แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (Service Platform for Food & Functional Ingredients) หรือ FoodSERP ได้จัดตั้งในปลายปี 2565 โดยเป็นหนึ่งใน core business ของ สวทช. มีพันธกิจหลักในการให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบอาหาร เครื่องสำอาง และส่วนผสมฟังก์ชัน ตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะ (Tailor made) ของลูกค้า ในรูปแบบ One-stop service โดยทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญหลากสาขา มีวิทยาการความรู้ (know-how) และแพลตฟอร์มเทคโนโลยีต่างๆที่พร้อมให้บริการ รวมถึงเครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและมีมาตรฐานการผลิต ที่จะช่วยผู้ประกอบการในการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม แก้ปัญหาต่างๆในสายการผลิต เพิ่มความพร้อมของเทคโนโลยี การวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงในการดำเนินงานกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน ส่วนผสมฟังก์ชัน (Functional ingredients ) สมุนไพร และเวชสำอาง จากฐานทรัพยากชีวภาพด้านการเกษตรและจุลินทรีย์ของประเทศ
ให้บริการแบบ One stop service ตั้งแต่การให้บริการพัฒนากระบวนการผลิต สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตในระดับโรงงานต้นแบบที่มีมาตรฐานสากลสำหรับทดลองตลาด ทดสอบทางคลินิกหรือทดสอบภาคสนาม และขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ รวมถึงการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตัวอย่าง เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชัน ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก สารสกัด (functional extracts) และอาหารเฉพาะกลุ่ม (Food for specific groups)
ประเภทบริการ มี 2 แพลตฟอร์ม ได้แก่
1. แพลตฟอร์มให้บริการผลิต (Production service platform)
– โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (BIOTEC Bioprocessing Facility; BBF) รองรับการผลิตได้ทั้งจุลินทรีย์ทั่วไป และจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ภายใต้สถานที่ผลิตอาหาร (food-grade manufacturer) ตามมาตรฐานสากล Codex GHPs และ HACCP รวมถึงดำเนินงานภายใต้แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการใช้จุลินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม (Good Industrial Large Scale Practice (GILSP) สภาพควบคุมระดับ LS1 ที่ให้บริการด้านการพัฒนากระบวนการผลิตจากจุลินทรีย์ทั่วไปและจุลินทรีย์ชีววิทยาสังเคราะห์หรือจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม การขยายขนาดการผลิตและประเมินต้นทุนการผลิต การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์สำหรับทดสอบทางคลีนิกหรือทดสอบตลาด การผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรม และการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ สำหรับจำหน่ายเชิงพาณิชย์
– โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง (Nanoparticles and Cosmetics Production Plant) ให้บริการการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และกระบวนการผลิต ตั้งแต่การทดลองผลิต ในระดับสเกลขนาดเล็ก จนถึงการผลิตในระดับอุตสาหกรรมด้วยมาตรฐาน ASEAN Cosmetic GMP และจดแจ้งผลิตภัณฑ์
2. แพลทฟอร์มให้บริการวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิผลและความปลอดภัย (Efficacy & Safety testing service platform)
การทดสอบประสาทสัมผัสเชิงโมเลกุลด้านการรับรสและกลิ่น (Sensomics)
• การหาสารสำคัญที่ให้กลิ่นหรือรสชาติ (Key Aroma/taste compound)
• การวิเคราะห์สารให้กลิ่นและรสชาติ เชิงคุณภาพและปริมาณ
• การยืนยันสารให้กลิ่น (unknown) ด้วยเทคนิคขั้นสูง และฐานข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง
การให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มตามมาตรฐาน IDDSI ได้แก่
• Fork Tester อุปกรณ์ทดสอบเนื้อสัมผัสของอาหาร ซึ่งใช้จำแนกผลิตภัณฑ์อาหารตามเกณฑ์ IDDSI ระดับ 5 ถึง 7 สามารถทดสอบได้ง่าย และสะดวกต่อผู้ใช้งาน
• Flow Tester อุปกรณ์ทดสอบความหนืดของเครื่องดื่ม ซึ่งใช้จำแนกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มตามเกณฑ์ IDDSI ระดับ 1 ถึง 4 สามารถทดสอบได้ง่าย มีระบบเปิด-ปิดการไหลอัตโนมัติตามระยะเวลาที่ตั้งไว้และสะดวกต่อผู้ใช้งาน
การวิเคราะห์ทดสอบด้วยระบบจำลองทางเดินอาหาร (Dynamically Simulated Gut model) ที่ครอบคลุมตั้งแต่กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้ใหญ่ของคนและสัตว์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหาร จำนวนเซลล์มีชีวิตของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในระบบทางเดินอาหาร การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น หรือส่วนผสมฟังก์ชัน เช่น พรีไบโอติก ลดค่าใช้จ่ายในการทดสอบทางคลินิก หรือสัตว์ทดลอง


การทดสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้โมเดลผิวหนัง
• การทดสอบฤทธิ์ชะลอวัย & ต้านอนุมูลอิสระ เป็นบริการทดสอบประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม โดยใช้โมเดลผิวหนังมนุษย์ 3 ชนิด คือ 1) เซลล์ผิวหนังมนุษย์ (2D Human Skin Cells) 2) ชิ้นส่วนผิวหนังมนุษย์ (Ex vivo Human Skin Explants) และ 3) เนื้อเยื่อผิวหนังมนุษย์แบบสามมิติ (3D Human Skin Tissues)
การทดสอบด้วยแบบจำลองเนื้อเยื่อลำไส้สามมิติ (In vitro) สำหรับทดสอบความปลอดภัยและฤทธิ์ทางชีวภาพต่อระบบทางเดินอาหาร เพื่อทดสอบความปลอดภัยของวัตถุดิบ สารสกัดสมุนไพร ยา อาหารและอาหารเสริม ได้แก่ การศึกษาพิษเฉียบพลัน และการดูดซึมด้วยแบบจำลองเนื้อเยื่อลำไส้สามมิติ (In vitro) ที่มีคุณลักษณะในด้านต่างๆ คล้ายคลึงกับในระดับ in vivo และสามารถใช้เป็นตัวแทนของทางเดินอาหารของมนุษย์

การทดสอบด้วยแบบจำลองปลาม้าลาย (zebrafish) โดยให้บริการดทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน (OECD 236) และบริการทดสอบต่างๆ เช่น การยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน และการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

รับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ การทดสอบคุณสมบัติส่วนผสมเชิงหน้าที่ (Functional Ingredients) เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์
เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการทดสอบคุณสมบัติส่วนผสมเชิงหน้าที่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์
ลิงก์สมัคร : https://forms.gle/YqzK7dNz67qsJCPX8
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ดร.สุพิชชา โชคไพบูลย์
อีเมล: supichar.cho@nstda.or.th
หรือโทรศัพท์ : 089-9495056
กิจกรรมสัมมนาการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ปี 2566
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 สวทช. ได้จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารใหม่ด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน” ซึ่งงานสัมมนานี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ปี 2566 ครั้งที่ 18 ภายใต้หัวข้อ สวทช. : ขุมพลังหลัก วทน. เร่งการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืน ระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี การสัมมนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ NSTDA Core Business: FoodSERP แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน โดยมีวิทยากรจำนวน 4 ท่าน ให้เกียรติมาบรรยายเกี่ยวกับแนวโน้มด้านการตลาดของโพรไบโอติกส์ แนวโน้มการผลิตโปรตีนทางเลือกของโลก สมุนไพรสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและเวชสำอาง และการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีด้วยอาหาร โดยมีผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนา ประมาณ 120 คน ทุกท่านสามารถ download เอกสารการบรรยายได้ตามไฟล์แนบ
- Probiotics: Market and opportunity for Thai entrepreneurs โดย คุณนพรัตน์ สุขสราญฤดี
- Global trend for alternative protein production โดย ดร.วรรษมน นุตกุล
- Herbal extracts for healthcare and cosmeceutical products โดย คุณลักษณ์สุภา ประภาวัต
- The Food for specific groups: Health and wellness โดย นายแพทย์นิธิวัฒน์ ศรีกาญจนวัชร


สัมมนา “Sustainability in Food Industry”
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. จัดสัมมนาในหัวข้อ “Sustainability in Food Industry”ภายใต้โครงการเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Accelerate) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยในงานสัมมนานี้ ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง บรรยายเรื่อง “New Engine for Food Sustainability” และมีการประชาสัมพันธ์ FoodSERP


งานแถลงข่าวการจัดการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 สวทช. ได้จัดงานแถลงข่าวการจัดการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (18th NSTDA Annual Conference: NAC2023) ภายใต้แนวคิด “สวทช. : ขุมพลังหลัก วทน. เร่งการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืน” นอกจากนั้น ยังมีเรื่องการจัดแสดงผลงานของ NSTDA Core Business ซึ่งเป็นไฮไลต์ของงาน NAC2023 โดย “FoodSERP” แพลตฟอร์มให้บริการผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชัน ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์กลุ่มสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) ในรูปแบบ One stop service เป็นหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม open house เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โดยงาน NAC2023 จะจัดออนไซต์เต็มรูปแบบในวันที่ 28-31 มี.ค.นี้ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคมนี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงาน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
เบอร์ 02 564 6700 ต่อ 3428 หรือ 3441