หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ เทคโนโลยีการจับคาร์บอน (carbon capture)
เทคโนโลยีการจับคาร์บอน (carbon capture)
16 ม.ค. 2567
0
คลังความรู้
นานาสาระน่ารู้

เรียนรู้หลักการของเทคโนโลยีการเก็บและการจับคาร์บอน (carbon capture and storage (CCS) technology) และเทคโนโลยีการเก็บ การใช้ประโยชน์ และการจับคาร์บอน (carbon capture, utilization and storage (CCUS) technology) รวมถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีการจับคาร์บอนและความจำเป็นในการขับเคลื่อน และเหตุผลหลักที่ทำให้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนมีอนาคตที่ดี

เหมือนหรือต่างระหว่างหลักการของเทคโนโลยี CCS และ CCUS
เทคโนโลยี CCS เกิดขึ้น เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน และให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เทคโนโลยี CCS เกี่ยวข้องกับการจับคาร์บอนจากอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิต และขนส่งคาร์บอนไปยังโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่อยู่ชั้นใต้ดิน (underground geological formations) เพื่อไม่ให้คาร์บอนไปทำลายชั้นบรรยากาศและไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก (greenhouse effect) ส่วนเทคโนโลยี CCUS เหมือนกับเทคโนโลยี CCS ในบางขั้นตอน แต่ไม่มีการขนส่งคาร์บอนไปชั้นใต้ดิน คาร์บอนจะถูกเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมอื่น หรือเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้

ประโยชน์ของเทคโนโลยีการจับคาร์บอนและความจำเป็นในการขับเคลื่อน
การใช้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนอย่างกว้างขวางจะช่วยทำให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้โดย the Center for Climate and Energy Solutions (C2ES) พบว่า เทคโนโลยีการจับคาร์บอน ถ้าได้รับการจัดการที่มีประสิทธิภาพสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกที่ 14 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2050 เมื่อพิจารณาร่วมกับมาตรการลดคาร์บอนอื่นๆ เทคโนโลยีการจับคาร์บอนเป็นตัวสำคัญที่สุดในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ของ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) บอกว่า เทคโนโลยีการจับคาร์บอนต้องอยู่ในแผนการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก รายงานโดย McKinsey พบว่า การใช้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนทั่วโลกต้องขยาย 120 เท่า จากระดับปัจจุบันในปี 2050 เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ตะวันออกกลางใช้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนนำหน้าภูมิภาคอื่นในโลก

เทคโนโลยีการจับคาร์บอนช่วยลดปัญหาความแห้งแล้งของภูมิภาคที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อากาศที่ร้อนและแห้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดอากาศที่รุนแรง เช่น คลื่นความร้อน และความแห้งแล้ง ในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลจาก NASA ในปี 2050 มากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ของโลก จะเจอปัญหาความแห้งแล้ง ข้อมูลโดย the UN Convention to Combat Desertification (UNCCD) ความแห้งแล้งทำให้ 650,000 คน เสียชีวิตระหว่างปี 1970 และ 2019 ทำให้เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก และทำให้ประมาณ 55 ล้านคน ได้รับผลกระทบทั่วโลกต่อปี รายงานโดย UN

งานวิจัยของ Bloomberg NEF เมื่อเร็วๆ นี้ รายงานว่า การกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 1.5-15.5 กิกะตัน จะเกิดขึ้นในปี 2030-2050 เพื่อทำให้การร้อนขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่มากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกทำนายว่า 10 กิกะตันของคาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกกำจัดเป็นประจำทุกปีจากบรรยากาศในปี 2050 และเพิ่มการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 20 กิกะตันต่อปี ในปี 2100

เหตุผลหลักที่ทำให้เทคโนโลยีการจับคาร์บอนมีอนาคตที่ดี
1. อุตสาหกรรมหนักกำลังใช้เทคโนโลยีการจับคาร์บอน
2. รัฐบาลทั่วโลกกำลังสนับสนุนเทคโนโลยีการจับคาร์บอน
3. ความร่วมมือทางอุตสาหกรรมทำให้เกิดการแก้ปัญหาข้อจำกัดทางเศรษฐกิจของเทคโนโลยีการจับคาร์บอนมากขึ้น

เทคโนโลยีการจับคาร์บอนต้องการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาล ต้องมีการพูดคุยระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาการจัดการคาร์บอนและภูมิอากาศ

Climate change สร้างผลกระทบและความเสียหายต่อโลก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาเทคโนโลยีการจับคาร์บอน เพื่อไม่ให้คาร์บอนไปทำลายชั้นบรรยากาศและไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ทั้งนี้ต้องการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาล ต้องมีการพูดคุยระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาการจัดการคาร์บอนและภูมิอากาศ เทคโนโลยีการจับคาร์บอนต้องอยู่ในแผนการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก

ที่มา:
1. Ayla Majid (October 16, 2023). Why carbon capture is key to reaching climate goals. https://www.weforum.org/agenda/2023/10/why-carbon-capture-is-key-to-reaching-climate-goals/
2. Jason Kraynek (October 5, 2022). 3 reasons why the future of carbon capture looks promising. https://www.weforum.org/agenda/2022/10/3-reasons-why-future-of-carbon-capture-looks-promising/
3. Victoria Masterson (August 2, 2022). These NASA images show the staggering impact of drought. https://www.weforum.org/agenda/2022/08/nasa-lake-mead-water-drought/

แชร์หน้านี้: