หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ 30 ปี สวทช. ตอนที่ 33 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
ตอนที่ 33 : รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
7 เม.ย. 2565
0
30 ปี สวทช.
คลัง VDO

รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ

นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย

เผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วย

ระดับนานาชาติ และชาติ

ศ.ดร.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้รับรางวัลเกียรติยศและเชิดชูเกียรตินักเคมีอาวุโส จาก สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ได้รับรางวัล 2021 Chinese Government Friendship Award จาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน

ดร.อัญชลี มโนนุกุล ผลงานโครงการ “การขึ้นฉีดรูปผงโลหะผสมไทเทเนียมชนิดใหม่ที่มีอิลาสติกโมดูลัสต่ำใกล้เคียงกับกระดูกมนุษย์สำหรับการใช้งานทางการแพทย์”

ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม และคณะ ผลงานเรื่อง “แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองผ่านระบบพูดคุยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์”

ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง และคณะ ผลงานเรื่อง “ปุ๋ยคีเลตธาตุอาหารเพื่อเร่งการเจริญของพืช”

ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผลงานเรื่อง “หอมข้าว :อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิแบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์”

ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ และคณะ ผลงานเรื่อง “อนุภาคนาโนพอลิเมอร์ห่อหุ้มด้วยสารประกอบเอซา-บอดิปี้สำหรับใช้เป็นระบบนำส่งสำหรับรักษามะเร็งแบบใช้แสงกระตุ้น”

ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ และคณะ ผลงานเรื่อง “eLysozyme สารยับยั้งแบคทีเรียจากโปรตีนไข่ขาวสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและการเพาะเลี้ยงสัตว์”

ดร.ไว ประทุมผาย และคณะ ผลงานเรื่อง “การผลิตเบต้ากลูแคนโพลีแซคคาไรด์ และเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาไรด์ชนิดใหม่จากเชื้อรา Ophiocodyceps dipterigena BCC 2073 เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ”

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ผลงานเรื่อง “COXY-AMP ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์ เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว”

ดร.วรายุทธ สะโจมแสง ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียแลไวรัสจากออร์แกนิคซิงค์ไอออน”

ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว และคณะ ผลงานเรื่อง “กระบวนการผลิตโซล่าเซลล์ชนิดเพอร์รอฟสไกต์แบบลายชั้นทีละชั้นที่ควบคุมได้เป็นครั้งแรกของโลก ที่มีประสิทธิภาพและความทนทานความชื้นสูง”
คุณรังสิมา ตัณฑเลขา ได้รับรางวัลนิสิตเก่าดีเด่น จาก สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แชร์หน้านี้: