กิจกรรมและการดำเนินการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ด้านคุณธรรมและความโปร่งใส และการต่อต้านการทุจริต
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์การ ในด้านคุณธรรมและความโปร่งใส และการต่อต้านการทุจริต รวมถึงการสร้างจิตสำนึกของบุคลากรในการปฏิบัติงานตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผ่านกิจกรรมต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เช่น การประกาศเจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร การปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ การรณรงค์เรื่องค่านิยมองค์กร กิจกรรมพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามทุจริตผ่านระบบ e-learning ในหลักสูตร จริยธรรมการวิจัย สำหรับนักวิจัย หลักสูตรปราบปรามทุจริต (Anti-Corruption) สำหรับนักวิจัยและผู้บริหาร และหลักสูตรปราบปรามทุจริต (Anti-Corruption) สำหรับบุคลากร สวทช. อื่นๆ รวมถึงมีการสร้างความตระหนักให้บุคลากรมีการทำงานโดยยึดหลัก Core Value (NSTDA) เป็นต้น
ในปีงบประมาณ 2568 สวทช. มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อเป็นการส่งเสริมการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ด้านคุณธรรมและความโปร่งใส และการต่อต้านการทุจริต ดังนี้
- การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
- การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
- ยกระดับและส่งเสริมระบบการพัฒนาบุคลากรให้มีความตระหนักด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)
- การขับเคลื่อนจริยธรรม
โดยมีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้
1. การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและเทคโนโลยีแห่งชาติ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีหน้าที่ในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรม ได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พ.ศ. 2568 ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างมีธรรมาภิบาล เกิดความโปร่งใส และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนมีการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยยึดหลักของศาสนาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม นำไปสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม และเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรม
แห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 -2570) ต่อเนื่องจากแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559 – 2565) โดยมุ่งเน้นการปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณธรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายในให้คุณธรรมนำการพัฒนา ทำให้สังคมไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และเป็นสังคมแห่งคุณธรรม ทั้งนี้ รายละเอียดของแผนและผลการดำเนินงานตามแผนสามารถดูรายละเอียดได้ในหน้าเว็บไซต์การกำกับดูแลกิจการที่ดี สวทช. https://www.nstda.or.th/home/introduce/governance-org/ เลือกเมนู >เอกสารนโยบายการการกำกับดูแลกิจการที่ดี >แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ เลือก >แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม
2. การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
2.1 การประกาศนโยบาย No Gift Policy
ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารได้แสดงเจตนารมณ์การไม่รับของขวัญ No Gift Policy โดยการประกาศ “นโยบายไม่รับ ของขวัญหรือของกำนัล (No Gift Policy)” เปลี่ยนของขวัญเป็นคำขอบคุณ สวทช. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการทุจริตซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดหลักคุณธรรม ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ จึงได้ประกาศนโยบาย No Gift Policy ไว้ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2568 และมีการสื่อสารผ่านกิจกรรม NSTDA Day ซึ่งเป็นเวทีการสื่อสารโดยตรงของ ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้บริหารระดับสูงถึงบุคลากรทั่วทั้งสำนักงานโดยสื่อสารเกี่ยวกับการดำเนินงานและนโยบายต่างๆ ภายในองค์กรเพื่อให้บุคลากรรับทราบ พร้อมทั้งสื่อสารแนวทางการรายงานการรับของขวัญและของกำนัลตามนโยบาย No Gift Policy และการรับทรัพย์สินอื่นใดตามมาตรา 128 เพื่อเน้นย้ำและสร้างความเข้าใจในการกำกับดูแลติดตามรวมทั้งสื่อสารสร้างความเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้เกิดความสอดคล้องตามนโยบายของสำนักงานและแนวทางที่สำนักงาน ป.ป.ท. กำหนด พร้อมทั้งแสดงไว้บนหน้าเว็บไซต์ สวทช. สื่อสารบนหน้าอินทราเน็ตของสำนักงาน รวมทั้งสื่อสารผ่านทาง สื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook , NSTDA LINE Official LINE VOOM , LINE Khunse , และ NSTDA Announcement (WebEx) ซึ่งเป็นการสื่อสารภายในองค์กร
2.1.1 ภาพแสดงการดำเนินการแสดงเจตนารมณ์การไม่รับของขวัญหรือของกำนัล No Gift Policy ทั้งภายในและภายนอกองค์กรของ สวทช.
2.1.2 ภาพแสดงบรรยากาศกิจกรรม NSTDA Day ซึ่งเป็นการสื่อสารโดยตรงของ ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้บริหารระดับสูงถึงบุคลากรทั่วทั้งสำนักงานพร้อมทั้งสรุปผลการเข้าร่วมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567
2.1.3 ภาพแสดงบรรยากาศกิจกรรมสื่อสารสายงานบริหาร OMS SQUID GAME ซึ่งเป็นการสื่อสารระดับสายงาน เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568
2.2 การประชุมของผู้บริหารระดับสูง
การประชุมผู้บริหารระดับสูงซึ่งจัดขึ้นในทุกเดือน โดยมี ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับรองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติเข้าร่วมประชุม ซึ่งในการประชุมฯ มีการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อน ร่วมถอดบทเรียนจากการบริหารจัดการที่มีความเสี่ยงในสำนักงานฯ หรือกรณีตัวอย่างจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ทุจริตมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นการปฏิบัติที่ผิดกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของสำนักงานฯ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหารแต่ละศูนย์ฯ นำความรู้หรือข้อมูลที่ได้ไปสื่อสารถ่ายทอด รวมถึงส่งเสริมและชี้แนะแนวปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับพนักงานในแต่ละสายบังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง มีพฤติกรรมและวิธีการปฏิบัติงานที่สุจริตโปร่งใส เกิดความตระหนักในเรื่องวัฒนธรรมความซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 การประชุมผู้บริหารของสำนักงาน ด้านการบริหารงานบุคคล
การประชุมผู้บริหารของสำนักงาน ด้านการบริหารงานบุคคล โดยมี ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับรองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติเข้าร่วมประชุม ซึ่งได้มีการนำเสนอคะแนนและความเห็นของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปี 2567 มาวิเคราะห์และกำหนดแผนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และเพื่อยกระดับผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปี 2568 ซึ่งดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ และให้ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ
2.4 การประชุมด้านบริหารจัดการภายในของ สวทช.
การประชุมผู้บริหารด้านบริหารจัดการภายในที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันอังคารที่ 3 ของเดือนทุกเดือน โดยมี ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับรองผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และผู้บริหารระดับกลางที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นกลไกในการติดตามการดำเนินการของสำนักงานฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการดำเนินการด้วยความด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และกระบวนการมาตรฐาน ซึ่งในการประชุมฯ มีการกำหนดวาระประจำที่สำคัญในการประชุม ดังนี้ 1) วาระรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดประจำเดือน 2) วาระรายงานสถานะงบประมาณประจำเดือน 3) การรายงานผลการดำเนินงาน 4) รายงานข้อร้องเรียน สวทช. ประจำเดือน
2.5 กิจกรรม NSTDA Day
เวทีการสื่อสารโดยตรงของ ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้บริหารระดับสูงถึงบุคลากรทั่วทั้งสำนักงาน โดยเป็นการสื่อสารข้อมูลอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา สร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้บริหารและบุคลากร สวทช. ร่วมทั้งการสื่อสารนโยบายของสำนักงานฯ ซึ่งในปี 2568 มีการจัดกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 2 ครั้ง เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจ เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน รวมทั้งสถานะการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานฯ นโยบายการทำงาน เป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ สวทช. เน้นย้ำให้บุคลากรช่วยกันทบทวนการบริหารทรัพยากรทางการเงิน ติดตามให้มีการใช้จ่ายด้วยซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ปรับวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด พร้อมทั้งเน้นย้ำบุคลากรทุกระดับเรื่องการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
2.6 การสื่อสาร NSTDA Core Values ผ่าน NSTDA STYLE
NSTDA Core Value หรือ ค่านิยมองค์กรที่เปรียบเหมือนกรอบความคิดหลัก ความเชื่อที่แสดงถึงอัตลักษณ์ขององค์กร และเป็นบรรทัดฐานที่กำหนดรากฐานและพฤติกรรมของบุคลากร สวทช. และเมื่อพบเจอกับปัญหา อุปสรรค ความท้อแท้ สามารถนำมายึดถือ ตั้งมั่น และเดินตาม NSTDA Core Values เพื่อก้าวผ่านปัญหา สู่ความสำเร็จ ด้วยหัวใจของคน สวทช. ซึ่งประกอบด้วย
N: Nation first การคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เห็นถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม
S: S&T excellence มุ่งเน้นในการสร้างความเป็นเลิศในสิ่งที่ทำ ค้นคว้าให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ
T: Teamwork การทำงานร่วมกันเป็นทีม พร้อมที่จะเปิดใจรับฟังการกล้าวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์
D: Deliverability ความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบงานที่มีคุณภาพ ให้ได้ตามคำมั่นสัญญา
A: Accountability and Integrity ความมีจริยธรรม จรรยาบรรณ โปร่งใสกล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเน้นย้ำค่านิยมหลักขององค์กร (NSTDA Core Values) จึงได้มีการสื่อสารแนวทางการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนผ่าน NSTDA STYLE ซึ่งเป็นวารสารสำหรับบุคลากรภายใน สวทช. ทุกเดือนโดยระบุเนื้อหาอยู่ในคอลัมภ์ Inside NSTDA เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรเกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนภายในองค์กร โดยในฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมาได้มีการสื่อสารแนวทางการดำเนินการตามนโยบาย No Gift Policy เพื่อสร้างความเข้าใจกับบุคลากรด้วยอีกทางหนึ่ง
3. ยกระดับและส่งเสริมระบบการพัฒนาบุคลากรให้มีความตระหนักด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำแผนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนน ITA ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ผลประเมินคะแนน ITA ในปี 2567 วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนและตัวชี้วัด/ประเด็นที่ต้องปรับปรุง และนำมาผลคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดมาเปรียบเทียบกับผลในปีอื่นๆ รวมถึงเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น เพื่อสรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้ตรวจประเมิน รวมถึงเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานให้มีแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการยกระดับผลการประเมินนคุุณธรรมและความโปร่งใสในการ ดำเนิินงานของหน่่วยงานภาครััฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ให้บรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งกำหนดไว้ต้องมีผลคะแนน 85 คะแนนขึ้นไปทุกตัวชี้วัด ภายในปี พ.ศ. 2568
ทั้งนี้ แผนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สามารถดูรายละเอียดได้ในหน้าเว็บไซต์การกำกับดูแลกิจการที่ดี สวทช. https://www.nstda.or.th/home/introduce/governance-org/
เลือกเมนู >เอกสารนโยบายการการกำกับดูแลกิจการที่ดี >มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
4. การขับเคลื่อนจริยธรรม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รณรงค์และสื่อสารเกี่ยวกับการขับเคลื่อน จริยธรรมภายในองค์กรโดยมีการดำเนินการ ดังนี้
4.1) จัดทำแนวทางปฎิบัติด้านจริยธรรม Dos & Don’ts
เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติตนทางจริยธรรม เพื่อเผยแพร่ให้กับบุคลากรภายในรับทราบ และสื่อสารผ่านอีเมล All NSTDA และผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ Khunse
4.2) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรม สวทช.
เพื่อให้คำปรึกษา เสนอแนะนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและส่งเสริมจริยธรรมรวมถึงตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านจริยธรรมและการป้องกันและปราบปรามทุจริตภายในองค์กร ซึ่งมีรายละเอียดคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรม สวทช. แสดงอยู่ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/ita/20230427-committee-appointment-order.pdf
เลือกเมนู >เกี่ยวกับ สวทช. >โครงสร้างการบริหาร >กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ >คำสั่ง
4.3) การฝึกอบรมและสื่อสารเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่
4.3.1 หลักสูตรเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ ซึ่งเป็นการดำเนินการพัฒนาบุคลากรภายในเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับด้านพัสดุ โดยเนื้อหาการฝึกอบรมได้มีการสอดแทรกเรื่องการปฏิบัติงานตามธรรมาภิบาลซึ่งหน่วยงานได้มีการยึดถือปฏิบัติ เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส มีวินัยและตรวจสอบได้ ให้เป็นไปตามค่านิยมขององค์กร พร้อมยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ยอมรับการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ ซึ่งจัดโดยกรมบัญชีกลาง โดย สวทช. จัดส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมระหว่างวันที่ 15 มกราคม – 1 มีนาคม 2568 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 13 ท่าน
4.3.2 หลักสูตรการป้องกันและปราบปรามทุจริต NSTDA Anti-Corruption
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการต่อต้านทุจริตและคอรัปชันตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้เหล่าบุคลากรทุกระดับมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ จึงได้มีการดำเนินการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันและต่อต้านการทุจริตและ คอร์รัปชัน และได้มีการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปราบปรามทุจริตผ่านระบบ e-learning เพื่อให้บุคลากรทุกระดับได้เข้าเรียนรู้