หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ ดัชนีวรรณกรรม จาก Bibliometrics สู่ Altmetrics
จาก Bibliometrics สู่ Altmetrics
23 ต.ค. 2563
0
ดัชนีวรรณกรรม
สารสนเทศวิเคราะห์

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดเครื่องมือในเรื่องเครือข่ายสังคมออนไลน์ มากมาย เช่น Twitter / Youtube / Facebook / Blog ที่ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างเรียลไทม์ และโต้ตอบกันใน 2 ทางได้ทันที วงการนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เริ่มมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารทางวิชาการ (Scholarly communication) จึงเกิดแนวคิดในการใช้เป็นหน่วยวัดเพื่อประเมินผลงานวิจัยทางเลือก (Alternative Metrics) ที่เรียกเป็นคำย่อว่า (Altmetrics)

Altmetrics คือ หน่วยวัดคุณภาพงานวิจัยชุดใหม่ ได้แก่ จำนวนการได้รับ ฟีดแบ็ค (Feedback) จากผู้อ่านด้วยวิธีการต่างๆ เช่น Article Views / No. of Download / Tweet / Blog post / Likes / Shares /Discussed / New media / Saved / Cited เป็นต้น

alt

รูปที่ 1 เว็บไซต์ Altmetrics.com – Source : http://www.altmetric.com/

คำจำกัดความ

Altmetrics คือหน่วยวัดใหม่ที่เสนอให้เป็นทางเลือก เพิ่มขึ้นจากหน่วยวัดชุดเดิมที่ได้แก่ ข้อมูล citation / ค่า h-index ค่า Impact Factor , IF ของวารสารวิชาการ ที่มีการเสนอในปลายปี 2010 เพื่อประเมินงานวิจัย ค่า Altmetrics มุ่งเน้นประเมินในระดับบทความวิจัย (Article level) แต่อย่างไรสามารถประยุกต์ได้ถึง นักวิทยาศาสตร์ (people) วารสาร (Journal) หนังสือ (Book) ชุดข้อมูล (Data set) เอกสารนำเสนอ (Presentation) วีดีโอ (Video) Source Code Repositories เว็บเพจ (Web Page) ฯลฯ

Altmetrics เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ที่เป็นความก้าวหน้าในศตวรรษที่ 21

การนำมาใช้

มีบริการค่า Altmetrics ทั้งในรูป เว็บไซต์ / ฐานข้อมูล / เครื่องมือ / แอพพลิเคชั่น หลากหลายมากมาย ที่ทำการคำนวณหาค่า Altmetrics ตัวอย่างเช่น ImpactStory, Altmetrics.org , Plum Analytics ส่วนสำนักพิมพ์ มีหลายหน่วยที่ให้บริการค่า Altmetrics ได้แก่ BioMed Central , Public Library of Science (PLOS) , Frontiers / Nature Publishing Group , Elsevier

ตัวอย่าง สำนักพิมพ์ PLOS เริ่มให้บริการเมื่อ มีนาคม 2009 โดยแสดงหน่วยวัด Altmetrics ในทุกๆบทความ ทำให้หน่วยงานผู้ใช้ทุนวิจัยเริ่มให้ความสนใจ เช่น UK Medical Research Council

alt

รูปที่ 2 สำนักพิมพ์ PLOS แสดงค่า Altmetrics ของบทความเรื่อง The Altmetrics collection
Source : http://www.ploscollections.org/article/info%3Adoi%2F10.1371%2Fjournal.pone.0048753

นักวิจัยเริ่มมีการใช้ ค่า Altmetrics แสดงในแบบคำขอทุนวิจัย รวมทั้ง Univ. Pittsburgh เริ่มทดลองหาค่า Altmetrics ในระดับองค์กร

ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่บริการ ค่า Altmetrics มีการจัดเก็บจำนวนบทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์

  • Altmetrics.com 2,007.115 บทความ
  • ImpactStory 364.000 บทความ

การจำแนกประเภท Altmetrics

Altmetrics ประกอบด้วยหน่วยวัดที่กว้างมาก บริการ ImpactStory ได้ เสนอ ให้จัดหมวดหมู่ / จำแนกหน่วยวัด Altmetrics เมื่อ กันยายน 2012 ออกเป็นดังนี้

  • Viewed คือ การเข้าดูบทความแบบ HTML และ Download PDF จากผู้อ่าน
  • Discussed คือ Journal Comment /Science blog / Wikipedia / Twitter / Facebook และ Social Media อื่นๆ
  • Saved คือ Mendeley, CiteYLike และ Social bookmarks
  • Cited คือ หน่วยวัดการอ้างอิงค่าดั้งเดิม ที่มีบริการที่ Web of Science / Scopus/ Google Scholar / CrossRef / Pubmed Central
  • Recommended คือ F1000 Prime

ข้อโต้เถียงในเรื่องหน่วยวัด Altmetrics

ยังมีข้อถกเถียง ถึงความเป็นประโยชน์ ของ Altmetrics อยู่ ซึ่งผู้สนับสนุนให้เหตุผลว่า ผู้ให้ทุนวิจัย ต้องการ ทราบผลกระทบในการให้ทุนวิจัยที่สามารถวัดได้ ส่วนกลุ่มที่ยังไม่เห็นด้วยเห็นว่า Altmetrics ยังมีข้อคล้ายคลึงกับหน่วยวัดเดิมที่อาจมีการ Self citation มีการเล่นเกมส์หรือใช้กลไกอื่นๆเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเพิ่มยอดได้เช่นกัน

ตัวอย่าง เครื่องมือ / บริการ Altmetrics

  • ImpactStory คือ แอพพลิเคชั่น เว็บเบส ที่ช่วยให้ติดตาม ตามรอย ผลกระทบที่มีต่อ วัตถุวิจัย (Research artifacts) อันได้แก่ บทความ dataset สไลด์ รหัสวิจัย ฯลฯ ระบบนี้ทำการรวบรวม ค่า มาจากหลายแห่ง เช่น Mendeley ถึง GitHub ถึง ทวิตเตอร์และแสดงผล เป็น Permalinked report ในหน้าเดียว

alt

รูปที่ 3 บริการ ImpactStory
Source : http://altmetrics.org/tools/

  • Reader Meter คือ บริการที่แสดงค่า Altmetrics เป็นรูปภาพแบบ Mashup Visualizing ในระดับชื่อผู้แต่งบทความ (Author Level ) และระดับบทความ (Article Level)

alt

รูปที่ 4 หน้าจอบริการ ReaderMeter
Source : http://altmetrics.org/tools/

  • Science Card เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมหน่วยวัด ค่าต่างๆ เช่น Citation , Download counts ให้แก่นักวิจัยชื่อหนึ่งๆ โดยที่นักวิจัยต้องนำข้อมูล Author identifier ให้แก่ระบบ เช่น AuthorClaim หรือ Microsoft Academic Search ID

alt

รูปที่ 5 หน้าจอบริการ ScienceCard
Source : http://altmetrics.org/tools/

  • PLoS Impact Explorer เป็นบริการที่ช่วยให้นักวิจัยตรวจสอบติดตามข้อความการสนทนา

alt

รูปที่ 6 หน้าจอ PloS Impact Explorer
Source : http://altmetrics.org/tools/

  • Crowdometer บริการเว็บ ที่แสดงข้อมูล Tweet ที่ลิงค์มายังบทความวิจัย แบบเรียลไทม์

alt

รูปที่ 7 หน้าจอบริการ Crowdometer
Source : http://altmetrics.org/tools/

หน่วยวัดคุณภาพงานวิจัยชุดดั้งเดิม

การประเมินคุณภาพงานวิจัยแบบดั้งเดิมในช่วงที่ผ่านมาอย่างยาวนานนั้น มีตัวชี้วัดที่สำคัญอยู่ 3 หน่วย มีบางกลุ่มวิจัยจากทั่วโลก ถือว่ามีความล้มเหลว จำเป็นต้องหาหน่วยวัดชุดใหม่เพิ่มเติม

alt

รูปที่ 8 แสดงหน่วยวัดคุณภาพงานวิจัย ประเภทต่างๆ
Source : http://altmetrics.org/manifesto/

  • Peer – review คือ การตรวจสอบคุณภาพเนื้อหาบทความจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาแต่ด้วยข้อจำกัดที่บทความวิจัยมีปริมาณเพิ่มขึ้นตลอดมา จำเป็นต้องใช้เวลามาก ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบจำนวนมาก ทำให้ไม่ทันต่อจำนวน
  • Citation counting ได้แก่ h-index , No. Citation
  • JIF หน่วยวัดคุณภาพวารสาร Journal Impact Factor

จากข้อจำกัดข้างต้น นำมาสู่การหาวิธีหน่วยวัดค่าใหม่ ปัจจุบันกลุ่มงานวิจัยทั่วโลกมีการเคลื่อนที่ในการทำงานประจำวันบนเว็บ เครื่องมือประเภท Reference Manager เช่น Zotero และ Mendeley ได้ประกาศว่าระบบตนเองมีการจัดเก็บบทความวิจัยไว้มากกว่า 40 ล้านเรื่อง (ถือว่ามีจำนวนมากกว่าฐานข้อมูล Pub Med) ส่วนแหล่งเก็บข้อมูลที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 คือ Twitter, Blog และ Social Networks ต่างๆ

การหาค่าหน่วยวัด Altmetrics ทำได้รวดเร็วเพียงแค่ใช้โปรแกรม Public APIs (Applications Programming Interfaces) แบบเปิด รวบรวมข้อมูลแบบรายวัน / รายสัปดาห์ ได้

Altmetrics สามารถปรับปรุงหน่วยวัดชุดเดิมที่มีอยู่ได้

การหาค่า / ความสำคัญ ผลกระทบต่อบทความวิจัย อาจจะประเมินได้จากการทำ Bookmarks หรือการสนทนา / ความคิดเห็น ใน Social Media ต่างๆ ที่มีจำนวนหลักพัน ครั้งภายในแค่หนึ่งสัปดาห์ ถือได้ว่าเป็นการเพียร์รีวิว แบบหนึ่งในระยะเวลาอันสั้นสามารถใช้เป็นส่วนเสริมการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแบบเดิมได้

ค่า Altmetrics แตกต่างจากค่า JIF ที่มุ่งประเมินที่ชื่อวารสาร ส่วน Altmetrics ประเมินที่ตัวบทความวิจัยโดยตรง รวมถึง Altmetrics แตกต่างกับ Citation metric ด้วย คือ เป็นการติดตามตรวจสอบในสิ่งแวดล้อมที่นอกขอบเขตวงการวิชาการ ความรวดเร็วของค่า Altmetrics ช่วยให้เกิดความร่วมมือ ข้อแนะนำแบบเรียลไทม์ นักวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่บทความ ประเภท Alt-Publication สามารถได้รับ Feedback จากผู้สนใจได้อย่างรวดเร็ว

ประวัติของหน่วยวัด Altmetrics

คำว่า Altmetrics เป็นคำที่เสนอขึ้นมาเมื่อปลายปี 2010 โดย Jason Priem ที่ต่อมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริการที่ชื่อ ImpactStory เขาได้ให้จำกัดความไว้ว่า เป็นรูปแบบ ของการวัดถึง คุณภาพ/ความสำคัญ / ผลกระทบงานวิจัย ที่เหนือไปกว่าการวัดด้วยการอ้างอิง Altmetrics ได้เสนอวิธีให้แก่นักวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีพื้นที่แสดงผลงานอันมีจุดเด่นของตนเอง (Showcase) รวมถึงแสดงถึงความผูกพัน ความคิดเห็นกับสาธารณชนอีกด้วย

สำนักพิมพ์กับ Altmetrics

มีวารสารจากสำนักพิมพ์จำนวนมาก เริ่มให้บริการแสดงค่า Altmetrics ในทุกๆบทความอย่างอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น สำนักพิมพ์ วารสารแบบเปิด PLOS มีการแสดงว่าหน่วยวัดต่างๆเช่น View / Downloads และความคิดเห็นจาก Social media ต่างๆ สามารถสืบค้นได้ทั้ง ชื่อผู้แต่งบทความ หรือ ความสำคัญของเรื่อง ผลลัพธ์จะแสดงค่า Altmetrics ให้ทั้งชุด

  • สำนักพิมพ์ Nature Publishing Group (London) เริ่มมีการแสดงค่า Altmetrics
  • สำนักพิมพ์ John Wiley & Son รัฐ New jersey เริ่มทดลองให้บริการ ค่า Altmetrics เมื่อเดือน พฤษภาคม 2013
  • สำนักพิมพ์ High Wire Press เมือง Polo Alto รัฐ California เริ่มร่วมมือ กับ บริการ ImpactStory ให้เพิ่ม ค่า Altmetrics ในเว็บไซต์วารสารของ สำนักพิมพ์

ข้อควรระวังในการวัดด้วยค่า Altmetrics

แม้ว่า Altmetrics มีประโยชน์ แต่นักวิทยาศาสตร์และผู้ประเมิน ต้องตีความค่า Altmetrics อย่างระมัดระวัง ด้วยข้อมูลชุด Altmetrics อาจไม่สมบูรณ์ครบถ้วน
เพื่อช่วยให้มีการใช้ตีความได้อย่างถูกต้อง บริการ ImpactStory ได้ทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (normalize) โดยแบ่งบทความตามรายปีและคิดเป้นจำนวนร้อยละ

  • บริการ Altmetrics แสดงผลลัพธ์มาตรฐานตามรายชื่อวารสารที่ช่วยให้เปรียบเทียบกับวารสารในสายอื่นๆได้
  • สำนักพิมพ์ PLOS ให้ค่า Relative Metrics ที่ช่วยให้เปรียบเทียบรายบทความวิจัยในสาขาวิชาเดียวกันได้ โดยแสดงเป็นกราฟ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์กรประเมินงานวิจัย Research Excellence Framework (REF) ของสหราชอาณาจักร อนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์ รายงานผลการประเมินผลงานวิจัยตนเอง ด้วยค่า Altmetrics ได้และสามารถใช้ในการเสนอเพื่อพิจารณาขอทุนวิจัย

มหาวิทยาลัย Pittsburgh รัฐเพนซิลวาเนีย ได้ร่วมมือกับบริการชื่อ Plum Analytics (ส่วนหนึ่งของ EBSCO) เพื่อให้จัดทำโปรไฟล์ Altmetrics สำหรับนักวิจัยในแต่ละภาควิชา และมีแผนจะขยายต่อเป็นทั้งองค์กร (Plum Analytics ได้รับโครงการเช่นนี้จาก 10 สถาบัน)

นักวิจัยสามารถแสดงค่า Altmetrics ในประวัติทางวิชาการ CV. ของตนเองได้และมีการคาดการณ์ว่าต่อไปค่า Altmetrics จะกลายเป็นข้อมูลมาตรฐานในส่วนหนึ่งของ CV. ของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

เมื่อ มกราคม 2013 หน่วยงานผู้ให้ทุน US. National Science Foundation (NSF) ได้แถลงนโยบาย ให้นักวิจัยแสดง Research Product มากกว่าแสดงค่า Publication ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า คุณค่า คุณภาพของนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Publication อย่างเดียวเท่านั้น ผลผลิตอื่นๆ เช่น Data Set , Software สามารถนำมานับจำนวนได้ด้วย ฝ่ายนโยบายของ NSF พบว่า 1 ใน 40 ของการสื่อสารวิชาการ ใช้ Twitter มากกว่า 2 ล้านคน โดยใช้เครื่องมือ Reference-Sharing tool เช่น Mendeley

หน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐาน สหรัฐอเมริกา National Information Standard Organization (NISO) เริ่มดำเนินเรื่องการกำหนดค่า Altmetrics ให้เป็นมาตรฐานต่อไป

alt

รูปที่ 9 บริการ ImpactStory (https://impactstory.org/) แสดงโปรไฟล์ของนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Carl Boettiger ที่มีผลงานวิชาการในรูป Article แสดงค่า Altmetrics (นอกจากนี้ Carl ยังมีผลงานวิชาการรูปแบบต่างๆ คือ Dataset / Figure / Poster / Slides / Software)
Source : https://impactstory.org/CarlBoettiger

บทบาทของห้องสมุด

บรรณารักษ์ในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องในทุกระดับคือเรื่องที่ทับซ้อนกัน คือ Open Access / Research Practices และ Collection Development เช่น ห้องสมุดได้ชักชวนให้นักวิจัยนำผลงานวิจัยเข้าคลังความรู้ขององค์กร (Institutional Repository) ในขณะที่สามารถทำการวัดค่า Altmetrics ออกมาได้ด้วย

  • จัดฟอรัม สัมมนา แนะนำให้นักวิจัยรู้เรื่อง Altmetrics

เป็นเรื่องจำเป็นที่บรรณารักษ์ต้องติดตามความก้าวหน้าเรื่อง Altmetrics นี้ให้เท่าทัน เพื่อสนับสนุนให้แก่นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ผู้บริหาร อย่างถูกต้องต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Altmetrics : Wikipedia The Free Encyclopedia – Available at : http://www.wikipedia.org/ Accessed 4 June 2014
  2. Robin Chin Raemer (2014). Keeping up with … Altmetrics. ALA (American Library Association) ACRL – Available at : http://www.ala.org/acrl/publications/keeping_up_with/altmetrics Accessed 10 June 2014
  3. Altmetrics : A Manifesto – Available at : http://altmetrics.org/manifesto/ Accessed 11 June 2014
แชร์หน้านี้: