หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ BCG BCG Implementation การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้
การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้
20 ธ.ค. 2566
0
BCG Implementation

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี รายได้ก้าวพ้นเส้นความยากจนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ BCG ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มีอัตลักษณ์ผ่านมาตรฐาน กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของผู้มีรายต่ำกว่าเส้นความยากจน (มีรายได้มากกว่า 40,000 บาท/คน/ปี) เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

โครงการที่ 1

การยกระดับเกษตรอินทรีย์/อาหารปลอดภัยด้วย BCG Economy

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

เกิดการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย จำนวน 18,000 คน มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. สินค้าเกษตรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้รับการยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG (50 ผลิตภัณฑ์)
  2. สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ (500 ล้านบาท)
  3. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (18,000 คน)

โครงการที่ 2

การยกระดับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย BCG Economy

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

เกิดการยกระดับรายได้จากการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาต่อยอดขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจฐานรากจำนวน 3,500 คน มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (3,500 คน)
  2. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร้อยละ 50 มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. เกษตรกร/ผู้มีรายได้น้อยพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับประสิทธิภาพ การผลิตจำนวน 5,000 คน
  2. ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดธุรกิจ 5 ผลิตภัณฑ์
  3. เกษตรกร/ผู้มีรายได้น้อยอย่างน้อยร้อยละ 5 ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างรายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
  4. สร้างผลลัพธ์ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
แชร์หน้านี้: