หน้าแรก คลังความรู้ 30 ปี สวทช. งานวิจัย 30 ปี สวทช. ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี
ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี
10 มิ.ย. 2564
0
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี

สถานการณ์โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่าง
รวดเร็ว และคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก การรับมือกับการระบาด
ของโรคนอกจากการเดินหน้าผลิตวัคซีนเพื่อใช้ในการป้องกันแล้ว
การพัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพและ
รวดเร็ว ก็เป็นอีกหนึ่งมาตรการเชิงรุกที่จะช่วยลดการระบาดของโรคโควิด-19 ได้

ทีมนักวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนา “ชุดตรวจโรคโควิด-19ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว” COXY-AMP เพื่อนำมาเป็นทางเลือกในการคัดกรองแยกเฉพาะตัวอย่างที่น่าสงสัยก่อนส่งไปตรวจโดยใช้วิธี RT-PCR ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐจากเดิมที่ต้องส่งตรวจทุกตัวอย่างด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งมีราคาแพง

เทคนิคแลมป์ (Loop-mediated isothermal amplification: LAMP) คือเทคนิคตรวจหาสารพันธุกรรมของตัวเชื้อ เช่นเดียวกับเทคนิค PCR และ RT-PCR สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมทั้ง DNA และ RNA ที่อุณหภูมิในช่วง 60-65 องศาเซลเซียส สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมได้ถึง 1,000 ล้าน (10 ยกกำลัง 9) เท่า ภายในเวลา 1 ชั่วโมง มีความไวในการตรวจวัดสูงขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่ย และใช้เครื่องมือราคาไม่แพง
เทคนิคแลมป์ได้รับการนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในกรตรวจหาเชื้อในผู้ป่วย หรือผู้ที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อไวรัสและแบคที่เรียอย่างต่อเนื่อง

สำหรับชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวที่ทีมนักวิจัยฯ พัฒนาขึ้นนี้ เป็นการพัฒนาการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 โดยนำเอาเทคนิคแลมป์มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา xyleno Orange: X0 เพื่อให้อ่านผลด้วยตาเปล่าได้ โดยสังเกตจากสีที่เปลี่ยนไป เมื่อมีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยเทคนิคแลมป์ในหลอดทดสอบ หากสารตัวอย่างที่ส่งตรวจมีการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สีของสารละลายจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง แต่ถ้าไม่มีการติดเชื้อสีของสารละลายจะยังคงเป็นสีม่วง

เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวนี้ มีความไวจำเพาะและความแม่นยำสูงมีขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่ยไม่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง เป็นงานขั้นตอนเดียวที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาทตสอบเพียง 75 นาที ซึ่งได้ผลเร็วกว่า RT-PCR ถึง 2 เท่า สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่าไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจมีราคาเพียง 10,000 บาท ถูกกว่า RT-PCR ถึง 100 เท่า เพราะเครื่องตรวจ RT-PCR มีราคาตั้งแต่ 600,000-1,000,000 บาท ต้นทุนน้ำยาที่ใช้สำหรับแลมป์ต่ำกว่าน้ำยาที่ใช้กับ RT-PCR ถึง 3 เท่า และเมื่อคำนวณต้นทุนราคาแล้ว ชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวที่ทีมนักวิจัยไบโอเทค สวทช. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาขึ้นนี้มีราคาถูกกว่าชุดตรวจ
แลมป์นำเข้าถึง 1.5 เท่าอีกด้วย

ผ่านการทดสอบทางเทคนิคจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนแสดงความสนใจที่จะขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว

การที่นักวิจัยไทยสามารถพัฒนาชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วย
เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวได้สำเร็จ นอกจากจะช่วย
ประหยัดงบประมาณในการนำเข้าชุดตรวจจากต่างประเทศได้
เป็นจำนวนมากแล้ว ยังได้มาตรฐาน มีความแม่นยำ ช่วยสร้าง
ความมั่นใจให้กับงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ
พร้อมทั้งสนับสนุนมาตรการคัดกรองผู้ติดเชื้อเชิงรุกได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น

ดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม

แชร์หน้านี้: