ผลการค้นหา :

ความร่วมมือเซิร์น-เดซี-ลินเดา โอกาสนักวิจัยไทยในเวทีวิทยาศาสตร์ระดับโลก
ความร่วมมือเซิร์น-เดซี-ลินเดา โอกาสนักวิจัยไทยในเวทีวิทยาศาสตร์ระดับโลก
การส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยไทยได้มีโอกาสแสดงความสามารถบนเวทีระดับโลก เพื่อสร้างเครือข่ายและยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาตินั้น นอกจากการส่งผลงานเข้าประกวดหรือร่วมแข่งขันในเวทีต่างๆ แล้ว การได้ทำงานร่วมกับโครงการวิจัยระดับโลกก็ถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญของนักวิทยาศาสตร์และประเทศไทย
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี" ทำให้เยาวชนและนักวิจัยไทยมีโอกาสร่วมมือและทำงานกับองค์กรด้านวิทยาศาสตร์ระดับโลก อย่างเช่น เซิร์น หรือองค์กรเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research: CERN) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวาสมาพันธรัฐสวิสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยือนเชิร์นหลายครั้ง และมี พระราชกระแสรับสั่งกับ "ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช รัชยพงษ์" ว่า "หากนักวิทยาศาสตร์ไทยมีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับเซิร์นก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยเป็นอันมาก"
ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะเลขานุการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้ประสานงานเพื่อให้มีการหารือร่วมกันระหว่างทีมผู้บริหารของเซิร์นกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับความร่วมมือในสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องจนกระทั่งมีการลงนามแสดงเจตจำนงระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ประเทศไทย กับสถานีวิจัยซีเอ็มเอส (CMS) ของเซิร์น เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวเปิดโอกาสให้นักศึกษา 2 คน และครูฟิสิกส์ไทย 2 คนได้เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนเซิร์น ได้เข้าร่วมทำการทดลองด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงและมีความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับเซิร์นอีกด้วยนอกจากนี้ในครั้งที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสถาบันเดซี่ องค์กรวิจัยชั้นนำของโลกด้านแสงซินโครตรอนและด้านฟิสิกส์อนุภาคมูลฐาน ณ เมืองฮัมบูร์กสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2545 สถาบันเดซีได้ทูลเกล้าฯ ถวายทุนโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี เพื่อให้นักศึกษาไทยในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเข้าร่วมกิจกรรมวิจัยในห้องปฏิบัติการของสถาบันร่วมกับนักศึกษาทั่วโลกที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สวทช. และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนคัดเลือกเยาวชนไทยเข้าร่วมกิจกรรมวิจัยดังกล่าว จนถึงปัจจุบันมีนักศึกษาไทยเข้าร่วมโครงการ 49 คนอย่างไรก็ดีนอกจากเยาวชนไทยจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่สถาบันเดซี และนักวิทยาศาสตร์ไทยจะได้ทำงานร่วมกับนักวิชาการและวิศวกรชั้นนำในเซิร์นแล้ว สวทช. ยังรับสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้นิสิต นักศึกษา นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ของไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางวิชาการ อีกทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ ๆ จากประสบการณ์จริงของนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ผู้เคยได้รับรางวัลโนเบลในอดีตจำนวนมาก ที่ได้รับเชิญให้มานำเสนอผลงานในการประชุมดังกล่าว
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา สวทช. ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครและคัดเลือกนิสิต นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เพื่อเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมดังกล่าว หลังจาก สวทช. และผู้แทนสมาชิกมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในขั้นต้นแล้ว จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อมีพระราชวินิจฉัยคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป จนถึงปัจจุบันมีผู้แทนประเทศไทศไทยที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ซึ่งประกอบด้วยนิสิต นักศึกษา อาจารย์นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่รวมทั้งสิ้น 69 คนที่ผ่านมาภายหลังจากการประชุมที่ลินเดา ตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าประชุมจะมีภารกิจในการไปบรรยายเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ตามสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นการส่งต่อความรู้และแรงบันดาลใจที่ได้รับมาจากเวทีการประชุมระดับโลกให้แก่เด็กและเยาวชนไทยอีกด้วย
การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่สถาบันเดซีของเยาวชนและนักศึกษาการที่นักวิทย์รุ่นใหม่ไทยได้พบปะนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลที่เมืองลินเดา และนักวิทยาศาสตร์ไทยยังได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับเซิร์นล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนางานวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ การสร้างมิตรภาพและเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ทำงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการนำมาต่อยอดพัฒนางานวิจัยของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตต่อไป
ดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

พัฒนาบุคลากร STEM รองรับภาคอุตสาหกรรมเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
พัฒนาบุคลากร STEM รองรับภาคอุตสาหกรรมเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามโมเดล "ประเทศไทย4.0" ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (EEC) ที่จะช่วยยกระดับให้ไทยก้าวสู่การเป็นประเทศรายได้สูง หรือประเทศพัฒนาแล้วได้ภายใน ปี พ.ศ. 2575 ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
แต่เนื่องจาก 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซี มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิตและบริการ รวมถึงภาคการสนับสนุนที่จำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีทักษะสูงและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ฯลฯ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงจัดทำ "โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematics) เพื่อการวิจัยและพัฒนาสำหรับภาคอุตสาหกรรม" ขึ้น เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
โครงการนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกที่มีความสนใจในการทำโครงการหรืองานวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย สามารถสมัครเข้ารับทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้โดยมีระยะเวลารับทุน 6-12 เดือน
โดย 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของประเทศ ได้แก่ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ที่ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S Curve) ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรทั้งนี้ผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการศักยภาพบุคลากร STEM เช่น อาจารย์หรือมหาวิทยาลัยที่มีผู้ช่วยวิจัยระดับปริญญาโท-เอก จะได้ใช้ประโยชน์ในการร่วมทำวิจัยกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยสนับสนุนให้งานวิจัยสำเร็จเร็วขึ้น และพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการทำงานจริง มีโอกาสได้รับการจ้างงานและได้รับค่าตอบแทนระหว่างการทำโครงการ
สำหรับภาคอุตสาหกรรมสามารถลดต้นทุนในการจ้างผู้ช่วยนักวิจัย และมีโอกาสคัดเลือกนักศึกษา (ผู้ช่วยนักวิจัย) ที่มีศักยภาพเพื่อร่วมงานในอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยให้งานวิจัยสำเร็จเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากการช่วยสนับสนุนของอาจารย์และนักศึกษาอีกทั้งยังมีส่วนร่วมสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศร่วมกับมหาวิทยาลัยและ สวทช.
โครงการนี้จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกของ สวทช. ในปี พ.ศ. 2560-2561ในการพัฒนาบุคลากรวิจัยด้าน STEM เผื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมของประเทศแบบเร่งด่วนจำนวน 273 คน และยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมในภาคการผลิตและบริการระหว่าง สวทช. กับสถาบันการศึกษารวมถึงกระตุ้นให้เกิดการนำองค์ความรู้ผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการอีกด้วยดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

TAIST-Tokyo Tech และ JAIST ผลิตผู้เชี่ยวชาญขั้นสูงด้วยหลักสูตรนานาชาติ
TAIST-Tokyo Tech และ JAIST ผลิตผู้เชี่ยวชาญขั้นสูงด้วยหลักสูตรนานาชาติ
การมีทรัพยากรบุคคลที่เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีขั้นสูงภายในประเทศ คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน หรือย้ายฐานการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในประเทศไทยเพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับการเข้ามาลงทุนด้านเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศ รวมถึงแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งใน และต่างประเทศเปิดหลักสูตรนานาชาติสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีขั้นสูงที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างเช่น โครงการ TAIST-Tokyo Tech หรือสถาบันวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งประเทศไทยและสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ซึ่งเป็นโครงการทุนการศึกษาหลักสูตรนานาชาติสำหรับระดับปริญญาโท ในโครงการความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว หรือ Tokyo Tech และสถาบันการศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการคือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ที่ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2550
ปัจจุบัน TAIST-Tokyo Tech เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทใน 3 สาขาหลักซึ่งเป็นแนวโน้มของเทคโนโลยีแห่งอนาคต คือ 1. วิศวกรรมยานยนต์และระบบขนส่งขั้นสูง (ชื่อเดิม : วิศวกรรมยานยนต์) 2. ปัญญาประดิษฐ์และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (ชื่อเดิม : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อระบบสมองกลฝังตัว) และ 3. วิศวกรรมพลังงานและทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนโครงการความร่วมมือนี้เป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพในแต่ละหลักสูตร ดำเนินงานในรูปแบบสถาบันเสมือนที่ไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ก่อตั้งเหมือนสถาบันการศึกษาทั่วไป โดยแต่ละหลักสูตรจะสอนและถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านอาจารย์จาก Tokyo Tech เป็นหลัก ส่วนการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่จะดำเนินการในห้องปฏิบัติการต่างๆ ของสวทช. นอกจากโครงการ TAIST-Tokyo Tech แล้ว สวทช. ยังจัดทำโครงการปริญญาเอกสองสถาบันภายใต้ความร่วมมือ JAIST-NSTDA-SIT ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาเอก) สองปริญญาระหว่าง Japan Advanced Institute of Science and Technology ประเทศญี่ปุ่น กับสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูงในระดับนานาชาติ อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และการจัดการเทคโนโลยีของประเทศในอนาคต
สำหรับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะต้องทำวิจัยภายใต้โครงการร่วมมือวิจัยระหว่างนักวิจัย สวทช. กับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่นักศึกษาสังกัด คือ JAIST และ SIT
จากความร่วมมือในระดับนานาชาติที่สถาบันการศึกษาชั้นนำจะมาถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ระดับโลก ผนวกกับความแข็งแกร่งด้านวิชาการของภาคการศึกษาไทย และ สวทช. ซึ่งมีนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการวิจัยและพัฒนา เชื่อว่ากลไกเหล่านี้จะเป็นตัวเร่งและผลักดันให้ประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีขั้นสูงรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว
ดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

อุปสรรคที่สำคัญที่สุดต่อการจัดการความรู้
หลายหน่วยงานกำลังดำเนินการจัดการความรู้ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ข้างล่างแสดงอุปสรรคที่สำคัญต่อการจัดการความรู้ และวิธีเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานประสบผลสำเร็จในการจัดการความรู้ในที่สุด
1. ความตระหนัก
ไม่สามารถทำการจัดการความรู้ได้ถ้าไม่รู้ว่าการจัดการความรู้คืออะไร
วิธีการเอาชนะอุปสรรคความตระหนัก
- สร้างแบรนด์การจัดการความรู้
- ใช้กลยุทธ์หลายช่องทาง บางคนไม่เคยอ่าน email จำเป็นต้องทำให้พนักงานสนใจเป็นประจำผ่านหลายช่องทางเพื่อให้แน่ใจว่าความคิดเห็นกระจายทั่วทั้งองค์กร
- ปรับข้อความให้เหมาะสม
- สร้างบรรยากาศสนุกสนาน เหตุการณ์สด การแข่งขัน และวิดีโอที่สนุกสนานสามารถส่งเสริมการจัดการความรู้
- ใช้ผู้บริหารและผู้จัดการ ทำให้ผู้บริหารและผู้จัดการเชื่อว่าการจัดการความรู้สำคัญ และทำให้ง่ายในการเป็นแบบอย่างและสนับสนุนการมีส่วนร่วม
2. เวลา
เวลาเป็นอุปสรรคเมื่อพนักงานคิดว่ามีงานมากเกินไปที่จะทำการจัดการความรู้ บางครั้งเกิดจากปัญหาในโปรแกรมการจัดการความรู้เอง เช่น การจัดการความรู้อาจทำให้ต้องนั่งในการประชุมเป็นเวลานาน หรือเครื่องมือการจัดการความรู้อาจใช้เวลาเพื่อเรียนรู้และใช้ อุปสรรคเวลายังเกิดขึ้นเมื่อพนักงานมีภาระหนักกับงานอื่น ๆ หรือเห็นการจัดการความรู้เป็นงานที่เพิ่มขึ้นมาซึ่งไม่มีประโยชน์
วิธีการเอาชนะอุปสรรคเวลา
- ทำให้การจัดการความรู้รวดเร็วและง่ายเท่าที่จะเป็นไปได้
- ทำให้การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบ
- ทำให้การฝึกอบรมการจัดการความรู้ง่ายและตามความต้องการ
- มองหาอุปสรรคทางโครงสร้างเพื่อใช้เวลากับการจัดการความรู้
- สร้างแรงจูงใจที่ชัดเจน จะให้เวลากับการจัดการความรู้ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหารและผู้จัดการ และถ้าคิดว่าจะช่วยการทำงานและอาชีพ
3. วัฒนธรรม
วิธีการเอาชนะอุปสรรควัฒนธรรม
- ทำให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ ผู้บริหารมีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม
- ชี้แนะผู้จัดการให้เป็นผู้สนับสนุน
- ร่วมมือกับ HR ในการฝึกอบรม
- ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยอุปสรรคทางภาษา
- ให้การศึกษากับพนักงานเกี่ยวกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม
- ให้รางวัลและเห็นคุณค่าผู้มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้
ที่มา: Lauren Trees (May 21, 2021). What Are the Biggest Barriers to Knowledge Management?. Retrieved June 14, 2021, from https://www.apqc.org/blog/what-are-biggest-barriers-knowledge-management
การจัดการความรู้ (KM)

พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กไทย ด้วย “JSTP”
พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กไทย ด้วย “JSTP”
หนึ่งในความใฝ่ฝันของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกก็คือ “รางวัลโนเบล" (Nobel Prize) ซึ่งเปรียบเสมือนเกียรติยศสูงสุดที่แสดงให้เห็นถึงความอัจฉริยะและความเชี่ยวชาญที่โดดเด่นในแต่ละสาขาที่สร้าง คุณประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติ แต่เส้นทางที่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้นอกจากความสามารถระดับ “อัจฉริยะ” ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดแล้วยังต้องอาศัยการส่งเสริมและพัฒนาให้เหมาะสมกับความถนัดของแต่ละคนด้วย บุคลากรที่มีความสามารถพิเศษเหล่านี้ แม้ว่าจะยังก้าวไปไม่ถึงรางวัลเกียรติยศระดับโลก แต่ก็เป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าและสำคัญต่ออนาคตของประเทศไทย โดยเฉพาะในยุคที่ประเทศต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
“โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน” หรือ “JSTP” (Junior Science Talent Project) หนึ่งในโครงการพัฒนากำลังคนของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เพื่อเฟ้นหาและคัดเลือกเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลายและปริญญาตรี เข้ามารับการส่งเสริมและพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมกับความถนัดของแต่ละคน เพื่อส่งต่อไปสู่การพัฒนาเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี และนักวิจัย ที่มีคุณภาพและมีจริยธรรมต่อไปในอนาคต
เนื่องจากการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้รับการบ่มเพาะจากนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงและนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถและมุ่งมั่นในการทำวิจัยจะมีส่วนช่วยให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ โครงการ "JSTP" จึงได้จัดหานักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง ทั้งนักวิจัยจากศูนย์แห่งชาติของ สวทช. รวมถึงเครือข่ายวิจัยที่มีอยู่ทั่วประเทศ คอยให้คำแนะนำและดูแล เพื่อให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้แสดงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2563) มีเยาวชนที่สนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการ “JSTP” แล้วถึง 27,353 คน และผ่านการคัดเลือกในระดับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Gifted and talented children) จำนวน 2,394 คน ซึ่งเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จะอยู่ในกระบวนการส่งเสริมประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพเป็นระยะเวลา 1 ปี
ในระหว่างนี้เยาวชนจะได้รับการบ่มเพาะผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบค่ายเสริมประสบการณ์ การฝึกทำวิจัยในห้องปฏิบัติการ และการฝึกอบรมความรู้ รวมถึงสนับสนุนทุนในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมีนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงเป็นผู้ดูแลและให้คำปรึกษา
ทั้งนี้โครงการฯ ได้คัดเลือกเยาวชนในระดับผู้มีแววอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Genius) จากเยาวชนกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการฯ ในระยะยาวแล้วจำนวน 22 รุ่น รวมทั้งสิ้น 347 คนโดยเยาวชนกลุ่มนี้จะได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาและทุนสนับสนุนการวิจัย จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากสถาบันการศึกษาภายในประเทศ
23 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตจากโครงการ “JSTP” เริ่มเห็นผลได้อย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะไม่ได้มีปริมาณมากเหมือนในสถาบันการศึกษา แต่การบ่มเพาะด้วยกลไกและความพร้อมของ สวทช.นี้ ส่งผลให้เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษและได้รับทุนต่อเนื่องในระยะยาว เมื่อจบออกไปแล้วกว่า 50% ยังทำงานในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตรงกับเป้าหมายของโครงการฯ
อย่างเช่น “รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี สุรีย์” JSTP รุ่นที่ 1 ที่จบปริญญาเอกและหลังปริญญาเอกในสาขาชีวเคมีและชีวโมเลกุล ann University of California, Los Angeles สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทำงานสังกัดภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี ทํางานวิจัยพัฒนายาต้านแบคทีเรียตั้งแต่เรียนปริญญาเอก แต่มีความสนใจส่วนตัวเรื่องไวรัส HIV ขณะที่เรียนอยู่ที่ต่างประเทศมีเพื่อนติดเชื้อ HIV จึงคอยให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับเรื่องยา และกลายเป็นความสนใจในเรื่องของกลไกการทำงานของไวรัส จนกระทั่งกลับมาบุกเบิกห้องปฏิบัติการพัฒนายาโรคติดเชื้อเอชไอวี และมุ่งมั่นทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เลี้ยงให้นาย พัชรพงศ์ ทั้งสุนันท์ เยาวชน JSTP รุ่นที่ 9 ขณะที่กำลังศึกษาระดับชั้นปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปัจจุบันเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งการดูแลเยาวชนในครั้งนี้ ผลักดันให้นายพัชรพงศ์ ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 3 ผู้ชนะรางวัล Young Scientist Award 2015 แห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2558 จากการประกวดโครงการวิจัยในหัวข้อ "Combined Computational and Biochemical Approaches for Drug Discovery Targeting HIV-1 Integrase" inlna MERCK Millipore Bioscience (Thailand) รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี กล่าวว่า “โครงการ JSTP เป็นโครงการที่เปลี่ยนชีวิตของพวกเราให้ได้มีโอกาสเติบโตเป็นนักวิจัยอย่างเต็มภาคภูมิ"
ส่วน “ดร.ธัญญพร วงศ์เนตร” JSTP รุ่นที่ 4 จบปริญญาตรี-เอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหลังปริญญาเอก สาขา Biological Chemistry ann University of Michigan สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นอาจารย์สังกัดสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ชีวโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี ดร.ธัญญพร มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อครั้งศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาเอก ภายใต้การดูแลของศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงได้รับทุน ASEMDuo Fellowship Program เพื่อทำวิจัยระยะสั้นเป็นเวลา 4 เดือน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ปัจจุบัน ดร.ธัญญพรได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติร่วมกับ Japan Society for the Promotion of Science USPS) ดร.ธัญญพร มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Sience และคว้ารางวัลโครงการทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ประจําปี พ.ศ. 2562 (For Women in Science 2019) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในนักวิจัยหญิงผู้มีผลงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย สำหรับโครงการ JSTP ดร.ธัญญพร กล่าวว่า “โครงการนี้ไม่เพียงเปิดโอกาสให้เด็กต่างจังหวัดคนหนึ่งได้เข้ามาสัมผัสว่านักวิทยาศาสตร์ทำงานอย่างไร แต่ยังได้ลงมือทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยในสถาบันทางวิทยาศาสตร์ชื่อดังของประเทศ นับเป็นโอกาสที่ดีของชีวิต ทำให้เราพัฒนาและเห็นอนาคตของตัวเอง”
ขณะที่ “ดร. นพ.จารุพงษ์ แสงบุญมี” JSTP รุ่นที่ 9 ซึ่งจบการศึกษาปริญญา ตรี-เอก จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันเป็นอาจารย์และแพทย์วิจัย สังกัดภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร. นพ.จารุพงษ์ เข้าร่วมโครงการ JSTP ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความ มุ่งมั่นตั้งใจในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของแพทย์วิจัยที่มีผลงานการวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำปี พ.ศ. 2556 ต่อมาได้รับพระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ประจำปี พ.ศ. 2561 โดย ดร. นพ.จารุพงษ์ได้รับทุนเพื่อทำวิจัยเป็นเวลา 1 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563) ณ Department of Genetics,Harvard Medical School was Department of Cancer Biology, Dana-Farber Cancer of Medicine สหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมี “รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ” JSTP รุ่นที่ 4 จบการศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาเอกและหลังปริญญาเอก สาขาเคมีคำนวณ Australian National University ปัจจุบันเป็นอาจารย์สังกัดวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีธรรม เมื่อครั้งเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC) และการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) ต่อเนื่องสามปี พ.ศ. 2545-2547 และคว้ารางวัล Special Award จาก Association of Computing Machinery: ACM ในเวที Intel ISEF 2004 สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นหัวหน้าสาขาวิชาเคมี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความสนใจหลากหลายสาขาทั้งเคมี คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และงานสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน ในรูปแบบของการเขียน เคยเป็นนักเขียนนิตยสารทางวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์เป็นเวลาหลายปี มีผลงานการเขียนหนังสือร่วมกับโครงการ JSTP หลายเล่ม จัดทำสื่อการเรียนการสอนและชุดทดลองสำหรับเด็กร่วมกับศูนย์หนังสือ สวทช. ภายใต้ชื่อ “ตามรอยไฟฟ้าจากธรรมชาติสู่เทคโนโลยี" เป็นวิทยากรจัดกิจกรรมค่าย ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร เพื่อจุดประกายนักวิจัยรุ่นเยาว์
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีธรรม ยังเป็นผู้ประสานงานกลุ่มอาสาสมัครวิกิพีเดียในประเทศไทย ร่วมแก้ไขวิกิพีเดีย ร่วมลงคะแนนออกความเห็นในการเปลี่ยนแปลงสำคัญของเว็บไซต์อีกด้วย และในปี พ.ศ. 2563 รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีธรรม ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี พ.ศ. 2563 และเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงให้เยาวชน JSTP ในรุ่นปัจจุบันอีกด้วย
จากบทบาทการพัฒนาบุคลากรวิจัยของ สวทช. เชื่อว่า “อัจฉริยภาพ" ของเยาวชนไทยยังมีอีกมากที่รอโอกาสในการค้นหาและดึงศักยภาพออกมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตนเองและประเทศชาติ เหมือนดังที่ ตร. นพ.จารุพงษ์ บอกว่า “JSTP เป็นเหมือนบ้านนักล่าฝันทางวิทยาศาสตร์ ที่ให้โอกาสผมเข้าไปค้นหาศักยภาพของตัวเอง โดยมีนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงเป็น Trainer ที่ช่วยดึงศักยภาพออกมา แล้วช่วยพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามความฝันนั้น”ดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

กลไกการประเมินศักยภาพในการประกอบธุรกิจบนพื้นฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมโดย TTRS
กลไกการประเมินศักยภาพในการประกอบธุรกิจบนพื้นฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมโดย TTRS
การจะผลักดันให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นฐานในการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า และบริการปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งก็คือโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนซึ่งเทคโนโลยีนวัตกรรมหรือทรัพย์สินทางปัญญานั้นยากเกินกว่าที่จะประเมินออกมาเป็นหลักทรัพย์เพื่อนำเสนอไอเดียหรือค่าประกันให้สถาบันการเงินหรือแหล่งทุนมั่นใจได้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดตั้งศูนย์สนับสนุนและให้บริการประเมินจัดอันดับเทคโนโลยีไทย (TTRS) ขึ้นภายใต้ความร่วมมือของพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศพัฒนากลไกการประเมินจัดลำดับเทคโนโลยีไทย (Thailand Technology Rating System: TTRS) เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการไทยฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรับทราบถึงขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนและสถาบันการเงินเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการประกอบธุรกิจใต้อย่างยั่งยืน โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากประเทศเกาหลีใต้เมื่อปี พ.ศ. 2557 และได้เริ่มให้บริการประเมินฯ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561
โมเดล TTRS นี้เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบ KOTEC Technology Rating System: KTRS ร่วมกับการบูรณาการองค์ความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ TTRS สวทช.และการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจ 4 ด้าน คือ 1. ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology & innovation) 2. ด้าน การบริหารจัดการ (Management) 3. ความสามารถด้านการตลาด (Marketability) และ 4. ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (Business prospect) นอกจากนี้ผู้ประกอบการ จะได้รับผลการประเมินศักยภาพผู้ประกอบการโดย TTRS Model พร้อมใบรับรองระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมและผลการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสในการดำเนินธุรกิจโดยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและการดำเนินธุรกิจของบริษัท อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งในส่วนของสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถใช้ควบคู่กับโครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้หรือการร่วมลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลไกสนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยี นวัตกรรมในด้านต่าง ๆ จากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต ปัจจุบัน สวทช. โดยศูนย์สนับสนุนและให้บริการประเมินจัดอันดับเทคโนโลยีไทยได้ให้บริการวิเคราะห์ประเมินเทคโนโลยี นวัตกรรม และศักยภาพในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการไทยด้วย ระบบ TTRS ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจ มีโอกาสในการเข้าถึงกลไกการสนับสนุนทางด้าน Finance และ Non-finance มากขึ้น นับว่าเป็นปัจจัยเร่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างยั่งยืนสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถยื่นสมัครได้ในระบบ TTRS เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและตรวจสอบเบื้องต้น จากนั้นจะทำการตรวจประเมินศักยภาพในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและการประกอบธุรกิจ เมื่อเข้าสู่ระบบประเมิน TRS แล้ว จะได้ทราบถึงผลการวิเคราะห์ศักยภาพ 4 ด้านของผู้ประกอบการนั้น ๆ และนำไปสู่การออกใบรับรอง เพื่อเสริมศักยภาพความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการไทยบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) อีกทั้งทำให้ทราบจุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสของธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไปดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

“บัญชีนวัตกรรมไทย” สร้างโอกาสผู้ประกอบการบุก “ตลาดภาครัฐ”
“บัญชีนวัตกรรมไทย” สร้างโอกาสผู้ประกอบการบุก “ตลาดภาครัฐ”
ปัจจุบันผลงานวิจัยทั้งในภาครัฐและเอกชนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ได้รับการนำมาใช้เชิงพาณิชย์ ผลงานเหล่านี้ไม่ใช่...ไม่มีประโยชน์ เพียงแต่ยังขาดโอกาสและแรงผลักดันให้ก้าวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่การเป็นที่ยอมรับและแห่งทันได้ในเชิงพาณิชย์ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” และเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดแนวทางส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมไทยผ่านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ จัดทำเป็น “บัญชีนวัตกรรมไทย” เพื่อเป็นเครื่องมือในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมผลักดันสู่เชิงพาณิชย์อย่างมีมาตรฐานในระดับที่เชื่อถือได้ จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2558 มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย และมอบหมายให้สำนักงบประมาณเป็นหน่วยตรวจสอบราคาของผลิตภัณฑ์และบริการ สำหรับคำว่า “นวัตกรรมไทย” ที่สามารถขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยได้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นของใหม่หรือไม่เคยมีมาก่อนในโลก ขอเพียงเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัย พัฒนา ปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการเต็มด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยคนไทยมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่มีอยู่แล้วก็ได้
รวมถึงนวัตกรรมไทยในที่นี้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นในประเทศทั้งหมด อาจซื้อหรือนำเข้าบางส่วนมาจากต่างประเทศ โดยผลงานที่ได้รับการขึ้นบัญชีไปแล้ว 462 ผลงาน (ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563) บางรายการก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก แต่เป็นการวิจัยพัฒนาโดยภาคเอกชนไทย ซึ่งบางอย่างพัฒนาเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศหรือมีคุณสมบัติใกล้เคียง หรือดีกว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน นอกเหนือจากเพื่อให้เกิดการนำไปใช้งานจริงแล้ว มีข้อกำหนดให้ภาครัฐจัดซื้อสินค้าหรือบริการตามรายการในบัญชีนวัตกรรมไทยใต้ไม่น้อยกว่า 30% ของงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทยโดยวิธีเฉพาะเจาะจงหรือวิธีคัดเลือก (กรณีมีผู้ขายหรือผู้ให้บริการ 2 รายขึ้นไป) สำหรับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมนั้น กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ขอขึ้นทะเบียนต้องเป็นผลมาจากการวิจัยหรือพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ โดยสถาบันวิจัยไทย สถาบันการศึกษาของไทย หรือภาคเอกชนไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ การค้า และมีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51% หรือองค์กรภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ขอขึ้นทะเบียนต้องผ่านการรับรองมาตรฐานบังคับของ ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ (ถ้ามี) รวมทั้งผ่านการตรวจสอบจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ และผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพตามที่ระบุในเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมถึงต้องผ่านการทดสอบความปลอดภัยในการใช้งาน และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานวิเคราะห์ทดสอบที่เชื่อถือได้
อย่างไรก็ดีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยเป็นเวลาสูงสุด 8 ปี ในกรณีไม่เคยจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐมาก่อนหรืออย่างน้อย 3 ปี หากเคยจัดซื้อจัดจ้างมาแล้วเพื่อให้เอกชนไทยมีตลาด รองรับและเริ่มแข่งขันได้
หนึ่งในตัวอย่างผลงานวิจัยคนไทยที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยแล้วประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักในตลาดมากขึ้นก็คือ “คีนน์" ผลิตภัณฑ์สารชีวบำบัดขจัดคราบอเนกประสงค์ รวมถึง “คราบน้ำมัน" ของบริษัทคีนน์ จำกัด ซึ่งต่อยอดมาจากงานวิจัยโดยเป็นสูตรผสมของจุลินทรีย์ เอนไซม์ และสารประกอบทางชีวภาพ มีคุณสมบัติย่อยสลายโมเลกุลน้ำมัน คราบน้ำมัน สิ่งสกปรก และสารอินทรีย์ต่าง ๆ มีสภาวะเป็นกลาง ไม่กัดกร่อน ไม่เป็นอันตราย - สามารถใช้ทำความสะอาดอเนกประสงค์ได้
ผลิตภัณฑ์นี้แม้ผู้ผลิตจะนำออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ แต่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงตัดสินใจเข้าสู่ตลาดภาครัฐ เพราะมองว่ามีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นประตูไปสู่หน่วยงานอื่นๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก จึงยื่นขอขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยผ่านกลไกการพิจารณาที่ผลิตภัณฑ์ต้องมีมาตรฐานและการรับรองความเป็นนวัตกรรมด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เมื่อทำสำเร็จ รายชื่อสินค้าจากคืนนี้จึงปรากฏอยู่ในแค็ตตาล็อกของตลาดภาครัฐ การเข้าสู่ตลาดภาครัฐได้สำเร็จครั้งนั้น ทำให้ "คีนน์" เป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้มีมูลค่าการเติบโต สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่แบรนด์ที่ผ่านการปั้น “บัญชี นวัตกรรมไทย" จึงเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่จะเป็นใบเบิกทางไป สู่ตลาดอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว กระตุ้นการใช้ วทน. และสร้าง รายได้มากขึ้นดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

IP-Licensing กลไกผลักดันงานวิจัยสู่ตลาด
IP-Licensing กลไกผลักดันงานวิจัยสู่ตลาด
“จากหิ้งสู่ห้าง” คำนี้คงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับงานวิจัยไทยที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จและมีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย จำเป็นต้องมีกลไกหรือตัวช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างนักวิจัย ผู้พัฒนาเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการที่จะส่งผ่านผลงานดี ๆ ไปสู่ผู้ใช้งานจริง เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property: IP) และการอนุญาตใช้เทคโนโลยีก็เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ผลงานวิจัยก้าวออกจากห้องปฏิบัติการไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IP Management) ของสวทช. และศูนย์วิจัยแห่งชาติ (ไบโอเทค เอ็มเทค เนคเทค นาโนเทค และเอ็นเทค) รวมไปถึงการให้คำปรึกษาทางด้านนโยบายและกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาแก่นักวิจัยจากหน่วยงานภายในเครือข่ายพันธมิตร อีกทั้งยังเป็นหน่วยงานกลางในเรื่องการอนุญาตให้ใช้สิทธิเทคโนโลยี (Licensing) ซึ่งมีการประสานงาน เจรจา และดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างศูนย์วิจัยแห่งชาติหน่วยงานวิจัยภายในและหน่วยงานพันธมิตรของ สวทช. กับภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และการผลิต ด้วยการมุ่งเน้น “การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบที่เหมาะสมสู่การนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” เพื่อผลักดันให้มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภายใต้แนวคิด “จากงานวิจัยสู่ตลาด...From Lab to Market” การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของ สวทช. มีการดำเนินงานตั้งแต่ การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีต่องานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ การวางแผนความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การขอรับความคุ้มครอง การใช้ประโยชน์ และการสร้างแรงจูงใจให้สร้างผลงานวิจัยที่นำมาใช้ประโยชน์ รวมถึงการให้คำปรึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากการให้บริการแก่หน่วยงานภายใน สวทช. แล้ว สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี ยังมีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการนำไปใช้ประโยชน์กับหน่วยงานภายนอก และมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นเพื่อการขับเคลื่อนมาตรการนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ ของประเทศด้วย ปัจจุบัน สวทช. มีผลงานที่พร้อมถ่ายทอดอนุญาตให้ใช้สิทธิเทคโนโลยีครอบคลุมทั้งด้านเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ อุตสาหกรรมการผลิตและบริการ พอลิเมอร์ สิ่งทอ และเคมี
โดยมีผลงานพร้อมใช้งาน เช่น น้ำยาเคลือบสิ่งทอสำเร็จรูปสูตรต้านเชื้อแบคทีเรีย กันยูวี สะท้อนน้ำ มีกลิ่นหอม ด้วยกระบวนการผลิตแบบตกแต่งสำเร็จ (Garment Finish/Exhaustion) สำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำเร็จรูป ตัวเร่งปฏิกิริยาไบโอดีเซลจากเปลือกไข่ Eco-Cata ซึ่งสามารถใช้ทดแทน ตัวเร่งปฏิกิริยาของเหลวที่ใช้ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลในปัจจุบัน (แบบ Batch) โดยไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสภาวะในการทำปฏิกิริยาเพิ่มเติมได้
พร้อมทั้งจมูกอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สาย (Smart E-Nose) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำขึ้นเลียนแบบการรับรู้กลิ่นของมนุษย์ โดยนำเอาเทคโนโลยีของเซนเซอร์อาเรย์ในการตรวจวัดก๊าซต่าง ๆ ซึ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้ด้านการตรวจวัดสภาพแวดล้อม เพื่อตรวจวัดคุณภาพของอากาศ ณ บริเวณต่าง ๆ ด้วยคุณสมบัติที่ติดตั้งง่ายและใช้ได้ในหลายพื้นที่
เครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสีย (Onsite Microbial Reactor: OMR) สำหรับผลิตจุลินทรีย์เพื่อใช้บำบัดน้ำเสีย มีระบบเติมอากาศและระบบจัดการน้ำเข้า-ออกแบบอัตโนมัติ ใช้งานได้ง่ายและสะดวก โดยจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ผ่านการคัดเลือกแล้วว่ามีความสามารถในการย่อยสลายทั้งน้ำเสียปกติและน้ำเสียที่มีน้ำมันหรือไขมัน เป็นองค์ประกอบ เครื่องนี้ใช้ระยะเวลาเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เพียง 24-48 ชั่วโมง เมื่อเติมเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตจากเครื่องฯ พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้สามารถปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมมีค่าตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งของกรมโรงงานและอิฐมวลเบาคอมโพสิตจากจีโอพอลิเมอร์และวัสดุมวลเบาจากเศษแก้ว ซึ่งสามารถผลิตได้โดยใช้เครื่องมือง่าย ๆ และนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น วัสดุทดแทนอิฐมวลเบาในการก่อสร้างผนังอาคารต่าง ๆ โดยจะแข็งแรงมากกว่าอิฐมวลเบาทั่วไป และเนื่องจากมีผิวเรียบอยู่แล้ว จึงช่วยลดการใช้ปูนซีเมนต์ในการฉาบปูนทับได้ การอนุญาตใช้สิทธิผลงานวิจัยให้แก่ผู้ประกอบสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้นี้ นอกจากจะเป็นการผลักดันให้งานวิจัยออกจากทั้งสู่ห้างแล้ว รายรับที่ได้จากผู้ขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิยังทำให้เกิดการพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยจะเป็นทั้งทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนาต่อไป และมีการจัดสรรผลประโยชน์บางส่วนให้แก่นักวิจัย เพื่อเป็นแรงจูงใจในการวิจัยและพัฒนาอีกด้วยดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

“EECi” เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
“EECi” เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
“ระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาคมอย่างยั่งยืน” จากนโยบายรัฐบาลที่ได้กำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ที่มีนวัตกรรมเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งกำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต “โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรือ “อีอีซี” ได้ถูกริเริ่มขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าวโดยดำเนินการใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา การจะพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวและตอบสนองต่อบริบทโลกที่เปลี่ยนไปได้นั้น จำเป็นจะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมชั้นสูงที่เน้นใช้เทคโนโลยี อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่มีในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาระดับห้องปฏิบัติการและเทคโนโลยีที่มีในต่างประเทศนั้นก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที จำเป็นต้องเอามาปรับแปลงเทคโนโลยีขั้นสูง (Technology Localization) ให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและตลาดในประเทศและภูมิภาคก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนา “เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก" (Eastern Economic Corridor of Innovation) หรืออีอีซีไอ (EECi) ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรม เพื่อรองรับการขยายผลงานวิจัย การทดสอบการสาธิตเทคโนโลยี การประเมินความเป็นไปได้ทั้งในเชิงเทคโนโลยีและเชิงเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการปรับแปลงเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศมาสู่การใช้ประโยชน์จริงใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1. นวัตกรรมการเกษตร 2. ไบโอรีไฟเนอรี 3. แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงและการขนส่งสมัยใหม่ 4. ระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 5. เทคโนโลยีการบินและอากาศยานไร้นักบิน และ 6. เครื่องมือแพทย์บนพื้นที่กว่า 3,454 ไร่ ในวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในทุกภาคส่วน
เพื่อให้อีอีซีไอสามารถทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ภาคอุตสาหกรรม และชุมชน เพื่อการต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และยกระดับความสามารถของภาคอุตสาหกรรมและชุมชนได้ประสบความสำเร็จนั้น ดังนั้นอีอีซีไอจึงได้รับการออกแบบให้เป็นระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำ (Innovation Ecosystem) ที่จะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมชั้นนำสำหรับการวิเคราะห์ ทดสอบและการขยายผล ห้องปฏิบัติการวิจัยของภาครัฐและเอกชน ศูนย์วิจัยของบริษัทเอกชนไทยและบริษัทข้ามชาติ หน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยีชั้นนำ และนักลงทุน และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่มาจัดตั้งบริษัทและทำงานร่วมกันอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้อีอีซีไอยังได้ออกแบบพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับชุมชนนวัตกรขนาดใหญ่ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกร นักคิดค้นเทคโนโลยี นักลงทุนด้านนวัตกรรม ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานและการใช้ชีวิตอย่างลงตัว อีอีซีไอถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญระดับประเทศ ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่อีอีซีไอ (ระยะที่ 1) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยปัจจุบัน มีความคืบหน้าในการดำเนินการ คือ ได้ก่อสร้างกลุ่มอาคารสำนักงานใหญ่อีอีซีไอก้าวหน้าไปประมาณ 70% มีกำหนดแล้วเสร็จประมาณกันยายน พ.ศ. 2564 นี้ โดยหลังจากนั้นก็จะเป็นเรื่องการตกแต่งพื้นที่ และคาดว่าจะพร้อมเปิดใช้งานราวเดือนเมษายน พ.ศ. 2565
ส่วนความคืบหน้าในการเตรียมการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของอีอีซีไอที่ได้เริ่มทยอยพัฒนาไปแล้วนั้น ตัวอย่างเช่น 1. เมืองนวัตกรรมชีวภาพ (BIOPOLIS) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพัฒนาโรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะส่งเสริมการแปรรูปชีวมวล รวมถึงวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีมูลค่าต่ำไปสู่สารสกัดที่มีมูลค่าสูงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมชีวภัณฑ์ อุตสาหกรรมยา อาหารเสริมและเครื่องสำอางได้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในต้นปี พ.ศ. 2567 การเริ่มพัฒนาโรงเรือนปลูกพืชและโรงงานผลิตพืช (Smart Green house) เพื่อทดลองปลูกพืชสมุนไพรในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมและจะจัดทำศูนย์สาธิตเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming Demo Site) ใน 3 จังหวัดในพื้นที่อีอีซี โดยดำเนินการร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน เป็นต้น 2. เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ซึ่งในปีนี้ได้เริ่มพัฒนาศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center) เพื่อสาธิตสายการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 4.0 ให้เป็นสถานที่พัฒนา/ทดลองทดสอบความเข้ากันได้ของอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นแหล่งพัฒนากำลังคน ให้คำปรึกษาแก่ภาคอุตสาหกรรม และบริการจับคู่ความต้องการเทคโนโลยีและผู้ให้บริการอีกด้วย โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการกลางปี พ.ศ. 2565 3. เมืองนวัตกรรมการบินและอวกาศ (SPACE INNOPOLIS) ได้ร่วมกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาพื้นที่ทดลองและทดสอบอากาศยานไร้นักบิน (UAV Sandbox) ขึ้นในวังจันทร์วัลเลย์ และอยู่ในระหว่างพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อดึงดูดให้นำงานวิจัยมาทดสอบที่พื้นที่ทดลอง (Sandbox) นี้ 4. เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน (Synchrotron Light Source) เครื่องที่สองของประเทศไทยซึ่งเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่เปรียบเสมือนกล้องจุลทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ในการวิจัยในระดับโมเลกุล ตอนนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบและคาดว่าจะเริ่มสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนได้ในปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป นอกจากความก้าวหน้าในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว อีอีซีไอยังมีแพลตฟอร์มสำหรับสนับสนุนผู้ประกอบการและชุมชนที่ได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนการยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีให้กับ SMEs และ Startups ไปแล้ว 294 ราย โดยการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีกำไรเพิ่มขึ้น 201 ล้านบาทและก่อให้เกิดการลงทุนของเอกชนในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวม 54 ล้านบาท รวมถึงได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการเกษตรสู่ชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออกไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 191 ชุมชน และยังได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับสถานศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งสิ้นกว่า 7,400 คน และจะมีโปรแกรมการเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการเทคโนโลยี (Deep Tech Acceleration) ที่จะเริ่มดำเนินการได้ในกลางปีหน้า นอกจากนี้หากอีอีซีไอจะก้าวไปสู่การเป็นเขตนวัตกรรมชั้นนำใต้นั้น อีอีซีไอจะต้องเร่งดำเนินการ เช่น การดึงดูดผู้มีความสามารถสูงเข้ามาเพิ่มเติมในอีอีซีไอหรือในส่วนอื่นของประเทศเพื่อให้เกิดมวลที่มากพอสำหรับระบบเศรษฐกิจซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมการดึงดูดสถาบันวิจัยชั้นนำของต่างประเทศให้เข้ามาเปิดศูนย์ความเป็นเลิศในประเทศไทย การทำงานกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพิ่มเติมเพื่อยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงการสร้างการยอมรับจากผู้ที่มีส่วนได้เสียและชุมชนในพื้นที่ เป็นต้น ด้วยองค์ประกอบทั้งหมดทั้งมวลที่จะเกิดขึ้น จะทำให้อีอีซีไอเป็นพื้นที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน สถาบันวิจัย/มหาวิทยาลัย และชุมชน เพื่อการต่อยอดการทำวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ อันจะนำประเทศไปสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย “นิคมวิจัยสําหรับเอกชน” แห่งแรกในไทย
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย “นิคมวิจัยสำหรับเอกชน” แห่งแรกในไทย
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย” (Thailand Science Park) ภายใต้การดูแลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก็คือ “นิคมวิจัยสำหรับเอกชน” แห่งแรกของประเทศไทย และยังคงเป็นนิคมวิจัยที่มีความสำคัญและขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่ “อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย” เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2545 เพื่อเป็น “โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ” ที่ทุกฝ่ายคาดหวังว่าจะรองรับการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้อย่างยั่งยืน จุดเริ่มต้นของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นจากการเล็งเห็นถึงความจำเป็นของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และก้าวทันกระแสของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งเสริมสร้างระบบนวัตกรรมของประเทศ โดยเฉพาะความเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและวิจัยกับภาคการผลิต รวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตด้วยกันเอง สำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต จำเป็นต้องมีการพัฒนากลไกที่มีประสิทธิภาพเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่โครงสร้างพื้นฐานของประเทศและแก้ไขจุดอ่อนที่เป็นอยู่ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 จึงกำหนดให้มีการจัดตั้งและพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ และมอบหมายให้ 3 กระทรวง คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในปัจจุบัน) ทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาเพื่อดำเนินการ
ในช่วงปี พ.ศ. 2528-2530 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (ปัจจุบันเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา) โดยการสนับสนุนของรัฐบาลออสเตรเลีย ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศออสเตรเลียหลายครั้ง และในปี พ.ศ. 2531 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ติดต่อขอความร่วมมือไปยังสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology: AIT) ในการจัดหาที่ดินที่เหมาะสมสำหรับร่วมพัฒนาเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จากนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2532 ได้ติดต่อกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนานาชาติ (United Nations Fund for Science and Technology for Development: UNFSTD) ซึ่งมีประสบการณ์ในโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ในเอเชีย ให้มาสำรวจการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย รวมถึงได้มีการจัดสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลและปรึกษาหารือกับนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ นักวิชาการ ผู้ใช้เทคโนโลยี ฝ่ายสถาบันการเงิน ภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งผู้เข้าร่วมการสัมมนาส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนในการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจฯ จึงมีมติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินการจัดตั้ง “โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย” ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นผู้ดำเนินการในเวลาต่อมา
ภายใต้งบโครงการที่มีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท เป็นงบก่อสร้างอาคารสถานที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท และเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อีกประมาณ 3,000 ล้านบาท อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่กว่า 200 ไร่ โดยตั้งอยู่บริเวณถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 42 ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พันธกิจหลักคือ การเป็นศูนย์รวมของการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ครบวงจร เป็นแหล่งพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือแบบไตรภาคี ระหว่างสถาบันการศึกษาภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการนำเทคโนโลยีไปใช้เชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมผ่านการทำวิจัยและพัฒนาโดยภาคเอกชน ปัจจุบันอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลาง สวทช. และศูนย์วิจัยแห่งชาติทั้ง 5 ศูนย์ คือ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) และศูนย์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงศูนย์บ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมตามแนวทางธุรกิจที่หลากหลายตามความเหมาะสม ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบที่ได้มาตรฐานสากล และโรงงานต้นแบบต่าง ๆ ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ครบวงจร ทั้งสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา ร่วมวิจัย และกลไกสนับสนุนที่ช่วยลดข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างชาติไม่น้อยกว่า 100 บริษัท เช่าพื้นที่เพื่อทำวิจัยและพัฒนา ส่วนใหญ่เป็นบริษัทด้าน Automation Robotics & Intelligent System และ Food & Agriculture เช่น บริษัทกราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งวิจัยและพัฒนาออกแบบผลิตบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์สำหรับทดลองเป็นบอร์ดต้นแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ และให้บริการออกแบบชิ้นงานต้นแบบเพื่อนำไปทำการวิจัยต่อยอดทางธุรกิจ บริษัทเกรนาเดส ไบโอเทค จำกัด ใช้เป็นสำนักงานประสานงานสำหรับงานด้านเกษตรอาหาร นวัตกรรมด้านการผลิตปศุสัตว์สารเสริมสำหรับสัตว์ การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริษัทซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนา และห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางด้านเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากนี้ยังมีสถาบันพลังงานขั้นสูง มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ใช้เป็น Kyoto University ASEAN Center เพื่อประสานงานวิจัยและให้ทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย รวมถึงบริษัทเฮเดล เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด ใช้เพื่อเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ Graphene
สำหรับเป้าหมายในอนาคตของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นอกจากจะกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการพัฒนา “เมืองวิทยาศาสตร์ ปทุมธานี” แล้ว คือการก้าวสู่การเป็นสถานที่ชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผู้ประกอบการและธุรกิจที่ใช้ความรู้ วทน. เป็นองค์ประกอบสำคัญ สามารถกำเนิดเติบโต และเจริญรุ่งเรืองได้อย่างยั่งยืนต่อไปดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า การใช้ทรัพยากรการปลดปล่อยมลพิษและของเสียออกจากกระบวนการผลิต รวมถึงการใช้งานและการกำจัดซาก ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์และสภาวะแวดล้อมในด้านต่าง ๆ หากไม่มีการปรับปรุง ย่อมส่งผลเสียต่อมนุษย์อย่างที่แก้ไขได้ยากในอนาคต ปัจจุบันผลกระทบเหล่านี้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก หันมาให้ความสนใจเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และนำไปสู่การสร้างกฎข้อบังคับต่าง ๆ สำหรับสินค้าที่จะนำเข้าหรือซื้อขายกันในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงมีกลุ่มผู้บริโภคที่ตระหนักและต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตพยายามพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อให้ได้รับฉลากสิ่งแวดล้อมที่บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สทสย.) (Technology and Informatics Institute for Sustainability: TIIS) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลวัฏจักรชีวิต (ของวัสดุพื้นฐาน พลังงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการ) พร้อมทั้งวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการประเมินวัฏจักรชีวิต เพื่อสนับสนุนให้ประเทศมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการเติบโตอย่างยั่งยืน การดำเนินงานมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล พร้อมทั้งวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนให้ประเทศมุ่งสู่เติบโตอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
หนึ่งในภารกิจหลักของ TIIS ก็คือ การพัฒนา “ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (National LC Database for Sustainable Development) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานกลาง ที่เป็นตัวแทนระดับประเทศสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม และเป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมและการผลิต เช่น กลุ่มก๊าซธรรมชาติ กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มเกษตรและอาหาร และกลุ่มการขนส่ง ที่ผ่านมา TIIS ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศ (Thai National Life Cycle Inventory Database) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำเป็นฐานข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปล่อยมลสารสู่สิ่งแวดล้อมของการผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งหรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ตามแนวทางการประเมินตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) และการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของไทยกับต่างประเทศผ่านเครือข่าย Global LCA Data Access Network ซึ่งเป็นเครือข่ายการเข้าถึงข้อมูล LCA ทั่วโลก (GLAD) โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศพันธมิตรที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา GLAD ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตของประเทศไทยให้สามารถเข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าวได้ ตัวอย่างของฐานข้อมูลที่ TIIS จัดทํา เช่น ไฟฟ้า การขนส่ง เชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการผลิตและภาคการขนส่ง ปศุสัตว์ อาหารสัตว์ ผัก-ผลไม้ และสิ่งทอ ฐานข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ปัจจุบันมีผู้นำฐานข้อมูลไปใช้อย่างกว้างขวางทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งในส่วนของภาครัฐนี้ ฐานข้อมูลของประเทศจะมีความสำคัญต่อตัวชี้วัดร่วมระดับกระทรวง (Joint KPI) เช่น แผนยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth) แผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green GPP) การประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่คิดรวมต้นทุนด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ (Green GDP) และการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-CircularGreen (BCG) model ซึ่งประกาศเป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ขณะที่ผู้ประกอบการภาคเอกชนใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้ช่วยในการตัดสินใจและทราบจุดสำคัญสำหรับการปรับปรุงกระบวนการผลิตของตนเองให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปล่อยมลสารสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อมุ่งสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเพื่อขอการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำรายงานความยั่งยืนประจําปี ฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ TIIS สวทช. พัฒนาขึ้นนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้พร้อมรับกับกฎระเบียบที่อาจเป็นเครื่องกีดกันทางการค้า และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน อันเป็นแนวทางและนโยบายที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันต่อไปดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น

โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ขีดความสามารถสินค้าและบริการไทย
โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI)
ขีดความสามารถสินค้าและบริการไทย
ปัจจุบันสินค้าและนวัตกรรมที่มาจากการวิจัยกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แต่การที่จะได้รับการยอมรับและสามารถแบ่งปันในตลาดได้อย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค ด้วยการการันตีคุณภาพความปลอดภัยที่ผ่านมาตรฐานในระดับสากล การรับรองคุณภาพที่เป็นมาตรฐานระดับสากลนี้เอง เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการสร้างผลงานวิจัย รวมถึงนวัตกรรมที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นเอสเอ็มอีหรือสตาร์ตอัปไทยที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการนำสินค้าและบริการไปผ่านการวิเคราะห์และทดสอบในต่างประเทศ เพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าไปขายได้ทั่วโลก เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ขณะเดียวกันโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณภาพที่มีอยู่ในประเทศไทย ยังไม่ได้รับการบูรณาการระบบในการเข้าใช้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างระบบนวัตกรรมของประเทศ และทำให้อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นิคมวิจัยสำหรับภาคเอกชนแห่งแรกของไทย ภายใต้การบริหารจัดการของ สวทช. สามารถให้บริการผู้ประกอบการได้แบบครบวงจร สวทช. จัดตั้งห้องปฏิบัติการที่ให้บริการด้านการวิเคราะห์และทดสอบตามมาตรฐานสากล ประกอบด้วย ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้านและเซรามิกอุตสาหกรรม (CTEC) ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. (NCTC) ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) และศูนย์ทดสอบทางพิษวิทยาและชีววิทยา (TBES) ซึ่งบริการเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยและสนับสนุนผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศ
อนึ่ง การบริการครอบคลุมในหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์และมีศักยภาพ ด้านการปฏิบัติงานทดสอบ สอบเทียบ ตรวจสอบ และรับรองผลิตภัณฑ์ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล อาทิ ISO/IEC17025, ISO/ IEC17020, ISO/IEC17065 ซึ่งได้รับการยอมรับจากหน่วยงานควบคุมภาครัฐ เช่น สมอ. อย. กสทช. พพ. สนข. และหน่วยงานด้านความมั่นคง ฯลฯ ตลอดจนมีประสิทธิภาพในการดำเนินการเชิงธุรกิจและความสามารถในการออกแบบวิศวกรรมการ Simulation และการสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมถึงความสามารถในการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุอาหาร โลหะ ฯลฯ นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณภาพของ สวทช. นี้ ยังเน้นการให้บริการแบบ One Stop Service เพื่อส่งมอบบริการและผลงานที่มีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว ด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ทันสมัย และใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อย่างเช่น บริการวิเคราะห์ทดสอบจากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือพีเทค (PTEC) สวทช. ซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบ สอบเทียบ ตรวจสอบ และรับรองผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการจำหน่ายในประเทศ นำเข้า และส่งออกตามมาตรฐานสากล โดยดำเนินงานเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือแพทย์ พีเทค (PTEC) สวทช. ได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบตามระบบ ISO/IEC 17025 และเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบหรือพิสูจน์ทราบ เพื่อรองรับนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย ที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำมาตรฐานชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า เช่น สายชาร์จแบตเตอรี่ สถานี ประจุไฟฟ้า ฯลฯ รวมถึงพัฒนาวิธีทดสอบในขอบข่ายใหม่ ได้แก่ การบริการวิเคราะห์ ทดสอบหุ่นยนต์และการบริการวิเคราะห์ ทดสอบด้านเทคโนโลยีไอโอที (IoT) เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากนี้ยังให้บริการวิเคราะห์ทดสอบต่าง ๆ เช่น บริการทดสอบด้านชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์การบิน ได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบด้านชิ้นส่วนเครื่องบิน (AS 9001, NADCAP) ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 สำหรับการให้บริการทดสอบเครื่องมือแพทย์ พีเทค สวทช. ให้บริการทดสอบเครื่องมือแพทย์หลายประเภท เช่น เครื่องให้น้ำเกลือ ตู้อบทารกเด็กแรกคลอด เตียงผู้ป่วยระบบไฟฟ้า รวมถึงหุ่นยนต์ขนส่งยา วัคซีนและเวชภัณฑ์ โดยหุ่นยนต์ขนส่งมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบไปแล้วคือ Hapybot ซึ่งทดสอบในด้านต่าง ๆ เช่น แบตเตอรี่ที่จะไม่ระเบิดเมื่อชาร์จไฟฟ้า EMC (Electromagnetic Compatibility) ที่จะไม่ปล่อยคลื่นความถี่รบกวนอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งระบบซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการสั่งงานที่ได้มาตรฐาน
ทั้งนี้ Hapybot ถือเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของประเทศไทยที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยในการใช้งานภายในโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ เพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่แพทย์และพยาบาล ในการปฏิบัติหน้าที่ และช่วยในการป้องกันการระบาดจากสถานการณ์โควิด-19 จากการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับ วทน. มาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และเสริมสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว สวทช. ยังได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการทดสอบในภาพรวมทั้งระบบของประเทศที่เรียกว่า “โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ” (National Quality Infrastructure: NQI) ให้สามารถเชื่อมโยงซึ่งกันและกันได้ เพื่อง่ายในการสืบค้นของผู้ใช้บริการ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วยดาวน์โหลดหนังสือฉบับเต็ม
Open PDF
Open e-Book
30 ปี สวทช.
งานวิจัย 30 ปี สวทช.
ผลงานวิจัยเด่น