หน้าแรก คลังความรู้ 30 ปี สวทช. งานวิจัย 30 ปี สวทช. “YSTP” จากปริญญานิพนธ์สู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและสู่เส้นทางอาชีพวิจัย
“YSTP” จากปริญญานิพนธ์สู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและสู่เส้นทางอาชีพวิจัย
16 มิ.ย. 2564
0
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

“YSTP” จากปริญญานิพนธ์สู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น และสู่เส้นทางอาชีพวิจัย

            จากกลไกการให้ทุนต้นทางตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นจนไปสู่การคัดเลือกให้ได้ทุนต่อเนื่องจนถึงระดับปริญญาเอกของโครงการ JSTP ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินการสามารถพัฒนาเยาวชนที่มีอัฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ส่วนหนึ่งและเพื่อให้การพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครอบคลุมถึงการส่งเสริมเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ทั่วถึงโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา

            สวทช. จึงร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศริเริ่ม “โครงการนำร่องเพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากผู้มีความสามารถพิเศษ” หรือ “YSTP” (Young Scientist and Technologist Program) ขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และขยายฐานสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เหมาะสมให้รองรับกับกลุ่มเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับอุดมศึกษา รวมถึงในกลุ่มเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นมากในอนาคตด้วย

           ซึ่งต่อมาโครงการนำร่องฯ ได้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “โครงการสร้างปัญญาวิทย์ผลิตนักเทคโน” ในปี พ.ศ. 2550

            โครงการสร้างปัญญาวิทย์ฯ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดี และมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นนักวิจัยอาชีพ ได้รับการสนับสนุนให้ได้ทำวิจัยอย่างจริงจัง ร่วมกับนักวิจัยใน สวทช. ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขอบเขตของงานวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

            ปัจจุบันโครงการ YSTP สนับสนุนการผลิตบัณฑิตคุณภาพสู่สังคมรวม 15 รุ่น มีสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด 38 สถาบัน มีนักศึกษาที่จบการศึกษาทั้งหมดจำนวน 629 คน และกำลังศึกษาอยู่ (พ.ศ. 2563) จำนวน 42 คน  ผู้ได้รับทุนของโครงการฯ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา 45% ด้วยกลไกการให้ทุนนี้ ส่งผลให้ผู้ได้รับทุนได้รับการพัฒนาทักษะวิจัย รวมทั้งได้เห็นถึงความชัดเจนของเส้นทางอาชีพวิจัยและการศึกษาต่อในอนาคต อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดบุคลากรที่มีความสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ในหลากหลายสาขา เช่น

            อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา อาจารย์หน่วยชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้รับรางวัลสาขา Entrepreneurial Award หรือผู้ประกอบการยอดเยี่ยมของ UK Alumni Awards 2019 ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่น Imperial College กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รวมถึงได้รับประกาศเกียรติคุณ “การนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทยร่วมประกวด และจัดแสดงในเวทีนานาชาติ” สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังคว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี พ.ศ. 2562 จากผลงานวิจัย “ตัวพา อนุภาคนาโน เพื่อการนำส่งยาในร่างกายอย่างแม่นยำ” รวมถึงรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประเภทกลุ่มประจำปี พ.ศ. 2563 นำทีมโดย ดร.คฑาวุธ นามดี นักวิจัย NANOTEC ร่วมกับ สพ.ญ.สิริกร กิติโยดม นิสิตปริญญาเอก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยผลงานวิจัย “นาโนวัคซีนแบบจุ่ม โดยเลียนแบบเชื้อก่อโรคในปลา” จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในงานการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 46 โดยรับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งในขณะที่เป็นนักวิจัย สวทช. ได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและนักวิจัย พี่เลี้ยงให้แก่นักศึกษาทุนโครงการ TAIST-Tokyo Tech 1 คน โครงการ TGIST 2 คน (ปริญญาโท 1 คน ปริญญาเอก 1 คน) และ โครงการ STEM 1 คน

            นายปรมินทร์ อินโสม จากมหาบัณฑิตด้าน Cyber Security มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ สู่การทำงานเป็นวิศวกรใน Silicon Valley สหรัฐอเมริกา ต่อมาได้นำความรู้จากงานวิจัยระดับปริญญาโท มาต่อยอดระดมทุนพัฒนาและให้กำเนิดสกุลเงินดิจิทัล Zero Coin หรือ Zcoin เหรียญ Cryptocurrency สัญชาติ ไทย รวมถึงสร้าง Thailand Digital Asset Exchange (TDAX) เป็นช่องทางให้บริการโอน และซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และได้ก่อตั้งและเป็นประธานกรรมการบริหารบริษัทสตางค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแบบครบวงจรในประเทศไทย อย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 โดยให้บริการ Satang Pro เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล Satang App. กระเป๋าสตางค์คริปโตฯ เป็นต้น

ที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์และห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์เพิ่มเติมและได้แลกเปลี่ยนทัศนคติกับนักวิจัยมืออาชีพ ทำให้โครงการนี้ นอกจากจะสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพตรงความต้องการของภาคการผลิตและบริการแล้ว ยังทำให้เกิดความร่วมมือด้านวิจัยและวิชาการร่วมกันอย่างแท้จริง

ดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม

แชร์หน้านี้: