หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ รายงานสถานภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Nature วารสารวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพล
Nature วารสารวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพล
11 ม.ค. 2554
0
รายงานสถานภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศวิเคราะห์

วารสารเนเจอร์ เป็นวารสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด มาจากประเทศอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1869 มีอายุรวม 140 ปี เป็นวารสารวิทยาศาสตร์แบบสหวิทยาการ (interdisciplinary) ที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดชื่อหนึ่ง

ปัจจุบันวารสารวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นวารสารเฉพาะทาง  วารสารเนเจอร์ยังคงเป็นวารสารในกลุ่มจำนวนน้อยที่เป็นแบบสหวิทยาการ ตัวอย่างวารสารที่มีชื่อเสียงในกลุ่มนี้ เช่น  Science, Proceeding of the National Academy of Science (PNAS) กลุ่มผู้อ่านหลักของวารสารเนเจอร์ คือ นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำงานวิจัย สาธารณชนผู้อ่านทั่วๆไปก็สามารถอ่านบทความประเภทสรุป ที่เข้าใจได้ง่าย วารสารเนเจอร์ตีพิมพ์แบบรายสัปดาห์ ใน 1 ปี จึงมีจำนวนรวมราว 52 – 54 ฉบับ คอลัมน์ในแต่ละฉบับประกอบด้วย บทบรรณาธิการ (Editorial)  ข่าว (News)  บทความเด่น (Feature articles)  และอื่นๆ เช่น current affair, science funding,  business, scientific ethics, research breakthroughs, book& arts etc. ในปี 2007 วารสารเนเจอร์ กับวารสาร Science ได้รับรางวัล The Prince of Asturias Award for Communications and Humanity

รายละเอียดของวารสารเนเจอร์

ชื่อย่อ Nature
เนื้อหา สหสาขาวิชา (Interdisciplinary)
ภาษา อังกฤษ
สำนักพิมพ์ Nature Publishing Group (NPG) สหราชอาณาจักร
ปีที่เริ่มพิมพ์ ค.ศ. 1869 – ปัจจุบัน
ความถี่ในการตีพิมพ์ รายสัปดาห์
ค่า Impact Factor, IF 31.434 (2008)
ISSN 0028-0836
Web Site www.nature.com/nature/index.htm

ประวัติความเป็นมา
ในช่วงศตวรรษที่ 19 สหราชอาณาจักร เป็นประเทศแหล่งกำเนิดของวิทยาการความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในช่วงหลังศตวรรษ อังกฤษอยู่ในช่วงการดำเนินการอย่างมากเกี่ยวกับความก้าวหน้าและการเปลี่ยน แปลงทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของโลก

วารสารวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง ในขณะนั้นมาจากราชสมาคม ( Royal Society) ที่มีการตีพิมพ์ผลงานวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก คือ งานค้นพบวิทยาศาตร์ที่สำคัญของ Sir Isaac Newton, Michael Faraday จนถึงผลงานของ Charles Darwin และในช่วงเวลาต่อมา ในช่วงปีค.ศ. 1850 – 1860 จำนวนสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องทางวิทยาศาสตร์เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 2 เท่า วารสารเนเจอร์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1869 ในชื่อครั้งแรกคือ  Recreative Science : a Record and Remembrancer of Intellectual Observation ที่เน้นเนื้อหาด้านธรรมชาติวิทยา ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อวารสารหลายชื่อ และต่อมาเริ่มเน้นเนื้อหาด้าน วิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น Astronomy, Archaeology

ผู้ก่อตั้งวารสารเนเจอร์ คือ Norman Lockyer  ส่วนผู้สนับสนุนการเงินในการตีพิมพ์ คือ Alexander MacMillan หลายบทความในฉบับแรกๆของวารสารเนเจอร์ เขียนโดยกลุ่มสมาชิกที่ตั้งชื่อกลุ่มว่า X Club  ที่มีความเป็นอิสระเสรีนิยม (liberal) หัวก้าวหน้า (progressive) และบางทีมีประเด็นโต้แย้งกันในเรื่องวิทยาศาสตร์ในช่วงเวลานั้น บางทีอาจเป็นเพราะการมีอิสระเสรีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific liberality) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้วารสารเนเจอร์ได้รับความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับในชุมชนวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมาอย่างยาวนานมากกว่าบรรพบุรุษวารสารเนเจอร์ในยุคศตวรรษที่ 20 และช่วงต้นที่ 21 วารสารเนเจอร์ได้ดำเนินการได้อย่างดีในการพัฒนาและขยายฐานงานตีพิมพ์ผลงานวิทยาศาสตร์ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 จนถึงยุคที่ 20

บรรณาธิการ (Editors)
Norman Lockyer ผู้ก่อตั้งวารสารเนเจอร์ เป็นศาสตราจารย์ที่ Imperial College ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการคนแรก  ส่วนคนที่ 2  คือ Richard Gregory  เป็นผู้ที่ช่วยสร้างเครือข่ายชุมชนวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ  ในช่วงปี 1945 – 1973 มีบรรณาธิการ 3 คน คือ A.J.V. Gale, L.J.F. Brimble และ John Maddox มีการหมุนเวียนกันเป็นรอบ 2 ในบางคน และสุดท้ายตั้งแต่ปี 1995 – ปัจจุบัน บรรณาธิการคนล่าสุด คือ Philip Cambell

การพัฒนาการ
มีการขยายสาขาของสำนักงานไปยังประเทศต่างๆ เรื่อยมา ตั้งแต่ปี 1970 ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี  ปี 1985 กรุงนิวยอรค์ ปี 1987 กรุงโตเกียวและกรุงมิวนิค ปี 1989 กรุงปารีส ปี 2001 ซานฟรานซิสโก ปี 2004 กรุงบอสตัน และปี 2005 ที่ฮ่องกง ตั้งแต่ช่วงปี 1980’s เป็นต้นมาวารสารได้ขยายฐานอย่างยิ่งใหญ่ มีการริเริ่มตีพิมพ์วารสารชื่อใหม่เพิ่มอีกราว 10 ชื่อ ตั้งชื่อสำนักพิมพ์ใหม่ชื่อ Nature Publishing Group, NPG ในปี 1999 ที่ประกอบด้วยสำนักพิมพ์ชื่อเดิม อันได้แก่  Nature, Nature Research Journals, Stockton Press Specialist Journals, MacMillan Reference

ในปี 1997 วารสารเนเจอร์ได้เปิดเว็บไซต์ที่ www.nature.com   และในปี 1999 เริ่มตีพิมพ์บทความในวารสารชุดของ Nature Reviews  แบบออนไลน์ โดยเปิดบางบทความให้อ่าน เข้าถึงได้แบบฟรี ส่วนบทความอื่นๆ ผู้อ่านสามารถเข้าถึงแบบขอซื้อในแต่ละบทความ  ถือได้ว่าวารสารเนเจอร์เป็นวารสารแบบ partial open access journal คือเปิดให้อ่านฟรีได้แบบบางส่วน
วารสารเนเจอร์ประกาศว่า กลุ่มผู้อ่านเป็นนักวิทยาศาสตร์และผู้บริหารราว 3 แสนคน ส่วนผู้อ่านอื่นๆ ราว 6 แสนคน มีจำนวนตีพิมพ์หมุนเวียนราว 6.5 หมื่นเล่มต่อฉบับ และมีการศึกษาพบว่า วารสาร 1 เล่มมีการแบ่งปันกันอ่านเฉลี่ย 10 คนต่อเล่ม เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2008 วารสารเนเจอร์ได้ให้การรับรอง (endorsed) ผู้สมัครชิงตำเหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ด้วยการสนับสนุนการณรงค์หาเสียงของนายบารัค โอบามา

การเสนอตีพิมพ์บทความในวารสารเนเจอร์
นัก วิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างมุ่งหวังเสนอบทความลงตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์นี้ หากผู้ใดได้รับการตีพิมพ์ ถือว่าได้รับชื่อเสียง รับเกียรติอย่างสูง น่าเคารพนับถือ (prestigious)  และบทความมักจะได้รับการอ้างอิงในจำนวนสูงอีกด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การเลื่อนตำเหน่ง การได้รับอนุมัติให้ทุนวิจัย รวมถึงจะได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนหลักด้วย เหตุผลเป็นเพราะว่ามักได้รับการตอบสนองในทางบวก ฉะนั้นจึงมีการแข่งขันกันในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่จะเสนอตีพิมพ์บทความวิจัย ของตนเอง รวมถึงมีการแข่งขันในวารสารคู่แข่งที่ใกล้ชิดที่สุด คือ Science อย่างดุเดือด (fierce) อีกด้วย

วารสารเนเจอร์ ได้รับค่า IF = 31.434 ในปี 2008 ที่วัดโดย Thomson ISI ถือว่ามีค่าสูงสุดในกลุ่มของวารสารประเภทเดียวกัน วารสารเนเจอร์มีนโยบายตรวจสอบคุณภาพบทความที่เสนอตีพิมพ์เช่นเดียวกับวารสาร ส่วนใหญ่ชื่ออื่นๆ มีการกลั่นกรองคัดเลือก (screen) โดยบรรณาธิการ ตามด้วยขั้นตอนของกระบวนการ peer review  โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่คัดเลือกโดยบรรณาธิการ ซึ่งต้องไม่มีสายสัมพันธ์ใดๆ กับงานวิจัยนั้นๆ โดยจะทำการอ่านและให้ข้อวิจารณ์ก่อนที่จะอนุมัติให้ตีพิมพ์

คำประกาศพันธกิจล่าสุดของ วารสารเนเจอร์
ข้อที่ 1 เพื่อเป็นการบริการแก่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ให้มีแหล่งตีพิมพ์ผลงานอันเป็นความก้าวหน้าทางที่สำคัญอย่างทันทีในทุกๆสาขา วิชาของวิทยาศาสตร์ และเพื่อเป็นการจัดที่ที่แสดงความคิดเห็นให้มีโอกาสในการรายงานและซักถามพูดคุยในประเด็นทางวิทยาศาสตร์ ข้อที่ 2  เพื่อให้มั่นใจในผลลัพธ์ของวิทยาศาสตร์ที่มีการเผยแพร่อย่างรวดเร็วแก่สาธารณชนทั่วโลก

บทความวิทยาศาสตร์สำคัญที่มีการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ (Landmark papers)
วารสารเนเจอร์ได้ตีพิมพ์บทความวิทยาศาสตร์ที่เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลกเป็นแห่งแรก ดังรายชื่อบทความต่อไปนี้

  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง Wave Nature of particles – C. Davisson et al. 1927 . “The scattering of electrons by a single crystal of nickel “ Nature 119 : 558-560  doi:10.1038/119558a0
  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง The neutron – J. Chadwick 1932 “ Possible  existence of a neutron “ Nature 129 : 132   doi:10.1038/129312a0
  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง Nuclear fission – L. Meitner et al. 1939 “Disintegration of uranium by neutrons : a new type of nuclear reaction” Nature 143 : 239-240  doi:10.1038/143239a0
  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง The structure of DNA – J.D. Watson and F.H.C. Crick 1953 “Molecular structure of nucleic acids : A structure for deoxyribose nucleic acid” Nature 171 : 737-738  doi:10.1038/171737a0
  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง First molecular protein structure (myoglobin) – J.C.Kendrew et al. 1958 “A three dimensional model of the myoglobin  molecule obtained by X-ray analysis” Nature 181 : 662-666  doi:10.1038/181662a0
  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง Plate tectonics – J. Tuzo Wilson 1966 “ Did the Atlantic close and then re-open ? “ Nature 211 : 676-681 doi:10.1038/211676a0
  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง Pulsars – A.Hewish et al. 1968 “ Observation of a Rapidly Pulsating Radio Source” Nature 217 : 709-713  doi:10.1038/217709a0
  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง The Ozone hole – J.C. Farman et al. 1985 “ Large losses of total ozone in Antarctica reveal seasonal CIOx/NOx interaction” Nature 315 : 207-210  doi:10.1038/315207a0
  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง First cloning of a mammal ( Dolly the sheep) – J. Wilmut et al.  1997 “ Viable offspring derived from fetal and adult mammalian cells” Nature 385 : 810-813 doi:10.1038/385810a0
  • หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง The Human genome – International Human Genome Sequencing Consortium (2001) “Initial sequencing and analysisof the human genome” Nature 409 : 860-921  doi:10.1038/35057062

ความผิดปกติในขนวนการ Peer Review ของวารสารเนเจอร์
ในวารสาร เนเจอร์ พบว่ามีการตีพิมพ์บทความที่หลอกหลวง ไม่เป็นจริง บิดเบือนของผู้แต่งชื่อ Hendrik Schon  ในปี 2001 – 2002 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ superconductivity ต่อมาในปี 2003 วาราสารได้แจ้งขอถอนบทความนั้นออก เช่นเดียวกับวารสาร Science

สิ่งพิมพ์ชื่อต่างๆ ของกลุ่ม NPG
NPG เริ่มตีพิมพ์วารสารเฉพาะทางหลายชื่อ  เช่น Nature Neuroscience, Nature Biotechnology, Nature Methods, Nature Clinical Practice etc. และปัจจุบันวารสารเนเจอร์ จัดบริการ Podcasts ให้แก่ผู้ใช้บริการซึ่งสามารถรับชมภาพและฟังเสียง ที่เป็นบทความเด่นและบทสัมภาษณ์ผู้แต่งด้วย

ในปี 2007  NPG ได้เริ่มตีพิมพ์วารสารร่วมกับสมาคมวิชาชีพต่างๆ หลายแห่ง เช่น The American Society of Clinical Pharmacology & Therapeutics โดยตีพิมพ์วารสารชื่อ Clinical Pharmacology & Therapeutics กับสมาคม The American Society of gene โดยตีพิมพ์วารสารชื่อ Molecular Therapy

สิ่งพิมพ์ ของ NPG แบ่งออกได้เป็น 3 ชุด คือ
กลุ่มที่หนึ่ง
วารสารวิจัย ( Research Journals) ตัวอย่างเช่น Nature  Biotechnology, Nature cell Biology, Nature Chemistry, Nature Genetics, Nature Geoscience, Nature Nanotechnology, Nature Physics เป็นต้น
กลุ่มที่สอง
วารสารวิจารณ์ สรุปผล( Reviews Journals)  ตัวอย่างเช่น Nature Review Cancer, Nature Review drug Discovery, Nature Review genetics, Nature Review Immunology เป็นต้น
กลุ่มที่สาม
วารสารออนไลน์(Nature Online) ตัวอย่าง Nature China และ Nature India

สำนักพิมพ์ NPG มีความกระตือรือร้นอย่างมากในการส่งเสริม การจัดเก็บคลังความรู้ส่วนตัว (Self Archiving)  ถือเป็นสำนักพิมพ์แห่งแรกสุดที่อนุญาตให้ผู้แต่งบทความสามารถทำสำเนาบทความ ตนเองไปเก็บไว้ที่เว็บไซต์ส่วนตัวหรือ สถาบันได้ ในปี 2002  โดยใช้วิธีให้ผู้แต่งทำเรื่องขอ exclusive license มายังสำนักพิมพ์ มากกว่าการขอให้ผู้แต่งมอบลิขสิทธิ์ให้ และในปี 2007 NPG ได้แนะนำการอนุญาตที่ชื่อว่า Creative Common, CC

เอกสารอ้างอิง
1. Nature (Journal) from Wikipedia, the free encyclopedia – available at
http://en.wikipedia.org/wiki/Nature_journal as of  18 May 2010
2. Web Site : Nature International Weekly Journal of Science – available at
http://www.nature.com/nature/index.html  as of 24 May 2010

เรียบเรียงโดย รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สวทช.
วันที่ 25 พฤษภาคม 2553

แชร์หน้านี้: