ผลการค้นหา :

Content Management Process คืออะไร
Content Management Process ที่ดีจะไม่ประสบผลสำเร็จในระยะยาว โดยปราศจากการจัดให้อยู่ในแนวเดียวกับและรวมเข้าในกระบวนการทางธุรกิจ และการควบคุมซึ่งทำให้เกิดความรับผิดชอบและการเกาะติดกับกระบวนการและนโยบาย
Content Management มีหลายชั้นซึ่งบ่อยๆ ไม่ชัดเจนโดยคำสัญญาของเทคโนโลยีและการทำให้เป็นอัตโนมัติที่ดี ผู้ขายถูกต้องการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการจัดการของ content management processes และกลุ่มของแหล่งทรัพยากรที่อุทิศถูกต้องการเพื่อสนับสนุนการจับและการเข้าถึงเนื้อหา สิ่งเหล่านี้อาจถูกต้องการเพื่อขับเคลื่อนและหรือทำให้เกิดการประยุกต์ใช้ที่ประสบผลสำเร็จ แต่เมื่อมองไปทั่วการประยุกต์ใช้การจัดการเนื้อหาที่ประสบผลสำเร็จซึ่งคงอยู่และปรับปรุงเมื่อเวลาผ่านไป มีหนึ่งสิ่งปกติ คือ พื้นฐานการจัดการกระบวนการที่แข็งแรง
วิธีเริ่ม Content Management
1. คำจำกัดความที่ดีของเนื้อหา คืออะไรและไม่คืออะไร
2. กรณีธุรกิจซึ่งสามารถชี้ว่าแสดงผลกระทบต่อผลลัพธ์ของธุรกิจ
3. วิธีการและแผน
4. ผู้นำธุรกิจยินดีจะให้เวลาและแหล่งทรัพยากรเพื่อการทดสอบเริ่มต้น
5. ความคิดกระบวนการดังนั้น content management ถูกฝังในขั้นตอนการทำงานเพื่อกลายเป็นมาตรฐาน
ที่มา: Cindy Hubert (April 19, 2021). What is a Content Management Process?. Retrieved August 6, 2021, from https://www.apqc.org/blog/what-content-management-process
การจัดการความรู้ (KM)

แถลงผลงานเด่นของกระทรวง อว. เรื่อง โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy : คืออะไร และ ใครได้ประโยชน์
แถลงผลงานเด่นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประจำเดือนสิงหาคม 2564 โดยโฆษกกระทรวง และร่วมพูดคุยกับ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เรื่อง โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy : คืออะไร และ ใครได้ประโยชน์รับชม VDO ในนาทีที่ 7:25รับชมทั้งหมดได้ที่ : https://www.facebook.com/watch/?v=191755979600178
BCG

BOI จัดทำวารสารภาษาอังกฤษ Thailand Investment Review (TIR) เรื่อง “Thailand’s Bio-Circular and Green Economy: Living up to Global Challenges”
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้จัดทำวารสารภาษาอังกฤษ Thailand Investment Review (TIR) ประจำเดือนมิถุนายน 2564 เรื่อง "Thailand's Bio-Circular and Green Economy: Living up to Global Challenges"
โดยมีบทสัมภาษณ์ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็น Executive Talk : Making BCG Pathways
คลิกอ่านฉบับเต็ม : https://www.boi.go.th/upload/ejournal/2021/Vol31/June/index.html
ที่มาข้อมูล : BOI NEWSLETTER https://www.boi.go.th/index.php?page=monthly_magazine_list_enews
BCG
ข่าวประชาสัมพันธ์

Digital Transformation คืออะไร
Digital transformation ประกอบด้วย 2 คำ คือ Digital และ Transformation Digital หรือเทคโนโลยี และ Transformation หรือการเปลี่ยนแปลง หมายความว่า digital transformation ในองค์กรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีภายในธุรกิจซึ่งทำให้เกิดผลประโยชน์ที่วัดได้ Transformation ไม่ควรเป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งนำไปสู่ความแตกต่าง แต่ควรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยสรุป digital transformation เป็นคำที่กว้าง แม้แต่สองคนภายในองค์กรเดียวกันสามารถพูดถึงคำเดียวกัน แต่อาจกำลังคิดถึงสองความคิดที่ตรงข้ามกัน
Digital transformation ถูกใช้อย่างกว้างขวาง ไม่แน่ใจว่าถ้าถามผู้บริหาร 10 คนเพื่อนิยามความหมายของคำนี้ จะได้รับคำตอบที่เหมือนกัน สำหรับบางคน เป็นการใช้ประโยชน์ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) สำหรับคนอื่นๆ หมายถึงการย้าย applications ทั้งหมดไปสู่ cloud หรือทำให้เป็นอัตโนมัติกระบวนการธุรกิจทั้งหมด ผู้บริหารคนหนึ่งจะพูดว่าหมายถึงการใช้กลยุทธ์ mobile หรือปรับปรุงเว็บไซต์ของบริษัทใหม่เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้ามากขึ้น ในขณะที่ผู้บริหารการเงินอาจพูดว่าเป็นการนำหลักการบัญชีหุ่นยนต์หรือการวิเคราะห์ขั้นสูงมาใช้ ชัดเจนว่า digital transformation สามารถหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันจากคนที่แตกต่างกัน
เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจ digital transformation ไม่คืออะไร ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยีโดยปราศจากผลประโยชน์ที่สังเกตเห็นได้ไม่เป็น digital transformation
ที่มา: Perry Wiggins (May 11, 2021). What is Digital Transformation?. Retrieved July 26, 2021, from https://www.apqc.org/blog/what-digital-transformation
นานาสาระน่ารู้

วิธีทำให้เกิดผลของการจัดการความรู้ (KM, knowledge management) เร็วขึ้น
1. ตรวจสอบการจัดให้อยู่แนวเดียวกับธุรกิจ
โปรแกรม KM จะไม่ไปไหนเลยถ้าไม่ถูกจัดให้อยู่ในแนวเดียวกับธุรกิจ ข้างล่างเป็น 5 คำถามซึ่งสามารถถามผู้บริหารเพื่อระบุปัญหาธุรกิจที่ถูกต้องสำหรับ KM เพื่อแก้ปัญหา
- มีความรู้ซึ่งต้องการเพื่อการแข่งขันในระยะสั้นใช่ไหม
- ต้องการความรู้อะไรเพื่อปรับปรุงและตอบสนองความต้องการในระยะยาว
- ผู้แตกต่าง (differentiator(s)) ในตลาดสามารถถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นอะไร ถ้าความรู้และความเชี่ยวชาญถูกแบ่งปันและถ่ายทอดมากขึ้น
- มีความท้าทายปัจจุบันหรือกำลังจะเกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวกับความรู้ใช่ไหม
- การประสบความสำเร็จของ KM เป็นอย่างไรสำหรับองค์กร
ตอบคำถามเหล่านี้สามารถช่วยระบุคุณค่าสำหรับโปรแกรม KM ในขณะที่ยังระบุ เช่น ความคาดหวังของความเป็นผู้นำ และความท้าทายที่มีศักยภาพ เมื่อสร้างเหตุผลและขอบเขตของความพยายาม KM กำหนดวัตถุประสงค์, KPIs, ความต้องการแหล่งทรัพยากร, ค่าใช้จ่าย, ผลประโยชน์ และ timeline สำหรับการประยุกต์ใช้ในกรณีธุรกิจ KM
2. สร้างกลุ่มคนที่มีสมรรถนะสูง
พนักงานเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน KM แต่ต้องการกลุ่มคนที่ดีของบทบาท KM เพื่อทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ดี เมื่อต้องสร้างกลุ่มคน จะดีกว่าที่จะคิดนอกจากทีม KM หลัก ในขณะที่ทุกโปรแกรม KM ต้องการอย่างน้อยเจ้าหน้าที่ที่อุทิศตน งานวิจัยของ APQC (American Productivity and Quality Center) พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างขนาดของเจ้าหน้าที่ KM ขององค์กรและอัตราของการมีส่วนร่วมของ KM หรือการรับรู้ของประสิทธิภาพ
แม้แต่ทีม KM ขนาดเล็กสามารถประสบผลสำเร็จด้วยการสนับสนุนของอาสาสมัคร, ผู้ชนะเลิศ KM และผู้ใช้ในธุรกิจ เพราะว่าพูดภาษาของธุรกิจ สามารถพูดคุยเกี่ยวกับ KM ได้อย่างเชื่อมั่นกับเพื่อนร่วมงาน สามารถสนับสนุนคนซึ่งต้องการความช่วยเหลือ และที่สำคัญสามารถชี้อุปสรรคซึ่งทีม KM หลักอาจไม่เคยพบมาก่อน มีคนในธุรกิจเพื่อสนับสนุน KM เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากซึ่งกำลังเห็นองค์กรมากขึ้นทำวิธีนี้ให้เป็นทางการด้วยได้รับการฝึกหัดและอย่างเป็นทางการเต็มเวลา, เป็นบางเวลา หรืออาสาสมัครบทบาทสนับสนุน KM ถูกฝังในธุรกิจ
3. ให้ความสนใจภายนอก (Shine Up the Exterior)
จะไปได้ไกลถ้ามีกลยุทธ์ที่ดีและคนที่ถูกต้อง นอกจากนี้เห็นคุณค่าของความพยายามให้ความสนใจภายนอกด้วยแบรนด์ KM ที่น่าสนใจและกลยุทธ์ส่งข้อความ (messaging strategy) จำไว้ว่า KM ต้องแข่งขันอย่างต่อเนื่องสำหรับความสนใจของพนักงาน จะไม่สร้างความตื่นเต้นอะไรเลยในการแบ่งปันความรู้ถ้า KM ดูเหมือนอินเทอร์เน็ตที่เก่า
ก่อนที่ใช้แบรนด์และการส่งข้อความ ให้ความสนใจที่ชุดเครื่องมือ KM เมื่อเชื่อว่าเครื่องมือดีที่จะใช้ พัฒนาแบรนด์ KM ที่แข็งแรงและที่จดจำง่าย ต่อมาวางแผนกลยุทธ์ส่งข้อความโดยถาม ทำไมคนที่องค์กรควรสนใจเกี่ยวกับ KM โดยปกติตอบคำถามนี้นำไปสู่ภารกิจ, คุณค่า และกลยุทธ์ที่ขยายขึ้นขององค์กร ตัวอย่างเช่น ถ้าคนแบ่งปันและใช้ซ้ำความรู้ จะสามารถให้การบริการที่ดีกว่าแก่ลูกค้า
ต่อมาพัฒนาและจัดการแผนการสื่อสาร KM จะต้องกระจายข้อความจำนวนมาก แต่กรุณาอย่าให้ทุกสิ่งทุกอย่างไปยังทุกคนในทุก platforms ต้องแบ่งผู้ฟัง KM และพัฒนาแผนเป้าหมายซึ่งเหมาะกับคนที่ถูกต้องที่เวลาที่ถูกต้องที่ช่องทางที่ถูกต้อง
ที่มา: Mercy Harper (February 20, 2020). How to Speed Up Knowledge Management Results. Retrieved July 26, 2021, from https://www.apqc.org/blog/how-speed-knowledge-management-results
การจัดการความรู้ (KM)

ตอนที่ 3 รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ
นักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย
https://www.youtube.com/watch?v=HXSfejIMjDEเผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของนักวิจัยอาวุโส และนักวิจัย ประกอบด้วยคุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ดร.ชูศักดิ์ ธนวัฒโน ดร.นพดล นันทวงศ์ และคณะ ดร.ชัญญา พุทธิขันธ์ และคณะ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ และคณะ ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ และคณะ ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ดร.แสงจันทร์ เสนาปิน ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และ ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
30 ปี สวทช.
คลัง VDO

ตอนที่ 2 VDO รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ ผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติ และผู้บริหาร
รางวัลนักวิจัยดีเด่นระดับนานาชาติ และนักวิจัยดีเด่นระดับชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติ และผู้บริหาร
https://www.youtube.com/watch?v=SZ_GvMfztrEเผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติ และผู้บริหาร ประกอบด้วย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ และคณะ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล และคณะ ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ดร.วรรณี ฉินศิริกุล และคณะ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม และคณะ เป็นต้น
30 ปี สวทช.
คลัง VDO

ตอนที่ 1 เกียรติคุณและรางวัล ผู้อำนวยการ สวทช. อดีต-ปัจจุบัน
เกียรติคุณและรางวัล ผู้อำนวยการ สวทช. อดีต-ปัจจุบัน
https://www.youtube.com/watch?v=AnbnaC1DE1Eเผยแพร่เกียรติคุณและรางวัลของผู้อำนวยการ สวทช. ประกอบด้วย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล และ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ด้วยความรู้ความสามารถในการบริหารงาน สวทช. มาตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดคุณูปการและประโยชน์ในวงวิชาการอย่างแพร่หลาย พร้อมกันนี้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากทั้งเวทีระดับชาติและนานาชาติมาโดยตลอด
30 ปี สวทช.
คลัง VDO

3 วิธีการที่จะทำให้การจัดการความรู้ (KM, knowledge management) เข้าไปอยู่ในงานที่แท้จริง
กำลังมองหาองค์กรชั้นนำใช้วิธีที่ยั่งยืนมากกว่าโดยใช้บทบาท (roles), ชุดทักษะ (skillsets) และกระบวนการ (processes) เพื่อฝัง KM
บางองค์กรใช้บทบาท (roles) สนับสนุน KM ในธุรกิจเพื่อทำให้เกิดการสนับสนุนและการชี้แนะที่มีอิทธิพลมาก บทบาทเหล่านี้ยังป้องกันการตอบกลับซึ่งทำให้ KM พัฒนาอย่างต่อเนื่องชุดเครื่องมือและกลยุทธ์ หนึ่งองค์กรที่ใช้วิธีนี้คือ Pfizer ซึ่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ KM เพิ่มการมีส่วนร่วมที่ระดับท้องถิ่นได้อย่างประสบผลสำเร็จ
หลายองค์กรยังกำลังระบุและทำให้เกิดขึ้น KM ชุดทักษะะ (skillsets) เมื่อคนในธุรกิจมีทักษะเพื่อทำ KM ของตนเอง สามารถสร้างการแบ่งปันความรู้และใช้ซ้ำในงานซึ่งมีประโยชน์ และเมื่อองค์กรรู้ว่า KM เป็นชุดทักษะ KM กลายเป็นหนทางสำหรับพนักงานเพื่อเติบโตและสูงขึ้นในอาชีพ ตัวอย่างเช่น Schlumberger จัดให้มีแหล่งทรัพยากรจำนวนมากเพื่อช่วยพนักงานพัฒนาและแสดงทักษะ KM และทักษะเหล่านี้เป็นที่ต้องการเพื่อก้าวสูงขึ้นบันไดอาชีพที่แน่นอน
การสร้าง KM ในกระบวนการ (processes) ธุรกิจที่มีอยู่แล้ว เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพ เมื่อวาง KM ในกระบวนการซึ่งคนใช้แล้ว จะเตือนให้มีส่วนร่วมในโอกาสที่ถูกต้องและทำให้ KM รู้สึกสำคัญกับงาน มีหนทางเล็กน้อยที่จะทำ แต่เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่จัดโครงสร้างงานในรูปแบบของโครงการ การรวม KM เข้าไปในการจัดการโครงการเป็นเรื่องปกติ หนึ่งตัวอย่างมาจาก Consolidated Contractors Company ซึ่ง KM ถูกสร้างในบทบาทโครงการหลักและวงจรชีวิตโครงการทั้งหมด
ที่มา: Mercy Harper (February 13, 2020). 3 Ways to Bake KM into Real Work. Retrieved July 26, 2021, from https://www.apqc.org/blog/3-ways-bake-km-real-work
การจัดการความรู้ (KM)

วิธีส่งเสริมวัฒนธรรมการจัดการความรู้ (KM, knowledge management)
โดยพื้นฐาน วัฒนธรรมเป็นดินขององค์กร เมื่ออุดมสมบูรณ์ KM เจริญ เมื่อแข็งและเป็นหิน KM ต่อสู้เพื่อให้เกิดราก
ข้างล่างเป็น 5 วิธี ที่ช่วยให้โปรแกรม KM เติบโตในวัฒนธรรมซึ่ง KM ถูกเพาะปลูกแล้ว
- เพาะปลูกเมล็ดที่ถูกต้อง ทำงานกับผู้นำอาวุโสเพื่อให้แน่ใจว่า KM มุ่งไปที่ปัญหาธุรกิจที่ถูกต้อง
- โน้มเอียงต่อราก ความคาดหวังการปฏิบัติเป็นรากของพฤติกรรมพนักงาน เป็นที่ต้องการและไม่เป็นที่ต้องการ ทำงานร่วมกับ HR เพื่อทำให้ เช่น จุดประสงค์การปฏิบัติ โอกาสการเติบโตทางอาชีพ อยู่ในแนวเดียวกับ KM
- สอนคนทำสวน ทำให้ผู้นำและผู้จัดการเห็นวิธีที่พวกเขาสามารถช่วยวัฒนธรรม KM เจริญผ่านการสื่อสารและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น คนเหล่านี้ยุ่ง ดังนั้นต้องบอกว่า KM ต้องการอะไรจากพวกเขาและสอนวิธีที่จะได้สิ่งนั้น
- หยุดวัชพืช ข้อจำกัดทางภาษาและภูมิศาสตร์สามารถป้องกันวัฒนธรรม KM จากการแผ่ขยายทั่วทั้งองค์กร กำจัดข้อจำกัดเหล่านี้ด้วยการจัดหมวดหมู่องค์กร, เครื่องมือแปลภาษา และชุมชนนักปฏิบัติทั่วโลก
- ให้แสงแดด ส่องแสงไปยังพฤติกรรม KM ที่ดีและเรื่องราวที่ประสบผลสำเร็จด้วยรางวัลและการรับรู้
ที่มา: Mercy Harper (February 27, 2020). How to Foster a KM Culture. Retrieved July 26, 2021, from https://www.apqc.org/blog/how-foster-km-culture
การจัดการความรู้ (KM)

องค์ประกอบ 4 อย่างที่ดีที่สุดของการจัดการความรู้ (knowledge management, KM) คืออะไร
องค์ประกอบ 4 อย่างที่ดีที่สุดของการจัดการความรู้ คือ คน (people), กระบวนการ (process), เนื้อหาหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ (content/IT) และกลยุทธ์ (strategy) โดยไม่คำนึงถึงอุตสาหกรรม, ขนาด หรือความต้องการความรู้ขององค์กร ต้องการเสมอ ๆ คน เพื่อนำและสนับสนุนการแบ่งปันความรู้ ต้องการกระบวนการเพื่อจัดการและวัดการไหลของความรู้ ต้องการเนื้อหาความรู้และเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถเชื่อมคนที่ถูกต้องกับเนื้อหาที่ถูกต้องที่เวลาที่ถูกต้อง และท้ายที่สุดต้องการกลยุทธ์ที่ชัดเจนและทำเป็นเอกสารเพื่อใช้ KM ให้ตรงกับความต้องการที่เร่งด่วนและสำคัญที่สุดของธุรกิจ
ข้างล่างเป็นข้อมูลที่ลึกเล็กน้อยเกี่ยวกับองค์ประกอบทั้งสี่
- คน
เมื่อเริ่มโปรแกรม KM ต้องการคนสองประเภทนี้ ได้แก่
1. ผู้นำอาวุโส (senior leaders) เพื่อสนับสนุนทำให้กลยุทธ์องค์กรขยายมากขึ้น
2. ผู้ถือผลประโยชน์ร่วมข้ามสายงาน (cross-fuctional stakeholders) เพื่อแนะนำการประยุกต์ใช้
เมื่อความพยายาม KM สมบูรณ์แบบ องค์กรส่วนใหญ่จะมีทีม KM หลัก, ระบุผู้ชนะเลิศ KM (KM champions) และผู้อำนวยความสะดวก (facilitators) ของธุรกิจ และจัดตั้งคณะกรรมการบริหารเพื่อให้บริการหรือดูแลอย่างต่อเนื่อง ดูเหมือนว่าจะอาศัยคนเป็นจำนวนมาก ต้องการคนให้มีส่วนร่วมที่ระดับต่าง ๆ และที่ส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจเพื่อทำให้เกิดการแบ่งปันความรู้อย่างแท้จริงในวัฒนธรรม แต่ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากหรือใช้เวลามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากระบวนการดี, เนื้อหาและโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ยุ่งยาก และกลยุทธ์น่าสนใจ
- กระบวนการ
ในองค์กรที่มีกระบวนการ KM ที่แข็งแรง การไหลของความรู้เหมือนการให้น้ำในเมือง เมื่อบางคนต้องการน้ำ เพียงหมุนก๊อกน้ำ ทีม KM เหมือนผู้วางแผนเมือง รู้วิธีทุกสิ่งทุกอย่างไหลข้างใต้พื้นผิว สามารถระบุภาวะลำบาก, การไหลไปเส้นทางต่าง ๆ และวัดการให้ข้อมูลและผลลัพธ์ แต่ผู้ใช้ปลายทางไม่ต้องเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ได้รับความรู้ที่ต้องการเป็นเรื่องที่ง่าย
APQC (American Productivity and Quality Center) ได้ระบุกระบวนการไหลของความรู้มาตรฐานซึ่งอธิบายวิธีที่ความรู้ไหลทั่วทั้งองค์กร ประกอบด้วยวงจร 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. สร้างความรู้ใหม่ (เกิดขึ้นทุกวัน ทุกเวลา ทั่วทั้งทุกด้านของธุรกิจ)
2. ระบุความรู้ซึ่งสำคัญต่อกลยุทธ์และการปฏิบัติ
3. รวบรวมความรู้ดังนั้นสามารถแบ่งปันกับผู้อื่น
4. ทบทวนความรู้เพื่อประเมินความตรงประเด็น, ความถูกต้อง และความสามารถในการประยุกต์ใช้
5. แบ่งปันความรู้ผ่านการจัดทำเอกสาร, การประกาศที่ไม่เป็นทางการ และกิจกรรมความร่วมมือ
6. เข้าถึงความรู้ผ่านกลไก pull (ตัวอย่างเช่น การค้นหา) และ push (ตัวอย่างเช่น การเตือน)
7. ใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาได้เร็วขึ้นและการตัดสินใจที่เชี่ยวชาญมากขึ้น
สำหรับทีม KM สิ่งสำคัญคือระบุวิธีที่จะสร้างขั้นตอนเหล่านี้ภายในกระบวนการธุรกิจที่คนใช้แล้วทุกวัน
- เนื้อหาหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื้อหาเป็นความรู้ที่ได้จัดทำเป็นเอกสารชนิดไหนก็ได้ ตั้งแต่วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศที่ได้รับการตรวจสอบจนถึงเคล็ดลับผ่าน ๆ ที่แบ่งปันระหว่างเพื่อนร่วมงาน เหตุผลที่วางเทคโนโลยีสารสนเทศไว้กับเนื้อหา เพราะโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้คนสร้าง, วางไว้บางแห่ง และเข้าถึงและนำกลับมาใช้ใหม่เนื้อหา ถ้าไม่มี KM คนจะยังคงสร้างและใช้เนื้อหา แต่จะวางไว้ในที่ที่คนอื่นไม่สามารถค้นพบ, ทำในสิ่งที่คนอื่นสร้างไว้แล้ว และที่อันตรายมากที่สุด ใช้เนื้อหาอีกครั้งที่ล่าสมัยหรือไม่ถูกต้อง
โปรแกรม KM ที่มีประสิทธิภาพมีขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างและตรวจสอบเนื้อหา, จัดหมวดหมู่เพื่อจัดการเนื้อหา และเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมคนกับเนื้อหา องค์กรขั้นสูงใช้การจัดการเนื้อหาเพื่ออำนวยความสะดวกความร่วมมือกัน, เปิดเผยนวัตกรรม และให้เนื้อหากับพนักงานอย่างอัตโนมัติในโอกาสที่สอนได้
- กลยุทธ์
ทุกโปรแกรม KM ต้องการกลยุทธ์ที่ตรงประเด็นกับธุรกิจ จัดทำเป็นเอกสาร และชัดเจน สามารถมีเครื่องมือเทคโนโลยีที่ดีที่สุดและทีม KM ที่เก่งมาก ๆ แต่จะไม่มีประโยชน์โดยปราศจากกลยุทธ์
ที่มา: Mercy Harper (October 21, 2019). What are the Best Four Components of Knowledge Management?. Retrieved July 26, 2021, from https://www.apqc.org/blog/what-are-best-four-components-knowledge-management
การจัดการความรู้ (KM)

สวทช. จัดเสวนา หัวข้อ “COVID-19 : Lessons Learned and Future Directions ถอดบทเรียนจาก COVID-19 กับแนวทางรับมือกับโรคร้ายใหม่ๆในอนาคต
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) ขอเชิญร่วมรับฟังงานสัมมนา online ในหัวข้อ “COVID-19 : Lessons Learned and Future Directions ถอดบทเรียนจาก COVID-19 กับแนวทางรับมือกับโรคร้ายใหม่ๆในอนาคต” ในวันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 – 11.00 น. โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้
1. บรรยายพิเศษ “โรคอุบัติใหม่ และโรคที่มีศักยภาพในการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน” โดย ดร.ทิพย์รำไพ ธรรมมงกุฎ และ ดร. ษมาภรณ์ ธีรเวชญาณ ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
2. เสวนาเรื่อง “สวทช. กับความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19” โดย ดร.ฌัลลิกา แก้วบริสุทธิ์ และ ดร.สุรพงษ์ ขุนแผ้ว ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยีศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
ทั้งนี้ ท่านที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่
https://us02web.zoom.us/webinar/register/3816263210691/WN_PSJ3wcpKRKGrS0K7jmFy7w หรือสแกน QR code ได้ตั้งแต่บัดนี้
ข่าว 30 ปี สวทช.
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม