การเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วม
ปี 2568
สรุปงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน
: ถั่วเขียว KUML จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี
วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2568 เวลา 08.30 – 14.30 น.
ณ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวชุมชนอำเภอเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
ประเด็นการมีส่วนร่วม: ถั่วเขียว KUML จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี
วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2568 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียว KUML จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี ณ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวชุมชนอำเภอเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเป็นการเผยแพร่งานวิจัยและเทคโนโลยีของ สวทช. ให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์จริง สร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่มีองค์ความรู้เรื่องการปลูกถั่วเขียว KUML เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ (Seed) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวคุณภาพดี ในการขยายผลในพื้นที่อื่นๆ และสามารถการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ตามหลักวิชาการให้เป็นที่รู้จักของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียว และเกิดการสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยมี นายอนุพงษ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานกล่าวเปิดงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียว KUML จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี นายสุชาติ กลิ่นทองหลาง เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้กล่าวรายงาน ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สวก. นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ที่ปรึกษาประจำสำนักงาน สวก. นางสาวภาวดี ใจเอื้อ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สวก. นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ว่าที่ร้อยตรีนัฐชัย แย้มพิกุลสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว กรมส่งเสริมการเกษตร นางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นางสาวณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รองศาสตราจารย์ประกิจ สมท่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกวรรณ เที่ยงธรรม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นางสาวขวัญญรัตน์ จงเสรีจิตต์ และนายไพรจิตร จงเสรีจิตต์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัทเอสซีพีฟู้ดส์(ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับซื้อถั่วเขียว KUML ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
ทั้งนี้มีเกษตรกรและผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งหมด 392 คน โดยแบ่งเป็น เกษตรกร 288 คน เกษตรกรแกนนำ 7 คน นักเรียน 9 คน นักศึกษา 4 คน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 75 คน เจ้าหน้าที่ภาคเอกชน 2 คน และเจ้าหน้าที่จาก สวทช. 7 คน
จังหวัดศรีสะเกษได้เล็งเห็นความสำคัญและได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลโดยกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ผ่าน 1+10 วาระขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดบนเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกำหนดเป็นวาระสำคัญเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรเพื่อยกระดับสินค้าเกษตร โดยจังหวัดศรีสะเกษขับเคลื่อนงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตั้งแต่ปี 2564 การปลูกถั่วเขียว KUML เป็นพืชหลังนาเป็นหนึ่งในเป้าหมายการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้และภาพของจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตเนื่องจากตลาดยังมีความต้องการถั่วเขียวพันธุ์ KUML จำนวนมาก นอกจากนี้การปลูกพืชหลังนายังช่วยปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มผลผลิตข้าว สร้างประโยชน์ทางอ้อมอีกทางหนึ่ง สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนของจังหวัดศรีสะเกษที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง การที่จะผลิตถั่วเขียวให้มีประสิทธิภาพที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสม มีกระบวนการผลิตที่ชัดเจน มีเมล็ดพันธุ์ตั้งต้นที่ดี พื้นที่เหมาะสม มีผู้ติดตามให้คำแนะนำและคำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ที่ผ่านมา สวทช.และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับจังหวัดศรีสะเกษ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษได้ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจรให้กับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด ระดับอำเภอ เกษตรกรแกนนำ เพื่อจะเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่ ติดตามและให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา มุ่งเน้นให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เรื่องการปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML เป็นพืชหลังนาได้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เกิดการสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ลดการเผาฟางข้าว ตอซัง และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ ส่งผลให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตรสามารถลดภาวะโลกร้อนได้
โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้วางแผนการขยายผลถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML โดยร่วมกับภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ทำงานร่วมกับนางสาววัลภา ปันต๊ะ ตำแหน่งผู้อำนวยการ กลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่เป้าหมาย โดยใช้กลไก “ตลาดนำการผลิต” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลความรู้และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) ถั่วเขียว KUML เช่น มาตรฐานการเพาะปลูก และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ตามหลักวิชาการให้เป็นที่รู้จักของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียว ส่งเสริมให้เกษตรกรนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปลูกถั่วเขียวเพื่อทำเมล็ดพันธุ์ (seed) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวในระดับชุมชน ดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน บริษัท กิตติทัต จำกัด และบริษัท เอสซีพีฟู๊ดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เครือข่ายรับซื้อของ บริษัท กิตติทัต จำกัด ในจังหวัดศรีสะเกษซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันและยกระดับกลุ่มเกษตรกรในการบริหารจัดการ กำหนดมาตรฐานและราคาถั่วเขียว KUML รับซื้อผลผลิตถั่วเขียวปลอดภัยในจังหวัดศรีสะเกษ โดยปริมาณความต้องการผลผลิตถั่วเขียวเพื่อแปรรูปเป็นถั่วกะเทาะซีกปีละ 4,000 ตัน ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML จะดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด หรือกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่โดยมีการพัฒนาต้นแบบเกษตรกร แปลงเรียนรู้ และพื้นที่ต้นแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวในระดับชุมชน มุ่งหวังการสร้างกลุ่มผู้ผลิตถั่วเขียวเข้าโรงงานอุตสาหกรรมที่มีผลผลิตสูง (grain) ตรงกับความต้องการของตลาดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน
ภายในงานมีพิธีมอบป้ายศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียว KUML ให้กับเกษตรจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวชุมชนอำเภอเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีสมาชิกปลูกถั่วเขียว KUML เป็นพืชหลังนาจำนวน 40 คน เป็นสมาชิกเก่าจำนวน 30 คน และสมาชิกใหม่จำนวน 10 คน ในปี พ.ศ.2566/2567 ที่ผ่านมากลุ่มได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML4 จำนวน 300 กิโลกรัม ไรโซเบียม 60 ถุง จาก สวทช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มมีการบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์กลุ่มโดยใช้กลไกการยืม-คืนเมล็ดพันธุ์ ยืม 10 กิโลกรัม คืน 15 กิโลกรัม ทำให้ในปี พ.ศ.2567 มีเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML4 ของกลุ่มประมาณ 700 กิโลกรัม ขายผลผลิตได้ในราคา 40 บาทต่อกิโลกรัม และในปี 2567/2568 กลุ่มมีความประสงค์จะยกระดับเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML ระดับชุมชน และกลุ่มได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML8 จำนวน 200 กิโลกรัม ไรโซเบียม 40 ถุง และได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” จาก สวทช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมศรีลำดวน ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และ 2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชชุมชนตำบลน้ำเกลี้ยง ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ มีสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด 30 คน พื้นที่ทำการเกษตรของกลุ่มรวมทั้งหมดประมาณ 101 ไร่ เป็นพื้นที่สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด มีสมาชิก 25 คน ได้รับรองมาตรฐาน (Good Agricultural Practices: GAP) ปัจจุบันกลุ่มมีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มทั้งหมด 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 2) การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 และการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML8 (อยู่ระหว่างดำเนินการถอนพันธุ์ปน) และปัจจุบันกลุ่มมีเครื่องทำความสะอาดเมล็ดข้าวซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นตะแกรงสำหรับถั่วเขียวได้ อัตราการทำงาน 300 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ซึ่งในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML8 กลุ่มมีแผนการดำเนินงานโดยจะแพ็คแบบสูญญากาศขายราคา 45 บาทต่อกิโลกรัม ในการขายถั่วเขียวของกลุ่มทุกๆ 1 กิโลกรัม (ราคา 45 บาท) จะหักเข้ากลุ่มเพื่อการบริหารจัดการจำนวน 5 บาท โดยการจะเป็นการจำหน่ายโดยกลุ่ม ในปี พ.ศ.2566/2567 ที่ผ่านมากลุ่มได้ทดลองปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML8 เป็นพืชหลังนาครั้งแรกโดยใช้งบประมาณส่วนตัวในการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML8 จาก หจก.ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ได้ผลผลิตเฉลี่ย 120-150 กิโลกรัมต่อไร่ จากการปลูกในปีแรกทำให้กลุ่มมีสต๊อกเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML8 จำนวน 300 กิโลกรัม และสมาชิกในกลุ่มเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในฤดูกาลถัดไปรวมประมาณ 200 กิโลกรัม และในปี 2567/2568 กลุ่มได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML8 จำนวน 200 กิโลกรัม ไรโซเบียม 40 ถุง และได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” จาก สวทช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมศรีลำดวน ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มมีความประสงค์จะบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์กลุ่มโดยใช้กลไกการยืม-คืนเมล็ดพันธุ์ ยืม 5 กิโลกรัม คืน 7 กิโลกรัม
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการ เสวนากว่าจะเป็น “ศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน: ถั่วเขียว KUMLจากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” กลุ่มที่ 1 หัวข้องานวิจัยสู่แปลงผลิต โดยนางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน กลุ่มที่ 2 หัวข้อการทำงานบูรณาการกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดย นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และนายสุชาติ กลิ่นทองหลาง เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 3 หัวข้อ The Trainer โดย นายยอดเพชร เจือจันทร์ เกษตรอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และนายฐิตินัย เสนาสุ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 4 หัวข้อตลาดนำการผลิต โดย นางสาวณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), นายไพจิตร จงเสรีจิตต์ และนางขวัญญรัตน์ จงเสรีจิตต์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัทเอสซีพีฟู้ดส์(ไทยแลนด์) จำกัด และกลุ่มที่ 5 หัวข้อการถ่ายทอดเทคโนโลยีและผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี โดย นายถนัด ขันติวงษ์ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวชุมชนอำเภอเมืองจันทร์, นายนิยมสุขจันทร์ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวชุมชนอำเภอเมืองจันทร์, นางสมจิตร ยศศิริ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชชุมชนตำบลน้ำเกลี้ยง, นางสาวณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินรายการโดย นางสาวปิยพร เศรษฐศิริไพบูลย์ นักวิชาการ ฝ่ายจัดการความรู้และสร้างความตระหนัก สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กิจกรรมการตามรอยการผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) ถั่วเขียว KUML โดยใช้โมเดลกลไกตลาดนำการผลิต เป็นการนำชมกระบวนการผลิตและเครื่องมือเครื่องจักรทางการเกษตรที่ใช้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML ของกลุ่ม ได้แก่ เครื่องอัดฟาง รถแทรกเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ โดรนสำหรับฉีดพ่นปุ๋ย ฮอร์โมน สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง เครื่องกระเทาะเมล็ด เครื่องแพ็คสูญญากาศ และเครื่องเย็บกระสอบ รวมถึงกระบวนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการของกลุ่ม อีกทั้งยังมีนิทรรศการให้ความรู้ถั่วเขียว KUML และการแปรรูปถั่วเขียวอย่างง่ายจาก สวทช. โดยเป็นการทำขนมลืมกลืนซึ่งมีส่วนผสมของแป้งถั่วเขียว ผสมน้ำลอยดอกไม้และน้ำตาลนำไปกวนจนใสแล้วหยอดหน้าด้วยกะทิ ตลอดจนนิทรรศการจากหน่วยงานในพื้นที่ เช่น การรณรงค์หยุดเผาจากสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ สารชีวภัณฑ์จากกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ กรมพัฒนาที่ดิน บริษัทสยามคูโบต้า จังหวัดศรีสะเกษ และตลาดเกษตรกรซึ่งเป็นการนำผลผลิตของกลุ่มมาจำหน่ายภายในงาน จากนั้นเป็นการลงแปลงปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML และลงแขกเก็บเมล็ดพันธุ์ KUML ด้วยมือ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการร่วมสนุกจับสลากแจกของรางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ โดยได้รับการสนับสนุนของรางวัลจากหน่วยงาน เช่น กระสอบสองชั้นเพื่อใช้เก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML จาก สวทช. สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราเมตาไรเซียม และเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จากกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เสื้อและหมวกจากบริษัทสยามคูโบต้า จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม
- หน่วยงานที่มีส่วนร่วมในโครงการ เป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอที่เข้าร่วมโครงการ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ และภาคเอกชนที่รับซื้อผลผลิต คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล / บริษัท เอสซีพีฟู๊ดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด
พื้นที่ดำเนินงานและกลุ่มเป้าหมาย | หน่วยงานความร่วมมือในพื้นที่ |
จังหวัดศรีสะเกษ 1) ศูนย์เมล็ดพันธุ์พืชชุมชนตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ | – ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน |
ชื่อหน่วยงาน | หัวข้อความร่วมมือ |
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน | – สนับสนุนองค์ความรู้ |
บริษัท กิตติทัต จำกัด | – กำหนดมาตรฐานการรับซื้อ |
บริษัท เอสซีพีฟู๊ดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เครือข่ายรับซื้อของ บริษัท กิตติทัต จำกัด ในจังหวัด ศรีสะเกษ | – กำหนดมาตรฐานการรับซื้อ |
กลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร | – สนับสนุนให้เกิดการขยายผลการผลิตถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาในอนาคตเพื่อเป็นรายได้เสริมให้เกษตรกรในพื้นที่โดยเชื่อมโยงกับตลาดเพื่อสร้างรายได้และอาชีพที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกร ผ่านกลไกการทำงานโดยการผลักดันเชิงนโยบายและเชื่อโยงการทำงานกับหน่วยงานรัฐในพื้นที่ |
สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัด ศรีสะเกษ และสำนักงานเกษตรอำเภอที่เกี่ยวข้อง | – ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โมเดลตลาดนำการผลิต |
- ผู้มีส่วนร่วมในโครงการในวันกิจกรรมในการเปิดรับฟังความคิดเห็นในทั้งนี้มีเกษตรกรและผู้ที่สนใจงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งหมด 392 คน โดยแบ่งเป็น เกษตรกร 288 คน เกษตรกรแกนนำ 7 คน นักเรียน 9 คน นักศึกษา 4 คน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 75 คน เจ้าหน้าที่ภาคเอกชน 2 คน และเจ้าหน้าที่จาก สวทช. 7 คน
ผลจากการมีส่วนร่วมทั้งในการร่วมโครงการและการเสวนา พบว่า เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงการไปใช้ในการปลูกถั่วเขียวเพื่อผลิตถั่วเขียว (grain) ที่มีคุณภาพและปริมาณตามที่ตลาดต้องการ และสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) ไว้ใช้เองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการออกแบบการบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ (seed) ในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกันตามสมาชิกของกลุ่มนั้นๆ ทำให้มีความเหมาะสมหรือปรับปรุงได้ในกลุ่มย่อย โดยมีความเห็นการบริหารจัดการในแต่ละกลุ่ม และมีการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวในระดับชุมชน และสามารถวางแผนการผลิตถั่วเขียวของกลุ่มในฤดูกาลถัดไปได้
นำผลการมีส่วนร่วมปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน คือ นำผลการดำเนินโครงการและการเสวนาในการดำเนินการในปีงประมาณ พ.ศ. 2568 นี้ มาปรับปรุงและวางแผนการขยายผลแบบบูรณาการเรื่องถั่วเขียว KUML และแผนการจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานรัฐ และเอกชนในพื้นที่ในฤดูกาลถัดไป โดยมีกลไกการขยายผลการดำเนินการผ่านสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ
ภาพบรรยากาศกิจกรรมภายในงาน
![]() | ![]() |
บรรยากาศการลงทะเบียน | นายอนุพงษ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 |
![]() | ![]() |
นายสุชาติ กลิ่นทองหลาง เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวรายงาน | บรรยากาศพิธีมอบของที่ระลึก |
![]() | ![]() |
พิธีมอบป้ายศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียว KUML ให้กับกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวชุมชนอำเภอเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ | พิธีมอบป้ายศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียว KUML ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชชุมชนตำบลน้ำเกลี้ยง ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ |
![]() | ![]() |
ภาพหมู่ผู้เข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 | กิจกรรมการตามรอยการผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) ถั่วเขียว KUML นำชมกระบวนการผลิตถั่วเขียว KUML ของกลุ่มรวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML |
![]() | ![]() |
กิจกรรมการตามรอยการผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) ถั่วเขียว KUML นำชมกระบวนการผลิตถั่วเขียว KUML ของกลุ่มรวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML | กิจกรรมการตามรอยการผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) ถั่วเขียว KUML นำชมกระบวนการผลิตถั่วเขียว KUML ของกลุ่มรวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML |
![]() | ![]() |
กิจกรรมการตามรอยการผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) ถั่วเขียว KUML นำชมนิทรรศการถั่วเขียว KUML และเทคโนโลยีของ สวทช. | บรรยากาศการลงแปลงปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML และลงแขกเก็บเมล็ดพันธุ์ KUML ด้วยมือ |
![]() | ![]() |
บรรยากาศการลงแปลงปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML และลงแขกเก็บเมล็ดพันธุ์ KUML ด้วยมือ | กิจกรรมเสวนากว่าจะเป็น “ศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน: ถั่วเขียว KUML จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” หัวข้องานวิจัยสู่แปลงผลิต |
![]() | ![]() |
กิจกรรมเสวนากว่าจะเป็น “ศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน: ถั่วเขียว KUML จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” หัวข้อการทำงานบูรณาการกับกรมส่งเสริมการเกษตร | กิจกรรมเสวนากว่าจะเป็น “ศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน: ถั่วเขียว KUML จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” หัวข้อ The Trainer |
![]() | ![]() |
กิจกรรมเสวนากว่าจะเป็น “ศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน: ถั่วเขียว KUML จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” หัวข้อตลาดนำการผลิต | กิจกรรมเสวนากว่าจะเป็น “ศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน: ถั่วเขียว KUML จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” หัวข้อการถ่ายทอดเทคโนโลยี และผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี |
กิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2567 และการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง เกษตรกร หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และ สวทช.
ในหัวข้อ“การบูรณาการความร่วมมือ ตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์
วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 – 16.30 น.
ณ แปลงเกษตรกรนายรังสรรค์ อยู่สุข บ้านคำฮี หมู่ 10 ตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี
มันสำปะหลังอินทรีย์เป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี เริ่มให้ความนิยมปลูกเพื่อสร้างรายได้ โดยจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ประมาณ 4,673.50 ไร่ ผลผลิต 16,357 ตัว/ปี บริษัท อุบลไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) เป็นโรงงานรับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์และแปรรูปมันสำปะหลังอินทรีย์ ในจังหวัดอุบลราชธานี ต้องการหัวมันสดอินทรีย์ ปริมาณ 100,000 ตัน/ปี โดยมีราคารับซื้อสูงกว่ามันสำปะหลังเคมี 0.50 สตางค์/กิโลกรัม
สวทช. สวก. ได้ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานีและบริษัท อุบลไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) จัดทำแปลงต้นแบบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินในการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ ผลการดำเนินงานพบว่าแปลงต้นแบบการปรับใช้เทคโนโลยีมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น และกำไรมากขึ้น โดยแปลงต้นแบบของนายรังสรรค์ อยู่สุข อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี ได้ผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น 2 ตันต่อไร่ ได้กำไรเพิ่มขึ้นถึง 5,000 บาท ต่อไร่ ดังนั้น คณะทำงานจึงได้จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนการปรับใช้เทคโนโลยีขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสนใจ ได้เข้าเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในแปลงตัวอย่าง ผ่านฐานการเรียนรู้ 6 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่
1) ฐานการตรวจวิเคราะห์ดิน และผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ โดย สวทช.
2) ฐานการป้องกันศัตรูพืชการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี
3) ฐานสถานการณ์ และการเฝ้าระวัง โรคใบด่างมันสำปะหลังและพันธุ์สะอาด โดยศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์
4) ฐานการบริหารจัดการแปลงมันสำปะหลังอินทรีย์ และการขอรับรองมาตรฐาน Organic Thailand โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 อุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร
5) ฐานการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงการตลาดมันสำปะหลังอินทรีย์ โดยบริษัท อุบลไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน)
6) ฐานเทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตร โดยบริษัท ศรีเมืองยนต์ 1991 จำกัด และบริษัทรวมสินไทยแทรกเตอร์ จำกัด
โดยมีเกษตรกรได้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดิน ของจังหวัดอุบลราชธานี อำเภอละ 40 ราย รวมทั้งสิ้น 249 คน ประกอบด้วย
1. อำเภอตาลสุม
2. อำเภอศรีเมืองใหม่
3. อำเภอตระการพืชผล
4. อำเภอดอนมดแดง
5. อำเภอสว่างวีระวงศ์
6. อำเภอพิบูลมังสาหาร
ผลจากการเข้าร่วมเสวนา พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมเสวนาได้ให้ความสนใจในการปรับใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินเนื่องจากเห็นผลที่ชัดเจน คุ้มค่าการลงทุน จึงได้นำผลการเข้าร่วมเสวนามาขยายผลในการตรวจวิเคราะห์ดินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในปี 2567 นี้ ซึ่งจะดำเนินงานผ่านทางสำนักงานเกษตรจังหวัด และจะดำเนินการตรวจวิเคราะห์ดินให้เกษตรกรที่สนใจภายในเดือนเมษายนและพฤกษาคม 2567 ก่อนเริ่มต้นฤดูการปลูกมันสำปะหลัง
นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมการเสวนาได้ให้ข้อเสนอแนะถึงความต้องการให้หน่วยงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการวัชพืชในการปลูกในระบบอินทรีย์ เนื่องจากการจำกัดวัชพืชในระบบอินทรีย์นั้น ใช้ต้นทุนและแรงงานมาก ซึ่งเป็นอีกปัญหาสำคัญในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์
ภาพกิจกรรมการเสวนา “การบูรณาการความร่วมมือ ตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์
ภาพกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2567
ภาพกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2567
บูทจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ความรู้กับเกษตรกร
โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านพืชสมุนไพร
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “การยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม: ด้านพืช สมุนไพร”ร่วมกับ 3 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม
โดยโครงการได้มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาดำเนินการและยกระดับการปลูกพืชสมุนไพรนำร่อง ได้แก่ ขิง ไพล ฟ้าทะลายโจร พร้อมทั้งเชื่อมโยงโดยได้รับความร่วมมือจากทาง บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) และบริษัท กุยลิ้มฮึ้ง จำกัด ในการรับซื้อผลผลิตคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และเปิดช่องทางการตลาดใหม่ในการสร้างเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากให้ยั่งยืนโดยใช้ฐานทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์
- ENTEC สวทช. ร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชน จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น การวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มแพ็กแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสับเปลี่ยนสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
- ‘เอนก’ ขนทัพนักวิจัย สวทช. มหาวิทยาลัย จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
- เอนก เร่งเครื่อง BCG พลิกฟื้นทุ่งกุลาร้องไห้ด้วย วทน.
- สวทช. เปิดเวทีเสริมแกร่งผู้ประกอบการอาหาร ร่วมแบ่งปันแนวคิดพัฒนาธุรกิจยุค Covid-19 ในงาน Next step networking & sharing Food Accelerate 2021
- สวทช. เดินหน้านำ BCG สู่ภูมิภาค “ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วย “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”
- ไบโอเทค สวทช. พัฒนาพันธุ์ข้าวเจ้านาปี “หอมสยาม” ข้าวหอม ผลผลิตสูง คุณภาพดี ต้านทานโรคไหม้ หวังส่งออกตลาดต่างประเทศ
- เปิดนวัตกรรมอัจฉริยะโดดเด่นบนเวที AI Innovation JumpStart Batch3สวทช.พร้อมผลักดันต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
- นาโนเทค สวทช. จับมือหอการค้าจังหวัดระยอง ดัน ‘นวัตกรรมฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว’ สร้างความเชื่อมั่นยุคโควิด-19
- สวทช. ร่วมลงนาม “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” กับหน่วยงานภายใต้ อว. พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศไทย
- กระทรวง อว. สวทช. เปิดแล็บเทสต์มาตรฐาน ‘กัญชา-กัญชง’ ‘เพ ลา เพลิน’ จ.บุรีรัมย์ ประเดิมส่งทดสอบ ‘สารสำคัญ’ คัดเกรด-เพิ่มมูลค่า
- สวทช.-ม.เกษตรศาสตร์-ชุมชนบ้านดอนหวาย เปิด “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML” แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพแห่งแรก พร้อมส่งต่อแปลงปลูกทั่วไทย
- สท.-ม.แม่โจ้ ร่วมกับภาคเอกชน หนุนอาชีพให้ “ผู้พิการ” สร้าง “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ขยายเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ
- HandySense
- ภาครัฐ-เอกชนผนึกกำลัง คิดค้น “หินเบา” รักษาสิ่งแวดล้อม
- การจัดทำแบบสำรวจวัดระดับความผูกพันบุคลากรที่มีต่อองค์กร NSTDA Employee Engagement
- การร่วมแสดงความคิดเห็นในแบบสำรวจ Employee Engagement Survey และแบบประเมิน ITA ประจำปี 2565
- การร่วมแสดงความคิดเห็นในแบบสำรวจการประเมินโครงการคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
- ประชาสัมพันธ์ การประชุมโต๊ะกลม “เครือข่ายพันธมิตร ภารกิจ Research Integrity
- ประชาพิจารณ์ (ร่าง) แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ
- การประชุมโต๊ะกลม “การเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย”
- NSTDA Employee Engagement Survey 2021
- ขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ข้อเสนอแนะ แนวทาง ความคิดเห็น
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน