หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ สารสนเทศวิเคราะห์ ข้อมูล Advance Therapy จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด
ข้อมูล Advance Therapy จากผลงานวิจัยตีพิมพ์และผลิตภัณฑ์ในตลาด
1 ส.ค. 2565
0
สารสนเทศวิเคราะห์

การดำเนินงาน NSTDA Agenda ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับ 7 (พ.ศ. 2565-2570) หัวข้อ Medicine & Biopharmaceuticals ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการวินิจฉัย รักษาแบบแม่นยำ และการแพทย์ขั้นก้าวหน้า เพิ่มศักยภาพบริการและอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ และความมั่นคงด้านสาธารณสุข โดยเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ในการดำเนินงาน คือ Advance Therapy

จากการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus สำหรับเทคโนโลยี Advance Therapy (คำค้น advance therapy จากเขตข้อมูล Title, Abstract, Keyword ผลงานทั้งหมดในฐานข้อมูล Scopus วันที่ 25 กรกฎาคม 2565) พบจำนวนบทความทางวิชาการความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี Advance Therapy เฉพาะของประเทศไทยจำนวน 249 รายการ โดย 5 อันดับหน่วยงาน/สถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยสูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 94 รายการ รองลงมา คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 54 รายการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 21 รายการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 14 รายการ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 9 รายการ สำหรับ สวทช. อยู่อันดับที่ 11 จำนวน 4 รายการ นอกจากข้อมูลบทความวิจัยแล้ว Advance Therapy ยังมีข้อมูลประเภทผลิตภัณฑ์จากฐานข้อมูล Mintel

Mintel คือ ระบบฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมของสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางและของใช้ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มตลาดทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต มีบทวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภคใหม่ๆ พร้อมด้วยข้อมูลเชิงสถิติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนวัตกรรมจากทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลของส่วนผสม (Ingredient) ที่มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และโภชนาการ โดยมีทีมนักวิเคราะห์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญของ Mintel จากทั่วโลก วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน โดย สวทช. บอกรับและให้บริการครบทั้ง 3 แพลตฟอร์ม คือ Food & Drink (MFD), Beauty & Personal Care (BPC) และ Household & Personal Care (HPC)

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ฐานข้อมูล Mintel
www.mintel.com

 

ภาพที่ 2 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Advanced Therapy : Health care, Beauty care, Food

1. สเต็มเซลล์สำหรับกระดูกสันหลัง – รัฐมนตรีสาธารณสุขของญี่ปุ่นคาดว่าจะอนุมัติการผลิตและจำหน่ายยารักษาโรคสเต็มเซลล์ของมนุษย์ เพื่อการฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง
2. Start-up Ready3D และ Swiss Federal Institute of Technology ได้พิมพ์ตับอ่อนเพื่อทดสอบการรักษาโรคเบาหวาน
3. GlaxoSmithKline (แกล็กโซสมิธไคลน์ พีแอลซี หรือ GSK) บริษัทยาจากสหราชอาณาจักร เข้าลงทุนใน Harvard Stem Cell Institute $25 ล้าน โดยหวังว่าข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนายาใหม่
4. การพัฒนาการอุดฟันที่ช่วยให้ฟันสามารถรักษาตัวเองได้ โดยกระตุ้นสเต็มเซลล์กระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อฟัน
5. Start-up สิงคโปร์พบวิธีสร้างน้ำนมแม่จากสเต็มเซลล์
6. นักวิทยาศาสตร์ของ Tel Aviv และ Harvard University ได้สร้าง Organs-on-a-chip สำหรับการพัฒนายาเฉพาะบุคคล

 

ภาพที่ 3 ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Advanced Therapy : Health care, Beauty care, Food

7. Mane Biotech ในประเทศเยอรมนีกำลังพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่เพื่อกระตุ้นสเต็มเซลล์ให้ปลูกผมและต่อสู้กับผมร่วง
8. LG Pra.L MediHair พัฒนาอุปกรณ์สวมใส่เพื่อกระตุ้นสเต็มเซลล์รากผมและสนับสนุนการเจริญเติบโตของเส้นผม
ยังช่วยให้หัวล้านช้าลงด้วย
9. โปรแกรมต่อต้านริ้วรอยของ Dior อ้างว่าสามารถป้องกันและแก้ไขริ้วรอยโดยกำหนดสเต็มเซลล์เป้าหมาย เนื่องจาก
สเต็มเซลล์เสื่อมสภาพตามกาลเวลา การปกป้องจึงสร้างเซลล์ใหม่ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมฟื้นฟูและคงความอ่อนเยาว์ของผิวอย่างแท้จริง
10. Lowan Aging Care Stem Eyecream ซึ่งใช้การเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์จากมนุษย์เพื่อเติมความชุ่มชื้น
11. ขนมเนื้อแห้งที่ทำจากเนื้อที่เลี้ยงในห้องแล็บผ่านกระบวนการใหม่ที่ใช้สเต็มเซลล์จากวัว

แชร์หน้านี้: