หน้าแรก ค้นหา
ผลการค้นหา :
การศึกษาแบบเปิด (open education) คืออะไร
การศึกษาแบบเปิด คือ ทรัพยากร เครื่องมือ และการปฏิบัติ ที่ไม่มีการกีดกันทางกฎหมาย การเงิน และเทคนิค และสามารถถูกใช้ แบ่งปัน และปรับอย่างสมบูรณ์ในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล การศึกษาแบบเปิดทำให้อินเทอร์เน็ตมีความสามารถสูงสุดในการทำให้การศึกษาสามารถจ่ายได้ เข้าถึงได้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รากฐานของการศึกษาแบบเปิด คือ ทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources, OER) ซึ่งเป็นการสอน การเรียนรู้ ทรัพยากรวิจัย ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีการกีดกันการเข้าถึง และยังมีการอนุญาตทางกฎหมายให้ใช้แบบเปิด โดยการอนุญาตใช้การอนุญาตแบบเปิด ที่ปล่อยให้ใครก็ได้ใช้ ปรับ และแบ่งปันทรัพยากรอย่างไม่มีค่าใช้จ่าย ที่เวลาไหนก็ได้และที่ไหนก็ได้ ทำไมใช้การศึกษาแบบเปิด 1. ราคาตำราเรียนไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การศึกษาแบบเปิดมีตำราเรียนให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 2. นักศึกษาเรียนรู้มากขึ้นเมื่อเข้าถึงวัสดุทางการศึกษาที่มีคุณภาพ การศึกษาแบบเปิดให้วัสดุทางการศึกษาที่มีคุณภาพ 3. เทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาการสอนและการเรียนรู้อย่างมาก การศึกษาแบบเปิดทำให้การสอนและการเรียนรู้พัฒนา 4. การศึกษาที่ดีขึ้นหมายถึงอนาคตที่ดีขึ้น การศึกษาแบบเปิดทำให้การศึกษาถูกเข้าถึงได้มากขึ้นและการสอนและการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่มา: SPARC. Open Education. Retrieved September 15, 2023, from https://sparcopen.org/open-education/
นานาสาระน่ารู้
 
การเข้าถึงแบบเปิด (open access) คืออะไร
การเข้าถึงแบบเปิด คือบทความวิจัยที่มีให้อย่างฟรี ทันที และออนไลน์ และสิทธิในการใช้บทความอย่างสมบูรณ์ในสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล ยังมีความหมายได้อีก เช่น 1. การเข้าถึงแบบเปิดทำให้ใครก็ได้สามารถเข้าถึงและใช้ผลการวิจัย เพื่อเปลี่ยนจากแนวคิดเป็นอุตสาหกรรมและชีวิตที่ดีขึ้น 2. การเข้าถึงแบบเปิดเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนโดยทำให้ผลการวิจัยที่ได้รับทุนสามารถอ่านและต่อยอดโดยใครก็ได้ 3. การเข้าถึงแบบเปิดขยายจำนวนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในงานวิจัยจากสถาบันที่มีเงินมากพอที่จะจ่ายสำหรับสมัครสมาชิกใช้บริการวารสารไปยังใครก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ตไว้ใช้ 4. การเข้าถึงแบบเปิดหมายถึงมีผู้อ่านที่มากขึ้น มีผู้ร่วมมือที่มากขึ้น มีการอ้างอิงงานที่มากขึ้น และในที่สุดได้รับการยอมรับที่มากขึ้น ที่มา: SPARC. Open Access. Retrieved September 15, 2023, from https://sparcopen.org/open-access/
นานาสาระน่ารู้
 
การจัดการความรู้เริ่มต้นด้วยการไหลของความรู้ (Knowledge Flow)
การไหลของความรู้ คือการที่ความรู้ที่สำคัญที่สุดเคลื่อนย้ายทั่วทั้งองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และไปยังคนที่ถูกต้องในเวลาที่ถูกต้อง เริ่มต้นเมื่อความรู้ใหม่เกิดขึ้น เครื่องมือการจัดการความรู้หรือแนวทาง ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดการไหลของความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ จะไม่สนับสนุนความสำเร็จของเป้าหมายของการจัดการความรู้และองค์กร กระบวนการไหลของความรู้ของ APQC (American Productivity and Quality Center) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน พูดถึงวิธีที่ความรู้เคลื่อนย้ายทั่วทั้งองค์กร ได้แก่ 1. สร้าง (Create) การสร้างความรู้เกิดขึ้นทุกวันในแนวทางที่แตกต่างกันมาก เช่น การทดลองใหม่ แผนการปฏิบัติสำหรับลูกค้าใหม่ 2. ระบุ (Identify) ระบุความรู้ที่สำคัญสำหรับกลยุทธ์และการปฏิบัติ เพื่อมุ่งไปที่ความรู้นั้น พนักงานแต่ละคนควรระบุความรู้เพื่อแบ่งปันในหลักสูตรของงาน 3. เก็บรวบรวม (Collect) เก็บความรู้ไว้ใน เช่น ฐานข้อมูล หรือ blog การเก็บรวบรวมสามารถเกิดขึ้นผ่านกิจกรรม ในเหตุการณ์ เช่น การประชุมในทีม หรืองานประจำ 4. ทบทวน (Review) ทบทวนและประเมินความรู้สำหรับความตรงประเด็น ความถูกต้อง และการใช้ ความรู้บางอย่างต้องการการทบทวนอย่างเป็นทางการโดยผู้เชี่ยวชาญ ในขณะที่ความรู้อื่น ๆ สามารถได้รับการทบทวนและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพโดยชุมชนผู้ใช้ 5. แบ่งปัน (Share) แบ่งปันความรู้สู่คนอื่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มหรือการอภิปราย และหรือตอบคำถาม 6. เข้าถึง (Access) ส่งผ่านความรู้และหรือความชำนาญจากคนหนึ่งถึงคนหนึ่ง หรือจากคนหนึ่งถึงหลายคน 7. ใช้ (Use) ความรู้ถูกใช้ในรูปแบบปัจจุบันและประยุกต์ใช้กับอีกหนึ่งสถานการณ์ เพื่อแก้ปัญหา พัฒนากระบวนการ หรือตัดสินใจ ที่มา: Lynda Braksiek (August 30, 2023). Managing Knowledge Starts with Knowledge Flow. Retrieved September 19, 2023, from https://www.apqc.org/blog/managing-knowledge-starts-knowledge-flow
การจัดการความรู้ (KM)
 
ไบโอเทค-สวทช. พัฒนาองค์ความรู้ ฟื้นฟูพื้นที่เพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า อนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
  ‘เห็ดตับเต่า’ เป็นหนึ่งในเห็ดพื้นบ้านของไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติที่อร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ที่สำคัญคือมีให้รับประทานเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ซึ่งแหล่งผลิตเห็ดตับเต่าที่ใหญ่ที่สุดและคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่บ้านสามเรือน ตำบลสามเรือน อำเภบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่เกิดจากวิถีภูมิปัญญาผสานกับการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาปรับใช้บริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสมเพื่อผลิตเห็ดตับเต่าอย่างยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน   [caption id="attachment_47202" align="aligncenter" width="450"] นางสาวธิติยา บุญประเทือง นักวิจัยไบโอเทค สวทช.[/caption]   นางสาวธิติยา บุญประเทือง หัวหน้ากลุ่มวิจัยเห็ด ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เล่าว่า เกษตรกรบ้านสามเรือนเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าในดงโสนเป็นอาชีพหลักมานานหลายสิบปี และได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเห็ดตับเต่าคลองโพ แต่จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2554 ส่งผลให้เชื้อเห็ดตับเต่าในพื้นที่ลดลงและพักตัวนานขึ้น ผลผลิตเห็ดในปีถัด ๆ มาก็ลดลงตามไปด้วย หากไม่เร่งฟื้นฟูอาจทำให้เห็ดตับเต่าค่อย ๆ หายไปจากพื้นที่ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในระยะยาว “ทีมวิจัยจึงได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับเกษตรกรบ้านสามเรือนเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า เริ่มตั้งแต่ศึกษาสรีรวิทยาของเห็ดตับเต่า ศึกษาระบบนิเวศและปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการเจริญของเห็ดตับเต่าทั้งดิน น้ำ ความชื้น และอากาศ รวมถึงพืชอาศัยของเห็ดตับเต่า ซึ่งเดิมเคยมีความรู้ว่าเห็ดตับเต่าเป็นเห็ดเอ็กโทไมคอร์ไรซา (ectomycorrhiza) ที่เจริญร่วมกับรากของต้นไม้ จึงไม่สามารถเพาะในโรงเรือนได้เหมือนกับเห็ดชนิดอื่นๆ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เห็ดตับเต่าไม่เป็นเห็ดเอ็กโทไมคอร์ไรซา แต่เป็นเห็ดที่มีสังคมการอาศัยที่ซับซ้อนคือ มีความสัมพันธ์ร่วมระหว่างพืชอาศัย ซึ่งมีมากกว่า 60 ชนิด และต้นโสนเป็นหนึ่งในนั้น ร่วมกับแมลงคือมดและเพลี้ย ดังนั้นหากกำจัดมดและเพลี้ยจะส่งผลต่อเห็ดตับเต่าด้วย กลไกของสังคมนี้ยังคงอยู่ในระหว่างศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เห็ดตับเต่าสามารถนำมาเพาะเลี้ยงในโรงเรือนได้แต่รสชาติเปรียบกับเห็ดตับเต่าที่ขึ้นในบริเวณแหล่งปลูกอาศัยตามธรรมชาติไม่ได้ ต้นทุนสูงและเพาะเลี้ยงยากจึงไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย” นักวิจัยเล่าว่าเกษตรกรที่บ้านสามเรือนจะเพาะเห็ดตับเต่าในดงโสนนาซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีมากมาย โดยเห็ดตับเต่าจะเริ่มออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน หลังจากเก็บดอกเห็ดขายจนหมดแล้วและต้นโสนเริ่มแก่ พร้อมกับช่วงของการกักเก็บน้ำจากชลประทานซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่แก้มลิงของจังหวัด โดยน้ำจะเข้าท่วมถึงระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน หลังจากน้ำลดแล้วจึงเริ่มปรับพื้นที่ให้ต้นโสนงอกใหม่อีกครั้งคือการถอนต้นโสนทิ้งแล้วให้ต้นอ่อนขึ้นตามธรรมชาติ แล้วจึงนำเชื้อเห็ดที่หมักเตรียมไว้มาราดให้ทั่วแปลง และเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคมจะเริ่มสังเกตเห็นเส้นใยเห็ดตับเต่าเดินเต็มผิวดินและดอกเห็ดตับเต่าก็จะเริ่มบานเต็มพื้นที่อีกครั้ง   [caption id="attachment_47204" align="aligncenter" width="750"] นักวิจัยศึกษาระบบนิเวศของเห็ดตับเต่าและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน[/caption]   “เราศึกษาระบบนิเวศของเห็ดตับเต่าตั้งแต่โครงสร้างของดิน แร่ธาตุในดิน อุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มแสงบริเวณโคนต้นเหนือพื้นดิน รวมถึงความสูงของต้นโสน พบว่าเห็ดตับเต่าจะเจริญได้ในสภาพแวดล้อมที่มีความจำเพาะ เช่น ดินต้องมีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์และมีความเป็นกรดสูง มีความชื้นในอากาศเหมาะสม มีแสงส่องถึงพื้นดินที่พอเหมาะ และต้องไม่มีสารเคมีปนเปื้อนในแปลงเพาะเห็ด ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องหมั่นดูแลสภาพแวดล้อมในแปลงและตัดแต่งกิ่งโสนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ถางหญ้าที่รกออกโดยไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าเพื่อให้เชื้อเห็ดเจริญและออกดอกได้ดี ที่สำคัญเกษตรกรจะต้องไม่เก็บดอกเห็ดขายจนหมด ต้องปล่อยดอกเห็ดบางส่วนทิ้งไว้จนแก่เพื่อนำไปทำหัวเชื้อหรือให้เชื้อนั้นพักตัวในดินสะสมไว้เพื่อฤดูกาลถัดไป ในส่วนของต้นโสนไม่ควรนำเมล็ดไปขายเพราะจะส่งผลถึงปริมาณต้นอ่อนของต้นโสนซึ่งมีผลสัมพันธ์กับการลดปริมาณของเห็ดในฤดูถัดไปได้ ห้ามกำจัดมดและเพลี้ยในบริเวณเช่นเดียวกันเพราะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเห็ดตับเต่าที่จำเป็นต้องมีในถิ่นอาศัย” นักวิจัยกล่าว จากการศึกษาระบบนิเวศของเห็ดตับเต่าและทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรบ้านสามเรือนเป็นเวลากว่า 2 ปี นักวิจัยไม่เพียงได้องค์ความรู้สำหรับถ่ายทอดสู่เกษตรกรในพื้นเท่านั้น แต่ยังสามารถจำลองสภาวะธรรมชาติเพื่อเพาะเห็ดตับเต่าได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรที่ต้องการขยายพื้นที่เพาะเห็ดตับเต่า รวมถึงใช้เป็นโมเดลในการเพาะเห็ดตับเต่าสำหรับพื้นที่อื่นๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังพัฒนาเทคนิคการผลิตหัวเชื้อเห็ดตับเต่าหลายรูปแบบ และพัฒนากระบวนการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าที่เหมาะกับหัวเชื้อแต่ละรูปแบบ   [caption id="attachment_47205" align="aligncenter" width="750"] เชื้อเห็ดตับเต่าแบบต่าง ๆ[/caption]   “เห็ดตับเต่าที่บ้านสามเรือนมีลักษณะดอกใหญ่ เนื้อแน่น และมีความอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนเห็ดตับเต่าในพื้นที่อื่น ซึ่งกลิ่นและรสของเห็ดตับเต่านั้นยังขึ้นอยู่กับชนิดของรากไม้ แร่ธาตุในดิน และสภาพแวดล้อมที่เห็ดเจริญ เห็ดชนิดเดียวกันแต่ขึ้นต่างพื้นที่กัน กลิ่นและรสก็จะแตกต่างกันด้วย ดังนั้นการที่เราได้เข้าไปทำงานร่วมกับเกษตรกรในการฟื้นฟูเห็ดตับเต่าของบ้านสามเรือน นอกจากจะช่วยรักษาทรัพยากรในท้องถิ่น ฟื้นฟูอาชีพและรายได้ของคนในชุมชนให้กลับคืนมาแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์เห็ดตับเต่าชั้นดีของประเทศไทยอีกด้วย" นักวิจัยกล่าว   [caption id="attachment_47203" align="aligncenter" width="750"] เห็ดตับเต่าเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญและเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[/caption]   ปัจจุบันเห็ดตับเต่ากลายเป็นสินค้าเกษตรที่ขึ้นชื่อและเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านสามเรือน มีเกษตรกรผู้เพาะเห็ดไม่ต่ำกว่า 300 ราย ส่วนใหญ่จำหน่ายเป็นผลิตผลสดและบางส่วนนำไปแปรรูปเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้ชุมชนเป็นปีละประมาณ 10 ล้านบาท อีกทั้งยังได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและศูนย์เรียนรู้ด้านการเพาะเห็ดตับเต่าที่สำคัญของประเทศ การพัฒนาองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมนับว่าเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เติบโตและงอกงามได้อย่างยั่งยืนตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG model)     เรียบเรียงโดย : วีณา ยศวังใจ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์กโดย : ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
BCG
 
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ
 
ผลงานวิจัยเด่น
 
การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (continuous improvement) คืออะไร
เมื่อพูดถึงกระบวนการ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตรงข้ามโดยตรงกับการเสร็จสิ้นในหนึ่งครั้ง แต่คือการกระทำอย่างต่อเนื่องของการระบุ วิเคราะห์ และทำให้กระบวนการพัฒนาเพิ่มขึ้น โดยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง องค์กรเกิดความพร้อมอย่างมากในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพและพัฒนากระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ กระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีลักษณะอย่างไร ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ใช้ขั้นตอนที่แตกต่างกัน การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในที่สุดควรสะท้อนความต้องการที่จำเพาะและเป้าหมายขององค์กร วงจรชีวิตของกระบวนการของ APQC (American Productivity and Quality Center) เน้น 5 ขั้นตอนสำหรับการจัดการกระบวนการอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ขั้นตอนเหล่านี้ช่วยสร้างหน้าที่ประจำที่เป็นระบบในการออกแบบ ทบทวน และทำให้ดีขึ้นกระบวนการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนทั้ง 5 ได้แก่ 1. ระบุและรวบรวม (Identify and Organize) เมื่อองค์กรระบุว่ากระบวนการมีอยู่ หรือควรมีอยู่ และจัดให้สอดคล้องกับกระบวนการมีอยู่อื่น ๆ 2. ออกแบบและทำให้เป็นเอกสาร (Design and Document) ออกแบบและทำให้เป็นเอกสารกระบวนการ รวมถึงกระบวนการทำงานอย่างไร บทบาทที่เกี่ยวข้อง และกฎระเบียบทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 3. ติดตามและควบคุม (Monitor and Control) มองไปที่มาตรการและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิธีการที่ดำเนินการของกระบวนการ 4. พัฒนาและรวมเข้าด้วยกัน (Improve and Integrate) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับกระบวนการอื่น ๆ ตลอดเวลา 5. จัดการและสนับสนุน (Manage and Support) เฝ้าดูแล สนับสนุน และบำรุงรักษากระบวนการตลอดเวลา ที่มา: Madison Lundquist (August 29, 2023). What is Continuous Improvement?. Retrieved September 17, 2023, from https://www.apqc.org/blog/what-continuous-improvement
นานาสาระน่ารู้
 
“พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” องคมนตรี เปิดการสัมมนาวิชาการอุดมศึกษา ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ BCG  สร้างคน สร้างต้นแบบพัฒนาเศรษฐกิจคู่คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
วันที่ 31 สิงหาคม 2566 ณ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี : พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาวิชาการและแสดงนิทรรศการอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ BCG ซึ่งจัดโดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 2 กันยายน 2566 โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. บรรยายพิเศษ เรื่อง การขับเคลื่อนเศรฐกิจตามยุทธศาสตร์ BCG ว่า โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งริเริ่มโดยประเทศไทย และถูกประกาศให้เป็นวาระแห่งชาตินับแต่ปี 2564 นั้น กำลังได้รับการยอมรับในระดับชาติ โดยในการประชุม APEC ที่ผ่านมา ผู้นำทั้ง 21 ชาติ ได้ให้การรับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วย เศรษฐกิจ BCG เนื่องจากมีจุดแข็ง คือ ครอบคลุมทั้ง 3 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular) ด้านการเศรฐกิจสีเขียว (Green) ที่จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจ ควบคู่กับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันได้ กระทรวง อว. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โดยมุ่งสร้างบุคลากร สร้างความรู้ สร้างนวัตกรรม พัฒนาประเทศ ผ่านกลไก 6 ด้านได้แก่ 1) การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม 2) การสนับสนุนเงินทุนและสิทธิประโยชน์ 3) การบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการ 4) การให้บริการ โครงสร้างและเครือข่าย 5) การเพิ่มความสามารถบุคลากร 6) การปรับปรุงข้อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กลไกเหล่านี้จะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันยุทธศาสตร์ BCG ให้เดินหน้าไปได้ ปลัดกระทรวง อว. กล่าวต่อว่า นอกจากบทบาทของกระทรวง อว. แล้ว มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ ก็มีส่วนในการขับเคลื่อน BCG สู่ชุมชน ผ่านโครงการ Area-based กล่าวคือ การนำความรู้และนวัตกรรมในการสร้างอัตลักษณ์ชุมชน ซึ่งจะช่วยกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ช่วยเพิ่มความสุขให้กับคนในพื้นที่ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มี 4 มหาวิทยาลัย ทำงานร่วมกับ 130 ตำบล สร้างโครงการต้นแบบภายใต้โมเดล BCG ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดี จึงอยากเชิญชวนทุกสถาบันการศึกษาทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ ร่วมมือกันพัฒนาและแก้ปัญหาให้กับชุมชนโดยมี BCG เป็นฐาน เพื่อเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป ทั้งนี้ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช. และทีมวิจัย สวทช. ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวพร้อมทั้งให้การต้อนรับในบูธนิทรรศการแสดงผลงานด้าน BCG ของ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร อาทิ ด้านเกษตร ผลงาน Magik Growth หรือ นวัตกรรมถุงห่อผลไม้นอนวูฟเวน ทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. นำองค์ความรู้เรื่องวัสดุศาสตร์พัฒนาสูตรผสมเม็ดพลาสติก (polymer compound) ร่วมกับเทคโนโลยีการขึ้นรูปนอนวูฟเวน เพื่อให้วัสดุนอนวูฟเวนมีสมบัติให้น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้โดยง่าย ช่วยให้ทุเรียนที่ถูกห่อด้วยถุงห่อ Magik Growth สามารถสร้างสารสำคัญในผลไม้ทั้งแป้ง น้ำตาล สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ และถุงห่อทุเรียนสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ถึง 2 ฤดูกาลผลิต และยังช่วยเกษตรกรประหยัดต้นทุนจากการลดใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช สร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ด้านพลังงาน อาทิ โครงการวิจัยและพัฒนาแพล็ตฟอร์มแพ็กแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสับเปลี่ยนสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นความสำเร็จของระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรมที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อาทิ นวนุรักษ์ (NAVANURAK) แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลวัฒนธรรมความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นระบบ บริการข้อมูลแบบเปิด Open Data (www.navanurak.in.th) เพื่อแบ่งปันข้อมูลไปใช้หรือต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการจัดแสดงนิทรรศการผลงานการวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการขับเคลื่อนด้วย BCG ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ภายในงาน มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อทีน่าสนใจ อาทิ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์ BCG การบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ ,โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ มหาวิทยาลัยราชภัฏยุคใหม่ เป็นต้น /////////////////////// เกี่ยวกับ ‘โมเดลเศรษฐกิจ BCG’ โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตและประชาชนมีรายได้มากขึ้นด้วยการต่อยอดจุดแข็งของประเทศทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ประกอบด้วย Bioeconomy (ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากร Circular Economy (ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน) การนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ Green Economy (ระบบเศรษฐกิจสีเขียว) ที่มุ่งเน้นแก้ปัญหามลพิษเพื่อลดผลกระทบต่อโลก โดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เป็นกลไกลสำคัญที่จะเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจเดิมจาก ‘ทำมากแต่ได้น้อย’ ไปสู่ ‘ทำน้อยแต่ได้มาก’ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศไทยพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
BCG
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
‘Winona Probio’ นวัตกรรมเสริมสุขภาพจาก ‘โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย’ คุณภาพมาตรฐานสากล
For English-version news, please visit : Winona Probio: Probiotic supplement based on locally isolated microorganisms   Tech: สุดปัง ! “Winona Probio” นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยรายแรกในประเทศ ผลิตจากจุลินทรีย์มีชีวิตที่ผ่านการคัดแยก วิจัยพัฒนา และทดสอบประสิทธิภาพในคนไทยแล้ว หนึ่งในผลงานนวัตกรรมร่วมจัดแสดงในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. หรือ NAC2023 BIZ: #นวัตกรรมพร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์ วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์โดยศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางวิจัยด้านโพรไบโอติก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) พัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตเซลล์จุลินทรีย์โพรไบโอติกในระดับกึ่งอุตสาหกรรมโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. และต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์โดยบริษัทวิโนน่า เฟมินิน จำกัด ติดต่อสอบถามได้ที่ โทรศัพท์ : 0 2821 5501 อีเมล : nopppart.s@winonafeminine.com เฟซบุ๊ก : วิโนน่า คอสเมติกส์ ไลน์ : @winona หรือเว็บไซต์ www.winonafeminine.com   [caption id="attachment_46231" align="aligncenter" width="700"] นพรัตน์ สุขสราญฤดี ผู้ก่อตั้ง บริษัทวิโนน่า เฟมินิน จำกัด[/caption]   นพรัตน์ สุขสราญฤดี ผู้ก่อตั้ง บริษัทวิโนน่า เฟมินิน จำกัด เล่าว่า บริษัทเริ่มต้นทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เฟมินินแคร์จากสมุนไพรไทย โดยเน้นทำตลาดในต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของเราเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ภายนอก เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จึงเริ่มมองหานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ และพบว่าในต่างประเทศมีการนำจุลินทรีย์โพรไบโอติกมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพกันเป็นจำนวนมาก แต่ในประเทศไทยยังมีน้อยและส่วนใหญ่ต้องนำเข้า ในขณะที่อุตสาหกรรมโพรไบโอติกมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น จึงเกิดความสนใจที่จะนำโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ โดยเราได้รับอนุญาตใช้สิทธิข้อมูลเทคโนโลยีจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยจำนวน 2 สายพันธุ์ จากศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางวิจัยด้านโพรไบโอติก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ถัดมาได้ร่วมวิจัยกับไบโอเทค สวทช. ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกเพื่อสตรี เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณภาพที่ดีตามมาตรฐานระดับสากล และมีความพร้อมในการผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ บริษัทวิโนน่า เฟมินิน จำกัด และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ   [caption id="attachment_46226" align="aligncenter" width="700"] ผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย[/caption]   จุดเด่นของผลิตภัณฑ์วิโนน่าโพรไบโอ คือ ผลิตจากจุลินทรีย์โพรไบโอติก Lactobacillus paracasei และ Bifidobacterium animalis สายพันธุ์ไทย ที่มีเซลล์มีชีวิตจำนวนสูง ผ่านการพิสูจน์คุณสมบัติการเป็นโพรไบโอติกที่ดี และได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ขององค์การอาหารและยา (อย.) จากผลการศึกษาโดยศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางวิจัยด้านโพรไบโอติก มศว. พบว่าเป็นโพรไบโอติกที่มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบในตับและลำไส้ ลดการสะสมของไขมัน ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากโพรไบโอติกไม่ใช่ยาหรือสารเคมี แต่เป็นจุลินทรีย์ตามธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายของคนเราอยู่แล้ว   [caption id="attachment_46227" align="aligncenter" width="700"] ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ไบโอเทค สวทช.[/caption]   ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ไบโอเทค สวทช. กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลิตภัณฑ์วิโนน่าโพรไบโอ ใช้เทคโนโลยีกระบวนการผลิตเซลล์โพรไบโอติกของโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (BBF) สวทช. ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตอาหาร และได้รับมาตรฐานสากล Codex GHPs และ HACCP รวมถึงการดำเนินงานภายใต้แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการใช้จุลินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม หรือ Good Industrial Large Scale Practice (GILSP) ในสภาพควบคุมระดับ LS1 โดย BBF มีความพร้อมทั้งผู้เชี่ยวชาญ องค์ความรู้ และเครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร สารอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยและผลิตด้วยเทคโนโลยีของคนไทยไม่เพียงตอบโจทย์เทรนด์ของผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคตเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการนำเข้าโพรไบโอติก ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพิ่มการสร้างงาน และเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารใหม่ของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก   เรียบเรียงโดย : วีณา ยศวังใจ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์กโดย : ฉัตรทิพย์ สุริยะ ฝ่ายผลิตสื่อสมัยใหม่ สวทช.
BCG
 
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ
 
ผลงานวิจัยเด่น
 
บทเรียนวิกฤตโควิด-19 สู่การพัฒนา “PETE (พีท) เปลความดันลบ” นวัตกรรมเพื่อความมั่นคงด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทย
  นับตั้งแต่ปี 2562 โรคโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่ผู้คนทั่วโลกอย่างมหาศาล เป็นแรงกระตุกครั้งสำคัญให้ผู้นำทั่วโลกตระหนักถึงความรุนแรงของโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) และหายนะที่เกิดขึ้นจากการขาดความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งประเทศไทยเองก็ต้องเผชิญความยากลำบากในการก้าวข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้มาเช่นกัน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) และหน่วยงานพันธมิตร ผู้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา PETE (พีท) จัดเวทีถอดบทเรียนความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมรับมือวิกฤตโรคโควิด-19 อันนำไปสู่การสร้างความเข็มแข็งด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทย   [caption id="attachment_46097" align="aligncenter" width="750"] PETE[/caption]   ‘เสียงสะท้อนบุคลากรด่านหน้า’ ในสถานการณ์โควิด-19 “เสียงตะโกนกรีดร้องด้วยความเครียดและหวาดผวา น้ำตาที่ไหลผ่านหน้าด้วยความเหนื่อยล้าแสนสาหัส คือความเจ็บปวดที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญในปี 2563 ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ถาโถมอย่างหนัก โรคที่ไม่มีใครไม่รู้จักและไร้ซึ่งหนทางตั้งรับ” คือ คำบอกเล่าของ นพ.อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช หนึ่งในบุคลากรด่านหน้าที่ได้หวนสะท้อนถึงความรู้สึกของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ต้องยืนหยัดต่อสู้ท่ามกลางสถานการณ์อันโหดร้ายในช่วงเวลานั้น   [caption id="attachment_46106" align="aligncenter" width="750"] นพ.อนุแสง จิตสมเกษม (ขวา)[/caption]   “ตอนนั้นสถานพยาบาลทั่วประเทศต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะอุปกรณ์สำหรับควบคุมการแพร่กระจายเชื้อขณะเคลื่อนย้ายคนไข้ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันไม่ให้บุคลากรด่านหน้าล้มป่วย หมอและพยาบาลต้องอลหม่านสร้างสรรค์อุปกรณ์เพื่อใช้งานกันเอง โชคดีที่หลังจากนั้นไม่นาน ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ หัวหน้าทีมวิจัยจากเอ็มเทค สวทช. และทีมวิจัย ได้ติดต่อเข้ามาที่วชิรพยาบาลเพื่อนำเสนอแนวคิดการต่อยอดนวัตกรรม ‘เปลความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ติดโรคระบาดในระบบทางเดินหายใจ'   ‘นวัตกรรมฝ่าวิกฤต’ ลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยสถานการณ์ที่คับขัน ทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. เร่งนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญมาพัฒนาต้นแบบ PETE (พีท) เปลความดันลบ ในเวลาอันสั้น เพื่อเป็นเครื่องมือให้บุคลากรด่านหน้าใช้รับมือโรคระบาด   [caption id="attachment_46048" align="aligncenter" width="700"] ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ[/caption]   ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ หัวหน้าโครงการ และผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ เอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า ในช่วงเวลานั้น อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจมีความสำคัญและจำเป็นในทุกโรงพยาบาล แต่ในประเทศไทยมีน้อยมาก เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนที่มีอยู่ก็มีข้อจำกัดในการใช้งาน เช่น ขนย้ายลำบาก ไม่สามารถนำเข้าเครื่องเอกซเรย์ชนิด CT-scan ได้ ทีมวิจัยจึงมีแนวคิดพัฒนา PETE หรืออุปกรณ์เปลความดันลบที่ลดข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย   [caption id="attachment_46045" align="aligncenter" width="750"] PETE รุ่นที่ 8 ถ่ายทอดเทคโนโลยีและมีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว[/caption]   “จุดเด่นของ PETE คือเปลมีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว ตัวเปลมีลักษณะเป็นห้องหรือท่อพลาสติกใส (plastic chamber) ขนาดพอดีตัวคน มีระบบปรับความดันอากาศภายในเปลเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสบาย และมีระบบฆ่าเชื้อโรคในอากาศเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ภายนอก นอกจากนี้อุปกรณ์ยังผ่านการออกแบบให้เคลื่อนย้ายเข้า-ออกรถพยาบาล รวมถึงเครื่องเอกซเรย์ชนิด CT Scan ได้โดยไม่ต้องพาผู้ป่วยออกจากเปล ที่สำคัญยังมีช่องถุงมือสำหรับทำหัตถการผู้ป่วย หรือสอดท่อหรือสายจากเครื่องมือแพทย์ จำนวน 6 ถึง 8 จุด เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องเปิด chamber”   [caption id="attachment_46101" align="aligncenter" width="750"] การทดสอบการใช้งานทางบกร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ[/caption]   [caption id="attachment_46102" align="aligncenter" width="750"] การทดสอบการใช้งานทางบกร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ[/caption]   [caption id="attachment_46046" align="aligncenter" width="750"] ผลงาน PETE ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์ ประจำปี 2565[/caption]   เอกชนพร้อมสู้ภัยโควิด-19 เดินหน้า ‘ผลิตเชิงพาณิชย์’ นับเป็นความโชคดีที่ภายหลังทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. ฝ่าฟันความยากลำบากในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบ PETE จนประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น บริษัทสุพรีร่า อินโนเวชัน จำกัด ที่มีความพร้อมด้านการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีในทันที เพื่อเร่งผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่กำลังเดือดร้อน   [caption id="attachment_46098" align="aligncenter" width="750"] คุณสกุล คงธนสาโรจน์ (ซ้าย) นาวาอากาศเอก พยงค์ รัตนสุข (คนที่ 2) คุณอานนท์ ศรีจักรโคตร (คนที่ 3)[/caption]   คุณอานนท์ ศรีจักรโคตร วิศวกรอาวุโส บริษัทสุพรีร่า อินโนเวชัน จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย PETE เล่าว่า บริษัทเป็นผู้ผลิตรถพยาบาลและรถที่ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติงานทางการแพทย์แบบเคลื่อนที่ จึงทราบดีว่าในปี 2563 บุคลากรด่านหน้าต้องเผชิญความยากลำบากในการทำงานเพียงใด พอทราบข่าวว่าเอ็มเทคพัฒนาต้นแบบ PETE ได้สำเร็จ เราจึงติดต่อขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยีทันที “จากการดำเนินงานร่วมกับทีมวิจัยตั้งแต่ช่วงต้น ทำให้มีโอกาสได้ทราบว่าทีมวิจัยต้องเผชิญกับอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องข้อจำกัดในการเลือกใช้ ‘อุปกรณ์การผลิต’ เพราะตอนนั้นทั่วโลกต่างมีความต้องการวัสดุสำหรับการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์สูง อีกทั้งการขนส่งระหว่างประเทศยังทำได้ยากลำบาก ทีมวิจัยจึงต้องพยายามเลือกใช้อุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศเท่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านพ้นมาได้แล้วผลดีที่เกิดขึ้นคือเราสามารถผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้เองในยามวิกฤตได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงกำลังการผลิตจากภายนอก อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ยังมีราคาถูกกว่าสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศหลายเท่าตัว ช่วยเพิ่มโอกาสให้สถานพยาบาลไทยเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูง” ปัจจุบัน บริษัทสุพรีร่า อินโนเวชัน จำกัด ร่วมกับทีมวิจัยเอ็มเทค พัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต้นแบบ PETE เปลความดันลบ มาแล้วถึง 9 รุ่น ซึ่งรุ่นที่ 9 เป็นรุ่นที่บุคลากรทางการแพทย์ให้การยอมรับว่ามีประสิทธิภาพทัดเทียมกับสินค้าที่จำหน่ายในตลาดโลก นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ HI PETE (ไฮ พีท) เต็นท์ความดันลบสำหรับใช้ทดแทนห้องความดันลบในสถานพยาบาลในกรณีมีห้องไม่เพียงพอ และใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ในโรงพยาบาลสนามหรือสถานที่กักตัวภายในชุมชนด้วย   [caption id="attachment_46043" align="aligncenter" width="747"] HI PETE[/caption]   [caption id="attachment_46042" align="aligncenter" width="750"] HI PETE[/caption]   [caption id="attachment_46044" align="aligncenter" width="750"] HI PETE[/caption] ส่งมอบ ‘เปลความดันลบ’ เกราะคุ้มกันกำลังพลคนด่านหน้า ด้วยแรงสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทำให้บริษัทสุพรีร่าฯ ผลิตและส่งมอบอุปกรณ์ให้แก่สถานพยาบาลทั่วประเทศได้แล้วมากกว่า 120 ชุด คุณสกุล คงธนสาโรจน์ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จังหวัดนครราชสีมา เล่าว่า การได้ PETE มาใช้งาน ช่วยลดภาระงานเจ้าหน้าที่อย่างมาก จากที่ต้องใช้เวลานำแผ่นพลาสติกซีลภายในรถทั้งคันเป็นเวลาหลักชั่วโมงต่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 1 ครั้ง เหลือเพียงใช้เวลาติดตั้งอุปกรณ์ 5 นาทีเท่านั้น อีกทั้งการดูแลผู้ป่วยหลังจากเคลื่อนย้ายมายังสถานพยาบาลก็ทำได้สะดวกขึ้นมาก ทุกคนที่ได้ใช้งานรู้สึกสะดวก คลายความกังวล และมีความสุข แม้วันนี้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย จะพบจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างมากจนใกล้กลับคืนสู่สถานการณ์ปกติแล้ว แต่สถานพยาบาลต่าง ๆ ก็ยังคงใช้ PETE ในการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่มีความรุนแรง อาทิ วัณโรค (Tuberculosis) อีสุกอีใส (Chickenpox) เพื่อปกป้องบุคลากรทางการแพทย์และบุคคลทั่วไปจากการแพร่กระจายเชื้ออยู่เสมอ   [caption id="attachment_46049" align="aligncenter" width="750"] ภาพการส่งมอบ PETE ในปี 2564[/caption]   ‘พลังความร่วมมือ’ หนทางก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 ผลความสำเร็จในพัฒนา PETE เปลความดันลบ จากต้นแบบในห้องปฏิบัติการสู่ผลงานที่ส่งมอบให้แก่สถานพยาบาลเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อก่อโรคในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19  คงเกิดขึ้นไม่ได้ หากขาด “ความร่วมแรงร่วมใจ” จากทุกภาคส่วน ดร.ศราวุธ เล่าว่า นวัตกรรมนี้เกิดขึ้นได้จากการร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่ายในการนำสรรพกำลังและความเชี่ยวชาญสหสาขามาบูรณาการการทำงาน ต้องขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ร่วมฝ่าฟันความยากลำบากมาด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้งานที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้ข้อมูลปัญหาที่ชัดเจน และร่วมให้ความเห็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง อาทิ วชิรพยาบาล โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ โรงพยาบาลวิภาวดี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แหล่งทุนวิจัยต่าง ๆ  ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) รวมถึงภาคเอกชน ได้แก่ เครือมติชน บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัทอีสเทิร์นโพลีเมอร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทสุพรีร่า อินโนเวชัน จำกัด และประชาชนที่ร่วมบริจาคงบประมาณในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้มีความถูกต้องทางวิศวกรรมและตอบโจทย์ผู้ใช้ “อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนให้ต่อยอดขยายผลอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนด้านการทดสอบมาตรฐานจากกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) มาตั้งแต่ต้น ทำให้สามารถขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ส่งผลดีด้านการสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่หน้างานเป็นอย่างมาก”   ต่อยอดนวัตกรรม PETE ‘เคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศและทางน้ำ’ PETE ไม่เพียงเป็นนวัตกรรมสำคัญในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในอนาคต ทีมวิจัยยังตั้งเป้าพัฒนาขยายผลการใช้งาน PETE ให้เป็นอุปกรณ์ที่พร้อมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในทุกสถานการณ์ ดร.ศราวุธ เล่าว่า ก้าวต่อไปของ PETE คือการพัฒนาอุปกรณ์ให้ใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ทั้งทางอากาศและทางน้ำ โดยปัจจุบันทีมวิจัยกำลังร่วมกับหน่วยงานการแพทย์และศูนย์ทดสอบต่าง ๆ ในการทดสอบอุปกรณ์ภายใต้สถานการณ์จำลอง เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุงและจัดทำรายงานทางคลินิกเพื่อยื่นขอรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทย์ระดับสากลในหัวข้อต่าง ๆ เพิ่มเติม นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดโลก ตามที่ นาวาอากาศเอก พยงค์ รัตนสุข นายทหารนิรภัยเวชกรรมการบิน สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ ได้ให้กำลังใจไว้ว่า ‘Go higher!’ ”   [caption id="attachment_46047" align="aligncenter" width="750"] PETE รุ่นที่ 9 อยู่ระหว่างการทดสอบการใช้งานให้ครอบคลุมภาคพื้นดิน ภาคอากาศ และภาคน้ำ เพื่อเตรียมการขยายผลในและต่างประเทศ[/caption]   การทำวิจัยเพื่อยกระดับขีดความสามารถของอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศและทางน้ำ ได้รับการสนับสนุนจาก ศลช. รวมถึงพันธมิตร อาทิ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กองบินตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และกองบังคับการตํารวจน้ำ (สุราษฎร์ธานี) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ   [caption id="attachment_46103" align="aligncenter" width="750"] การทดสอบการติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[/caption]   [caption id="attachment_46105" align="aligncenter" width="750"] การทดสอบจำลองภารกิจการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางน้ำ (แม่น้ำ) โดยศูนย์วิทยุวัฒนะจังหวัดปทุมธานี[/caption]   “ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมและขยายผลการใช้งาน PETE เปลความดันลบในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์แล้ว ยังเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย เพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (medical hub) แห่งเอเชียตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้วย” ดร.ศราวุธ กล่าวทิ้งท้าย หากคุณสนใจร่วมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม PETE รวมถึงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ติดต่อได้ที่ pete@mtec.or.th   เรียบเรียงโดย ภัทรา สัปปินันทน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์กโดย ภัทรา สัปปินันทน์
BCG
 
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ
 
ผลงานวิจัยเด่น
 
ความเชื่อและความจริงเกี่ยวกับการสวมหมวกนิรภัย
มาดูไปพร้อมกันครับว่า "ความเชื่อและความจริงเกี่ยวกับการสวมหมวกนิรภัย" เมื่อทำมาเปรียบเทียบกันแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง เรามาร่วมรณรงค์สวมหมวกนิรภัยตามสโลแกน “สวย หล่อ สมาร์ต ปลอดภัย ง่ายๆ แค่สวมหมวกนิรภัย” กันนะครับ  
NSTDA Infographic
 
FoodSERP พร้อมให้บริการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตอบโจทย์ 4 เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง
    FoodSERP พร้อมให้บริการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตอบโจทย์ 4 เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง ด้านที่ 1 คือ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มส่วนผสมฟังก์ชัน (Functional ingredient) เช่น โพรไบโอติก พรีไบโอติก โพสต์ไบโอติก ต้นเชื้อสำหรับหมักอาหารและเครื่องดื่ม เอนไซม์สำหรับเป็นส่วนประกอบในอาหารหรือเวชสำอาง เพื่อให้มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพ FoodSERP พร้อมให้บริการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ่าน 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่อยู่ในประกาศของ อย. และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพ โดยทีมวิจัยพร้อมให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่คัดสรรวัตถุดิบที่เหมาะสม พัฒนากระบวนการผลิต การทดสอบ จนได้เป็นผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่สามารถขยายผลในระดับอุตสาหกรรม ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกสำหรับคนและสัตว์ น้ำส้มสายชูหมักจากผลไม้ไทย ผลิตภัณฑ์เอนไซม์แบบพรีมิกซ์ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ทางเลือก     ด้านที่ 2 คือ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มโปรตีนทางเลือก (Alternative proteins) หรือโปรตีนที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์ แต่ผลิตได้จากสิ่งมีชีวิตอื่นหรือกรรมวิธีอื่น เช่น โปรตีนจากพืช โปรตีนจากจุลินทรีย์ โปรตีนหรือเนื้อจากการเพาะเลี้ยงในห้องแล็บ ซึ่งเป็นเทรนด์ของอาหารยุคใหม่ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม FoodSERP มีความพร้อมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และวิทยาศาสตร์การอาหาร และอุปกรณ์การผลิตที่ทันสมัย เพื่อให้บริการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก ที่จะทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นไม่เพียงอร่อยและมีเนื้อสัมผัสที่ดี แต่ยังดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากโปรตีนพืช ไข่เหลวจากโปรตีนพืช มัยคอโปรตีน     ด้านที่ 3 คือ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะกลุ่ม (Food for specific group) เช่น อาหารสำหรับผู้สูงอายุ อาหารสำหรับผู้ป่วย อาหารสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบาก และอาหารเฉพาะบุคคล FoodSERP มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงเนื้อสัมผัสของอาหาร ความนุ่ม และความหนืด (Food texture & characterization) พร้อมให้บริการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่อ้างอิงตามมาตรฐานสากล แบบครบวงจร ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น เนื้อหมูนุ่มที่ผ่านการปรับเนื้อสัมผัสให้บดเคี้ยวง่าย เครื่องดื่มเวย์โปรตีน อาหารให้ทางสายยางสำหรับผู้ป่วยติดเตียง     ด้านที่ 4 คือ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดฟังก์ชัน (Functional extracts) สำหรับใช้เป็นส่วนผสมฟังก์ชันในผลิตภัณฑ์อาหารและเวชสำอาง เช่น สารสกัดจากพืช สมุนไพร จุลินทรีย์ ผลผลิตพลอยได้จากอุตสาหกรรม (By-product) เช่น โปรตีนไฮโดรไลเสต สารให้กลิ่นและรส สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ FoodSERP พร้อมให้บริการวิจัยและพัฒนาแบบครบวงจรด้วยความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนากระบวนการสกัด การเพิ่มประสิทธิภาพการนำส่งและความคงตัวของสารสารสกัดในระดับอนุภาคนาโน รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น เวชสำอางที่มีสารสกัดอนุภาคนาโน วัตถุดิบปรุงแต่ง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร     FoodSERP เป็นแพลตฟอร์มให้บริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชันแบบครบวงจร ที่พร้อมช่วยปลดล็อกศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการไทย นำไปสู่การสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมอาหารใหม่ และการยกระดับอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อยืนหยัดบนเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน     FoodSERP พร้อมให้บริการลูกค้าทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่สนใจรับบริการดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.nstda.or.th/FoodSERP และ Facebook: FoodSERP ติดต่อสอบถามได้ที่อีเมล foodSERP_by_NSTDA@nstda.or.th     รายละเอียดเพิ่มเติม: FoodSERP: One-stop service ให้บริการวิจัยและพัฒนาอาหารส่วนผสมฟังก์ชัน และเวชสำอางแบบครบวงจร เรียบเรียงโดย ภัทรา สัปปินันทน์ และวีณา ยศวังใจ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์กโดย ภัทรา สัปปินันทน์  
BCG
 
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ
 
ผลงานวิจัยเด่น
 
FoodSERP: One-stop service ให้บริการวิจัยและพัฒนาอาหารส่วนผสมฟังก์ชัน และเวชสำอางแบบครบวงจร
  ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในโลก ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อุตสาหกรรมอาหารจึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล ปัจจุบันทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารโลกกำลังมุ่งสู่ “อาหารแห่งอนาคต (Future food)” ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เล็งเห็นถึงโอกาสของอุตสาหกรรมไทย จึงได้จัดตั้ง “แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน” หรือ “FoodSERP (ฟูดเซิร์ป)” ขึ้น เพื่อให้บริการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต แบบ One-stop Service โดยทีมผู้เชี่ยวชาญสหสาขา ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนา และการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล     FoodSERP เป็น 1 ใน 4 Core business ของ สวทช. ทำหน้าที่ให้บริการวิจัยและพัฒนาอาหารส่วนผสมฟังก์ชัน และเวชสำอางแบบครบวงจร ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงวิธีการผลิตที่เหมาะสมในระดับห้องปฏิบัติการ การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้งด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การให้บริการขยายขนาดการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรม รวมถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์     FoodSERP พร้อมให้บริการใน 4 ด้านหลัก คือ 1) วิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ 2) วิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือขยายกำลังการผลิต 3) บริการวิเคราะห์ทดสอบและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์กับ อย. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) บริการอบรมและให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพตามความต้องการเฉพาะของผู้ประกอบการ     FoodSERP พร้อมให้บริการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่เป็นเทรนด์อุตสาหกรรม 4 กลุ่ม ได้แก่ ส่วนผสมฟังก์ชัน โปรตีนทางเลือก อาหารเฉพาะกลุ่ม และสารสกัดฟังก์ชัน โดยให้บริการแบบบูรณาการความเชี่ยวชาญ และใช้เครื่องมือมาตรฐานสากลในการวิจัยและพัฒนาแบบ One-stop service เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตที่พัฒนา จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พร้อมผลิตและจำหน่ายทั้งในไทยและต่างประเทศ     FoodSERP พร้อมให้บริการโรงงานต้นแบบมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทดสอบการผลิตผลิตภัณฑ์ก่อนขยายกำลังการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรม โดยโรงงานต้นแบบที่พร้อมให้บริการมี 2 ประเภท คือ 1) โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (Food-grade manufacturer) สถานที่ผลิตอาหารสำหรับขยายขนาดการผลิตจากจุลินทรีย์และการแปรสภาพทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์กลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร สารอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามมาตรฐานสากล Codex GHPs, HACCP และ GILSP ในสภาพควบคุมระดับ LS1 ซึ่งรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งจากจุลินทรีย์ทั่วไปและจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม 2) โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ให้บริการพัฒนาและผลิตอนุภาคนาโนของสารสกัด และเวชสำอาง ด้วยมาตรฐาน ASEAN Cosmetic GMP     นอกจากโรงงานต้นแบบทั้ง 2 ประเภทที่พร้อมรองรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต่าง ๆ แล้ว FoodSERP ยังพร้อมให้บริการด้านเทคโนโลยีการผลิตอาหาร เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบก่อนขยายการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรม ตัวอย่างเครื่องมือแรก คือ เครื่องเอกซ์ทรูเดอร์แบบสกรูคู่ (Twin-screw extruder) สำหรับแปรรูปและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์อาหารให้มีโครงสร้างและรูปร่างต่าง ๆ กัน สามารถใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมจากโปรตีนพืช ทั้งในรูปแบบความชื้นต่ำและความชื้นสูง รวมถึงอาหารประเภทขบเคี้ยว เป็นต้น อีกตัวอย่าง คือ เครื่องพิมพ์อาหารสามมิติ (3D food printer) ที่เป็นเครื่องมือขึ้นรูปอาหารแบบสามมิติ ที่สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์อาหารให้มีส่วนประกอบ รูปร่าง และเนื้อสัมผัสของอาหาร ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ     FoodSERP พร้อมให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายด้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจว่าอาหารที่ผลิตตรงตามโจทย์ความต้องการ ตัวอย่างการให้บริการ เช่น - Molecular sensomics: การทดสอบด้านกลิ่นและรสชาติของผลิตภัณฑ์ - Food texture and characterization: การทดสอบเนื้อสัมผัสอาหาร และความหนืดของเครื่องดื่ม - Peptidome and proteome: การวิเคราะห์ชนิดและโพรไฟล์ของเพปไทด์และโปรตีนในตัวอย่างทดสอบด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง - Dynamically simulated gut model: การทดสอบการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร ด้วยแบบจำลองระบบทางเดินอาหารของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่     ทางด้านเวชสำอาง FoodSERP พร้อมให้บริการทดสอบการออกฤทธิ์ของส่วนผสมฟังก์ชัน (Functional ingredients) และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ทั้งด้วยเซลล์ผิวหนังมนุษย์ (2D human skin test) เนื้อเยื่อผิวหนังมนุษย์ (3D human skin tissues) ชิ้นส่วนผิวหนังมนุษย์ที่ได้รับบริจาคจากอาสาสมัคร (Ex vivo human skin) และการทดสอบด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดยใช้แบบจำลองลำไส้แบบ 3 มิติ (Intestinal tissue model) และแบบจำลองปลาม้าลาย (Zebrafish model) ตัวอย่างการทดสอบ เช่น การออกฤทธิ์ลดการอักเสบ การต้านอนุมูลอิสระ การชะลอการเสื่อมสภาพของผิวหนัง การเพิ่มความกระจ่างใส การศึกษาพิษเฉียบพลัน และการดูดซึมด้วยแบบจำลองเนื้อเยื่อลำไส้สามมิติ (In vitro)     FoodSERP พร้อมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่ยั่งยืน หนุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทย นำไปสู่การสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมอาหารใหม่และการยกระดับของอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อการยืนหยัดบนเวทีโลกอย่างยั่งยืน       FoodSERP พร้อมให้บริการลูกค้าทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่สนใจรับบริการดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.nstda.or.th/FoodSERP และ Facebook: FoodSERP ติดต่อสอบถามได้ที่อีเมล foodSERP_by_NSTDA@nstda.or.th     รายละเอียดเพิ่มเติม: FoodSERP พร้อมให้บริการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตอบโจทย์ 4 เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง เรียบเรียงโดย ภัทรา สัปปินันทน์ และวีณา ยศวังใจ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. อาร์ตเวิร์กโดย ภัทรา สัปปินันทน์
BCG
 
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
บทความ
 
ผลงานวิจัยเด่น
 
ก.ล.ต. – สวทช. หนุนผู้ประกอบการ BCG New S-curve และ SMEส่งเสริมกลไกการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
2 สิงหาคม 2566 ที่ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอท เซนทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดสัมมนา “การเผยแพร่บทศึกษาระบบนิเวศ และนโยบายที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการ BCG New S-curve และ SME” โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำทีมโดย ศ. วิทวัส รุ่งเรืองผล และ รศ. ดร.พีระ เจริญพร นำเสนอผลการศึกษาซึ่งได้ระบุถึงปัญหาและอุปสรรคในการระดมทุนของผู้ประกอบการในกลุ่ม “BCG New S-curve และ SME” รวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับต่อยอดในการกำหนดนโยบายหรือปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการระดมทุน พร้อมกันนี้ได้จัดสัมมนาพิเศษ หัวข้อ “แนวทางและความร่วมมือในการส่งเสริมผู้ประกอบการ BCG New S-curve และ SME ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน” โดยมี ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นางสาวประภารัตน์ ตังควัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิทรอน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้แทนจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVE Exchange) และนายไพบูลย์ ดำรงวารี ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. ร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. เป็นขุมพลังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ของภาครัฐ เอกชน และชุมชน ผ่านการทำงานโดยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของนักวิจัยศูนย์แห่งชาติ 5 ศูนย์แห่งชาติ ที่สามารถนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาสานต่อให้เป็นเทคโนโลยีเพื่อใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ สำหรับ BCG สวทช. เป็นเลขานุการของคณะกรรมการ BCG ของประเทศ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อกำหนดนโยบาย BCG ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับ ESG และ SDGs แนวทางการขับเคลื่อนให้การให้เติบโตของโลกอย่างสมดุล “การจะเข้าสู่ SDGs หรือ ESG แต่ละประเทศบริบทไม่เหมือนกัน ประเทศไทยถือว่ามีจุดเด่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และผลผลิตทางการเกษตรอยู่แล้ว ดังนั้นการเติบโตด้าน Bioeconomy มีได้สูง ขณะเดียวกันเรื่อง Circular economy และ Green economy เป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อลดการใช้ทรัพยากร และลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดจะเป็นไปได้ด้วยฐานของเทคโนโลยี เพราะจะเปลี่ยนแปลงจากอุตสาหกรรมปัจจุบัน ไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ต้องใช้เทคโนโลยีเสมอ “BCG หรือ Bio-Circular-Green เป็นคำใหญ่ แต่คีย์เวิร์ดคือ Economy ดังนั้น BCG economy เรากำลังจะบอกว่าอนาคตเศรษฐกิจประเทศไทยต้องเป็นแบบนี้ทั้งประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจประเทศไทยจะโตขึ้น วิสัยทัศน์ 4 ด้าน 1.ต้องสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ 2.การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากต้องโตอย่างเข้มแข็ง 3.เทคโนโลยีใหม่ต้องถูกนำมาใช้ เพื่อสร้างความสามารถในการสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และ 4.ต้องยกระดับอุตสาหกรรม BCG ให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน สร้างนวัตกรรมพรีเมียม และให้ของเสียเป็นศูนย์ ทั้งนี้ด้วยตัวอุตสาหกรรม BCG นั้น จะทำให้มีอุตสาหกรรมใหม่เกิดขึ้น คือ Circular-Green economy ซึ่งหลายอุตสาหกรรมกำลังปรับแปลงอุตสาหกรรมของตนเองให้รักษ์โลกมากขึ้น ใช้ทรัพยากรน้อยลง และจะเกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่ดีขึ้นช่วยสร้างเศรษฐกิจด้วยตัวเอง” อย่างไรก็ตาม สวทช. มีผลงานที่ออกมาก็จดเป็น IP Licensing เพื่ออนุญาตใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของผลงานวิจัยพร้อมถ่ายทอดมากกว่า 300 IP ต่อปี มีการร่วมกับบริษัทเพื่อวิจัย และการจ้าง สวทช. วิจัยมากกว่า 400 โครงการต่อปี แต่ละปีจะมี IP Market Place ในงาน Thailand Tech Show รวมมากกว่า 1,300 ผลงาน จาก 45 พันธมิตรทั่วประเทศ ทั้งหน่วยวิจัยภาครัฐ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน รวมทั้งโครงการ ITAP ที่ช่วยเป็นกลไกการสนับสนุน SMEs ออกกันคนละครึ่ง นอกจากนี้ สวทช. ยังมีเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ยกเว้นภาษี 200% สำหรับการลงทุนวิจัยการพัฒนาและนวัตกรรม ซึ่ง สวทช. ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองโครงการวิจัยให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีกับกรมสรรพกร และการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นิติบุคคล สำหรับค่าใช้จ่ายในการวิจัย เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง รวมทั้งรับรองธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยีใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตและให้บริการ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ได้แก่ ผู้ประกอบการรายใหม่ ที่เป็นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือแนวหน้าและอยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี กิจการร่วมลงทุน ที่ลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หรือแนวหน้าและอยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ยกเว้นภาษีสำหรับผลตอบแทนจากการลงทุน 10 ปี และ นักลงทุน ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ที่ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท นายไพบูลย์ ดำรงวารี ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. เล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจในกลุ่ม “BCG New S-curve และ SME” ตามแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน ก.ล.ต. (ปี 2566 – 2568) ที่มุ่งสนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแนวนโยบายของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ผ่านกลไกของตลาดทุนซึ่งจะช่วยให้การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างเข้มแข็ง และสอดคล้องกับแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 4 ด้านการกำหนดแนวทางในการกำกับดูแลเพื่อลดอุปสรรคการเข้าถึงตลาดทุนของกลุ่มธุรกิจเป้าหมาย โดยที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงเกณฑ์การระดมทุนสำหรับ SME และ Startup ผ่านช่องทางที่สะดวก มีทางเลือกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการเงินทุน เช่น ระบบคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) การเสนอขายในวงจำกัด (PP-SME) และการเสนอขายบุคคลทั่วไปแบบ PO-SME ซึ่งปัจจุบันได้รับความสนใจและมีมูลการระดมทุนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนหลักเกณฑ์รับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามเกณฑ์มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (เกณฑ์ Market Capitalization) เพื่อส่งเสริมให้บริษัทไทยที่ประกอบธุรกิจในกลุ่ม BCG รวมถึงบริษัทต่างประเทศขนาดใหญ่ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทย ทั้งนี้ภายในงานมีการออกบูธของ ก.ล.ต. และหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อให้ข้อมูล ตอบข้อซักถามและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการระดมทุนแก่ผู้ที่สนใจ
BCG
 
ข่าวประชาสัมพันธ์