ แล้ว เช่น อาคารต่าง ๆ ของศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ และจากการสนับสนุนเพิ่มเติมจาก วช. อีกจำนวน 12 ชุด ทำให้เกิดการขยายผลและดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด อาทิ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น รวมทั้งโรงพยาบาลทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ซึ่ง วท. กห. ได้ร่วมสนับสนุนการต่อยอดนวัตกรรมพร้อมส่งมอบในวันนี้ ซึ่งจะเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤตเร่งด่วนของประเทศได้โดยเฉพาะในการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ ที่ต้องใส่ใจเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคลกันมากขึ้น ด้าน พล.ท.สมเกียรติ สัมพันธ์ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) ได้ร่วมสนับสนุนการต่อยอดนวัตกรรมเมจิกทัช (MagikTuch) โดยได้ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ ระบบไฟฟ้า และกำลังคน เพื่อนำนวัตกรรมลิฟต์ไร้สัมผัสเข้ามาติดตั้ง ณ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ซึ่งรู้สึกดีใจและยินดีอย่างยิ่งที่ วท.กห. ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมนำนวัตกรรมที่นักวิจัยไทยเป็นผู้ค้นคิดและผลิต มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังมีคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับต่างประเทศ ลดการนำเข้าและไม่ต้องซื้อลิฟต์ตัวใหม่ นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลจะไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับระบบลิฟต์ เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่ผ่านมาตรฐานทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถติดตั้งเข้าไปบนลิฟต์ตัวเดิมโดยไม่ต้องเจาะตัวลิฟต์ ที่สำคัญไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะของระบบประกันจากบริษัทผู้ติดตั้งและผู้ดูแลลิฟต์ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สำหรับดัดแปลงปุ่มกดลิฟต์ให้เป็นระบบไร้สัมผัส ที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไทยห่างไกลโรคต่างๆ ได้ สำหรับนวัตกรรม MagikTuch มีจุดเด่น 3 ข้อ คือ 1) Touchless เป็นระบบการทำงานแบบไร้สัมผัส สั่งการด้วยเซนเซอร์ วิธีใช้งานง่ายคือใช้นิ้วมือวางเหนือปุ่มลิฟต์ของชั้นที่ต้องการระยะห่าง 1-3 เซนติเมตร เซนเซอร์จะตรวจจับข้อมูลชั้นที่ต้องการเลือกและสั่งการลิฟต์โดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งมีระบบการตรวจจับเพื่อป้องกันการสั่งการพร้อมกันหลายปุ่ม ขณะเดียวกันหากระบบเกิดการขัดข้อง หรือผู้ใช้งานไม่สะดวกใช้งานแบบไร้สัมผัส สามารถใช้วิธีกดปุ่มลิฟต์แบบเดิม เนื่องจากระบบออกแบบให้ทำงานได้ 2 แบบ คือ แบบไร้สัมผัสและการกดปุ่ม  2) Safe from Infection ปลอดภัยจากการติดเชื้อโรค เพราะเมื่อไม่มีการสัมผัสจะลดการแพร่กระจายเชื้อโรคในลิฟต์ และ 3) Easy Installation คือติดตั้งได้ง่ายและมีความยืดหยุ่น โดยชุดอุปกรณ์ MagikTuch สามารถติดตั้งเข้าไปบนลิฟต์ตัวเดิม โดยไม่ต้องดัดแปลงหรือเชื่อมต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของตัวลิฟต์ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะการรับประกันระบบของบริษัทผู้ติดตั้งและผู้ดูแลลิฟต์ อีกทั้งยังออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับจำนวนชั้นได้ตามที่ต้องการสำหรับลิฟต์โดยสารหลากหลายยี่ห้อ อีกทั้งมีระบบป้องกันทางไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และผ่านการทดสอบมาตรฐานด้าน EMC/EMI ปัจจุบันทีมวิจัยได้ขยายผลการพัฒนานวัตกรรม MagikTuch สำหรับแปลงระบบลิฟต์ทั่วไปให้เป็นระบบลิฟต์แบบไร้สัมผัสเพื่อบรรเทาปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากการใช้ลิฟต์ในที่สาธารณะที่มีประชาชนมาใช้จำนวนมาก ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สวทช. เบอร์โทรศัพท์: 02 564 6900 ต่อ 2521
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
รับสมัครหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ “Infographic Presentation เพิ่มพลังการสื่อสารในยุคไทยแลนด์ 4.0”
หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ “Infographic Presentation เพิ่มพลังการสื่อสารในยุคไทยแลนด์ 4.0” เปลี่ยนการนำเสนอแบบเดิมๆ มาเป็นการนำเสนอแบบ Smart เพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยการนำเสนอแบบ Infographic ที่เน้นการสื่อสารที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ และน่าติดตาม หลักการและเหตุผล ในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคการสื่อสารที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการสื่อสารด้วยภาพมีบทบาทอย่างมากต่อการรับรู้และเข้าใจของผู้คนปัจจุบัน โดยเฉพาะสื่อภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูลไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่าย ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่ซับซ้อนในการถ่ายทอดเรื่องราวโดยการเปลี่ยนตัวอักษรให้กลายเป็นภาพที่เข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจมากขึ้น (เหตุผลเพราะมนุษย์ชอบและจดจำภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน) และในปัจจุบันภาพสวยๆ นี้สามารถทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึง เข้าใจ ไม่น่าเบื่อในการเล่าเรื่องให้น่าสนใจ ด้วยการเรียงลำดับที่ตรงกับความสนใจของผู้อ่านและผู้ฟังด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรองมาเป็นอย่างดี เรียงร้อยเป็นเรื่องราวทำให้ผู้นำเสนอผลงานนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ที่เราสามารถหยิบยกเรื่องราวเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องราวใหญ่โตมานำเสนอในมุมมองที่แปลกตา ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน ด้วยรูปแบบหรือประเภทของ Infographic ที่ต้องการนำเสนอ Key highlights เรียนรู้ เข้าใจพร้อมทั้งได้รับเทคนิคในการจัดทำการนำเสนอผลงานในรูปแบบ Presentation ด้วย Infographic โดยโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2016 เรียนรู้พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติจริงตลอด 2 วัน ในด้านการออกแบบข้อมูล (Creative Content) และการออกแบบการนำเสนอ (Creative Design) สามารถจัดทำการนำเสนอผลงานในรูปแบบ Presentation ด้วย Infographic ให้สวยงาม เข้าใจง่ายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง   หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ บุคลากรทั่วไปทุกท่านที่ต้องการพัฒนาการจัดทำการนำเสนอผลงานในรูปแบบ Presentation ให้น่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นด้วย Infographic **โดยควรมีพื้นฐานในการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint เบื้องต้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงในการแปลงข้อมูลจากตัวอักษรออกมาเป็นรูปภาพ เพื่อนำเสนอผลงานในรูปแบบ Presentation ด้วย Infographic ได้อย่างถูกต้อง ได้เรียนรู้เทคนิคในการออกแบบการนำเสนอผลงานในรูปแบบ Presentation ด้วย Infographic แบบต่างๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงในการใช้เครื่องมือต่างๆ ในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2016 เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน ได้เรียนรู้เทคนิคการจัดทำการนำเสนอผลงานในรูปแบบ Presentation ด้วย Infographic ให้ง่ายขึ้นด้วยเครื่องมือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายทินกร พรมดีมา  เจ้าหน้าที่พัฒนาสื่อ (Media Developer) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นายสมิทธิชัย ไชยวงศ์  วิทยากรอิสระด้าน Infographic design รูปแบบการอบรม ภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ ระยะเวลาของหลักสูตร จำนวน 2 วัน เวลา 9.00 – 16.00 น. รุ่นที่ 13 วันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2565​ ค่าลงทะเบียน ท่านละ 9,900 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) หมายเหตุ สถาบันฯ เป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ค่าลงทะเบียนรวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการฝึกอบรมและคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ข้าราชการมีสิทธิ์เบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมสัมมนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลา หากท่านต้องการยกเลิกการลงทะเบียน กรุณาแจ้งยืนยันการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันจัดงาน หากการแจ้งยกเลิกล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดดังกล่าว ทางสถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการหักค่าดำเนินการ คิดเป็นจำนวนเงิน 30% จากค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรและกำหนดการตามความเหมาะสม ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้าอบรมทางวิชาชีพของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200% สถานที่จัดอบรม โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส เลขที่ 444 ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ  จำนวนผู้เข้าอบรม  จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 30 ท่าน  เกณฑ์การประเมินผล  ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% และทำกิจกรรมทุกหัวข้อของหลักสูตร จึงจะได้รับวุฒิบัตรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center: 0 2644 8150 ต่อ 81897 E-mail : bas@nstda.or.th
ปฏิทินกิจกรรม
 
สวทช. สนับสนุนการสร้างความยั่งยืนประเทศ ขนงานวิจัยร่วมมหกรรมด้านความยั่งยืน Sustainability Expo 2022
(26 กันยายน 2565) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นวิทยากรบนเวทีเสวนาด้านความยั่งยืนในงานมหกรรม Sustainability Expo 2022 ในหัวข้อ ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วย BCG ECONOMY MODEL ร่วมกับ ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เข้าร่วมเสวนา ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การร่วมงานครั้งนี้ สวทช. มีส่วนร่วมเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการวิจัยและพัฒนา ซึ่งถือเป็นอีกกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนของประเทศให้กับภาคส่วนต่างๆ ได้รับรู้และเข้าใจ โดย สวทช. มีตัวอย่างของการสนับสนุนความยั่งยืนด้วยการนำโครงการและผลงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ตอบโจทย์ประเทศมาร่วมจัดนิทรรศการ ได้แก่ ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจริยะและระบบเชื่อมโยงผลผลิตเพื่ออาหารกลางวัน (Handy Sense & Farm to School) โรงงานแห่งการเรียนรู้ดิจิทัลลีน ซึ่งเป็นผลงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช.  ผลงานแบบจำลองสามมิติค่าการหมุนเวียน เพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ผลงานของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. โครงการการประเมินขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง ผลงานจากความร่วมมือระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) เอ็มเทค สวทช. และ โครงการการศึกษามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์บริการของระบบนิเวศในพื้นที่ฟื้นฟูป่าชายเลน :กรณีศึกษาสวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.9 จังหวัดจันทบุรี ผลงานความร่วมมือจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และ เอ็มเทค สวทช.           นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า งาน Sustainability Expo 2022 หรือ SX2022 จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนมารวมตัวกัน และขยายเครือข่ายออกไปยังต่างประเทศ แต่ยังคงยึดโมเดลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการจัดงานและสร้างแรงบันดาลใจให้นำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ให้เกิดความยั่งยืนในบริบทสังคมไทย จากการริเริ่ม TSX Expo ภายใต้เครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน หรือ Thailand Supply Chain Network (TSCN) ใน 2 ปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ 5 องค์กรธุรกิจได้แก่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผนึกกำลังกันพัฒนาแพลตฟอร์มสู่มหกรรมความยั่งยืนระดับภูมิภาค ภายใต้ชื่อ SX 2022 นอกจากนี้ งาน SX2022 ยังเป็นแพลตฟอร์มที่นำเสนอโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า B2C2B (Business-to-Consumer-to-Business) ซึ่งยึดผู้บริโภคเป็นแกนกลาง โดยเชื่อมโยงระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค และผู้บริโภคจะเชื่อมโยงกลับสู่ภาคธุรกิจ สำหรับงาน SX2022 จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีบริษัทชั้นนำและองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 100  แห่ง มีการสัมมนาและนิทรรศการให้ความรู้จัดแสดงตลอด 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ////////////////////
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สัมมนา “Lancang-Mekong Youth Entrepreneurship Acceleration Camp – Launchpad Session”
ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. ร่วมกับ Beijing International Exchange Association of China ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา "Lancang - Mekong Youth Entrepreneurship Acceleration Camp: Launchpad Session" ในวันที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 13.00 - 16.00 น. (ผ่านทางระบบ ZOOM Meeting) เพื่อเเลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจาก กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม ประเทศไทย เเละสาธารณรัฐประชาชนจีน Introduction on "Lancang - Mekong Young Leaders and Entrepreneurship Acceleration Camp" Ms. Sansanee Huabsomboon, Director of Business Innovation Center, Thailand Why is Vietnam the hot spot for South East Asia? Mr. Cong-Thang Huynh, CEO and Co-Founder of InnoLab Asia, Vietnam Gate to China: A Guide for Foreign Startups Dr. Jieni Guo, Secretary General, Beijing International Exchange Association, China Cambodian Startup Ecosystem Mr. Sovila Srun, Director, National Incubation Center of Cambodia Lao's Startup Ecosystem and Its Inspiration on the Youth Mr. Jim Ophakorn Kouphokham, Founder & Project Director, Technovator Laos International Talent Service of FESCO Ms. Xiaoyuan Gong, Customer Manager of International Talent Service Division, FESCO Beijing Social Entrepreneurship Ecosystem in Cambodia: Growing Talent Seeds to Impact at Local Community Mr. Pengsan Huon, Youth Engagement Manager, Impact Hub Phnom Penh, Cambodia Opportunities of Lao Digital Economy and Lancang-Mekong Region Ms. Souphaphone Souannavong, Founder of TOHLAO Group, Laos   พิเศษ!!! การนำเสนอผลงานเด่นของ นักวิจัย/ผู้ประกอบการ เเละหน่วยงานพันธมิตร อาทิ ⭐ Cross-border e-Commerce โดย ดร. ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ (China Intelligence Center, Chiang Mai University) ⭐ Aging exercise platform based on ICT in Robotics and AI technology โดย ดร. วินัย ชนปรมัตถ์ (NECTEC) ⭐ Surface Enhanced Raman Scattering Substrate (OnSpec) โดย คุณอรอุมา นิมิตรตระกูลชัย (SCI INNOVATECH) ⭐ Kann Herbal Cream โดย คุณกัญญ์ภัสสร์ พลชัยศรี (KAN HERBS) ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม REGISTER : https://citly.me/zwiXP กำหนดการ (Draft agenda as of 29 Sep)   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. น.ส. สุนัจจีย์ นงนุช Email: sunatjee.nongnuch@nstda.or.th
ปฏิทินกิจกรรม
 
เอ็มเทค สวทช. เปิดตัว Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชจากแล็บ สู่เชิงพาณิชย์ ตอบรับกระแสอาหารเพื่อสุขภาพ
For English-version news, please visit : Plant-based chicken Ve-Chick: From lab to table คนไม่กินเนื้อสัตว์ เฮ นักวิจัย เอ็มเทค สวทช. วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์อาหาร มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเนื้อสัมผัสอาหาร เปิดตัว Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken)  พร้อมส่งต่องานวิจัยจากแล็บ สู่เชิงพาณิชย์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุง เผยจุดเด่นที่ช่วยเสริมใยอาหาร มีรสชาติ และ เนื้อสัมผัสที่คล้ายคลึงกับเนื้อสัตว์ ปรุงเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า และมีราคาย่อมเยาสามารถเข้าถึงได้ วันที่ 26 กันยายน 2565 ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (อาคารวิจัยโยธี) กรุงเทพฯ : ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. พร้อมด้วย ดร.กมลวรรณ อิศราคาร นักวิจัยทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ นายธนินท์รัฐ เมธีวัชรรัตน์ กรรมการ บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด และคุณสุรีย์พร ฉัตรมั่งมี ผู้บริหารกลุ่มตลาดเจ บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด แถลงข่าวเปิดตัว Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken) ตอบรับกระแสอาหารเพื่อสุขภาพ ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการเอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช เป็นผลงานที่เกิดจากการวิจัยพัฒนาของ สวทช. โดยทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค ที่เล็งเห็นถึงโอกาสจากแนวโน้มของตลาดโลกสำหรับอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-based food) ซึ่งมีมูลค่าในช่วง 4 - 30 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (USD) ในปี พ.ศ. 2563 และคาดว่าจะเติบโตมีมูลค่าสูงถึง 8 พันล้าน - 7 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่าสามแสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2568  รวมทั้งประเทศไทยที่มีผู้บริโภคกลุ่ม flexitarian ซึ่งมีความรักสุขภาพและเน้นการบริโภคผลิตภัณฑ์และโปรตีนจากพืชเพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ราว 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 17-18 ล้านคน จากประชากรไทย 67-68 ล้านคน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ได้ให้ความสำคัญในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช โดยมุ่งวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเนื้อสัมผัสอาหาร โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่อยากรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ยังรู้สึกว่าอาหารเพื่อสุขภาพไม่อร่อย ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการออกแบบเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์จากพืชให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ เกิดเป็น Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช ซึ่งได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเอกชนแล้วรวม 3 ราย รายที่ 1 เป็นโรงงานรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับอาหารตามความต้องการของลูกค้า การเพิ่มตัวเลือกผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืชให้กับลูกค้าจะช่วยเพิ่มตลาดให้กับธุรกิจของบริษัท รายที่ 2 บริษัท กรีน สพูนส์ จำกัด เป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านอาหารเพื่อสุขภาพ ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ภายหลังจากรับถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว บริษัทได้พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีแผนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในช่วงต้นปี 2566 ล่าสุด บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด ที่ร่วมแถลงข่าวในวันนี้ เป็นรายที่ 3 ที่รับถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับตลาดอาหารเจที่บริษัทเชี่ยวชาญด้วยเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืชที่ไม่ซับซ้อน สามารถหาวัตถุดิบได้ง่าย เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ ปรุงเมนูอาหารได้หลากหลาย ในต้นทุนที่แข่งขันได้ นายธนินท์รัฐ เมธีวัชรรัตน์ กรรมการ บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด  กล่าวว่า แบรนด์ Gin Zhai  ผลิตภัณฑ์พืชและผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาภายใต้แนวคิด BCG สู่ความยั่งยืน เชื่อมโยงวัฒนธรรม อาหาร และ การท่องเที่ยว โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้าง สรรค์ ซึ่งสวทช. สนับสนุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมวัตถุดิบทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Ve-Chicken Plant based) รวมถึงวัตถุดิบที่ แบรนด์ Gin Zhai เลือกสรรและส่งเสริมการใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรโดยตรง และส่งเสริมสินค้า GI ของไทยด้วย  ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจของบริษัท คือ “มุ่งมั่นสร้างสังคมสุขภาพดีทั้งกายและใจอย่างยั่งยืน ด้วยเมนูผลิตภัณฑ์พืชและผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพจากเกษตรกรโดยตรง” ดังสโลแกนของแบรนด์ GIN Zhai คือ  “กินด้วยใจ ปรุงด้วยใจ” ซึ่งสื่อถึงการบริโภคและการผลิตที่รับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์แบรนด์ GIN Zhai  ประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ รูปแบบแรก ผู้บริโภคนำไปประกอบอาหารเอง มี 2 ผลิตภัณฑ์  คือ กินใจ แพลนต์เจ พรีคุก (GIN Zhai Plant J - Pre Cook) ใช้วัตถุดิบ Ve-Chick แทนเนื้อไก่ ขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนต่างๆของ เนื้อไก่ เช่น น่องไก่  ชิ้นไก่  ไก่บด ซึ่งเนื้อสัมผัสเหมือนเนื้อไก่ จุดเด่น คือ นำไปทำเมนูต่างๆ แทนเนื้อไก่ ได้ทั้งรสชาติและเนื้อสัมผัสเหมือนเนื้อไก่   และ กินใจ แพลนต์เจ พรีมิกซ์ (GIN Zhai Plant J - Pre-Mix)   เป็นสูตรอาหารที่ใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุดิบ Ve-Chick แทนเนื้อไก่  ที่สามารถปรับสูตรโภชนาการได้ตามความต้องการกลุ่มผู้บริโภคที่ต่างกันได้ ทั้งด้านวัย ด้านสุขภาพ ด้านการรักษาโรค เป็นต้น   ครบคุณค่าโปรตีน ครบคุณค่าสารอาหาร ไม่มีไขมัน ไม่มีสารเร่งโต รูปแบบที่ 2  แฟรนไชส์ร้าน GIN Zhai เมนูพร้อมกิน มีทั้งเมนูทำจากพืช และเมนู Plant J ปัจจุบันให้บริการแล้วอยู่หน้า 7-11 รวมถึงสั่งผ่าน 7-11 Delivery App ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ซึ่งบริษัทตั้งเป้าหมายขยายสาขาแฟรนไชส์ร้าน GIN Zhai ให้ได้ 100 สาขา ภายใน  1 ปี   ส่วนเป้าหมายผลิตภัณฑ์ GIN Zhai Plant J บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ 200 ล้านบาท ภายในปี 2567 ผู้สนใจสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ แบรนด์ Gin Zhai (กินใจ) ได้แล้วที่ร้านกินใจ อยู่หน้าร้านสะดวกซื้อ 7-11 รวมถึงสั่งผ่าน 7-11 Delivery App ราคาเริ่มต้นเพียง 59 บาท รวมถึงผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ร้าน Gin Zhai หน้าร้าน 7-11 ทั่วประเทศ สามารถติดต่อสอบถาม ที่ Facebook : Gin Zhai-กินใจ  หรือ Line: @ginzhai  หรือ โทร 094 885 9228 ดร.กมลวรรณ อิศราคาร นักวิจัยทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร เอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช ได้แนวคิดมาจากโจทย์ที่ต้องการเพิ่มการใช้ประโยชน์ของใยอาหารที่ทางทีมวิจัยสกัดได้จากเปลือกส้มโอ ขณะเดียวกันทางทีมก็มองเห็นถึงกระแสการเติบโตของตลาดผลิตภัณฑ์อาหารจากโปรตีนพืชในต่างประเทศ และมองเห็นโอกาสในการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมอาหารในประเทศ ทางทีมจึงได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้วัตถุดิบที่ได้จากงานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการ มาใช้ส่วนประกอบหรือวัตถุดิบที่มีอยู่และสามารถหาได้ในท้องตลาด มาออกแบบโครงสร้างของผลิตภัณฑ์และกระบวนการในการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชที่เสริมใยอาหาร มีรสชาติ และ เนื้อสัมผัสที่คล้ายคลึงกับเนื้อสัตว์มากที่สุด ปรุงเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายได้ แล้วยังมีราคาย่อมเยาสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจากรสนิยมของผู้บริโภคที่แตกต่างกันเป็นทั้งความท้าทายและจุดเด่นอีกประการหนึ่งที่ทำให้เทคโนโลยีหลักซึ่งได้ถ่ายทอดให้ทั้ง 3 ราย สามารถแตกแขนงผลิตภัณฑ์ออกไปได้หลากหลายตามกลุ่มลูกค้าของแต่ละบริษัทได้ ในส่วนของบริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด ได้ใช้วีชิคเป็นส่วนประกอบของเมนูอาหารเจ ความสามารถในการปรุงรสของเชฟทำให้ผลงานวิจัยที่ได้ถ่ายทอดไปยังบริษัท มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น นอกจาก Ve-Chick (วีชิค) แล้ว เอ็มเทค ยังมี ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนพืชอื่นๆ ที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้สนใจ อาทิ M-pro jelly drink ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเยลลี่โปรตีนสูงเสริมแคลเซียม , ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเอ็กทรูชันความชื้นสูง  Fibrous chicken analogue หรือ HMMA และ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเอ็กทรูชันความชื้นต่ำ minced pork analogue LWMA หรือ TVP ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเอ็กทรูชันมีเนื้อสัมผัสเหมือนเนื้อสัตว์มากขึ้น ตอนนี้ทางทีมก็มีการวิจัยพัฒนา food ink สำหรับการขึ้นรูปโดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติอีกด้วย คุณสุรีย์พร ฉัตรมั่งมี ผู้บริหารกลุ่มตลาดเจ บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล กรีน จำกัด กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. ที่ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์โปรตีนจากพืช สำหรับคนไม่กินเนื้อสัตว์  แต่ยังได้โปรตีนทดแทนครบถ้วนและยังได้รสชาติ เนื้อสัมผัสเหมือนเนื้อไก่ และที่สำคัญมีความอร่อย ในฐานะผู้บริหารกลุ่มตลาดเจ ได้มองเห็นโอกาสของผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืช หรือ Plant Based  จะเป็นวัตถุดิบหลักของแบรนด์ Gin Zhai (กินใจ) สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม  ทั้งกลุ่มอาหารเจ  กลุ่มมังสวิรัติ กลุ่ม Vegan กลุ่ม Plant Based  รวมถึงผู้บริโภคทั่วไปที่บริโภคเนื้อสัตว์เหมือนเดิม และเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากโปรตีนพืชเป็นครั้งคราว รวมทั้งกลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ บริษัทจึงมั่นใจว่า Ve-Chick (วีชิค) ผลิตภัณฑ์วัตถุดิบทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช ที่เชฟของบริษัทเลือกแล้วว่าเหมาะสมกับการปรุงเมนูอาหารสำหรับแบรนด์ Gin Zhai (กินใจ)  ซึ่งจะได้ทั้งคุณค่าโปรตีน รสสัมผัส รสชาติ และความอร่อย
ข่าวประชาสัมพันธ์