หน้าแรก ภารกิจ กลุ่มบริหารการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (RDI) กรอบวิจัย โปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สวทช. กรอบวิจัยด้านพลังงาน
โปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สวทช. กรอบวิจัยด้านพลังงาน
23 พ.ย. 2563
0
กรอบวิจัย

หลักการ / ความสำคัญ

สวทช. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมมือกันดำเนินงาน “โครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สวทช.” โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ใช้ในการผลิต กักเก็บ และส่งกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีใหม่สำหรับใช้ในกิจการไฟฟ้า และสนับสนุนให้เกิดการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย

การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ใช้ในการผลิต กักเก็บ และส่งกระแสไฟฟ้า เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศไทย รวมถึงศึกษานโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 02 117 6464 (คุณจันทนา) 02 117 6457 (คุณลัดดา) 02 117 6463 (คุณธนภัทร) 02 117 6459 (กิติ์สิริรัตน์)
e-mail : jantana@nstda.or.th ladda.sittisopak@nstda.or.th thanapat.iamtan@nstda.or.th kitsirirat.koo@nstda.or.th


เอกสารเผยแพร่

  1. การศึกษาสถานภาพการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลซากแบตเตอรี่ ชนิดที่มีลิเทียมเป็นองค์ประกอบในประเทศไทย
  2. การศึกษาการพัฒนาของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและผลกระทบที่เกิดขึ้นสำหรับประเทศไทย
  3. การประเมินความมั่นคงทางด้านพลังงานในภาคผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
  4. การวิเคราะห์และเปรียบเทียบภาพรวมของศักยภาพพลังงานลมจากแผนที่ลมที่สำคัญของประเทศไทย

 

ผลงานเด่น

  1. กระจกเปลี่ยนสีอัจฉริยะ
  2. ซิลิกาแอโรเจลจากขี้เถ้าแกลบ

 

การเปิดรับข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) มุ่งเป้าด้านการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อการผลิตไฟฟ้า

โปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สวทช. ประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) มุ่งเป้าด้านการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อการผลิตไฟฟ้า ปี 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา Heat Transfer Characteristics ของหม้อไอน้ำประเภทต่าง ๆ เมื่อใช้เชื้อเพลิงชีวมวลแต่ละชนิด ศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน (Heat transfer coefficient) ที่ถูกต้อง หศึกษาความสัมพันธ์เพื่อทำนายอัตราการกัดกร่อน-สึกกร่อนจากก๊าซไอเสียบนผิวท่อและอุปกรณ์การถ่ายเทความร้อนต่าง ๆ ของหม้อไอน้ำ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ และช่วยการบริหารจัดการลดความเสี่ยงจากคุณสมบัติของชีวมวล ได้แก่ ปริมาณวัตถุดิบไม่สม่ำเสมอตลอดปี ความชื้นสูง สารประกอบอัลคาไลน์สูง สิ่งปนเปื้อนในปริมาณมาก และมีน้ำหนักต่อหน่วยปริมาตรต่ำ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง

***เปิดรับระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2563***

 

 

โครงการวิจัยที่ได้มีการสนับสนุน

เป้าหมาย 1 : Advanced Electric Vehicle (7 โครงการ)
สถานะโครงการ : เสร็จสิ้น

ลำดับ ชื่อโครงการ หัวหน้าโครงการ (สังกัด)
1 ต้นแบบระบบควบคุมหลักสำหรับรถไฟฟ้า ดร.จิตติวุฒิ สุวัตถิกุล (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.))
2 การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบจากรถยนต์ใช้แล้ว ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์ (สวทช.)
3 ต้นแบบระบบอิเล็คทรอนิกส์กำลังและระบบขับเคลื่อนสำหรับรถไฟฟ้า ดร.พงศ์พิชญ์ วิภาสุรมณฑล (สวทช.)
4 ต้นแบบระบบจัดการแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ดร.ธีระ ภัทราพรนันท์ (สวทช.)
5 การออกแบบพัฒนาและทดสอบต้นแบบระบบระบายความร้อนและต้นแบบระบบเบรกสำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคลจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้แล้ว ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ (สวทช.)
6 การพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมพลศาสตร์ของชุดขับเคลื่อนมอเตอร์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ผศ.ดร.อนันต์ขัย อยู่แก้ว (มหาวิทยาลัยนเรศวร)
7 มอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับขับเคลื่อนรถไฟฟ้า รศ.ดร.พิชิต ลำยอง (มหาวิทยาลัยลาดกระบัง)

 

เป้าหมาย 2 : การบูรณาการแผนงานวิจัยของ กฟผ. และ สวทช. (65 โครงการ) คลิกรายละเอียดเพิ่มเติม
สถานะโครงการ : เสร็จสิ้น (41 โครงการ)
ระหว่างปิดโครงการ (4 โครงการ)
ระหว่างประเมิน/ปรับปรุงรายงานฉบับสมบูรณ์ (1 โครงการ)
ระหว่างดำเนินการ (19 โครงการ)

23 พ.ย. 2563
0
แชร์หน้านี้: