หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ สารสนเทศวิเคราะห์ Thomson Reuters ทำนายนวัตกรรมใหม่
Thomson Reuters ทำนายนวัตกรรมใหม่
21 ต.ค. 2552
0
สารสนเทศวิเคราะห์
สารสนเทศวิเคราะห์

บริษัท Thomson Reuters ทำการวิเคราะห์หานวัตกรรมใหม่ที่ร้อนแรงจากเอกสารสิทธิบัตรในช่วง 5 ปีย้อนหลัง และได้สรุปคาดการณ์ว่า นวัตกรรมใหม่ ใน 3 หัวข้อ คือ

1. เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย (Biofuels from Algae)
2. ข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ (Cell Phone Data)+ โครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wireless Network Roaming)
3. นาโนเทคโนโลยี Lab-on-a-chip อุปกรณ์วินิจฉัยโรคแบบนาโนขนาดจิ๋ว

มีการเติบโตอย่างโดดเด่นมากในเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 นี้ โดยบทความนี้ขอนำเสนอเฉพาะนวัตกรรมเรื่อง การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายเท่านั้น ส่วนอีก 2 นวัตกรรมจะนำเสนอในรายงานเรื่องต่อไป

 

บทนำ

ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานี้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย พลาสติกไม่ใช่เรื่องที่จะได้รับความสำเร็จ เชื่อมั่นอีกต่อไปแล้ว เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเงินและรถยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่เคย เป็น ในขณะนี้โลกกำลังประสบภาวะการตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเสาหลักของ อุตสาหกรรมต่างๆได้สูญเสียความรุ่งโรจน์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง พวกเรากำลังเฝ้ามองดูว่านวัตกรรมสาขาใดที่จะเป็นแหล่งเพาะที่สามารถมากอบกู้ เศรษฐกิจ และจะเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ต่อไปในอนาคต

เพื่อหาคำตอบใน เรื่องนี้ แผนก IP Solutions Business ของ Thomson Reuters จึงได้ตรวจสอบหานวัตกรรมที่ร้อนแรงในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2009 นี้

วิธีการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร จาก ฐานข้อมูล Derwent World Patents Index (DWPI sm) ซึ่งเป็นข้อมูล/บริการชุดหนึ่งของ Thomson Reuters ทำการวิเคราะห์หากิจกรรมของสิทธิบัตรทั่วโลกในสาขา Biofuels, Telecom และ Bio-related nanotechnology นับจำนวนสิทธิบัตรทั้ง 2 ประเภท คือ คำยื่นขอ & ได้รับการคุ้มครอง ในช่วงระยะเวลาในปี 2003 2008 และ มกราคม-มีนาคม 2009 จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับแนวโน้มการเติบโตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

นวัตกรรมเรื่อง Biofuels Based on Algae
ขณะ นี้โลกกำลังแสวงหาพลังงานสะอาด (green energy) ซึ่งประกอบด้วยพลังงานตั้งแต่ wind turbines ไปจนถึง hydrogen-powered vehicles ในส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) มีทั้งชนิดของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวต ซึ่งนักนวัตกรรมในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพให้ความสนใจพัฒนา ในขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่หนึ่งทำมาจาก น้ำตาล แป้ง น้ำมันพืช หรือ น้ำมันสัตว์ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นการดึงมาจากแหล่งโซ่อาหารของมนุษย์มาจึงมีการ ริเริ่มผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพยุคใหม่ที่มุ่งเน้นวัตถุดิบที่ถาวรยั่งยืนมาก ขึ้นกว่าเดิม เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 2 ตัวอย่างเช่น การใช้ของเสียที่ได้จากสิ่งมีชีวิตจากส่วนที่ไม่เป็นอาหาร เช่น ลำต้น กิ่งก้านข้าวสาลี ซังข้าวโพด

สิ่งที่เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่ กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ อาจเรียกเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 3 คือการพัฒนาจาก สาหร่าย สาหร่ายถือเป็นสิ่งที่นำเข้าแบบชั้นต่ำ แต่ให้ผลิตผลิตสูง มีความสามารถในการผลิต เป็น 30 เท่าต่อเอเคอร์ เมื่อเทียบกับถั่วเหลือง ใครเป็นผู้นำในการคิดค้นนวัตกรรมนี้ และพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ Thomson Reuters นำเสนอผลการวิเคราะห์สิทธิบัตรเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้

Category Growth

Time Period Total Biofuel Patents
Total Biofuel
from Algae Patents
Jan – Dec 2003
Jan – Dec 2008
Jan 2008 – Mar 2009
                           341
1,878
2,466
                            3
63
92


Most Active Countries (Jan 2008- Apr2009)

Rank
Country

Authority of Origin

Number

of Ducuments

% of Documents
1 WIPO 39 42.39%
2 United States 34 36.96%
3 China   8 8.7%
4 EPO   3 3.26%
5 Germany   2 2.17%
5 Great Britain   2 2.17%
5 Japan   2 2.17%
6 Brazil   1 1.09%
6 France   1 1.09%

.

Rangking             Patent Assignee
Number of

Document

% of
Document
 Country

     of
Origin

      1 Alternative Fuels Group Inc.        2        2.17%      US.
      1 Arisdyne Systems Inc.        2        2.17%      US.
      1 Gen Atomics        2        2.17%      US.
      1 Ouro Fino Participacoes & Empreendimento        2        2.17%     Brazil
      1 Sartec Corp        2        2.17%      US.
      1 Solix Biofuels Inc.        2        2.17%      US.
      1 Univ.Colorado State Res. Found.        2        2.17%      US.
      2 Afton Chemical Corp.        1        1.09%      US.
      2 Air Liquide SA        1        1.09%   France
      2 Albemarle Corp        1        1.09%      US.
      2 Algepower LLC        1        1.09%      US.


ข้อสังเกต จากการวิเคราะห์

  1. นวัต กรรมเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ ในปี 2003  ด้วยการวัดปริมาณจำนวนเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก จากฐานข้อมูล Derwent World Patent Index พบมีจำนวนน้อยเพียง 341 เรื่องถือเป็นสาขาวิจัยพัฒนาขนาดเล็ก  และมีผู้นำจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 70 และเป็นสิทธิบัตรที่ขอยื่นในประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 31
  2. ในปี 2008 – 5 ปีต่อมา  พบว่ากิจกรรมสิทธิบัตรในเรื่องนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 550 คิดเป็นจำนวน 1,878 เรื่อง
  3. ใน ช่วงระยะเวลาล่าสุด (Jan 2008 –  Apr 2009) จำนวนสิทธิบัตรเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพมีเพิ่มขึ้นเป็น 2,466 เรื่อง ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนเริ่มก้าวเข้ามาในเรื่องนี้  คิดเป็นร้อยละ 31 ที่ทำการยื่นขอในประเทศจีน บริษัทจีนมีส่วนแบ่งในตำเหน่งผู้นำ 10 อันดับแรกพร้อมกันกับบริษัทญี่ปุ่น
  4. มีข้อถกเถียงกันอย่างมากในสื่อ ต่างๆ เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ในแง่ผลกระทบที่มีการนำพืชผลที่ได้จากการเพาะปลูกที่เป็นอาหารมนุษย์มาผลิต เป็นพลังงานชีวภาพ
  5. ในช่วงปี 2008-2009 บริษัทผู้นำ 11 บริษัท มีการยื่นขอสิทธิบัตรเรื่อง Biofuels จาก สาหร่าย เป็นหลัก โดยเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกา 8 ใน 11 บริษัทนั้น ที่เหลือได้แก่บริษัทจาก  บราซิล  สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส  โดยที่บริษัทจากจีน เยอรมนี และญี่ปุ่น ไม่ปรากฏอยู่ในรายการบริษัทผู้นำ 10 อันดับแรก


ตัวอย่างรายชื่อสิทธิบัตร 
เช่น

Pub. No.
Title
Assignee
Pub. Date
US20090246766A1 High throughput screening of genetically modified photosynthetic organisms Sapphire Energy
2009-10-01
US20090221057A1 Algae breeder system for converting flue gases into biofuels, comprises enclosed tank for containing liquid medium, light source for tank, feedstock
inlet, flue gas source, sensor mechanism, control mechanism, and controlled
environment
2009-09-03
WO2009102989A1 LOW SHEAR PUMPS FOR USE WITH BIOREACTORS SOLIX BIOFUELS, INC.
2009-08-20
WO2009094440A1 ALGAL CULTURE PRODUCTION, HARVESTING, AND PROCESSING AQUATIC ENERGY LLC
2009-07-30
JP2006190502A2 Electrode for bio-fuel cell, has electroconductive porous membrane with parent micro-organisms property, as anode TOKYO UNIV
2006-07-20


เกี่ยวกับฐานข้อมูล Derwent World Patent Index, DWPI

DWPI คือฐานข้อมูลที่รวบรวมเอกสารสิทธิบัตรทั้งประเภทการยื่นขอ (Applications) และ ประเภทที่ได้รับการคุ้มครอง (Grants) จากสำนักงานสิทธิบัตร 41 แห่งทั่วโลก รวบรวมและปรับปรุงเขียนใหม่ (Rewritten) ให้เป็นภาษาอังกฤษโดยกองบรรณาธิการของ DWPI  จัดทำบทคัดย่อแบบสั้น มีการระบุให้ patent family (แสดงรายชื่อประเทศที่เอกสารสิทธิบัตร 1 เรื่องที่ทำการไปยื่นขอจากประเทศต่างๆทั่วโลก) แสดงประเทศแรกที่ยื่นขอ และเรียงลำดับตามที่ยื่นขอในประเทศต่างๆ ซึ่งแสดงเป็น Equivalent patents  ขณะนี้ DWPI  มีเอกสารสิทธิบัตร 16 ล้านเรื่อง ที่มีความเหมือนกัน ราว 10 ล้านเรื่อง และมีการเพิ่มข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ใหม่ราวปีละ 1 ล้านเรื่อง Basic Format ของฐานข้อมูล DWPI ได้แก่ บรรณานุกรมเอกสารสิทธิบัตร บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) Manual code Special Indexing  ประกอบด้วย
Derwent Manual Code  – Derwent คิดค้นระบบรหัสการจัดหมวดหมู่เอกสารสิทธิบัตรของตนเอง (Own proprietary patent Classification Codes) เรียกว่า Manual codes ระบบหมวดหมู่ แบ่งแยกออกเป็นหมวดย่อย ได้แก่ สาขาเคมี วิศวไฟฟ้าและวิศวเครื่องกล  ตัวอย่างเช่น T01-S03 = Digital computers : Claimed software products
Derwent Assignee Codes – Derwent จัดทำรหัสบริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตร แบบเป็นมาตรฐาน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร 4 อักษร ตัวอย่าง บริษัท Siemen มีรหัสว่า SIEI
สรุป DWPI มีความพิเศษ เพิ่มคุณค่าในการสืบค้นเอกสารสิทธิบัตรอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนี้

  • Enhanced patent information database
  • Based on one record per invention (Patent family)
  • Concise abstract of complete patent document
  • Manually codes/indexd to allow consistent and accurate searching
  • Includes documents from over 41 major patent issuing authorities ( over 120 countries)
    • (JPO, USPTO, EPO, WIPO-China, Korea, Taiwanese Patent Office, Majority of European Offices)
  • Contain over 15.4 million records ( 33 million patents)
  • Updated every 3/4 working days

—————————————————–
เอกสารอ้างอิง

1. Doina Nanu  June 2007 “DerwentWorld Patents Index (DWPI) – process outline ”  Available at : http://www.ucl.ac.uk/slais/epublishing-summerschool/6.4Nanu.pdf
2. Thomson Reuters  June  2009 “Innovation Hot Spot IP Market Report- Mining patent data for tomorrow,s breakthroughs” Available at http://ip.thomsonreuters.com/media/pdfs/InnovationHotSpots_June2009.pdf

รายชื่อเอกสารสิทธิบัตร เรื่อง Biofuels + algae ที่สืบค้นได้จาก espacenet.com จำนวน 23 เรื่อง

  1. Bio-Breeder System for Biomass Production
  2. Hydroponic Growing Enclosure and Method for Growing, Harvesting, Processing and Distributing Algae, Related Microrganisms and their By Products
  3. ALGAL CULTURE PRODUCTION, HARVESTING, AND PROCESSING
  4. EXPRESSION OF NUCLEIC ACID SEQUENCES FOR PRODUCTION OF BIOFUELS AND OTHER PRODUCTS IN ALGAE AND CYANOBACTERIA
  5. METHOD OF PRODUCING BIOFUEL USING SEA ALGAE
  6. SYSTEMS AND METHODS FOR PRODUCTION OF BIOFUEL
  7. INTEGRATED PROCESSES AND SYSTEMS FOR PRODUCTION OF BIOFUELS USING ALGAE
  8. TRANSPORTABLE ALGAE BIODIESEL SYSTEM
  9. HIGH EFFICIENCY SEPARATIONS TO RECOVER OIL FROM MICROALGAE
  10. Method and device for producing biomass of photosynthesizing microorganisms/phototrophical algae and biomass of these microorganisms pigments
  11. Harvesting of Biofuel algae feedstcock using tractive devices and fine net
  12. ALGAE GROWTH FOR BIOFUELS
  13. Growing algae in open water for use as a biofuel
  14. METHODS OF ROBUST AND EFFICIENT CONVERSION OF CELLULAR LIPIDS TO BIOFUELS
  15. Method And System For The Transformation Of Molecules,To Transform Waste Into Useful Substances And Energy
  16. Method And System For The Transformation Of Molecules: A Process Used To Transform Waste Into Energy And Feedstock Without Releasing Carbon Dioxide Greenhouse Gas Emissions
  17. Method and system for the transformation of molecules, this process being used to transform waste into useful substances and energy
  18. PRODUCTION OF BIOFUELS USING ALGAE
  19. Methods and compositions for production and purification of biofuel from plants and microalgae
  20. PHOTOSYNTHETIC OIL PRODUCTION WITH HIGH CARBON DIOXIDE UTILIZATION
  21. PHOTOSYNTHETIC CARBON DIOXIDE SEQUESTRATION AND POLLUTION ABATEMENT
  22. ELECTRODE FOR BIOFUEL CELL AND BIOFUEL CELL
  23. BIOFUEL CELL USING GREEN PLANT AND ENZYME FIXING ELECTRODE

 

รายงานสารสนเทศเชิงวิเคราะห์  แผนที่ความรู้ (สิทธิบัตร งานวิจัย) Thomson Reuters ทำนายนวัตกรรมใหม่
Patent Map / Knowledge map   Innovation
สารสนเทศเชิงวิเคราะห์  ฉบับที่ 9 ตุลาคม 2552
เรียบเรียงโดย รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่
ศูนย์บริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี STKS
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
แชร์หน้านี้: