หน้าแรก ค้นหา
ผลการค้นหา :
สตาร์ตอัป ReLIFE พัฒนากระจกตาชีวภาพ ความหวังเปลี่ยนกระจกตาไม่ต้องรอรับบริจาค
อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 (ท้ายบทความ)   ปัจจุบันมีผู้พิการทางสายตาทั่วโลกกว่า 10 ล้านคน กำลังเผชิญกับความยากลำบาก อันเนื่องมาจากการสูญเสียการมองเห็นด้วยอาการบาดเจ็บของกระจกตา หนทางเดียวในการรักษาคือการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา โดยอาศัยกระจกตาบริจาคจากผู้เสียชีวิต ทว่าผู้โชคดีที่จะได้รับโอกาสในการกลับมามองเห็นมีเพียง 15% เท่านั้น เพื่อคืนแสงสว่างจากความมืดมิดให้แก่ผู้พิการทางสายตาจากโรคกระจกตา ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์ นักวิจัยทีมวิจัยไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ไบโอเทค สวทช. และ CEO บริษัทรีไลฟ์ จำกัด (ReLIFe Co., Ltd.) หนึ่งใน NSTDA Startup ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนา “กระจกตาชีวภาพจากจากสเต็มเซลล์ (Stem Cell)” เพื่อใช้ทดแทนกระจกตาบริจาค และลดความเสี่ยงจากการใช้กระจกตาจากผู้อื่นหรือวัสดุเทียม   กระจกตาชีวภาพจากสเต็มเซลล์ จุดเริ่มต้นในการวิจัยและพัฒนากระจกตาชีวภาพจากสเต็มเซลล์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ยุคที่นักวิจัยเริ่มพัฒนาอวัยวะเทียมกันอย่างแพร่หลาย แต่มีนักวิจัยน้อยคนที่จะสนใจวิจัยและพัฒนากระจกตาเทียม เพราะเชื่อว่าเป็นอวัยวะที่รอรับบริจาคได้   [caption id="attachment_34126" align="aligncenter" width="550"] ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์ นักวิจัยทีมวิจัยไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ไบโอเทค สวทช. และ CEO บริษัทรีไลฟ์ จำกัด (ReLIFe Co., Ltd.)[/caption]   ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์ อธิบายว่า ตั้งแต่เริ่มต้นทำวิจัยเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ‘กระจกตาเทียม’ ยังคงเป็นที่ต้องการของหลายประเทศทั่วโลก เพราะในหลักการแล้ว แม้กระจกตาจะเป็นอวัยวะที่สามารถรับบริจาคได้ มีผลข้างเคียงต่ำ แต่ในทางปฏิบัติ การรับบริจาคเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการแพทย์ไม่พร้อม เนื่องจากกระจกตามีอายุสั้น หากมีการจัดเก็บจากผู้เสียชีวิตล่าช้าหรือจัดเก็บด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสมจะทำให้กระจกตาเสื่อมสภาพทันที และด้วยสาเหตุนี้แม้ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศจะไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนกระจกตา แต่ก็ไม่สามารถบริจาคไปช่วยเหลือประเทศที่มีความต้องการได้   [caption id="attachment_34122" align="aligncenter" width="650"] กระจกตา[/caption]   การพัฒนา “กระจกตาชีวภาพ” ได้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญของทีมวิจัย ที่ไม่เพียงเป็นความหวังสร้างชีวิตใหม่ให้แก่ผู้เฝ้ารอรับบริจาคกระจกตา แต่ยังเป็นโอกาสในการบุกเบิกสร้างสรรค์นวัตกรรมกระจกตาชีวภาพรายแรกของโลก ดร.ข้าว อธิบายว่า ตามธรรมชาติกระจกตาของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นเจลลีที่เหนียว แข็งแรง ทนทาน เนื่องจากต้องรับแรงดึงจากการกระพริบหรือกรอกตาตลอดเวลา ความแข็งแรงนี้มาจากโครงสร้างภายในที่มีลักษณะเป็นเส้นใยสานกันแน่นเป็นตาข่าย 300-500 ชั้น ในการออกแบบกระบวนการผลิตกระจกตาชีวภาพ ทีมวิจัยจึงพยายามเลียนแบบลักษณะและโครงสร้างภายในกระจกตาเพื่อให้มีลักษณะใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด   [caption id="attachment_34123" align="aligncenter" width="650"] Fiber-reinforced hydrogel[/caption]   [caption id="attachment_34124" align="aligncenter" width="650"] Fiber-reinforced hydrogel[/caption]   “ทีมวิจัยได้พัฒนากระจกตาให้มีลักษณะเป็นเจลลีเสริมแรงเส้นใย ‘Fiber-reinforced hydrogel’ ผ่านกระบวนการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าแรงสูง (Electrospinning) เพื่อนำเจลลี่ที่มีลักษณะเหมือนกับกระจกตาของมนุษย์มาใช้เป็นโครงเลี้ยงสเต็มเซลล์ สำหรับนำไปผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้แก่คนไข้ หลังจากทั้งโครงเลี้ยงเซลล์และ สเต็มเซลล์ เข้าไปยึดติดบนดวงตาของคนไข้แล้ว Stem cell จะค่อยๆ กินโครงเลี้ยงเซลล์เป็นอาหารจนหมด และเติบโตขึ้นมาใหม่เป็นเซลล์กระจกตาตามธรรมชาติที่ลักษณะเหมือนกับโครงเลี้ยงเซลล์ทุกประการ ทำให้มีความปลอดภัยไม่เกิดการต่อต้านจากร่างกาย” การเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้กระจกตาชีวภาพทำให้ผู้ป่วยได้ใช้กระจกตาที่ใสเหมือนกระจกตาของเด็กแรกเกิด แตกต่างจากกระจกตาที่รับบริจาคซึ่งมีความขุ่นมัวตามอายุการใช้งานของผู้เสียชีวิต นอกจากนี้ทีมวิจัยยังออกแบบการผลิตให้ผลิตได้ทั้งแบบใช้งานทั่วไปและแบบจำเพาะกับลักษณะลูกตาของคนไข้ได้ เหตุผลเหล่านี้ถือเป็นจุดแข็งสำคัญที่แม้แต่คนไข้ในประเทศที่มีกระจกตาบริจาคเพียงพอก็ยังไม่อาจปฏิเสธความสนใจในการใช้งานผลิตภัณฑ์นี้ได้ ดร.ข้าว เสริมว่า การวิจัยและพัฒนากระจกตาชีวภาพนี้นอกจากจะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทีมวิจัยและผู้บริหารของไบโอเทค สวทช. แล้ว ยังได้รับการสนับสนุนด้านการเก็บเซลล์กระจกตา การทดสอบในสัตว์ รวมถึงการทดสอบในมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากอาจารย์และบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ปัจจุบันการทดสอบอยู่ในขั้นตอนทดสอบในสัตว์ทดลองโดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทดลองในสัตว์ทดลองครั้งนี้จะประสบความสำเร็จด้วยดี และสามารถทดสอบในมนุษย์ได้ภายในปีหน้า   Spin off สู่ Start-up บริษัท ReLIFE จากเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ฝันอยากเป็น CEO จากวิศวกรทางการแพทย์คนหนึ่งที่ฝันอยากสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้คนไข้ได้ใช้ประโยชน์จริง เพื่อทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คือแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เขาก้าวข้ามทุกอุปสรรคจนประสบความสำเร็จขึ้นแท่นสู่การเป็นสตาร์ตอัป ในฐานะ CEO ของบริษัทรีไลฟ์ จำกัด ในปัจจุบัน       ดร.ข้าว เล่าว่า เมื่อตัดสินใจ Spin off ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการ และ ดร.นตพร จันทร์วราสุทธิ์ รองผู้อำนวยการ ไบโอเทค สวทช. ต่างให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ท่านทั้งสองเป็นผู้นัดหมายการนำเสนองานต่อนักลงทุนให้ ซึ่งผลตอบรับก็เป็นที่น่ายินดียิ่ง เพราะ ‘ผลงานการวิจัย’ และ ‘ตัวตนของทีมวิจัย’ มีศักยภาพและแรงดึงดูดมากพอที่คุณรักชัย เร่งสมบูรณ์ ผู้ก่อตั้งและผู้นำทีมวิศวกรรมบริษัทฟรุตต้า ไบโอเมด จำกัด จะร่วมลงทุนตั้งแต่ครั้งแรกที่พบกัน โดยบริษัทรีไลฟ์ จำกัด ได้รับทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 100 ล้านบาท สำหรับใช้สร้างโรงงานผลิตกระจกตาเทียมชีวภาพ “สิ่งที่ทำให้คุณรักชัยเชื่อว่าเรามีศักยภาพมากพอ คือ เราทำให้เขาเห็นว่าผลงานนี้มีโอกาสทางธุรกิจมากขนาดไหน เป็นผลงานที่เป็น Blue ocean อย่างแท้จริง อีกสิ่งที่เราได้นำเสนอควบคู่กันไปแบบทางอ้อม คือ ตัวตนของเรา เราแสดงให้เขาเห็นถึงทัศนคติ ความมุ่งมั่นตั้งใจ ทักษะความสามารถในการบริหารงาน การทำธุรกิจ และการสื่อสาร ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ก้าวต่อไปของบริษัทหลังจากการทดลองในมนุษย์ซึ่งคาดว่าจะเกิดในอนาคตอันใกล้นี้หากประสบความสำเร็จ ก็จะมีการระดมทุนครั้งต่อไปทันที” ปัจจุบันบริษัทรีไลฟ์ จำกัด เดินหน้าทำการวิจัย พัฒนา และทดสอบ แบบเต็มกำลังแล้ว “ผลงานนี้จะเปลี่ยนโลก มอบชีวิตใหม่ให้แก่คนหลักสิบล้านคน จากที่คนไข้ไทยเคยต้องรอ 3 ปี 5 ปี ผมสัญญาว่าจะทำให้ต้องรอไม่เกิน 1 เดือน จากที่คุณใช้ชีวิตยากลำบาก คุณจะต้องกลับมามองเห็นได้และใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม และผมสัญญาว่าผมจะทำให้คนไทยได้ใช้กระจกตาเทียมชีวภาพในราคาที่ถูกที่สุดครับ” ดร.ข้าว นักวิจัยไบโอเทค และ CEO บริษัทรีไลฟ์ จำกัด ทิ้งท้ายไว้อย่างน่าประทับใจ ผลงานกระจกตาชีวภาพจากบริษัทรีไลฟ์ จำกัด เป็นส่วนหนึ่งของผลงานจาก 9 บริษัทสตาร์ตอัปที่เปิดตัวในงานแถลงข่าว “สวทช. ขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ 9 ดีปเทคสตาร์ตอัป” เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ติดตามผลงานจากบริษัทอื่นๆ ได้ที่ https://www.nstda.or.th/home/news_post/pr-nstda-startup-2022/   อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 : ปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาอยู่ในขั้นตอนการทดสอบในสัตว์ทดลอง   เรียบเรียงโดย : ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์คโดย : ภัทรา สัปปินันทน์ ภาพประกอบโดย : ภัทรา สัปปินันทน์, ไบโอเทค สวทช. และ shutterstock
BCG
 
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ
 
ผลงานวิจัยเด่น
 
คูโบต้า ผนึก เนคเทค สวทช. ขยายผลนวัตกรรมระบบจัดการน้ำ (HandySense) สู่ ‘คูโบต้าฟาร์ม’ พื้นที่สาธิตเทคโนโลยีด้านเกษตรสมัยใหม่
For English-version news, please visit : Precision farming solution HandySense to be showcased at KUBOTA Farm (29 มิ.ย. 2565) ที่คูโบต้า ฟาร์ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี : ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้อำนวยการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) พร้อมด้วย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โครงการพัฒนาพื้นที่สาธิตเทคโนโลยีด้านเกษตรสมัยใหม่ : ระบบจัดการน้ำ (HandySense) กับบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด โดย นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และนายรัชกฤต สงวนชีวิน ผู้จัดการฝ่าย Business Value Creation ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาพื้นที่สาธิตการเกษตรสมัยใหม่ ผ่านการใช้ระบบ HandySense ระบบเกษตรอัจฉริยะควบคุมการเพาะปลูก บริเวณโซนเกษตรทฤษฎีใหม่ คูโบต้าฟาร์ม เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้ถึงมือเกษตรกรและชุมชนโดยรอบ ภายใต้ความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi) ณ คูโบต้าฟาร์ม จ.ชลบุรี   ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) กล่าวว่า สวทช. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการเป็นผู้จัดการโครงสร้างพื้นฐานวิจัยขยายผลรองรับอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่ EEC ภายใต้ชื่อ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ซึ่งมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเมืองนวัตกรรมในพื้นที่ พร้อมเปิดให้บริการในปลายปีนี้ อย่างไรก็ตาม สวทช. เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่สาธิตเทคโนโลยีในพื้นที่ 3 จังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เพื่อร่วมสร้างต้นแบบการเกษตรสมัยใหม่ โดยบริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีหลักการพัฒนาเทคโนโลยีและคิดค้นนวัตกรรมการเกษตร เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเครื่องจักรกลการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาโซลูชั่นครบวงจร เพื่อสนับสนุนภาคเกษตรให้เป็น Smart Farm อีกทั้งยังได้พัฒนา “คูโบต้าฟาร์ม” ให้เกิดพื้นที่สร้างประสบการณ์การทำเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรและคนทั่วไปได้เข้าถึงทุกนวัตกรรมซึ่งถือเป็น Open Innovation Agricultural Farm ที่ใช้ได้จริง อย่างไรก็ตามการร่วมมือทางวิชาการ ในโครงการพัฒนาพื้นที่สาธิตเทคโนโลยีด้านการเกษตรสมัยใหม่ ในพื้นที่คูโบต้าฟาร์มแห่งนี้ สวทช. มีการดำเนินงานโครงการ Smart Farm ร่วมคูโบต้าฟาร์มมาก่อนหน้าแล้ว คือ ระบบ Aqua IOT สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และระบบ HandySense สำหรับการเพาะปลูก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของนักวิจัยเนคเทค สวทช. นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือด้านระบบโรงเรือนอัจฉริยะ ของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. อีกด้วย “ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด นี้เป็นการบูรณาการจุดแข็งของทั้งสองฝ่าย เสริมสร้างศักยภาพในการขยายผลงานวิจัย พัฒนา สู่ภาคสนามการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธิตขนาดใหญ่ สู่การใช้ประโยชน์ในเครือข่ายลูกค้า เครือข่ายเกษตรกร ผู้ประกอบการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เพื่อการปรับแปลงเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับบริบทการใช้งานของภาคการเกษตรไทย นำไปสู่การขยายผลในด้านการตลาด ด้านอุตสาหกรรมเกษตร และด้านการพัฒนากำลังคน เพื่อให้พื้นที่สาธิตเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ ตอบโจทย์เป้าหมายร่วมกันในการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร และเสริมความเข้มแข็งของภาคการเกษตรของไทย” ดร.เจนกฤษณ์ กล่าว นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า คูโบต้า เล็งเห็นว่า สวทช. เป็นหน่วยงานพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมการเกษตรให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้ร่วมมือกันในการสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi กระทั่งเกิดเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่สาธิตเทคโนโลยีด้านเกษตรสมัยใหม่ : ระบบจัดการน้ำ HandySense โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่สาธิตการเกษตรสมัยใหม่และศึกษาวิจัยแนวทางและรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ที่มีการประยุกต์ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ IoT ที่เหมาะสม และมีเทคโนโลยีต้นแบบในอนาคตให้กับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบ Smart Farming โดยมีการติดตั้งระบบ HandySense ณ บริเวณโซนเกษตรทฤษฎีใหม่ คูโบต้าฟาร์ม และเตรียมการขยายผลสู่เกษตรกรที่สนใจทั่วประเทศ อย่างไรก็ดีที่ผ่านมา เราได้พัฒนาความร่วมมือกับสวทช. ในจัดทำพื้นที่ต้นแบบสาธิตการใช้เทคโนโลยี Smart Farming ในพื้นที่ คูโบต้าฟาร์ม แห่งนี้ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรครบวงจรและสัมผัสการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ผ่านประสบการณ์ตรง อีกทั้งส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และมีความมั่นใจว่าความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจะเป็นแรงขับเคลื่อนสาคัญในการพัฒนา Smart Farming ในประเทศไทยให้สามารถเกิดขึ้นจริง จากการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับภาคการเกษตรของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะ (HandySense) เพื่อการเพาะปลูก ประกอบด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืช ด้วยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ (sensor) ผนวกอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Things) มาพร้อมกับความโดดเด่นคือ อุปกรณ์ใช้งานง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ในราคาที่เกษตรกรเข้าถึงได้ โดย HandySense จะตรวจวัดค่าสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชผลแบบเรียลไทม์ผ่านเซนเซอร์ (sensor) ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้นในดิน ความชื้นสัมพัทธ์ แสง และส่งต่อข้อมูลจากเซนเซอร์ผ่านระบบคลาวด์แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่เหมาะสมของการเพาะปลูกพืช (Crop Requirement) เพื่อแจ้งเตือนและสั่งการระบบต่างๆ ให้ทำงานต่อไป มีการติดตั้งใช้งานไปแล้วมากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ และประกาศเป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open Innovation) เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้กับแปลงเกษตรและเชิงพาณิชย์ได้แล้ว โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ (License Fee) และค่าตอบแทนการใช้สิทธิรายปี (Royalty Fee) มุ่งหวังให้เกษตรกรไทยยุคใหม่ ได้มีเครื่องมือที่ทันสมัยใช้งาน ในราคาที่จับต้องได้ และต้องการให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางด้านสมาร์ตฟาร์มโดยผู้ประกอบการไทย ////////////////////////////////////////////
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. ร่วมกับ ม.มหิดล จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา“โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ”
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา “โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” ในรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม Cisco Webex นำโดย ศ. นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัย มหิดล พร้อมด้วย ศ. นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้บริหารทั้งสองหน่วยงาน เข้าร่วมงานและเป็นสักขีพยานในพิธี ศ. นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล และ สวทช. มีแนวคิดในการสร้างความร่วมมือวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ผ่านการจัดตั้งกลไกการร่วมทุนวิจัยรูปแบบทวิภาคี (Bilateral collaboration) เพื่อสนับสนุนนักวิจัยที่มีศักยภาพให้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง เป็นประโยชน์ต่อประเทศในหลากหลายมิติร่วมกัน สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการวิจัย เพื่อให้สามารถแสวงหาทุนวิจัยเพิ่มเติมจากแหล่งภายนอกได้ ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การผลิตผลงานวิจัยคุณภาพสูง รวมทั้ง การส่งเสริมและผลิตบุคลากรวิจัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ นำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติต่อไป ศ. นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ปัจจุบันการวิจัยจะ อยู่ในรูปแบบที่ต้องบูรณาการจากหลากหลายศาสตร์ และมีหัวข้อการวิจัยที่กว้างขวาง จำเป็นต้องมีความร่วมมือ จากหลายฝ่าย สวทช. มีบุคลากรวิจัยในหลากหลายสาขาจากศูนย์แห่งชาติต่าง ๆ และมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับสร้างองค์ความรู้ รองรับการขยายผลไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และ/หรือสาธารณประโยชน์ เช่น ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ โรงงานต้นแบบ รวมทั้ง การบริหารงานด้านธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา ผนวกกับการวิจัยที่เป็นจุดเด่นและจุดแข็งของมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น การแพทย์ สาธารณสุข สังคมศาสตร์ ความร่วมมือในวันนี้จะเป็นการเติมเต็มและส่งเสริมความสามารถของทั้งสองหน่วยงานต่อไปในอนาคต สวทช. จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้ง “โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” เพื่อสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ อีกทั้งเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยของสองหน่วยงาน ให้ร่วมทำงานวิจัยซึ่งเป็นการขยายฐานความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งสองหน่วยงานต่อไป  
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
โครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (Success 2022) ประจำปี 2565
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ขอเชิญผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (SUCCESS) เป็นโครงการที่ช่วยสนับสนุนและช่วยเหลือในการจัดโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจเทคโนโลยี โดยจัดให้มีการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาด้านเทคนิคธุรกิจ กฎหมาย การตลาด การบริหารจัดการองค์กรและบุคลากรแบบ1 ต่อ 1 ตลอดถึงการสนับสนุนการออกตลาด หรือหาพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศสำ หรับผู้ประกอบการที่มีความพร้อม โดยโครงการฯเหมาะสำหรับผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ชัดเจนในหมวด Modern Agriculture Sustainable Food & Ingredients Biodiversity Medicine & Biopharma-ceuticals Medical Devices, Digital Health & Assistive Technology Energy Innovation Biochemicals & Biobased Materials Digital Services & Smart Electronics   และหรือไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีอื่นๆ โดยในปีนี้นี้มุ่งเน้นไปที่ BCG ที่ต้องการเตรียมตัวสร้างรากฐานให้องค์กรธุรกิจให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และต้องการพันธมิตรเพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ ต่อยอดความสำเร็จ และเรียนลัดจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจแล้ว ภายใต้แนวคิดหลัก คือ แข็งแกร่งได้อย่างยั่งยืนแบ่งกันรวยช่วยกันโต และพร้อมกับการรับโอกาสดีๆในชีวิต ผู้สนใจสามารถสมัครมาได้ที่ https://forms.gle/YAn21YXoLXTuC2T16 ข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการฯ -> Click   [pdf-embedder url="https://www.nstda.or.th/home/wp-content/uploads/2022/06/โครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี-ปี-2565.pdf" title="โครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ปี 2565"]   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่งมาที่อีเมล success@nstda.or.th ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการฯ สวทช. คุณสกุลพัชร์ ธรลภัสวราพงศ์ (กระต) โทร 09 5269 5397 หรือ 02 564 7000 ต่อ  5015    
ปฏิทินกิจกรรม
 
สวทช. ร่วมกับ ม.วลัยลักษณ์ เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงานประชุมโต๊ะกลม “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity” แบบออนไลน์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานด้าน Research Integrity
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดงานประชุมโต๊ะกลม “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity” เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานด้าน Research Integrity ในหน่วยงาน หรือผู้รับผิดชอบที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงกันของแต่ละสถาบัน เพื่อวางกลไกการป้องกันการประพฤติมิชอบทางการวิจัยของประชาคมวิจัยให้กับประเทศ และทิศทางการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต วันเวลา : วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม Cisco Webex โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิให้เกียรติเข้าร่วมเสวนา ดังนี้ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ.พญ.วีระนุช นิสภาธร สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รศ.ดร.เดวิด เจมส์ ฮาร์ดิง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   ลงทะเบียนเข้าร่วมทาง online ได้ที่ : https://forms.gle/uwp4iEvnuG87ShXf9   สอบถามเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สวทช. โทรศัพท์ 02 5647000 ต่อ 71844 (คุณณัฐพัชร์) E-mail : ori@nstda.or.th  
ปฏิทินกิจกรรม
 
JAXA เลือก 2 ไอเดีย ของเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ แจ็กซา (JAXA) ประเทศญี่ปุ่น ประกาศผลการจัดแข่งขันโครงการ “Asian Try Zero-G 2022” โดย JAXA เลือกข้อเสนอแนวคิดการทดลองของเยาวชนไทย จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ การทดลองเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมของก้อนน้ำทรงกลมเมื่อถูกแรงกระทำในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (Water sphere disturbance in zero gravity) เสนอโดย นางสาวจิณณะ วัยวัฒนะ (พรีม) นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และการทดลองเรื่อง การศึกษาระดับน้ำที่สูงขึ้นจากแรงดึงของผิวภาชนะในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (Study of the height of water which is risen up in microgravity) เสนอโดย นางสาวอินทิราภรณ์ เชาว์ดี (ปาย) บัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อนำไปทดลองจริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยนักบินอวกาศญี่ปุ่น นายโคอิจิ วะกาตะ ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้   [caption id="attachment_32924" align="aligncenter" width="500"] กุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช.[/caption]   นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “สวทช. ร่วมกับ JAXA ดำเนินโครงการ Asian Try Zero-G 2022 เชิญชวนเหล่าเยาวชนไทยส่งแนวคิดการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำร่วมกับเยาวชนจากประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชีย โดยเปิดรับสมัครแบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี มีผู้ส่งใบสมัคร จำนวน 154 เรื่อง ประกอบด้วยเยาวชน 378 คน และรุ่นอายุไม่เกิน 27 ปี มีผู้ส่งใบสมัคร จำนวน 18 เรื่อง ผู้สมัคร 51 คน รวมจำนวนใบสมัครทั้งสิ้น 172 เรื่อง และมีเยาวชนไทยเข้าร่วมโครงการจำนวน 429 คน ซึ่งเป็นจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “คณะกรรมการ สวทช. ได้คัดเลือกแนวคิดการทดลองของเยาวชนไทยจำนวน 6 เรื่อง แบ่งเป็นรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 3 เรื่อง และรุ่นอายุไม่เกิน 27 ปี จำนวน 3 เรื่อง เพื่อส่งเข้าแข่งขันกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยทาง JAXA ได้เลือกข้อเสนอการทดลองจาก 5 ประเทศ จำนวน 6 เรื่อง ซึ่งในจำนวนนั้นเป็นการทดลองของเยาวชนไทยถึง 2 เรื่อง เพื่อนำไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยนายโคอิจิ วะกาตะ (Koichi Wakata) นักบินอวกาศญี่ปุ่น ในห้องทดลอง Kibo Module ของ JAXA สำหรับการทดลองอีก 4 เรื่องเป็นของญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน ประเทศละ 1 เรื่อง”     นางกุลประภา กล่าวว่า “สำหรับแนวคิดการทดลองทั้ง 2 เรื่อง ที่ได้รับการคัดเลือกประกอบด้วย ไอเดียการทดลองของ นางสาวจิณณะ วัยวัฒนะ (พรีม) นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เรื่องการศึกษาพฤติกรรมของก้อนน้ำทรงกลมเมื่อถูกแรงกระทำในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (Water sphere disturbance in zero gravity) มีไอเดียการทดลองว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าน้ำถูกแรงจากภายนอกกระทำ ซึ่งการทดลองแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาพฤติกรรมของน้ำเมื่อได้รับแรงดลจากการชนของลูกบอลที่มีมวลแตกต่างกัน คือบอลไม้และบอลเหล็ก โดยการออกแรงผลักลูกบอลให้เคลื่อนที่มาชนกัน และส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาการหมุนของลูกข่างกระดกบนผิวน้ำ ซึ่งลูกข่างกระดกเป็นลูกข่างที่ออกแบบให้จุดศูนย์กลางทางเรขาคณิตอยู่คนละจุดกับจุดศูนย์กลางมวลทำให้เมื่อหมุนไปสักระยะลูกข่างจะสามารถพลิกกลับด้านได้ จึงอยากรู้ว่าในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงผลจะเป็นอย่างไร”   [caption id="attachment_34074" align="aligncenter" width="600"] นางสาวจิณณะ วัยวัฒนะ (พรีม) นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์[/caption]   “ไอเดียการทดลองที่ 2 ของนางสาวอินทิราภรณ์ เชาว์ดี (ปาย) บัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องการศึกษาระดับน้ำที่สูงขึ้นจากแรงดึงของผิวภาชนะในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (Study of the height of water which is risen up in microgravity) เป็นการทดลองที่เกิดจากความสนใจเกี่ยวกับการขนส่งของเหลวผ่านท่อในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง โดยตั้งสมมติฐานว่าเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำ เช่น ในระดับความสูงของสถานีอวกาศนานาชาติ จะส่งผลให้ของเหลวที่อยู่ในท่อสามารถขึ้นไปในระดับที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับระดับความสูงของของเหลวที่ทำการทดลองบนพื้นโลกอยู่ 1.11 เท่า นอกจากนี้ยังมีการทดลองเปรียบเทียบขนาดรัศมีของท่อที่แตกต่างกันด้วยว่าจะส่งผลให้ระดับความสูงของของเหลวขึ้นไปตามท่อได้แตกต่างกันหรือไม่”   [caption id="attachment_34077" align="aligncenter" width="450"] นางสาวอินทิราภรณ์ เชาว์ดี (ปาย) บัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[/caption]   ทั้งนี้เยาวชนเจ้าของการทดลองจะมีโอกาสสื่อสารกับนักบินอวกาศแบบเรียลไทม์และรับชมถ่ายทอดสดการทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติจากศูนย์อวกาศสึกุบะ (Tsukuba Space Center) ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนธันวาคมนี้ สามารถติดตามการทดลองโครงการ Asian Try Zero-G 2022 ได้ที่เพจ NSTDA Space Education Facebook: https://www.facebook.com/NSTDASpaceEducation
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ
 
เปิดตัว! 9 Deep-tech Startup ต่อยอดงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่
สวทช. ขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ แถลงเปิดตัว 9 บริษัทดีปเทคสตาร์ตอัป ซึ่งเป็นบุคลากรวิจัยของ สวทช. ที่นำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีเชิงลึกของตนเองไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์เป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ ภายใต้กลไกการส่งเสริมและผลักดันของ สวทช. หรือ NSTDA Startup โดยทั้ง 9 บริษัทดีปเทคสตาร์ตอัป ต่างมองว่าเป็นโอกาสและเป็นความท้าทายครั้งใหม่ที่จะได้นำผลงานวิจัยของตนเองไปใช้ประโยชน์และต่อยอดในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง.
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
ชาวไร่อ้อยเฮ! ดีพร้อม นำทีมผลักดันงานวิจัยสมาร์ทฟาร์มสู่ไร่อ้อย ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อัปเกรดเกษตรอุตสาหกรรม
For English-version news, please visit : Field Practice Solutions unveiled to support precision farming in sugarcane production (เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565) ที่ห้องประชุมออดิทอเรียม (Auditorium) อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ไร่สาธิตคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในฐานะประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ในแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ นำทีมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ผนึกกำลังทีมนักวิจัยไทยแก้ปัญหาชาวไร่อ้อย ผ่านแพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้กับชาวไร่อ้อยและกลุ่มอุตสาหกรรมไร่อ้อย เพื่อลดปัญหาคุณภาพของอ้อยต่ำกว่าเกณฑ์และมีความหวานไม่คงที่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อตันน้ำตาลสูงขึ้น ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตน้ำตาล หรือพลังงานชีวมวลจากการใช้งานระบบได้มากกว่าร้อยละ 20 คิดเป็น ประมาณ 50 ล้านบาทต่อปีต่อโรงงาน ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้ตนเป็นประธาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ในแผนงานวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และแผนงานระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ รวมถึงนโยบายของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่เป็นกลไกหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงปัจจุบันพบว่าชาวไร่อ้อยกำลังเผชิญกับปัญหาไม่สามารถควบคุมคุณภาพรวมถึงปริมาณการเก็บเกี่ยวได้ ประกอบกับปัญหาคุณภาพของอ้อยต่ำกว่าเกณฑ์และมีความหวานไม่คงที่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อตันน้ำตาลสูงขึ้น ซึ่งทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลลดลง ดังนั้นการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีบทบาท ในการพัฒนาการเกษตรของไทยให้เป็น Smart Farmer รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อใช้ในการกำหนดรูปแบบแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ให้แก่ผลผลิตการเกษตร โดยการนำใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมา    ช่วยแก้ปัญหาการทำเกษตรอย่างถูกต้อง ตลอดจนการจัดการแบบเกษตรแม่นยำ ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทั้งในด้านวัตถุดิบและเวลาให้กับชาวไร่อ้อยได้นั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) จึงได้นำนโยบาย DIPROM CARE มาประยุกต์ใช้ผ่านการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมมาเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทั้งในด้านวัตถุดิบและเวลาให้กับภาคการเกษตร รวมถึงการบูรณาการระหว่างพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยสามารถวิจัยแพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ได้สำเร็จ อาทิ ระบบประมวลผลเพื่อสร้างแผนที่ผลผลิตและแผนที่การระบาดของโรคพืชจากภาพถ่ายทางอากาศ ระบบประมวลผลเพื่อสร้างฐานข้อมูลในระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) จากแผนที่ผลผลิต ระบบผสมสารและบรรจุลงถังบรรจุอัตโนมัติสำหรับโดรน ระบบฉีดพ่นสาร แบบแปรผันอัตโนมัติติดตั้งบนโดรนชุด Mobile-KIT และ Mobile Application สำหรับระบุพิกัดแปลงและติดตามกิจกรรมในแปลง และระบบ AI สำหรับเสนอแนะแผนการทำงาน บันทึกและแสดงผลการทำงานของเครื่องจักรเกษตร และแนะนำการให้ปุ๋ยแบบแม่นยำสูงรายแปลงอัตโนมัติซึ่งระบบจะช่วยเรื่องการตัดสินใจในงานบำรุงรักษา เก็บเกี่ยว และเชื่อมโยงกับระบบตรวจวัด รวมทั้งมีระบบที่จะสามารถรองรับคำสั่งเพื่อให้เกิดการปรับการปฏิบัติงานในฟาร์มไปตามแผนงานใหม่ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบแปลงการปลูก การบำรุงรักษาและอารักขาพืช การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง และสามารถปรับรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้บริการแต่ละราย หรือพืชแต่ละชนิด ซึ่งช่วยลดการสูญเสียในด้านคุณภาพของผลผลิต ลดเวลารอคอยที่ไม่เกิดงานและเพิ่มความสามารถของเครื่องจักรได้ เช่น กรณีอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย จะช่วยให้สามารถลดต้นทุนการผลิตน้ำตาลหรือพลังงานชีวมวลได้มากกว่าร้อยละ 20 คิดเป็น ประมาณ 50 ล้านบาทต่อปีต่อโรงงาน ซึ่งสามารถกำหนดตารางการเก็บเกี่ยวอ้อยขณะที่อ้อยแต่ละแปลงมีน้ำหนักและความหวานสูงสุด สามารถใช้งานเครื่องจักรเก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้สามารถลดจำนวนเครื่องจักรและลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และจัดการให้มีวัตถุดิบอ้อยเข้าโรงงานที่มีคุณภาพและมีปริมาณเต็มศักยภาพการผลิตของโรงงานในแต่ละวัน ลดการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย รวมทั้งสามารถลดจำนวนวันที่เปิดหีบ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำตาลต่อตันได้ รศ. ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัย  หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวเสริมว่า “โครงการนี้นับเป็นตัวอย่างความสำเร็จจากความร่วมมือของคณะวิจัยจากสถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชนในการต่อยอดงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง ภายใต้แผนงาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ โดยมี สวทช.เป็นหน่วยงานบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ หรือ ODU ช่วยกำกับดูแล และสามารถผลักดันผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อภาคเกษตรอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำการส่งออกระดับโลก การทำงานในพื้นที่เพาะปลูกด้วยเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ และการบริหารจัดการไร่อ้อยแบบอัตโนมัติด้วยระบบแนะนำแผนการทำงานเพื่อการตัดสินใจ ผ่านแพลตฟอร์มบริการ FPS (Field Practice Solutions) ของโครงการ จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรพืชไร่ และเพิ่มระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มโรงงานแปรรูปในห่วงโซ่อุปทานด้านอุตสาหกรรมเกษตรด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่โครงการได้พัฒนาขึ้น” รศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า “เกษตรกรที่ปลูกอ้อยนั้นทราบถึงปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตและอยากลดรายจ่ายส่วนนี้ แต่ปัญหาที่ผ่านมายังไม่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใด ๆ ที่เข้ามาช่วยเกษตรกรประเมินความเสี่ยงในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในไร่อ้อยได้อย่างแม่นยำ ตนเองจึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาระบบวิเคราะห์และแปลผลภาพถ่ายทางอากาศที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน เพื่อนำข้อมูลที่จำเป็นไปสู่ขั้นตอนของการวิเคราะห์ และวางแผนการผลิต เพื่อลดความเสี่ยงในการจัดการไร่อ้อยของเกษตรกรหรือผู้ประกอบการ” ทางทีมวิจัยจึงร่วมมือกับบริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบ Artificial Intelligence (AI) และ บริษัท โกลบอล ครอปส์ จำกัด โดยการนำโดรนมาใช้ในการสำรวจ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาให้ตรงจุด ตามหลักการ “เกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture)” ด้าน ดร.มหิศร ว่องผาติ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด กล่าวเสริมว่า จากผลสำเร็จดังกล่าว ส่งผลให้มีการขยายผลไปสู่เชิงพาณิชย์บ้างแล้ว โดยปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาลหลายแห่งสนใจจะจ่ายค่า Service ให้ทีมไปทดลองทำตั้งแต่ปีแรกของโครงการ ส่วนในปีที่สอง จะเน้นไปที่การควบคุมต้นทุนในการผลิตและการจัดการแปลง เช่น การให้ปุ๋ยหรือยาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการจัดการเฉพาะจุด ส่วนปีสุดท้ายจะเป็นการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ให้เกิดเป็นข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจวางแผนระยะยาว รวมถึงให้ข้อมูลว่าแต่ละวิธีหรือแต่ละทางออก มีต้นทุน มีความเสี่ยงเท่าไหร่ เพื่อให้เกษตรกรหรือโรงงานตัดสินใจต่อไป
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. นำทัพนักวิจัยหญิงและผลงานวิจัยร่วมงานประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2565 (GSW 2022) แสดงศักยภาพ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างความสัมพันธ์และเครือข่าย หนุนการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ
(23 มิถุนายน 2565) ณ กรุงเทพฯ : ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำทัพนักวิจัยหญิง และผลงานวิจัยของ สวทช. เข้าร่วมงานการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2565 (Global Summit of Women 2022 : GSW2022) ครั้งที่ 31 จัดขึ้นในวันที่ 23-25 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ภายใต้หัวข้อหลัก “Women: Creating Opportunities in the New Reality” โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการเปิดงาน ซึ่งงานนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คนจากกว่า 50 ประเทศ การประชุมดังกล่าวจะเป็นการประชุมระดับนานาชาติขนาดใหญ่ครั้งแรกที่จัดขึ้นแบบพบปะ (face-to-face) ในรอบ 2 ปี ผู้เข้าร่วมงานจะได้พบปะแลกเปลี่ยนและกระทบไหล่กับ CEO จากทุกแวดวงทั่วโลก เป็นโอกาสได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำธุรกิจ การทำงาน การทำวิจัย การแก้ปัญหาเพื่อก้าวข้ามวิกฤต การสร้างทีม การสร้างแรงบันดาลใจ ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “งาน Global Summit of Women 2022  จัดขึ้นในรูปแบบ Carbon Neutrality หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน นั่นคือ ปริมาณการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ต้องเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนผ่านป่าหรือวิธีการอื่น ๆ ซึ่งทางผู้จัดงานได้รังสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดการปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด และจะได้รับคาร์บอนเครดิตจากสปอนเซอร์ (บริษัท มิตรผล จำกัด) มาใส่กลับคืนให้การจัดงานนี้มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่สอดรับกับวาระแห่งชาติโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย ที่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด รวมไปถึงการพัฒนาควบคู่กับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน สำหรับในงานนี้ สวทช. ได้นำทัพนักวิจัยหญิงมาร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำธุรกิจ การทำงาน การทำวิจัย การแก้ปัญหาเพื่อก้าวข้ามวิกฤต การสร้างทีม การสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์และเครือข่าย เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้นำผลงานวิจัยของ นาโนเทค-สวทช. และบริษัทที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. นำมาร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ณ บูท B5 ซึ่งประกอบด้วย อนุภาคนาโนสารสกัดใบหมี่และบัวบก สำหรับผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม (Litzella: Litzea glutinosa and Centella asiatica nanoparticle for haircare products), เซนเทลล่า มอยซ์เจอร์ไรซิ่ง เฟเชียล เซรั่ม (Centella Moisturizing Facial Serum), เซนเทลล่า แฮนด์ ครีม (Centella Hand cream), เอมบลิก้า เฟเชียล เซรั่ม (EmbLIca Facial serum), เอมบลิก้า แฮนด์ ครีม (EmbLIca Hand cream), เอมบลิก้า ไฮโดร ลิฟติ้ง สลิฟปิ้ง มาร์ก (Emblica Hydro Lifting SLEEPING mask), เซนเทลล่า ไฮโดร ลิฟติ้ง สลิฟปิ้ง มาร์ก (Centella Hydro Lifting Sleeping Mask), เซนเทลล่า ฟุต ครีม (Centella Foot Cream) และเฮิร์บล็อค เอ็มบลิก้า เอ็นแคปซูเลชั่น แอนไท-เอจจิ้ง เฟเชียล เซรั่ม (HERBLOC Emblica Encapsulation Anti-Aging Facial Serum) ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากนักวิจัยหญิงไทยต่อผู้นำสตรีจากทั่วโลก ถึงศักยภาพนักวิจัยหญิงไทย” ดร.จุฬารัตน์ กล่าวเสริม ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการ สวทช. ยังได้นำต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าจำนวน 7 คันเข้าร่วมต้อนรับคณะผู้นำสตรีโลก อาทิ ผลงานรถโดยสารไฟฟ้า 12 เมตร จำนวน 4 คันซึ่งพัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือ (Consortium) ภาคีเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมรถโดยสารไฟฟ้าไทยที่ดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สวทช. หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ รวมถึง ภาคเอกชน ได้แก่ กลุ่มบริษัทโชคนำชัย บริษัท รถไฟฟ้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท พานทองกลการ จำกัด บริษัท สบายมอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด และ บริษัท เบต้า เอ็นเนอร์ยี้ โซลูชั่น จำกัด และ รถโดยสารไฟฟ้า 7 เมตร จำนวน 3 คันของ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด ที่พัฒนาขึ้นจากบริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด ร่วมกับ สวทช. ไปใช้ในการรับ-ส่งผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย ซึ่งถือเป็นการแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในด้านยานยนต์ไฟฟ้าและเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่มีความสามารถไม่แพ้ชาติอื่น
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. ผนึก มทร.อีสาน พัฒนา-ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ พลิกทุ่งกุลาให้ “ยิ้มได้”
For English-version news, please visit : Training Hub launched in Roi Et to improve quality of life of villagers in Thung Kula Ronghai กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้” ใช้กลไก Training Hub สถานีกระจายความรู้สร้างทักษะให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้นแบบขยายผลการใช้เทคโนโลยีให้ครอบคลุมพื้นที่เขตทุ่งกุลาร้องไห้ สอดคล้องพันธกิจจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งเป้ายกระดับรายได้เกษตรกรก้าวพ้นขีดความยากจน ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งให้ประชาชนอยู่ดีกินดี นายเชวงศักดิ์ พลเยี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประวัติศาสตร์ ประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มุ่งเน้นพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานแหล่งผลิต สร้างมูลค่าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง และเป็นเมืองน่าเที่ยว น่าอยู่ การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในบันทึกข้อตกลงนี้สอดคล้องกับพันธกิจของจังหวัดทั้ง 3 ประการ คือ 1) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในนวัตกรรมเพิ่มศักยภาพในการบริหารทรัพยากรและสินค้าเกษตรให้เป็นเกษตรที่ปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย 2) พัฒนาให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน เชื่อมโยงการบริการ สินค้าผลิตในชุมชน รวมทั้งวัฒนธรรม ค่านิยมประเพณีอันดีงาม สามารถผสมผสานกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมใหม่ได้อย่างกลมกลืน และ 3) พัฒนาคนให้มีคุณภาพ สร้างโครงสร้าง สร้างอาชีพ รายได้ ให้ภาคประชาสังคม และส่งเสริมให้ดำเนินการชีวิตตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ "การสร้างสถานีเรียนรู้ หรือ Training Hub เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่สู่ชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ โดยนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากทั้ง 2 หน่วยงาน รวมทั้งหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่สู่ชุมชนในพื้นที่ เกษตรกร เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ตอบโจทย์การพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดให้ชุมชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มรายได้และยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ การลงนาม MOU ในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เห็นว่าจังหวัดร้อยเอ็ดมีสถานีเรียนรู้ที่จะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ทั้งเกษตรกร คนในชุมชน เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้สนใจทั่วไป ได้เข้ามาเรียนรู้หลักสูตรที่ตอบโจทย์การพัฒนาจังหวัดไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าว พืชหลังนา สมุนไพร โคเนื้อและการบริหารจัดการน้ำ จนสามารถนำเอาองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพัฒนาและยกระดับประสิทธิภาพการผลิตให้ได้มาตรฐาน โดยจังหวัดยินดีที่จะสนับสนุนกิจกรรมและร่วมดำเนินงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างต้นแบบการพัฒนาท้องถิ่นที่จะขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ของจังหวัด ต่อไป" รองผู้ว่าฯ กล่าว นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่ 2.1 ล้านไร่ ครอบคลุม 13 อำเภอ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และยโสธร ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดมีถึง 5 อำเภอที่อยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาฯ สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญจากทั้งสองหน่วยงานเข้าไปแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ตั้งแต่ปี 2561 ยกระดับกลุ่มเกษตรกร 2,000 คน ในพื้นที่อำเภอ อ.สุวรรณภูมิ อ.เกษตรวิสัย และอ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด ประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและบริบทของพื้นที่ ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ การจัดการแปลง ไปจนถึงการแปรรูปข้าว เพิ่มผลผลิตข้าวได้เป็น 450 กก./ไร่ การปลูกพืชหลังนาบำรุงดิน และการผลิตผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือน สร้างรายได้เสริมเฉลี่ย 2,000 บาทต่อปี และสร้างการเรียนรู้สมาร์ทเทคโนโลยีระบบโซล่าร์เซลล์ เพื่อให้เกษตรกรบริหารจัดการน้ำบนดินและน้ำใต้ดินสำหรับใช้ในภาคการเกษตรได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น “ผลจากการร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างหน่วยงาน สวทช. ได้ต่อยอดความร่วมมือกับ มทร. อีสาน ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน” โดยจะร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สาธิต และทดสอบเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้จากทั้งสองหน่วยงานและเครือข่ายพันธมิตร นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรที่รองรับการเรียนรู้ในระดับภาคสนาม และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชนโดยเน้นการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนสร้างกลไกการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ในพื้นที่ให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้ และสามารถขยายผลองค์ความรู้ให้เครือข่ายกลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้สนใจทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ให้เกิดการพัฒนาบุคลากรร่วมกันของทั้งสองหน่วยงาน ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และในจังหวัดใกล้เคียง ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 38,000 บาท/คน/ปี ช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG” รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าว รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.) กล่าวว่า นอกจากการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพให้ประเทศแล้ว การพัฒนางานวิจัยและการใช้นวัตกรรมบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม เป็นอีกภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด มทร. มีวิทยาเขตร้อยเอ็ด ที่เข้าถึง เข้าใจและทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรในพื้นที่ โดยได้บูรณาการความรู้และความร่วมมือกับ สวทช. ตลอดจนภาคีเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปลี่ยนชีวิตชาวทุ่งกุลาร้องไห้ให้เป็นทุ่งกุลายิ้มได้ “ความร่วมมือกับ สวทช. ในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาสถานีเรียนรู้ (Training Hub) ที่จะเป็นกลไกสำคัญให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ซึ่งสถานีเรียนรู้จะอยู่ทั้งในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ และพื้นที่ของเกษตรกร รวม 7 สถานีหลัก ครอบคลุมทั้งเรื่องการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง การบริหารจัดการน้ำและระบบชลประทานเพื่อการเกษตร การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรประณีตเชื่อมโยงการท่องเที่ยว การผลิตโคเนื้อคุณภาพสูง การผลิตพืชหลังนา โคกหนองนา และการผลิตสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งสถานีเรียนรู้นี้จะเป็นทั้งจุดเรียนรู้ สาธิต และทดสอบเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เป็นสถานีถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรแกนนำ เจ้าหน้าที่ รวมถึงประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นต้นแบบขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ภายใต้การดำเนินงานสถานีเรียนรู้จะมีหลักสูตรการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ช่วยพัฒนาและยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับการเติมเต็มทั้งความรู้วิชาการและการลงมือปฏิบัติ โดยมีคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญจาก สวทช. ร่วมให้ความรู้และคำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดการยกระดับภาคการเกษตรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ทั้งระบบสู่การทำเกษตรสมัยใหม่หรือเกษตร 4.0 ได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญคือเปลี่ยนคุณภาพชีวิตและรายได้ที่ดีขึ้นให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกลาร้องไห้ได้มีรอยยิ้มอย่างแท้จริง” อธิการบดี มทร. กล่าว # # # สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1732 เกี่ยวกับ สท. สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นหน่วยงานภายใต้ สวทช. ที่มีภารกิจเร่งรัดให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่การใช้งานจริงในภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่า/รายได้ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรและชุมชน สร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรและชุมชน ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือจากภาคการผลิตสู่ภาคการตลาด
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
อนุรักษ์ ‘พันธุ์ฟักทองไข่เน่า’ พืชอัตลักษณ์เมืองน่าน
  “ไข่เน่า คือ ชื่อฟักทองพันธุ์ท้องถิ่นที่คนน่านปลูกกันรุ่นต่อรุ่นนานกว่า 3 ช่วงอายุคน ชื่อ ‘ไข่เน่า’ มีที่มาจาก ‘สีเขียวขี้ม้าแลคล้ายไข่เน่า’ ของเนื้อฟักทอง แม้สีไม่สวยแต่อร่อยกินได้ไม่มีเบื่อ เพราะเนื้อทั้งเหนียว หนึบ และหวานมันกำลังดี” ...คำบอกเล่าของ ฑิฆัมพร กองสอน ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ที่กล่าวถึงลักษณะเด่นของฟักทองพันธุ์พื้นเมืองน่านที่ได้รับการอนุรักษ์ไม่ให้สูญหาย และกำลังจะเป็นผลผลิตสำคัญที่สร้างรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้แก่ชุมชน ในงานเสวนา “ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า ความยั่งยืนทางพันธุกรรมของชุมชน” ภายใต้การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC 2022)     [caption id="attachment_33967" align="aligncenter" width="600"] ฑิฆัมพร กองสอน ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน[/caption]   ฑิฆัมพร กองสอน เล่าย้อนว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ชาวตำบลบัวใหญ่ จังหวัดน่าน มีแผนฟื้นฟูป่าน่านที่ขึ้นชื่อว่าเขาหัวโล้นให้กลับมาเขียวขจีอีกครั้ง เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำที่ปลอดภัยให้คนในประเทศ รวมถึงปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรจากเคมีสู่อินทรีย์ โดยมีโจทย์สำคัญว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ชาวบ้านจะต้องสร้างรายได้มากพอที่จะเลี้ยงปากท้อง สามารถชำระหนี้ธนาคาร และหากเป็นไปได้ควรมีรายได้ทุกวัน ทุกเดือน และทุกปี เพื่อให้ทำเกษตรอินทรีย์ต่อไปได้อย่างยั่งยืน โจทย์ใหญ่อันแสนท้าทายได้ผลักดันให้พวกเขาเริ่มหันมาทำเกษตรอินทรีย์ และยกระดับการทำงานไปสู่ระดับจังหวัด จนเกิดเป็น “เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์น่าน” ในปี 2559  ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 39 วิสาหกิจ จาก 27 ตำบล ใน 12 อำเภอของจังหวัดน่าน โดยตั้งธงร่วมกันปลูก “ฟักทองอินทรีย์” ให้เป็นพืชเศรษฐกิจอัตลักษณ์จังหวัดน่าน ภายใต้ความร่วมมือกับบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล-ประเทศไทย (WWF ประเทศไทย) และหน่วยงานพันธมิตร ฑิฆัมพร เล่าว่า พืชเศรษฐกิจของจังหวัดน่านที่ตอบโจทย์การสร้างรายได้มากที่สุดคือ ‘ฟักทอง’ เพราะคนน่านมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปลูกฟักทองพันธุ์การค้าเป็นทุนเดิม โดยสายพันธุ์ที่เหมาะต่อการนำมายกระดับมากที่สุดคือ ‘พันธุ์ไข่เน่า’ เพราะเป็นพันธุ์ท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และคนน่านนิยมรับประทาน รวมถึงผู้ประกอบการอย่างบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ก็ยอมรับในเรื่องรสชาติ พร้อมรับจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต และยังพร้อมช่วยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ฟักทองไข่เน่าด้วย   เตรียมความพร้อมให้ ‘ไข่เน่า’           แม้ฟักทองพันธุ์ไข่เน่าจะขึ้นชื่อเรื่องรสชาติว่าไม่สองเป็นรองพันธุ์ไหน ทำให้มีชัยเรื่องการตลาด แต่ปัญหาสำคัญคือฟักทองไข่เน่าพันธุ์แท้เริ่มสูญหายและกลายพันธุ์มากขึ้น การปลูกให้ได้ผลผลิตที่มีลักษณะและรสชาติที่คงที่จึงเริ่มทำได้ยาก ไม่ต่างจาก ‘การเสี่ยงดวง’ ดังนั้นสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. จึงได้เข้ามาทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อยกระดับการผลิตฟักทองพันธุ์ไข่เน่าให้มีคุณภาพดี ได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอ   [caption id="attachment_33968" align="aligncenter" width="600"] ณัฐวุฒิ ดำริห์ นักวิชาการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช.[/caption]               ณัฐวุฒิ ดำริห์ นักวิชาการจาก สท. ของ สวทช. เล่าว่า ฟักทองเป็นพืชผสมข้ามสายพันธุ์ตามธรรมชาติ การปลูกให้ได้ผลผลิตคงที่ เกษตรกรต้องมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมการผลิตตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ โดย สท. ได้รับการประสานจากบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ให้เข้ามาช่วยเหลือในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ทีมจึงได้ร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ทำวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้เทคโนโลยีการคัดเลือกและเก็บเมล็ดพันธุ์ การปลูก บริหารจัดการแปลง และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแก่เกษตรกรในจังหวัด   [caption id="attachment_33959" align="aligncenter" width="600"] ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า[/caption]   [caption id="attachment_33966" align="aligncenter" width="600"] ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า[/caption]   ผลผลิตที่ดีต้องเริ่มต้นมาจากสายพันธุ์ที่ดี  รศ. ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี อาจารย์จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ร่วมกับตัวแทนเกษตรกรจากวิสาหกิจชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องรวมกว่า 50 คน คัดเลือกสายพันธุ์ฟักทองไข่เน่า โดยนำฟักทองพันธุ์ไข่เน่าที่มีลักษณะแตกต่างกันจำนวน 19 ผล มาผ่าดูลักษณะเนื้อ นึ่ง และชิม พร้อมลงคะแนนคัดเลือกฟักทองที่มีลักษณะและรสชาติตรงตามพันธุ์ที่สุดเพื่อใช้เป็นแม่พันธุ์สำหรับพัฒนาสายพันธุ์ต่อไป   [caption id="attachment_33969" align="aligncenter" width="450"] รศ. ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี อาจารย์จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[/caption]   รศ. ดร.จานุลักษณ์ เล่าว่า ปัจจุบันฟักทองพันธุ์ไข่เน่ามีความกลายพันธุ์สูง จึงต้องมีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะพันธุ์ที่แน่ชัดก่อนนำมาวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ แล้วดำเนินการถ่ายทอดกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้อาสาสมัครของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยถ่ายทอดตั้งแต่วิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไปจนถึงการบริหารจัดการแปลงเพื่อให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี ร่นระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวจาก 150 วัน เหลือ 85-90 วัน ปลูกได้ 3 ฤดูกาลต่อปี ให้ผลผลิตมากว่าพันธุ์อื่นๆ ที่ปลูกอยู่เดิมร้อยละ 20-40 ปัจจุบันมีการทดลองปลูกและเก็บเกี่ยวไปแล้วมากกว่า 4 รอบ     “การทำวิจัยลักษณะของฟักทองพันธุ์ไข่เน่าไม่เพียงสำคัญต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ทางการค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น เพื่อสงวนสิทธิ์การปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย ผลิตและจำหน่าย รวมถึงการส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสิทธิ์ขาดในการยกระดับกระบวนการพัฒนาผลผลิตและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นสมบัติของคนในจังหวัดน่านเท่านั้นด้วย ผลของสิทธิ์ขาดนี้จะนำไปสู่การสร้างรายได้และการอนุรักษ์สายพันธุ์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนขอยื่นจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นแล้ว และจะมีการยื่นจดทะเบียนคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ต่อไปในอนาคต” รศ. ดร.จานุลักษณ์ เสริม       ‘ไข่เน่า’ ลงเขาเข้าห้างแล้ว ทุกวันนี้ฟักทองพันธุ์ไข่เน่าไม่ได้เป็นของดีที่หารับประทานได้เฉพาะในเมืองน่าน เพราะปัจจุบันมีการขนส่งฟักทองพันธุ์ไข่เน่าคุณภาพกว่า 2.5 ตันต่อไร่ จากเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนฯ มาจำหน่ายในตลาดและห้างสรรพสินค้าชั้นนำของประเทศแล้ว นอกจากนี้เกษตรกรยังได้นำงานวิจัยมาแปรรูปผลผลิตฟักทองที่ไม่ผ่านเกณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์อย่างครบวบงจร ฑิฆัมพร เล่าว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่านเริ่มจัดส่งผลฟักทองสดไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำอย่างท็อปซูเปอร์มาร์เก็ตและตลาดจริงใจแล้ว โดยผลผลิตที่ไม่ตรงตามมาตรฐานการจำหน่ายผลสด เช่น มีรูปทรงที่ไม่สวยงามหรือมีขนาดไม่ตรงตามกำหนดจะนำมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการแปรรูปจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และได้รับการสนับสนุนงบประมาณการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการจัดตั้งโรงงานแปรรูปที่ได้มาตรฐานจากบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด     “เนื้อฟักทองจะนำไปแปรรูปเป็นฟักทองผง ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ และต่อยอดเป็นอาหารสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีข้าวเกรียบฟักทอง แยมฟักทอง เส้นขนมจีนฟักทอง และน้ำมันเมล็ดฟักทอง ส่วนเศษที่เหลือจากการแปรรูปเกษตรกรจะนำไปหมักด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์เป็นฟักทองหมักสำหรับผสมในอาหารไก่ เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารบำรุง และช่วยให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงออกไข่ครบทุกตัว”     ปัจจุบันผลิตภัณฑ์แปรรูปจากฟักทองพันธุ์ไข่เน่าบางผลิตภัณฑ์ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว และจะนำเข้าจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่อไป ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์แปรรูปจากฟักทองพันธุ์ไข่เน่าสามารถติดตามได้ที่ Facebook ‘มะน้ำแก้ว by แม่ฑิ ผลิตภัณฑ์แปรรูปฟักทองอินทรีย์’ “ผลจากการร่วมศึกษา วิจัย และพัฒนา เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ฟักทองพันธุ์ไข่เน่าตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำอย่างเข้มแข็ง เริ่มส่งผลให้เกษตรกรในเครือข่ายมีรายได้ที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว และยังส่งผลให้พื้นที่ป่าต้นน้ำของจังหวัดน่านได้รับการเยียวยาฟื้นคืนสู่พื้นที่สีเขียวอีกครั้งด้วย” ฑิฆัมพร กล่าวทิ้งท้ายอย่างภูมิใจในฐานะผู้นำการยกระดับการทำเกษตรอินทรีย์และผู้แทนเกษตรกรเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน     จากความร่วมมืออย่างเข้มแข็งของทุกภาคส่วนนำมาซึ่งการอนุรักษ์และสร้างมูลเพิ่มให้ฟักทองพันธุ์ไข่เน่าแบบครบวงจรอย่างยั่งยืน ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างสำคัญของการนำโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาใช้พัฒนาการทำเกษตรตั้งแต่ฐานรากให้เข้มแข็ง เป็น Impact Value Chain ที่เป็นต้นแบบการยกระดับการทำเกษตรแก่ชุมชนในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทยได้     เรียบเรียงโดย : ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์คโดย : ภัทรา สัปปินันทน์ ภาพประกอบโดย : ฝ่ายจัดการความรู้และสร้างความตระหนัก สวทช.
BCG
 
ข่าว
 
บทความ
 
ผลงานวิจัยเด่น
 
สวทช. ขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ “9 ดีปเทคสตาร์ตอัป”
For English-version news, please visit : NSTDA startup companies unveiled, bringing innovative solutions to market ‘กระจกตาชีวภาพ’ แบบใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอผู้บริจาคออกแบบให้เหมาะกับค่าสายตาคนไข้ ‘เข็มขนาดไมโคร’ ในรูปแบบแผ่นแปะช่วยส่งสารสำคัญผ่านผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างจาก ‘นาสท์ด้า สตาร์ตอัป’ NSTDA Startup เพื่อขยายงานวิจัยจากหิ้ง สู่โมเดลธุรกิจใหม่ 22 มิถุนายน 2565 ณ ห้องแถลงข่าว อว. ชั้น 1 ถ.พระรามที่ 6 กทม. : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. ร่วมงานแถลงข่าว สวทช. ขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ “9 ดีปเทคสตาร์ตอัป” พร้อมเปิดตัว 9 NSTDA Startup : Deep-tech Startup เพื่อขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและยกระดับเศรษฐกิจด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในด้านการวิจัยและพัฒนาที่สร้างคุณค่าและต่อยอดให้กับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) และให้ความสำคัญในการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เสริมศักยภาพและยกระดับผู้ประกอบการนักลงทุน รวมถึงสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในการขับเคลื่อนและต่อยอดผลงาน วทน. จากหิ้งสู่ห้างเพื่อเชื่อมโยงให้เอกชนเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้การวิจัยและพัฒนาที่รับโจทย์เพื่อทำวิจัยแล้วถ่ายทอดสิทธิ (Licensing) แบบเดิม อาจไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เนื่องจากเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลและส่งผลกระทบต่อหลายสาขาอาชีพมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการส่งผ่านงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ ในรูปแบบธุรกิจใหม่ สวทช. จึง ขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ ภายใต้กลไกการส่งเสริมและผลักดันผลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์อีกรูปแบบหนึ่งของ สวทช. หรือที่เรียกว่า ‘นาสท์ด้า สตาร์ตอัป’ NSTDA Startup ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา เพื่อผลักดันผลงานวิจัยนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และยังช่วยตอกย้ำศักยภาพงานวิจัยสู่การตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม โดยการแถลงข่าวครั้งนี้มีสตาร์ตอัป ที่ได้รับการอนุมัติจาก สวทช. จำนวน 9 ผลงาน ซึ่งกลไกของ NSTDA Startup นี้จะช่วยตอบโจทย์การเร่งให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม(RDI) ให้เร็วยิ่งขึ้น โดยหลักคือจะมีกลุ่มนักวิจัยเข้าร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชนและ/หรือ สวทช. ในการปั้นโมเดลธุรกิจ (Business Model) จากผลงานวิจัยของสวทช. เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นแผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างเป็นรูปธรรม แล้วก้าวไปสู่การร่วมจัดตั้งเป็นบริษัทสตาร์ตอัป  ดร.ณรงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับ NSTDA Startup มีนักวิจัยและบุคลากรวิจัยไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้หลายศาสตร์ และพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบสตาร์ตอัป ที่ต่อยอดธุรกิจจากงานวิจัยและพัฒนาจากองค์กรวิจัยระดับประเทศมากถึง 9 ราย ซึ่งพร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกสู่สาธารณชนแล้ว โดยจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หากมาร่วมผลักดันธุรกิจเทคโนโลยีกับ NSTDA Startup และถือเป็นการเปิดโลกการลงทุนใหม่ เพื่องานวิจัยจากแหล่งการลงทุนใหม่ของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศต่อไป โดยในปัจจุบันจดทะเบียนบริษัทแล้วจำนวน 7 บริษัท และอยู่ระหว่างเตรียมจดทะเบียนอีก 2 ผลงาน (หนึ่งในนั้นจะจดทะเบียนในเร็วๆ นี้) สตาร์ตอัป ของ สวทช. เป็น Deep-tech Startup ที่ครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรม ประกอบด้วยสตาร์ตอัป ด้าน Biotechnology & BIO Service  สตาร์ตอัป ด้าน Digital  สตาร์ตอัป ด้าน Aging Society/Quality of Life  และสตาร์ตอัปด้าน ความงามและอาหารเสริม เป็นต้น สำหรับ 9 NSTDA Startup : Deep-tech Startup เพื่อขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ ประกอบด้วย ด้านอุตสาหกรรม Biotechnology & BIO Service  ได้แก่ บริษัท ไบโอเทค โกลเบิ้ล อินโนเวชั่น จำกัด ให้บริการแพลตฟอร์มด้าน Biotechnology และ Life Science ที่ครบวงจรรายแรกของประเทศที่ครอบคลุมครบถ้วนทั้งทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเครือข่ายธุรกิจ ด้านอุตสาหกรรม Digital ได้แก่ บริษัท เอไอไนน์ จำกัด (AI9) เป็นแพลตฟอร์ม AI ของบริษัทไทยรายแรกที่ให้บริการการถอดเสียงการประชุมโดยใช้เทคโนโลยี AI  บริษัท ดาร์วินเทค โซลูชันส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการจัดอาหารและดูแลสุขภาพในสถานศึกษาแบบครบวงจร บริษัท บิ๊กโก อนาไลติกส์ จำกัด ให้บริการแพลตฟอร์มเพื่อพัฒนาระบบจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data / Data Analytic) ที่ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยต้นทุนที่ลดลง ด้านอุตสาหกรรม Aging Society/Quality of Life ได้แก่ โครงการ รีไลฟ์ (อยู่ระหว่างเตรียมจดทะเบียนในนามบริษัท รีไลฟ์ จำกัด) ผลิตกระจกตาชีวภาพที่ไม่ต้องรอบริจาคจากผู้อื่น สามารถใช้ได้เลย สามารถออกแบบค่าสายตาให้เหมาะกับคนไข้แต่ละคน ไม่มีความเสี่ยงจากการใช้กระจกตาจากผู้อื่นหรือวัสดุเทียม บริษัท เบรนนิฟิต จำกัด ให้บริการแพลตฟอร์ม Game-based neurofeedback system ช่วยฟื้นฟูศักยภาพการเรียนรู้ได้ถึง 5 ด้าน และวัดผลได้อย่างแม่นยำ และด้านอุตสาหกรรมด้านความงามและอาหารเสริม  ได้แก่ บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิคส์ จำกัด ผลิตเข็มขนาดไมโคร (Microneedle) ในรูปแบบแผ่นแปะเทคโนโลยี Microspike ที่มีลักษณะพิเศษความเฉพาะที่สามารถดีไซน์ได้ตามต้องการของลูกค้าที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้สามารถนำส่งสารสำคัญผ่านผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ควอนตัม ไบโอเทค จำกัด ใช้ประโยน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ นำเทคโนโลยีด้านไบโอรีไฟเนอรี่และไฮบริดมาผลิตสารออกฤทธิ์มูลค่าสูงจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และ โครงการ KANTRUS การผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุออกฤทธิ์สำหรับเครื่องสำอางและการแพทย์ เช่น โปรตีนอีจีเอฟ ที่มีความบริสุทธิ์และความสามารถในการออกฤทธิ์สูง ในราคาที่เข้าถึงได้
ข่าวประชาสัมพันธ์