ทำไมการแสดงข้อมูล (data visualization) เป็นเรื่องยาก

มี 3 เหตุผล ที่อธิบายทำไมการแสดงข้อมูลเป็นเรื่องยาก

1. การมีให้ของข้อมูล ข้อมูลที่ดีสำหรับการแสดงไม่ง่ายที่จะค้นพบ เมื่อค้นพบ ยังคงต้องการข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่ทำงานร่วมกันได้ จัดทำเป็นเอกสารและอนุญาตอย่างเหมาะสมเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่และพร้อมใช้ ดังนั้นมีการจัดการข้อมูลอยู่เบื้องหลังและหลายสิ่งจำเป็นต้องเกิดขึ้นก่อนที่ข้อมูลมีให้เพื่อการแสดง

2. การออกแบบการแสดง ไม่ใช่ทุกคนสามารถทำการแสดงข้อมูล ต้องการการประยุกต์ใช้การออกแบบและความเข้าใจหลักการออกแบบที่ให้รายละเอียดและมีการใช้อย่างมาก การออกแบบต้องการประสบการณ์ของผู้ใช้และการพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่ใน browsers และเครื่องมือทางดิจิทัล

ดังนั้นไม่เพียงมีข้อจำกัดของทักษะ แต่ต้องการปรับใช้การแสดงในเทคโนโลยีที่จำเพาะ ไม่เหมือนเมื่อกำลังใช้การแสดงบน laptop หรือโทรศัพท์มือถือ หรือ tablet การแสดงที่แตกต่างกันต้องการประเภทการออกแบบที่แตกต่างกัน ในองค์กรขนาดใหญ่ ไม่เสมอไปมีความสามารถเหล่านี้

3. การเข้าถึงและเข้าใจข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงเป็นตัวสำคัญหลัก มีหลายสิ่งที่ลืมในเรื่องของความสามารถในการเข้าถึง ตัวอย่าง เช่น ผู้ใช้ที่มีความผิดปกติของการมองเห็น ต้องออกแบบสำหรับคนเหล่านั้นด้วย

นอกจากสามารถแก้ปัญหาความสามารถในการเข้าถึง ผู้ใช้ต้องเข้าใจสิ่งที่นำเสนอด้วย ในหลายหนทางการแสดงข้อมูลยากมากเกินไป มีกราฟ การโต้ตอบมากเกินไปในการแสดงข้อมูล ต้องทำให้ข้อความอยู่ในรูปที่ง่าย

ที่มา: Holly Lyke-Ho-Gland (August 1, 2022). Better Data Visualization Starts With Simplifying the Message. Retrieved September 23, 2023, from https://www.apqc.org/blog/better-data-visualization-starts-simplifying-message

stay interview คืออะไร

stay interview คือ การอภิปรายระหว่างพนักงานปัจจุบันและตัวแทนองค์กร เช่น ผู้จัดการ HR เกี่ยวกับปัจจัยซึ่งสนับสนุนและไม่สนับสนุนการรักษาพนักงานไว้ในองค์กร

stay interview เป็นเครื่องมือการรักษาแบบสองวัตถุประสงค์ รายละเอียดที่รวบรวมได้จาก stay interview ช่วยให้องค์กรเข้าใจตัวผลักดันและตัวกีดกันการรักษา แต่ stay interview โดยตัวเองผลักดันการรักษา stay interview เปิดโอกาสให้พนักงานได้รับการเห็น การได้ยิน และการยอมรับ โดยการเชิญพนักงานเข้าร่วมใน stay interview องค์กรเห็นคุณค่าของการตอบโต้ของพนักงาน

stay interview ส่งผลต่อองค์กร ดังนี้
– พัฒนาการรักษาพนักงาน stay interview ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตัวผลักดันของการโยกย้าย เช่น สภาพแวดล้อมการทำงานและวัฒนธรรมที่ไม่ดี สวัสดิการและเงินเดือนไม่ดี และขาดโอกาสการเติบโต
– พัฒนาการดูแลพนักงานใหม่ เมื่อใช้กับพนักงานใหม่ stay interview ทำให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาในเรื่องการดูแลพนักงานใหม่ก่อนนำไปสู่การโยกย้าย
– พัฒนาการมีส่วนร่วมของพนักงาน stay interview เป็นวิธีการทำให้พนักงานมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังช่วย HR ระบุกลยุทธ์การมีส่วนร่วมอื่นใช้ได้และใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ข้อมูลการสำรวจการมีส่วนร่วม
– พัฒนาการสรรหาพนักงาน stay interview มีประโยชน์ต่อพนักงานส่วนใหญ่ ซึ่ง HR สามารถเน้นการประกาศรับสมัครงาน หน้าอาชีพ และการสัมภาษณ์สรรหาพนักงาน
– พัฒนาการจ้าง
– พัฒนาการเรียนรู้และการพัฒนา stay interview บ่อยครั้งจะเปิดโอกาสให้พัฒนาหนทางการฝึกอบรมและพัฒนา เพื่อผู้มีความสามารถสูงไม่จำเป็นต้องมองหาที่อื่นเพื่อเติบโต

ที่มา: Elissa Tucker (July 16, 2022). Are Stay Interviews Effective?. Retrieved September 23, 2023, from https://www.apqc.org/blog/are-stay-interviews-effective

นวัตกรรมแบบเปิด (open innovation) คืออะไร

ในขณะที่นวัตกรรมแบบดั้งเดิม (traditional innovation) เกิดขึ้นเป็นการภายใน โดยแนวคิดใหม่เกิดขึ้นในธุรกิจ นวัตกรรมแบบเปิดเป็นเรื่องตรงข้ามกับนวัตกรรมแบบดั้งเดิม มีวิวัฒนาการภายนอกองค์กรทำให้เกิดความร่วมมือมากขึ้น

นวัตกรรมแบบเปิดถูกส้างขึ้นในทางธุรกิจหรือ platforms และแนวคิดใหม่เกี่ยวข้องหรือต้องการหน่วยงานและบุคคลจำนวนมาก

นวัตกรรมแบบเปิดให้ข้อดีหลายข้อที่ชัดเจนและทำให้ธุรกิจได้รับผลประโยชน์ จากความถูกต้องของตลาดไปจนถึงความมีประสิทธิภาพของกระบวนการ
– รูปแบบภายนอก เนื่องจากนวัตกรรมแบบเปิดเป็นไปตามแนวทางภายนอกของนวัตกรรม องค์กรไม่จำเป็นต้องสงสัยว่าแนวคิดใหม่จะเป็นไปตามความต้องการของตลาดหรือไม่ แนวคิดเกิดจากตลาดและสะท้อนให้เห็นความต้องการของตลาด
– องค์กรไม่ถูกจำกัดโดยความสามารถ ประสบการณ์ หรือทรัพยากร ของตนเอง เนื่องจากองค์กรสามารถนำเสนอความสามารถ ประสบการณ์ และทรัพยากร ได้กว้างและลึกอย่างมาก
– ด้วยเทคนิค เช่น การวิ่งเร็วในระยะสั้น หรือกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ สามารถทำให้เป็นเดือนหรือสัปดาห์ในบางกรณี

ที่มา: Anthony Marshall (July 13, 2023). Open Innovation Is How Smart Businesses Grow. Retrieved September 23, 2023, from https://www.apqc.org/blog/open-innovation-how-smart-businesses-grow

 

เครื่องวัดระดับน้ำตาล: สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตลาดของเครื่องวัด และเทคโนโลยีเครื่องวัด

บทความนำเสนอข้อมูลเกี่ยกับ สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตลาดของเครื่องวัดระดับน้ำตาล และตัวอย่างการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของเครื่องวัดระบบน้ำตาลในเลือด

  • แหล่งข้อมูลหลัก: ฐานข้อมูล Mintel https://www.mintel.com
  • วันที่สืบค้นข้อมูล: 14 กันยายน พ.ศ. 2566
  • คำค้น: glucose monitor, glucose meter, glucose strip test, diabetes test, blood glucose, glucose test strip
  • ช่วงของข้อมูลที่สืบค้น: 2019-ปัจจุบัน

สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนจำเป็นในการเปลี่ยนน้ำตาล แป้ง และอาหารอื่นๆ ให้เป็นพลังงาน การพัฒนาโรคเบาหวานมีทั้งจากพันธุกรรมและจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น โรคอ้วนและการขาดการออกกำลังกาย

ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นที่เกิดจากโรคเบาหวานซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายไม่สามารถประมวลผลคาร์โบไฮเดรตได้ ส่งผลต่อทุกส่วนของร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคไต โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะแทรกซ้อนทางตา (ซึ่งอาจนำไปสู่การตาบอด) ภาวะแทรกซ้อนที่เท้า (ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดแขนขา) ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง และภาวะซึมเศร้า ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานถึง 2 เท่า โดยรวมแล้วความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีประมาณ 2 เท่า ของผู้ที่ไม่มีโรคเบาหวานในวัยใกล้เคียงกัน อายุขัยของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉลี่ยจะน้อยกว่าประชากรทั่วไปประมาณ 10 ถึง 15 ปี

ความชุกของโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น

  • โดยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกในปี 2021 มีผู้ป่วยจำนวน 537 ล้านคน และคาดว่าในปี 2030 จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และเพิ่มขึ้นไปถึง 783 ล้านคน ในปี 2045 ทั้งนี้โรคเบาหวานมีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที
  • จากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี โดยปี 2022 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2021 จำนวน 1.5 แสนคน ในปี 2021 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 16,388 คน (อัตราตาย 25.1 ต่อประชากรแสนคน) ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้โรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง
  • Centers for Disease Control and Prevention (CDC) หรือ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่าจำนวนชาวอเมริกันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นจาก 11 ล้านคนเป็น 30 ล้านคน ระหว่างปี 2000-2050

จากรายงาน Nutrition watch: type-2 diabetes in SEA ใน Mintel (2020) มีความชุกของโรคเบาหวานประเภท 2 (type 2 diabetes) คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาระของโรคเบาหวานกำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประชากรโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น

  • ประเทศมาเลเซีย – ชาวมาเลเซียประมาณ 3.6 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากโรคเบาหวาน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7 ล้านคนในปี 2025 การเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนั้นพบได้ในโรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการมีน้ำหนักเกินและการไม่ออกกำลังกาย
  • ประเทศฟิลิปปินส์ – ชาวฟิลิปปินส์ประมาณ 6.3 ล้านคน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 5 รองจากประเทศจีน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ในด้านจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตามข้อมูลของสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF)
  • ประเทศสิงคโปร์ – ชาวสิงคโปร์ 1 ใน 9 ที่มีอายุระหว่าง 18-69 ปี หรือผู้ใหญ่ประมาณ 450,000 คน เป็นโรคเบาหวาน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 670,000 คนภายในปี 2030 ประเทศสิงคโปร์มีการประกาศสงครามกับโรคเบาหวานในปี 2016 ด้วยความพยายามเชิงกลยุทธ์ระดับชาติเพื่อจัดการกับโรคเบาหวาน
  • ประเทศไทย – 1 ใน 11 ของคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน และ 70% ของการเสียชีวิตในประเทศไทยมีสาเหตุจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs)

โรคเบาหวานปัญหาระดับโลก และขนาดของตลาดของเครื่องวัดระดับน้ำตาล

เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดเรียกอีกอย่างว่า “glucometer” เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการวัดและแสดงระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานหรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านได้ด้วยอุปกรณ์นี้ ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจติดตามอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดต้องเป็นไปตามข้อกำหนดความถูกต้องแม่นยำของ ISO

เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ continuous glucose monitoring devices หรือ อุปกรณ์ตรวจวัดกลูโคสอย่างต่อเนื่อง และ self-monitoring blood glucose devices หรือ อุปกรณ์ตรวจวัดน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักพกเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดติดตัว อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ทันที ตลาดการวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหนึ่งในตลาดการวินิจฉัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก (the largest diagnostics market in the world) ตามรายงานของ Fortune Business Insights ขนาดตลาดระบบตรวจวัดกลูโคสในเลือด (blood glucose monitoring system) ทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตจาก 17.03 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 เป็น 32.99 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ที่ 9.9% ระหว่างช่วงปีที่คาดการณ์

เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดจะมองหารูปแบบความแปรผันของระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอาหาร ระดับกิจกรรม การใช้ยา หรือสภาวะทางพยาธิวิทยา เช่น โรคเบาหวาน ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติอาจก่อให้เกิดโรคที่คุกคามถึงชีวิตได้ทันทีและระยะยาว เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดใช้ในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มระดับกลูโคสเนื่องจากสามารถอ่านค่าน้ำตาลในเลือดได้อย่างต่อเนื่องและแบบเรียลไทม์ ยังช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจเกี่ยวกับปริมาณอินซูลินและการบริโภคอาหาร

ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่

  • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีในการติดตามและวินิจฉัยโรคเบาหวาน สามารถตรวจพบโรคเบาหวานได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ส่งผลให้ความต้องการเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น
  • ความชุกของโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้น ความชุกของโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นจึงช่วยเพิ่มความต้องการอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะการตรวจวัดที่รวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น
  • การเพิ่มจำนวนประชากรสูงอายุ ตลาดกำลังเติบโตตามจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุทั่วโลกประมาณ 2 พันล้านคนภายในปี 2050 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น
  • รายได้ต่อหัวและการใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น
  • การเคลื่อนไหวที่เพิ่มมากขึ้นของหน่วยงานด้านการดูแลสุขภาพและหน่วยงานของรัฐเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน
  • การเพิ่มเงินทุนภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับโครงการวิจัยที่กำหนดเป้าหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการกับโรคเบาหวาน
  • ความรู้และความตระหนักรู้ของสาธารณชนเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับโรคเบาหวานและการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
  • ความสนใจของผู้บริโภคต่อแนวทางเชิงป้องกันด้านสุขภาพ เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนความสนใจไปที่แนวทางเชิงป้องกันด้านสุขภาพ อุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดจึงไม่ได้มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่ยังขยายไปยังผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ เชื่อมโยงไปยังผลิตภัณฑ์อาหารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน

GlobeNewswire ระบุผู้เล่นหลักบางรายในอุตสาหกรรมเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ Abbott Laboratories, Asensia Diabetes Care, Medtronic plc, Dexcom Inc., Hoffmann-La Roche Ltd., Sanofi, Insulet Corporation, Novo Nordisk, Glysens Incorporated, B. Braun และ Ypsomed Holdings

ในแง่ของช่องทางการจัดจำหน่ายเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากการเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อจัดจำหน่ายเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดจึงเติบโตขึ้นอย่างมากและรวดเร็วเมื่อเทียบกับร้านค้าออฟไลน์ คาดการณ์ว่าในอนาคตแพลตฟอร์มออนไลน์จะสำคัญมากกว่าร้านค้าออฟไลน์

การพัฒนาล่าสุดของเทคโนโลยีเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด

ตัวอย่างการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของเครื่องวัดระบบน้ำตาลในเลือด

  • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีอนาคตในด้านสุขภาพเชิงป้องกัน เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่อง (Continuous Glucose Monitors: CGM) กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำหรับประชาชนในการติดตามสุขภาพของตนเอง ซึ่งสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่โภชนาการส่วนบุคคล แม้ว่าเดิมที CGM จะใช้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด แต่เทคโนโลยีนี้กำลังถูกมองว่าเป็นเครื่องมือด้านสุขภาพเชิงป้องกันสำหรับผู้บริโภคเพื่อปรับปรุงสุขภาพของตนเอง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทโภชนาการเฉพาะบุคคล ZOE ใช้ CGM เพื่อวิเคราะห์ว่าอาหารประเภทต่างๆ ส่งผลต่อการตอบสนองระดับน้ำตาลในเลือดของแต่ละบุคคลอย่างไร หรือ ตัวอย่าง แบรนด์ Signos, NutriSense และ Levels เสนอ CGM ให้กับผู้คนเพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือดแบบเรียลไทม์ และกำหนดให้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านสุขภาพ แอปพลิคันใช้ข้อมูลจาก CGM เพื่อติดตามว่าอาหาร การนอนหลับ การออกกำลังกาย และความเครียดส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของแต่ละบุคคลอย่างไร
  • One Drop Chrome ระบบวัดน้ำตาลกลูโคสที่ใช้เทคโนโลยีบลูทูธเพื่อซิงค์ข้อมูลการวัดจากเครื่องวัดน้ำตาลกลูโคสกับแอปพลิเคชันของบริษัท เครื่องวัดน้ำตาลกลูโคส One Drop Chrome ออกแบบมาในกระเป๋าพกพาง่ายและสะดวก One Drop Premium เป็นบริการสมัครสมาชิกรายเดือน ซึ่งมาพร้อมแถบทดสอบไม่จำกัดที่จัดส่งตามความต้องการ และให้การเข้าถึงนักการศึกษาโรคเบาหวานที่ผ่านการรับรองตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ขณะที่แอปพลิเคชันที่ใช้งานร่วมกับเครื่องวัดนั้นอนุญาตให้ผู้ใช้บันทึกและวิเคราะห์การทดสอบกลูโคส บันทึกและวิเคราะห์การบริโภคอาหาร ติดตามกิจกรรมโดยใช้เครื่องนับก้าว หรือลิงก์ไปยังเครื่องมือติดตามกิจกรรมอื่นๆ และตั้งเวลาเตือนให้รับประทานยา โดยแอปพลิเคชันจะเปลี่ยนข้อมูลที่ป้อนให้เป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้ผู้บริโภคดำเนินการต่อไป อุปกรณ์ One Drop Chrome ช่วยลดความจำเป็นในการไปพบแพทย์ผู้ดูแลหลัก และมอบการดูแลให้กับผู้บริโภคมากขึ้น
  • 23andMe เปิดตัวการทดสอบทางพันธุกรรมใหม่เพื่อทำนายโอกาสในการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 การทดสอบโรคเบาหวานประเภท 2 ของ 23andMe จะจัดผู้ใช้ให้อยู่ในหนึ่งในสองประเภท คือ “โอกาสโดยทั่วไป” หรือ “โอกาสที่เพิ่มขึ้น” “โอกาสที่เพิ่มขึ้น” หมายถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคเนื่องจากประวัติทางพันธุกรรม (ตรงข้ามกับปัจจัยในการดำเนินชีวิต) แม้ว่า 23andMe จะไม่ให้การวินิจฉัยอย่างเป็นทางการหรือคำแนะนำทางการแพทย์เฉพาะบุคคล แต่รายงานภาวะสุขภาพจะรวมข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินชีวิตที่ลดลงของโรคเบาหวานประเภท 2
  • การใช้ไบโอเซนเซอร์ Libre Sense ของ Abbott ทำให้อุปกรณ์และแอปพลิเคชันสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดได้แบบเรียลไทม์
  • Rick Miller, RD. Associate Director Specialised Nutrition ให้เหตุผลว่าแบรนด์ต่างๆ ต้องเปลี่ยนจาก ตัวชี้วัดทางชีวภาพย้อนหลัง (เช่น การตรวจเลือด) มาเป็น แบบเรียลไทม์ (เช่น การตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่อง continuous blood glucose monitoring) เทคโนโลยีต่างๆ เช่น การทดสอบสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในลมหายใจ ได้ให้นิยามใหม่ของการวิเคราะห์ตัวชี้วัดทางชีวภาพแบบคลาสสิกแล้ว ประการที่สอง เช่นเดียวกับการติดตามกิจกรรม (เช่น Fitbit) นักนวัตกรรมจะต้องรวมการรวบรวมข้อมูลเข้ากับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน Miller ให้เหตุผลเพิ่มเติมว่าการบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่จะช่วยปรับปรุงคำแนะนำด้านสุขภาพ
  • ความสนใจของผู้บริโภคต่อเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด
    • มีความสนใจของผู้บริโภคต่อเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดของตน
    • Veri ใช้เซ็นเซอร์แบบสวมใส่ได้ เพื่อวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือด Veri นำเสนอเครื่องติดตามระดับน้ำตาลในเลือดที่สวมใส่ได้และแอปพลิเคชันที่ให้มาซึ่งให้ข้อเสนอแนะแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเฉพาะบุคคลที่สร้างขึ้นจากการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างออกกำลังกายและการนอนหลับ ช่วยให้ผู้บริโภคเห็นว่าร่างกายตอบสนองต่ออาหารประเภทต่างๆ อย่างไร ช่วยจัดการน้ำหนัก รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ และรู้สึกมีพลังมากขึ้น ทำนองเดียวกับ แอปพลิเคชันติดตามสุขภาพของ Fitbit อนุญาตให้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และ Apple กำลังสำรวจเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำตาลในเลือด ใน Apple Watch ในอนาคต
    • อุปกรณ์สวมใส่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าการติดตามการออกกำลังกาย และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีที่บันทึกการวัดผลด้านสุขภาพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ และระดับออกซิเจนในเลือด ผู้บริโภคกำลังมองหาอุปกรณ์ที่บันทึกการวัดผลด้านสุขภาพอื่นๆ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีของตน พร้อมความสะดวกสบายจากอุปกรณ์เพียงเครื่องเดียว ด้วยเหตุนี้ แบรนด์ต่างๆ จึงต้องช่วยผู้บริโภคตีความข้อมูลนี้ และสามารถทำให้การดูแลสุขภาพเข้าถึงได้มากขึ้นด้วยการให้คำแนะนำและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ใช้เพียงปลายนิ้วสัมผัส การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีเป็นอันดับแรก และผู้บริโภคจะคาดหวังนวัตกรรมเพิ่มเติมจากอุปกรณ์สวมใส่เพื่อให้มีมุมมองด้านสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้น
    • ด้วยความปรารถนาที่จะเข้าใจร่างกายของตนเองมากขึ้นและช่วยในการจัดการสุขภาพของตนเอง ผู้บริโภคจึงหันมาใช้เทคโนโลยี เช่น อุปกรณ์สวมใส่ได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้คนสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและนิสัยของตนได้ง่าย แบรนด์ต่างๆ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เน้นเรื่องการออกกำลังกาย การนอนหลับ และสามารถติดตามสุขภาพด้านอื่นๆ ได้มากมาย เช่น น้ำตาลในเลือดหรืออัตราการเต้นของหัวใจ การเข้าถึงข้อมูล การวิเคราะห์ และคำแนะนำนี้ ผู้บริโภคสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการรับประทานอาหาร การนอนหลับ และการออกกำลังกาย ทำให้เทคโนโลยีด้านสุขภาพมีความน่าสนใจ ด้วยเหตุนี้ จึงเริ่มเห็นอุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพเปลี่ยนจากกลุ่มเฉพาะไปสู่กระแสหลัก Wellbeing Driver สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความสนใจในเทคโนโลยีด้านสุขภาพและอุปกรณ์สวมใส่ ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับร่างกายของตนเอง และคำแนะนำที่ตรงไปตรงมาว่าควรทำอย่างไร ด้วยเหตุนี้ วิธีที่ผู้บริโภคมองโภชนาการ การนอนหลับ และการออกกำลังกายจะเปลี่ยนไป โดยอิงจากข้อมูลและการวิเคราะห์มากกว่าการคาดเดา

จากรายงาน The Future of Vitamins, Minerals and Supplements: 2023 คาดการณ์ว่า ในอีกสองปีข้างหน้า การติดตามสุขภาพของไมโครไบโอมในลำไส้และระดับน้ำตาลในเลือดจะเป็นประเด็นสำคัญสำหรับโภชนาการเฉพาะบุคคลตามหลักวิทยาศาสตร์ การจัดส่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ให้โภชนาการที่ตรงเป้าหมายสำหรับช่วงวัยที่แตกต่างกัน และการจัดการกับสาเหตุของความกังวลเรื่องสุขภาพผ่านอาหารเสริมที่สนับสนุนฮอร์โมน น้ำตาลในเลือด และไมโครไบโอมในลำไส้ จะกำหนดโภชนาการส่วนบุคคลในทศวรรษหน้า

สำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (Food Standards Agency: FSA) รายงานว่า จนถึงปี 2017 การวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่องยังจำกัดอยู่เฉพาะในตลาดโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทสตาร์ทอัพอย่าง Lumen, Levels และ Supersapiens ได้เปิดตัวอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยมุ่งเป้าไปที่ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพโดยทั่วไปมากกว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน เช่น Supersapiens ที่มุ่งเป้าไปที่นักกีฬาด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดหรือระบบติดตามผ่านแอพ โดยอ้างว่าช่วยให้นักกีฬาบรรลุศักยภาพของตนเองโดยหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ เช่น ความเหนื่อยล้า สะท้อนถึงโอกาสการขยายตัวของตลาดอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดจากโรคเบาหวานไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มอื่นที่ใส่ใจสุขภาพโดยทั่วไป เช่น นักกีฬา ไม่เฉพาะผู้บริโภคกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประกอบกับปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่กล่าวถึงในข้างต้น เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความชุกของโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มจำนวนประชากรสูงอายุ รายได้ต่อหัวและการใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น และความสนใจของผู้บริโภคต่อแนวทางเชิงป้องกันด้านสุขภาพ สะท้อนให้เห็นถึงอนาคตที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรมนี้

อ้างอิง:

กรมควบคุมโรค. (12 พฤศจิกายน 2564). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

Forsyth, J. (2022, February 28). Food innovators face a new era of mass personalisation. Mintel. https://clients.mintel.com/content/trend/food-innovators-face-a-new-era-of-mass-personalisation-1

Fortune Business Insights. (2023, May). Blood glucose monitoring market. https://www.fortunebusinessinsights.com/industry-reports/blood-glucose-monitoring-market-100648

GlobeNewswire. (2023, March 7). Blood glucose meters market predicted to garner USD 22.6 billion by 2032, at CAGR 8.7% | Market.us. https://www.globenewswire.com/en/news-release/2023/03/07/2622373/0/en/Blood-Glucose-Meters-Market-Predicted-to-Garner-USD-22-6-Billion-By-2032-At-CAGR-8-7-Market-us.html

Mattucci, S. (2022, February 22). Nutrition watch: blood sugar control. Mintel. https://clients.mintel.com/content/insight/nutrition-watch-blood-sugar-control

Mintel. (2022, January 4). Smart ring. https://reports.mintel.com/trends/#/observation/1117961?fromSearch=%3Ffreetext%3D%2522Blood%2520Glucose%2522

Mintel. (2021, October 19). Understand your body. https://reports.mintel.com/trends/#/observation/1106387?fromSearch=%3Ffreetext%3D%2522Blood%2520Glucose%2522

Schofield, E. (2023, June 7). The future of vitamins, minerals and supplements: 2023. Mintel. https://clients.mintel.com/content/report/the-future-of-vitamins-minerals-and-supplements-2023

Teodoro, Michelle. (2020, March 4). Nutrition watch: type-2 diabetes in SEA. Mintel. https://clients.mintel.com/content/insight/nutrition-watch-type-2-diabetes-in-sea

Trouwborst, I., Gijbels, A., Jardon, K.M., Siebelink, E., Hul, G.B., Wanders, L., Erdos, B., Peter, S., Singh-Povel, C., de Vogel-van den Bosch, J., Adriaens, M., Arts, I., Thijssen, D., Feskens, E., Goossens, G., Afman, L., Blaak, E. (2023). Cardiometabolic health improvements upon dietary intervention are driven by tissue-specific insulin resistance phenotype: A precision nutrition trial. Cell Metabolism, 35 (1), pp. 71-83.e5. doi: 10.1016/j.cmet.2022.12.002

 

 

การศึกษาแบบเปิด (open education) คืออะไร

การศึกษาแบบเปิด คือ ทรัพยากร เครื่องมือ และการปฏิบัติ ที่ไม่มีการกีดกันทางกฎหมาย การเงิน และเทคนิค และสามารถถูกใช้ แบ่งปัน และปรับอย่างสมบูรณ์ในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล

การศึกษาแบบเปิดทำให้อินเทอร์เน็ตมีความสามารถสูงสุดในการทำให้การศึกษาสามารถจ่ายได้ เข้าถึงได้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รากฐานของการศึกษาแบบเปิด คือ ทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources, OER) ซึ่งเป็นการสอน การเรียนรู้ ทรัพยากรวิจัย ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีการกีดกันการเข้าถึง และยังมีการอนุญาตทางกฎหมายให้ใช้แบบเปิด โดยการอนุญาตใช้การอนุญาตแบบเปิด ที่ปล่อยให้ใครก็ได้ใช้ ปรับ และแบ่งปันทรัพยากรอย่างไม่มีค่าใช้จ่าย ที่เวลาไหนก็ได้และที่ไหนก็ได้

ทำไมใช้การศึกษาแบบเปิด
1. ราคาตำราเรียนไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การศึกษาแบบเปิดมีตำราเรียนให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
2. นักศึกษาเรียนรู้มากขึ้นเมื่อเข้าถึงวัสดุทางการศึกษาที่มีคุณภาพ การศึกษาแบบเปิดให้วัสดุทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. เทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาการสอนและการเรียนรู้อย่างมาก การศึกษาแบบเปิดทำให้การสอนและการเรียนรู้พัฒนา
4. การศึกษาที่ดีขึ้นหมายถึงอนาคตที่ดีขึ้น การศึกษาแบบเปิดทำให้การศึกษาถูกเข้าถึงได้มากขึ้นและการสอนและการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา: SPARC. Open Education. Retrieved September 15, 2023, from https://sparcopen.org/open-education/

การเข้าถึงแบบเปิด (open access) คืออะไร

การเข้าถึงแบบเปิด คือบทความวิจัยที่มีให้อย่างฟรี ทันที และออนไลน์ และสิทธิในการใช้บทความอย่างสมบูรณ์ในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล ยังมีความหมายได้อีก เช่น

1. การเข้าถึงแบบเปิดทำให้ใครก็ได้สามารถเข้าถึงและใช้ผลการวิจัย เพื่อเปลี่ยนจากแนวคิดเป็นอุตสาหกรรมและชีวิตที่ดีขึ้น
2. การเข้าถึงแบบเปิดเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนโดยทำให้ผลการวิจัยที่ได้รับทุนสามารถอ่านและต่อยอดโดยใครก็ได้
3. การเข้าถึงแบบเปิดขยายจำนวนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในงานวิจัยจากสถาบันที่มีเงินมากพอที่จะจ่ายสำหรับสมัครสมาชิกใช้บริการวารสารไปยังใครก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ตไว้ใช้
4. การเข้าถึงแบบเปิดหมายถึงมีผู้อ่านที่มากขึ้น มีผู้ร่วมมือที่มากขึ้น มีการอ้างอิงงานที่มากขึ้น และในที่สุดได้รับการยอมรับที่มากขึ้น

ที่มา: SPARC. Open Access. Retrieved September 15, 2023, from https://sparcopen.org/open-access/