การยกระดับอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสีเขียว

 ยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ทรัพยากร ลดการปลดปล่อยของเสีย เข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว โดยใช้ Thailand i4.0 Index เป็นดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการยกระดับ

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571) :
สร้างฐานข้อมูลระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ไม่น้อยกว่า 2,000 ราย และโรงงานมีแนวทางในการยกระดับสู่การผลิตที่ยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 1,000 ราย ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากการต่อยอดและการขยายผลไม่น้อยกว่า 120 ล้านบาทต่อปี

แผนงาน :

  1.  เปิดตัวและเริ่มใช้งานระบบประเมินความพร้อมสู่อุตสาหกรรม 4.0 แบบออนไลน์ (Online Self-Assessment) ภายในปี 2567 เพื่อให้ผู้ประกอบการประเมินระดับความพร้อมฯ ได้ด้วยตนเอง
  2. พัฒนาที่ปรึกษางานปรับปรุงสายการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Manufacturing Advisor: DMA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลดการใช้ทรัพยากร ลดการปลดปล่อยของเสีย และเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว
  3. ช่วยโรงงานลงทุนสู่อุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสีเขียว อย่างคุ้มค่าด้วยบริการที่ครบวงจร เช่น
    • บริการประเมินความพร้อมที่สายการผลิต (On-Site Assessment) โดยผู้ประเมินที่ผ่านการรับรองจาก สวทช.
    • บริการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสีเขียว
    • บริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคเบื้องต้น บริการให้คำปรึกษาเชิงลึก
    • บริการจัดทำแผนการลงทุน บริการที่ปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์ BOI
    • บริการทดสอบ Testbed
    • บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมใช้ และบริการรับจ้างวิจัย โดยนักวิจัย สวทช.

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. การประเมินความพร้อมสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านระบบ Online Self-Assessment ไม่น้อยกว่า 500 โรงงาน
  2. อุตสาหกรรมใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีของ สวทช. ที่เกี่ยวข้องกับ Industry 4.0 ไม่น้อยกว่า 100 ราย
  3. การสร้างพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการขยายผลกิจกรรม Thailand i4.0 Platform ไม่น้อยกว่า 5 ราย

การพัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDG เพื่อการค้าและความยั่งยืน

พัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE และ SDG เพื่อสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของประเทศไทย ประกอบด้วย

  1. พัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทย หรือ SDG 12 ให้กับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
  2. พัฒนาข้อมูลดัชนีการหมุนเวียนวัสดุ (Material Circularity Index, MCI) ตามเป้าหมายของหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 – 2570) ให้กับ สศช.
  3. พัฒนาข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าส่งออกกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม และเหล็ก/เหล็กกล้า สนับสนุนผู้ประกอบการ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับมาตรการ (Carbon Adjustment Mechanism, CBAM)
  4. พัฒนาแพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน สนับสนุนเป้าหมายของโมเดล BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน
  5. พัฒนาฐานข้อมูลและค่ากลางขยะอาหาร (Food Waste) จากแหล่งกำเนิดต้นทางของประเทศ ให้กับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) สนับสนุนการจัดทำ (ร่าง) แผนที่นำทางการจัดการขยะอาหาร (พ.ศ. 2566 – 2573) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

โครงการที่ 1

 พัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDG เพื่อการค้าและความยั่งยืน

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. ฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องด้าน CO2, CE และ SDG เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการบรรลุเป้าหมายของหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
  2. ฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าส่งออกในการรองรับรับมาตรการ CBAM เพื่อสนับสนุนภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน

แผนงาน

  1. พัฒนาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อมูลค่าเพิ่ม (GHG emission per value added) และการบริโภคพื้นฐานต่อการใช้ทรัพยากร (Material Footprint, MF)
  2. พัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ ดัชนีการหมุนเวียนวัสดุ (Material Circularity Index, MCI) ในผลิตภัณฑ์เป้าหมาย (พลาสติก วัสดุก่อสร้าง และเกษตร-อาหาร)
  3. พัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตระดับประเทศให้ทันสมัยและเหมาะสมในบริบทของไทย ได้แก่ ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรม เพื่อรองรับมาตรการ CBAM จากฐานข้อมูลในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าเป้าหมาย

โครงการที่ 2

แพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบบริหารจัดการข้อมูล Food loss & Food Waste ของประเทศ

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. แพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการบรรลุเป้าหมายของโมเดล BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน
  2. ฐานข้อมูลและค่ากลางขยะอาหาร (Food Waste) จากแหล่งกำเนิดต้นทางประเภทธุรกิจค้าปลีก รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลขยะอาหารกับข้อมูลการสูญเสียอาหาร เพื่อผลักดันให้เกิดระบบบริหารจัดการข้อมูล Food loss & Food Waste ของประเทศ

แผนงาน

  1.  พัฒนาแพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเก็บข้อมูล ติดตาม และรายงานผลตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามข้อมูลตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
  2. พัฒนาฐานข้อมูลและค่ากลางของขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดต้นทางประเภทธุรกิจค้าปลีก รวมถึงพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชันติดตามประเมินปริมาณขยะอาหาจากแหล่งกำเนิดต้นทาง ด้วยเทคโนโลยีการประมวลด้วยภาพถ่าย (Image Processing) และระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ที่สามารถแสดงตำแหน่งที่ตั้งและปริมาณขยะของแต่ละแหล่งกำเนิด
  3. เชื่อมโยงข้อมูลขยะอาหาร (Food Waste) กับข้อมูลการสูญเสียอาหาร (Food Loss) ของประเทศ

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. ฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าส่งออกกลุ่มอะลูมิเนียม และเหล็ก/เหล็กกล้า
  2. แพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเน้น 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พลาสติก วัสดุก่อสร้าง และเกษตร-อาหาร
  3. แอปพลิเคชันติดตามประเมินปริมาณขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดต้นทาง

แพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการและผู้สูงอายุ

แพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการและผู้สูงอายุ

แพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการ (Accessible Information And Communication Platform) มีเป้าหมายลดอุปสรรคในการเข้าถึงโลกดิจิทัล ของกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ ใน 3 เรื่อง คือ ช่วยให้เข้าถึงการสื่อสาร, ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และช่วยให้เข้าถึงบริการดิจิทัล โดยแพลตฟอร์มมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบบริการ ดังนี้

  1. บริการถ่ายทอดการสื่อสาร เป็นบริการล่ามทางไกลที่ช่วยคนพิการทางการได้ยินและคนพิการทางการพูด สามารถสื่อสารผ่านบริการโทรคมนาคมพื้นฐานกับคนปกติได้
  2. บริการคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลา (Real Time) เป็นบริการแปลงเสียงเป็นข้อความแบบทันต่อเวลา ที่ช่วยคนพิการทางการได้ยินและผู้สูงอายุ สามารถเข้าใจเนื้อหาข้อมูลในการประชุมสัมมนาหรือรายการโทรทัศน์ได้
  3. บริการสื่ออ่านง่าย (Easy Read) เป็นบริการสร้างสื่อที่นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ชัดเจน เรียบง่ายและเข้าถึงได้ง่าย ที่ช่วยบุคคลที่มีปัญหาทางด้านการรับรู้ เช่น บุคคลออทิสติก บุคคลบกพร่องทางสติปัญหา บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ และกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการศึกษา ให้สามารถเข้าใจรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้
  4. บริการตรวจสอบการเข้าถึงบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และบริการโทรทัศน์ สำหรับคนพิการตามมาตรฐานสากล เป็นบริการที่ช่วยตรวจสอบการเข้าถึงบริการด้านดิจิทัล ได้แก่ เว็บไซต์ โมบายล์แอปพลิเคชัน และโทรทัศน์ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงบริการให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ด้วยตนเอง

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

ผู้ได้รับ/ผู้ใช้ประโยชน์ รวม 3.15 ล้านคน ได้แก่ คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางการเห็น คนพิการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ คนไร้กล่องเสียง และผู้สูงอายุ เป็นต้น และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้หน่วยงาน 5 หน่วยงาน เพื่อให้มีช่องทางที่ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลตามศักยภาพของความสามารถ

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

แพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการ ที่ประกอบด้วย 4 บริการ โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้หน่วยงาน 5 หน่วยงานนำไปใช้บริการ


ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. มีแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อบริการสื่อดิจิทัลอ่านง่ายสำหรับนักเรียนออทิสติก นักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา และนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับคลังสื่อดิจิทัลและซอฟต์แวร์สำหรับนักเรียนพิการทุกประเภท และมีคลังคำศัพท์อ่านง่ายและภาพที่เข้าใจง่าย จำนวน 1 ฐานข้อมูล
  2. มีสื่อดิจิทัลที่เข้าถึงโดยสะดวกถ้วนหน้า โดยมีล่ามภาษามือ และคำบรรยายแทนเสียง (Caption) จำนวน 1,200 เรื่อง
  3. มีบริการล่ามภาษามือทางไกลและคำบรรยายแทนเสียงประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียน 200 ชั่วโมง

แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง (Traffy Fondue)

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับบริการข้อมูลเมืองที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่น ๆ สำหรับบริหารเมือง/ชุมชน/นิคม ได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องพึ่งพิงระบบที่มีการพัฒนาและจำหน่ายจากต่างประเทศ โดยความสามารถของ platform ให้ครอบคลุมมิติการใช้งานมากยิ่งขึ้น และถูกขยายผลลงไปใช้ในพื้นที่จริง ในปี 2566 มีหน่วยงานรับแจ้งในระบบรวม 10,400 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย เทศบาล 1,300 หน่วยงาน และองค์การบริหารส่วนตำบล 1,800 หน่วยงาน ครอบคลุมการใช้งานทั่วประเทศ โดยมี 14 จังหวัดที่เข้าร่วมใช้งานทุกหน่วยราชการ ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ เช่น อปท. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงการอุดมศึกษาฯ และ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ (มทร. มร.)

บริษัท Fondee หน่วยงานเอกชนที่เป็นเครือข่ายในการใช้งานระบบ โดยจะขยายขอบเขตการให้บริการภาครัฐ อย่างก้าวกระโดดครอบคลุมความต้องการใช้งานที่หลากหลาย เน้นงานขึ้นทะเบียน/รับแจ้งปัญหา เริ่มให้บริการภาคธุรกิจ ยกระดับการให้บริการเพิ่มขึ้น

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมรวม 500 ล้านบาท จากการลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานจากการรับแจ้งปัญหาล่าช้าและไม่ครบถ้วน และผู้รับบริการจากการแจ้งปัญหาและติดตาม รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงต่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม จากแพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง ที่เชื่อมโยงประชาชนเข้ากับหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ (ล้านบาท)

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

ดำเนินการเพื่อส่งมอบการใช้ประโยชน์จริง ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 หน่วยงาน

การพัฒนาเศรษฐกิจด้วย BCG Model พื้นที่นำร่องทุ่งกุลาร้องไห้

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี รายได้ก้าวพ้นเส้นความยากจนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ BCG ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มีอัตลักษณ์ผ่านมาตรฐาน กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของผู้มีรายต่ำกว่าเส้นความยากจน (มีรายได้มากกว่า 40,000 บาท/คน/ปี) เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

โครงการที่ 1

การยกระดับเกษตรอินทรีย์/อาหารปลอดภัยด้วย BCG Economy

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

เกิดการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย จำนวน 18,000 คน มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. สินค้าเกษตรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้รับการยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG (50 ผลิตภัณฑ์)
  2. สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ (500 ล้านบาท)
  3. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (18,000 คน)

โครงการที่ 2

การยกระดับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย BCG Economy

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

เกิดการยกระดับรายได้จากการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาต่อยอดขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจฐานรากจำนวน 3,500 คน มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (3,500 คน)
  2. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ร้อยละ 50 มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. เกษตรกร/ผู้มีรายได้น้อยพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับประสิทธิภาพ การผลิตจำนวน 5,000 คน
  2. ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดธุรกิจ 5 ผลิตภัณฑ์
  3. เกษตรกร/ผู้มีรายได้น้อยอย่างน้อยร้อยละ 5 ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างรายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
  4. สร้างผลลัพธ์ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท

แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (FoodSERP)

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบอาหารฟังก์ชัน เวชสำอาง และ Functional Ingredients และให้บริการแบบ One-Stop Service โดยอาศัยแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มีความพร้อม โครงสร้างพื้นฐานโรงงานต้นแบบที่มีมาตรฐานการผลิต เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบที่ทันสมัยและความเชี่ยวชาญของทีมบุคลากรที่ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารใหม่และผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ให้ถึงมือผู้บริโภคมากกว่า 1 ล้านคน ผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมหรือวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมการผลิตส่วนผสมฟังก์ชันจากทรัพยากรชีวภาพของประเทศอย่างยั่งยืน

ประกอบด้วย 2 พันธกิจหลัก ได้แก่

  1. นวัตกรรมอาหารฟังก์ชัน อาหารเฉพาะทาง และอาหารอนาคต (Innovation Of Functional Foods, Specific Foods And Future Foods): มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเทรนด์ตลาด
  2. แพลตฟอร์มบริการผลิตและทดสอบผลิตภัณฑ์อาหาร เวชสำอาง และส่วนผสมฟังก์ชัน (Platform Of Production And Testing Services For Foods, Cosmeceuticals And Functional Ingredients) : มุ่งเน้นให้บริการพัฒนา/นวัตกรรมกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชัน ให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชัน อาหาร และเวชสำอางตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะของลูกค้า ในรูปแบบ One-Stop Service ที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบและมาตรฐาน และหน่วยงานภาควิชาการ

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ระดับอุตสาหกรรม มากกว่า 1,000,000 คน สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม 1,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. การให้บริการพัฒนา/นวัตกรรมกระบวนการผลิต นวัตกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชัน ให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชัน อาหาร และเวชสำอางตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะของลูกค้า ในรูปแบบ One-Stop Service ที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบและมาตรฐาน และหน่วยงานภาควิชาการ
  2. ผลิตภัณฑ์ระดับอุตสาหกรรม ที่เกิดจากการให้บริการพัฒนากระบวนการ/ผลิตภัณฑ์ การผลิต และทดสอบผลิตภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์)
  3. ผู้ประกอบการที่ใช้บริการ (ราย)

นวัตกรรมการผลิตสารสกัดเพิ่มมูลค่า

ในภาพรวมของสมุนไพรไทย มีมูลค่าการตลาดในปี 2566 เป็นจำนวนถึง 52,104.3 ล้านบาท โดยโอกาสทางธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูง ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2570 จะมีมูลค่าการตลาดถึง 1 แสนล้านบาท ซึ่งมีกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ทั้งด้านอาหารเสริมพร้อมดื่ม เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้รักษาอาการไอ หวัด แพ้อากาศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั่วไป ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบเนื่องจากมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบพืชพรรณสมุนไพร มีภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ แต่สมุนไพรไทยก็มีอุปสรรค ได้แก่

  1. คุณภาพของวัตถุดิบมีความแปรปรวน ความไม่สม่ำเสมอของปริมาณสารสำคัญ และการปนเปื้อนของโลหะหนักและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กระบวนการผลิตสารสกัดยังให้ปริมาณสารสำคัญน้อย และใช้สารเคมีในการสกัดสูง รวมถึงขาดระบบการผลิตสารสกัดมาตรฐานสำหรับการสกัดในระดับอุตสาหกรรม
  2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรยังมีจำนวนน้อย และผลิตภัณฑ์อาศัยเพียงความเชื่อและความรู้สึกตอบสนองของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่หรือเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น ไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาช่วยยืนยันคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย

จากปัญหาและอุปสรรคของสมุนไพรดังกล่าว การพัฒนานวัตกรรมการผลิตสารสกัดเพิ่มมูลค่า เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและความงามอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสารสกัดมาตรฐานจากสมุนไพรโดยมีสมุนไพรนำร่อง 3 ชนิดได้แก่ กระชายดำ บัวบก และกะเพรา เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร อุตสาหกรรมสารสกัด และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสมุนไพรไทย สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเอกชนให้สามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐาน ผลักดันให้เกิด “Hub of Thai Herbal Extract” ในการส่งเสริมพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและคว้าโอกาสตลาดสมุนไพรให้กับประเทศอย่างยั่งยืน

โครงการที่ 1

นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าสารสกัดมาตรฐานกะเพรา เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

สร้างรายได้ของผู้ประกอบการไทยจากนวัตกรรมจากสารสกัดมาตรฐาน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่า ในปี 2571 จากปีที่เริ่มมีรายได้ (ปี 2569)

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผลิตภัณฑ์อาหาร สารแต่งกลิ่นรสผงแห้งจากสารสกัดกะเพรา (ผลิตภัณฑ์)
  2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลดสภาวะเครียด (Anti Stress) จากสารสกัดมาตรฐานกะเพรา (ผลิตภัณฑ์)
  3. กระบวนการผลิตสารสกัดมาตรฐานกะเพรา ระดับอุตสาหกรรม (กระบวนการ)

โครงการที่ 2

การขยายผลนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าสารสกัดมาตรฐานกระชายดำ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

สร้างรายได้ของผู้ประกอบการไทยจากนวัตกรรมจากสารสกัดมาตรฐาน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่าในปี 2571 จากปีที่เริ่มมีรายได้ (ปี 2568)

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดมาตรฐานกระชายดำ (ผลิตภัณฑ์)
  2. ผลิตภัณฑ์ต้านการอักเสบจากสารสกัดกระชายดำ (ผลิตภัณฑ์)
  3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชะลอวัย ลดไขมัน/น้ำตาล ในเลือด (Antiobesity/Hypoglycemia) จากสารสกัดมาตรฐานกระชายดำ (ผลิตภัณฑ์)
  4. กระบวนการผลิตสารสกัดมาตรฐานกระชายดำระดับอุตสาหกรรม (กระบวนการ)

โครงการที่ 3

การเพิ่มมูลค่าสารสกัดมาตรฐานบัวบกด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2567-2571)

สร้างรายได้ของผู้ประกอบการไทยจากนวัตกรรมจากสารสกัดมาตรฐาน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่าในปี 2571 จากปีที่เริ่มมีรายได้ (ปี 2568)

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

  1. ผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging) จากสารสกัดบัวบก (ผลิตภัณฑ์)
  2. ผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบของสิว (Anti-Acne) จากสารสกัดบัวบก (ผลิตภัณฑ์)
  3. ผลิตภัณฑ์ยาทาสมานแผลจากสารสกัดบัวบก (ผลิตภัณฑ์)
  4. กระบวนการผลิตสารสกัดมาตรฐานบัวบกระดับอุตสาหกรรม (กระบวนการ)

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1.  สารสกัดมาตรฐานของกระชายดำ สำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging)
  2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและขยายผลสารสกัดมาตรฐานของกระชายดำสำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอาง
  3. ต้นแบบผลิตภัณฑ์ต้านการอักเสบจากสารสกัดกระชายดำ
  4. ผงแต่งกลิ่นจากสารสกัดกะเพรา เสมือนกลิ่นกะเพราสด
  5. ขยายขนาดกระบวนการกักเก็บกลิ่นกะเพรา ที่มีกลิ่นเสมือนกะเพราสดในระดับอุตสาหกรรม
  6. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง /เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging) / เวชสำอางต้านสิว (Anti-Acne) จากอนุภาคนำส่งสารสกัดบัวบก
  7. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและขยายผลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง / เวชสำอางชะลอวัย (Anti-Aging) จากอนุภาคนำส่งสารสกัดบัวบก ร่วมกับผู้ประกอบการ
  8. อนุภาคกักเก็บสารสกัดกะเพราลดกรด/ลดความเครียด

การเลือกหมวกนิรภัยสำหรับเด็ก

“หมวกนิรภัยสำหรับเด็ก” เลือกอย่างไรให้เหมาะสม ใช้ได้อย่างปลอดภัย มาดูพร้อมๆกันครับ

เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะครับ