หน้าแรก ค้นหา
ผลการค้นหา :
LANTA ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไทย เร็ว.. แรง.. ติดอันดับโลก
พบกับ LANTA สุดยอดซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ถูกจัดให้เป็นเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพสูงสุด อันดับ 70 ของโลก หรือนับเป็น อันดับ 1 ในอาเซียน จากการจัดอันดับ TOP500 หรือการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก ครั้งที่ 60 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565   ข้อมูลเพิ่มเติม : https://thaisc.io Facebook : thaisupercomputer thaisc@nstda.or.th
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
โครงการศึกษาวิเคราะห์และทดสอบโครงคัสซีและตัวถัง เพื่อกำหนดอายุการใช้งานรถโดยสาร
สวทช. โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC ) ร่วมกับ กรมการขนส่งทางบก ภายใต้การสนับสนุนของ กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน จัดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาใน "โครงการศึกษาวิเคราะห์และทดสอบโครงคัสซีและตัวถัง เพื่อกำหนดอายุการใช้งานรถโดยสาร"   โดยภายในงานครั้งนี้ มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการทั้งผู้ผลิตและผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ ให้ความสนใจมาร่วมรับฟัง พร้อมมีข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาในโครงการดังกล่าว
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
สวทช. นำ “แป้งพิมพ์สีธรรมชาติ” ผลงานวิจัยสายกรีน ให้เยาวชน วาดลวดลายอวดงานศิลปะ ‘วันนักประดิษฐ์ 66’
(2-6 ก.พ. 66) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำผลงานวิจัย “Magik Color แป้งพิมพ์สีธรรมชาติ” ที่ได้จากการพัฒนาเทคโนโลยีการเตรียมสูตรแป้งพิมพ์ผ้าจากสีธรรมชาติ  โดยทีมนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมจัดกิจกรรมในงาน“วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” (Thailand Inventors’ Day 2023) ระหว่างวันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 24 โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม” เพื่อเป็นเวทีสำคัญระดับชาติและนานาชาติ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย ในด้านการประดิษฐ์คิดค้นต่อการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพออกสู่สายตาคนไทยและประชาคมโลก ปีนี้มีสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจากนักประดิษฐ์ไทยและนานาชาติส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 1,000 ผลงาน โดยมี ศ.  (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ดร.ดนุช ตันเทิดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ศ. ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช. รวมถึง ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. และผู้บริหารหน่วยงานพันธมิตรเข้าร่วมงาน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช. กล่าวว่า การจัดงาน “วันนักประดิษฐ์ หรือ Thailand Inventors’ Day ถือว่าเป็นเวทีของนักประดิษฐ์ไทยและนักประดิษฐ์จากนานาชาติ ที่เปิดโอกาสให้นำผลงานมาจัดแสดงและเผยแพร่ผลงานเพื่อนำเสนอองค์ความรู้ความสามารถออกสู่สาธารณชน ให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์ แบบบูรณาการ สู่การสร้างแรงจูงใจให้แก่เยาวชนและนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ ในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การพัฒนาและส่งเสริมความสามารถทาง วิทยาศาสตร์ สำหรับเด็ก เยาวชน และบุคลากรทางการศึกษา เป็นกลุ่มกิจกรรมภายใต้พันธกิจการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจที่ สวทช. ให้ความสำคัญ โดยงานวันนักประดิษฐ์ในปีนี้ หัวใจสำคัญคือการทำอย่างไรให้สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กอยากจะเติบโตเป็นนักประดิษฐ์ได้ในอนาคต สวทช. จึงได้นำรุ่นพี่ที่ได้รับรางวัลนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์มาเข้าร่วมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจซึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับรางวัลจากงาน ISEF หรือ การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับโลก ซึ่งเป็นรางวัลจากต่างประเทศมาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ รวมถึงบูธกิจกรรมเพ้นท์กระเป๋าจาก Magik Color แป้งพิมพ์สีธรรมชาติสำเร็จรูปพร้อมใช้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมของ สวทช. ให้เด็ก ๆ ได้ปลุกความเป็นศิลปินในตัวเอง ด้วยการสร้างสรรค์ภาพผ่านการระบายสีเพ้นท์ภาพลงบนกระเป๋าผ้าและรับถุงผ้าที่มีผลงานการเพ้นท์ภาพกลับบ้าน และอีกกิจกรรม คือ การประดิษฐ์รถแข่งแรง g หรือรถแข่งที่เคลื่อนที่โดยใช้แรงโน้มถ่วงของโลกช่วย ให้เด็ก ๆ ได้ประดิษฐ์รถจากวัสดุต่าง ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ แล้วนำมาวิ่งแข่งกันบนรางโค้งที่สร้างขึ้นภายในงาน ด้าน นางสาวนาตาชา จูมาส หรือน้องโฟกัส นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช ลาดกระบัง หนึ่งในนักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในบูธของ สวทช. เล่าว่า ตนเองมีความชื่นชอบด้านศิลปะ โดยมีงานอดิเรกเป็นการวาดรูประบายสี รวมถึงปั้นดินน้ำมันและดินเบา และมีความสนใจกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเห็นกิจกรรมของบูธ สวทช. ที่ให้ระบายสีถุงผ้าด้วย Magik Color แป้งพิมพ์สีธรรมชาติสำเร็จรูปพร้อมใช้ จึงตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมและเกิดความสนใจในสีที่ใช้ระบายเพราะเป็นสีที่ทำจากธรรมชาติ ซึ่งให้ความรู้สึกแปลกใหม่และแตกต่างจากสีน้ำหรือสีโปสเตอร์ และให้ความสวยที่แตกต่าง ซึ่งคาดหวังอยากให้มีการผลิตสีจากธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าวยังได้รับความสนใจจากผู้ปกครองอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ทั้งครอบครัว ทางด้านน้องสกาย หรือ ด.ช.กฤตยชญ์ พรมชาติ นักเรียนอายุ 4 ปี จากจังหวัดพิษณุโลก เล่าว่า เป็นกิจกรรมที่สนุกมาก และปกติชอบทำกิจกรรมวาดรูประบายสีที่โรงเรียน รวมถึงกิจกรรมธรรมชาติ เช่น การปลูกผักสวนครัว โดย คุณกาเหว่า พรมชาติ หรือ คุณแม่ของน้องสกาย เล่าเสริมว่า ปีที่แล้วตนเองเคยมีโอกาสได้มาร่วมงานวันนักประดิษฐ์ 2565 แล้วเห็นว่ามีกิจกรรมที่น่าสนใจที่ช่วยสร้างการเรียนรู้ สร้างความคิดแบบเป็นระบบและความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก ปีนี้จึงถือโอกาสพาน้องสกายเข้าร่วมกิจกรรมและเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่จะฝึกความคิดสร้างสรรค์ของน้องสกายได้ รวมถึงตัวน้องสกายก็มีความชอบในด้านศิลปะ เช่น การระบายสี ซึ่งตนเองมองว่า สีที่ใช้ในกิจกรรมเป็นผลิตภัณฑ์แป้งพิมพ์สีจากธรรมชาตินั้นมีความน่าสนใจ เพราะให้ความสำคัญในเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อเด็ก ทำให้เกิดความมั่นใจที่จะให้ลูกเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ ดร.มณฑล นาคปฐม นักวิจัยทีมวิจัยสิ่งทอ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เล่าว่า ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอมีการนำสีธรรมชาติมาใช้แทนสีเคมีมากขึ้น ซึ่งการใช้สีธรรมชาติพิมพ์ลงบนผ้ามีค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีขั้นตอนในการเตรียมแป้งพิมพ์สีที่ค่อนข้างยุ่งยาก ทางคณะวิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีการเตรียมสูตรแป้งพิมพ์ผ้าจากสีธรรมชาติ เพื่อเตรียมเป็น Magik Color แป้งพิมพ์สีธรรมชาติในเฉดสีต่างๆ พร้อมทดลองนำมาใช้พิมพ์ลงบนผ้าและทดสอบสมบัติความคงทนของสี โดยเบื้องต้นที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 เฉดสี ได้แก่ สีแดงและสีชมพูจากคลั่ง สีเหลืองและสีน้ำตาลแดงจากดอกดาวเรือง เฉดสีน้ำตาลเหลืองจากเปลือกต้นโกงกาง และเฉดสีเทาดำจากเปลือกผลชาน้ำมัน โดยสามารถพิมพ์ลงบนผ้าได้หลายชนิด เช่น ฝ้าย ไหม กัญชง ลินิน โพลีเอสเทอร์ โดยใช้แม่พิมพ์ที่เป็นไม้ หรือพืชผักผลไม้ที่แกะสลัก แม่พิมพ์ที่เตรียมจากกระดาษชุบพาราพิน หรือแม่พิมพ์ซิลค์สกรีนที่ถ่ายลายสำเร็จรูปและทำการผนึกสีด้วยความร้อนจากเครื่องรีดร้อนหรือ เตารีด ซึ่งในอนาคตวางแผนที่จะพัฒนาสูตร Magik Color แป้งพิมพ์สีธรรมชาติในเฉดสีที่หลากหลายมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในวัสดุอื่นๆ เช่น กระดาษสา โดยเน้นการนำวัตถุดิบจากภาคการเกษตรหรือวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการผลิตมาใช้ประโยชน์ด้วยการใช้เทคนิคสกัดเป็นผงสีธรรมชาติ ทั้งนี้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ทีมวิจัยสิ่งทอ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. อีเมล monthonn@mtec.or.th , chanitw@mtec.or.th โทรศัพท์ 02 564 6500 ต่อ 4464 , 4788 ////////////////////////////////
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
เชิญชวนผู้ประกอบการใช้บริการการตรวจประเมินและการรับรองระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ระบบ RDIMS)
🚀 เชิญชวนผู้ประกอบการใช้บริการการตรวจประเมินและการรับรองระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ระบบ RDIMS)       🚩กลุ่มเป้าหมาย ✅ ผู้ประกอบการที่มีการดำเนินงานวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม (RDI) ในองค์กร และหรือในเครือ ✅ ผู้ประกอบการที่มีรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน RDI และประสงค์สิทธิประโยชน์ทางภาษีในรายจ่ายดังกล่าว   💡ประโยชน์ที่ได้รับ 🌟กิจการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบ RDIMS สามารถนำรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อทำ RDI มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยวิธีการใช้สิทธิ์รับรองตนเอง (Self – Declaration) จากกรมสรรพากรได้ (เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ เป็นไปตามที่ระบุในประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 391) 🌟องค์กรสามารถวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรม สินค้าและบริการ อันจะช่วยยกระดับธุรกิจไปสู่สากลได้ 🌟บุคลากรในองค์กร ได้รับความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มความสามารถในการทำ RDI เชิงระบบได้   📍ข่าวดี สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ สสว. สสว. สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งให้กับ SME แบบร่วมจ่าย (co-payment) ในสัดส่วนร้อยละ 50 – 80 ตามขนาดของธุรกิจ แต่ไม่เกินรายละ 200,000 บาท    📣 ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก📣  Website: https://www.nstda.or.th/rdp/  โทรสอบถาม: 0-2564-7000 ต่อ 1328-1332 และ 1631-1634  
ปฏิทินกิจกรรม
 
ขอเชิญร่วมงาน “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก” ในงานสังคมสุขใจ (สวนสามพราน จ.นครปฐม)
สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม "รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา...เพื่อโลก" ในงานสังคมสุขใจวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00-17.00น. ณ สวนสามพราน จ.นครปฐม นิทรรศการความรู้ ===>"ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML, ชันโรง สุดยอดแมลงผสมเกสร, ชีวภัณฑ์ป้องกัน-กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช" กิจกรรม workshop ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อสุขภาพ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 สบู่จากน้ำผึ้งชันโรง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 สครับจากผงถั่วเขียว เสวนา วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00-12.00 น. เรื่อง "ปลูกผักให้มีคุณภาพ" และ "ห่วงโซ่อาหารโมเดลถั่วเขียว KUML อินทรีย์" วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00-12.00 น. เรื่อง "เลี้ยงชันโรงเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชและแยกขยายรังชันโรง"
ปฏิทินกิจกรรม
 
เปิดใจ! 2 เยาวชนไทย เสนอไอเดียวิทยาศาสตร์ได้ทดลองจริงบนสถานีอวกาศ
เปิดใจ 2 เยาวชนไทย หลังได้บินลัดฟ้าไปประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมโครงการ Asian Try Zero-G 2022 ระหว่างวันที่ 15-20 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อรับชมการถ่ายทอดสดนักบินอวกาศญี่ปุ่นที่นำ "แนวคิดการทดลองวิทยาศาสตร์" จากไอเดียของ 2 เยาวชนไทย ขึ้นไปทดลองจริงบน "สถานีอวกาศนานาชาติ" ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง โดยรับชมการถ่ายทอดสดอย่างใกล้ชิดผ่านห้องบังคับการที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA)   สำหรับเยาวชนหรือผู้ที่สนใจโครงการ Asian Try Zero-G สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook : NSTDA SPACE Education
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
สวทช. ร่วมกับองค์กรพันธมิตร อัปเดตเทรนด์เทคโนโลยี เตรียมแผนรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ต้องระวัง ปี 66
(9 กุมภาพันธ์ 2566) ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ร่วมกับองค์กรพันธมิตร ได้แก่ สถาบันไอเอ็มซี สมาคมอุตสาหกรรมชอฟต์แวร์ไทย สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัท เออาร์ไอที จำกัด จัดงานสัมมนาหัวข้อ "Top 10 Technology & Cyber Security Trends and Updates 2023" เพื่ออัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าจับตามองในปี 2566 รวมถึงแนวทางการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ต้องระวัง โดยเฉพาะประเด็น “มิจฉาชีพแฮกเข้าแอปธนาคาร” ที่เป็นข่าวดังเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เผยทักษะด้านดิจิทัลที่บุคลากรในสายดิจิทัลควรมีติดตัวในปี 2566 ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้าน Coding หรือ Graphic Design โดยภายในกิจกรรมสัมมนาได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. เป็นประธานเปิดงาน ผศ. ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. มีภารกิจในการพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรมให้ตอบโจทย์สำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศ ขับเคลื่อนประเทศผ่านเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนทั่วประเทศ เพื่อยกระดับ พัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมให้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง สวทช. มีเครื่องมือ บุคลากร และบริการที่พร้อมให้การสนับสนุนและผลักดันการสร้างผู้ประกอบการ การพัฒนาบุคลากร การจ้างงาน ทั้งยังมีโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) และ Food Innopolis อีกทั้งโปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนและยกระดับสร้างความเข้มแข็งให้กับทั้งบุคลากร SME สตาร์ตอัป และภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้สามารถแข่งขันบนเวทีระดับโลกได้ โดยในปีนี้ สวทช. วางแผนงานหลักในการขับเคลื่อน NSTDA Core Business ประกอบไปด้วย Traffy Fondue แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง Digital Healthcare Platform แพลตฟอร์มแก้ปัญหาการบริการด้านสาธารณสุขของประเทศ  FoodSERP แพลตฟอร์มให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชัน ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์กลุ่มสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) ในรูปแบบ One stop service และ Thailand i4.0 Platform แพลตฟอร์มให้บริการ Digital Transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบครบวงจร โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การขับเคลื่อนองค์กร และต้องให้ภาคส่วนต่าง ๆ นำความรู้ เครื่องมือ เพื่อนำงานวิจัยแก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมที่เป็นโจทย์สำคัญเร่งด่วนของประเทศ และที่สำคัญคือ ประชาชนและชุมชนต้องเข้าถึงงานวิจัยที่ใช้ได้จริง ด้าน ดร.ภัทราวดี พลอยกิติกูล ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า ซอฟต์แวร์พาร์คเป็นองค์กรภายใต้ สวทช. ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนากำลังคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และดิจิทัลรวมถึงสายอาชีพด้านไอที โดยการสัมมนาหัวข้อ Top 10 Technology & Cyber Security Trends and Updates เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปี ร่วมกับองค์กรพันธมิตร มีวัตถุประสงค์เพื่ออัปเดตแนวทาง แบ่งปันและถ่ายทอดความรู้เรื่องแนวโน้มของเทรนด์เทคโนโลยี และภัยคุกคามทางดิจิทัลที่ต้องติดตามเฝ้าระวังเพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กร รวมไปถึงให้ความรู้ด้านอาชีพและทักษะที่ตลาดแรงงานของอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งเป็นที่ต้องการในปี 2566 เพื่อให้องค์กรและบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมดิจิทัล ได้มีแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ วางแผน และเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ทางซอฟต์แวร์พาร์คได้มีการจัดกิจกรรมอบรมและสัมมนา เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลมากกว่า 2,500 ราย ผ่านหลักสูตรและโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารระดับสูง นักพัฒนา หรือกลุ่มผู้ที่ต้องการได้รับประกาศนียบัตรในระดับสากล นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสนับสนุนผู้ประกอบการทางธุรกิจเทคโนโลยี ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและมีศักยภาพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และดิจิทัลของประเทศ และรวมไปถึงบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ให้บริการพื้นที่สำนักงาน ห้องอบรม/สัมมนา และ ARI Co-InnoSpace ทั้งนี้ภายในงานยังได้วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี ได้เล่าถึงความน่าสนใจเกี่ยวกับ Top 10 Technology และแนวโน้มเทคโนโลยีดิจิทัลปี 2023 ที่ทุกคนต้องเตรียมพร้อม คุณสมหมาย กรังพานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี เอ็น พี โซลูชั่น จำกัด และกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมชอฟต์แวร์ไทย (ATSI) คุณรัชต์ รองหานาม Graphic Design Specialist บริษัท เออาร์ไอที จำกัด คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย คุณปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งงานดังกล่าวได้รับความสนใจจากภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และภาครัฐ โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 100 คน สำหรับผู้สนใจในบริการทางด้านการพัฒนาบุคลากร หรือพัฒนาผู้ประกอบการ หรือกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงบริการด้านพื้นที่ของทางเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย สวทช. สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม และติดตามรายละเอียดได้ที่เฟซบุ๊ก: Software Park Thailand เว็บไซต์ www.swpark.or.th  หรือ โทร. 02-583-9992, 02-564-7000
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
ขอเชิญผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ “Sustainability in Food Industry”
สวทช. ขอเชิญผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ “Sustainability in Food Industry” ภายใต้โครงการเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Accelerate)   วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนพระราม 6 พบกับการบรรยายให้ความรู้ ในหัวข้อ ดังนี้ Deep Tech Trends Shaping the Future of Food Industry The Way of Sustainability in Food Products FoodSERP “New Engine for Food Sustainability” รับฟัง เสวนาหัวข้อ “Sustainability in Food Industry” . สนใจลงทะเบียนได้ฟรีที่ https://forms.gle/GkWZ1wmt4p5bxYmx9 สอบถามเพิ่มเติม โทร 0 2564 7000 ต่อ 71746, 81490, 81492 และ 71745
ปฏิทินกิจกรรม
 
คณะรัฐบาลกรุงมอสโก ลงพื้นที่สำนักงานใหญ่ EECi จ.ระยอง หารือโอกาสความร่วมมือด้านการพัฒนานวัตกรรมระหว่างสองประเทศ
For English-version news, please visit : https://www.nstda.or.th/en/news/news-years-2023/eeci-welcomes-the-visit-of-moscow-delegation.html (วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566) นาย Alexey Anatolievich Fursin รัฐมนตรีด้านการพัฒนาผู้ประกอบการและนวัตกรรมแห่งรัฐบาลกรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งรับผิดชอบภารกิจส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พัฒนาการทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการสร้างสรรค์และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงมอสโกด้วยนวัตกรรม นำคณะฯ ลงพื้นที่สำนักงานใหญ่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมี ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้แทนผู้อำนวยการ สวทช. ให้การต้อนรับและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมร่วมกัน ทั้งนี้ ได้มีผู้แทนจากสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับประเทศที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ร่วมนำเสนอข้อมูลด้วย ทั้งนี้หลังการนำเสนอภาพรวมการดำเนินการพื้นที่ EECi เสร็จสิ้น ดร.เจนกฤษณ์ ได้นำคณะเข้าเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐานสำคัญภายในพื้นที่ ดังนี้ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center, SMC) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนวัตกรรมหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และระบบอัจฉริยะ (ARIPOLIS) มีภารกิจหลักในการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมไทยก้าวเข้าสู่ Industry 4.0 โดยส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม สามารถนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตของโรงงาน มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ นวัตกร นักวิจัยตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งในรูปแบบการสาธิต การเรียนรู้และการทดลองปฏิบัติจริง รวมไปถึงกิจกรรมวิจัยเพื่อการสร้างนวัตกรรม โรงเรือนอัจฉริยะ (Smart Greenhouse) เพื่อสนับสนุนด้านนวัตกรรมการเกษตรของเมืองนวัตกรรมชีวภาพ (EECi BIOPOLIS) ภายในปลูกพืชสมุนไพร อาทิ ฟ้าทะลายโจร บัวบก ขมิ้นชัน และกระชายดำ มีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งทดสอบการปลูกพืชมูลค่าสูง เพื่อให้ได้ข้อมูลผลผลิต และวิธีการผลิตที่เหมาะสมในเชิงพาณิชย์ EECi ถูกพัฒนาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการนำนวัตกรรมเข้าไปผลักดันอุตสาหกรรมและพัฒนาประเทศด้วยการปิดช่องว่างทางเทคโนโลยีผ่านการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและกลไกที่จะรองรับงานวิจัยขยายผล (Translational Research) ตลอดจนการปรับแปลงเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เข้ากับบริบทของไทย (Technology Localization) สำหรับกลุ่มอาคารสำนักงานใหญ่ EECi มีพื้นที่ 40,000 ตารางเมตร ภายในพื้นที่ประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนา โดยในปัจจุบันมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมเปิดให้บริการ ได้แก่ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน และโรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะ และจะทยอยเปิดโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ อาทิ โรงเรือนฟีโนมิกส์ (Phenomics Greenhouse) โรงงานผลิตพืช (Plant Factory) โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery Pilot Plant) และโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ทางเลือก (Alternative Battery Pilot Plant) ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป นอกจากโครงสร้างพื้นฐานที่ดำเนินการโดย สวทช. แล้ว ภายในพื้นที่ EECi ยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมแห่งอนาคตซึ่งดำเนินการโดยพันธมิตร อีก 3 รายการ ประกอบด้วย (1). สนามทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ ดำเนินการโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ (2). เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนรุ่นที่ 4 ระดับพลังงาน 3 กิกะอิเล็กตรอนโวลต์ ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตอน (องค์การมหาชน) และ (3). สนามทดสอบอากาศยานไร้คนขับ ดำเนินการโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา EECi ให้เป็นระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนการดึงดูดการลงทุนเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผ่านการพัฒนาคลัสเตอร์นวัตกรรมใหม่ ที่เกิดจากการผสานความร่วมมือระหว่างบริษัทใหญ่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันวิจัย สถาบันศึกษา และภาคประชาสังคม รวมถึงการขับเคลื่อนความร่วมมือและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศให้กับหน่วยงานและผู้ประกอบการในประเทศไทย
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
สวทช. ร่วมจัดกิจกรรมในงาน “วันนักประดิษฐ์ 2566”
ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับงาน วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 (Thailand Inventors’ Day 2023) จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (บางนา) ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา   โดยตลอดการจัดงาน สวทช. ได้ร่วมจัดบูธกิจกรรมสำหรับเยาวชน ประกอบด้วย กิจกรรมประดิษฐ์ รถแข่งแรง g และกิจกรรม เพ้นท์สีกระเป๋าผ้าด้วยแป้งพิมพ์สีธรรมชาติ รวมทั้งมีนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ของเยาวชนไทยใน โครงการนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ YSC ของ สวทช. ไปจัดแสดงในงานครั้งนี้ด้วย   ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. ให้ความสนใจมาเยี่ยมชมบูธกิจกรรมและนิทรรศการของ สวทช. พร้อมร่วมทำกิจกรรมกับเยาวชนอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังร่วมแสดงความยินดีกับนักวิจัย สวทช. ที่ได้รับ รางวัลการวิจัยแห่งชาติประจำปี 2566 รวม 16 รางวัล ซึ่งมีพิธีรับมอบรางวัลภายในงานวันนักประดิษฐ์ครั้งนี้
คลิปสั้นทันเหตุการณ์
 
สวทช. ผนึกกำลัง สสน. หนุนระบบนิเวศวิจัย ด้านการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานของประเทศ
(วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566) ณ ห้องบัญชาการ 2 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) จตุจักร กรุงเทพฯ: ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่องความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาวิทยาการระบบและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานของประเทศ โดยมี ดร.รอยล จิตรดอน ที่ปรึกษา สสน. ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ รองผู้อำนวยการ สสน. พร้อมด้วย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. และ ดร.ปิยวุฒิ ศรีชัยกุล รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. เข้าร่วมงาน ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. พร้อมสนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาวิทยาการระบบและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานของประเทศ  ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีการพัฒนาขึ้นมากในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดย สวทช. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิจัยดังกล่าว ทำให้ประเทศสามารถสร้างเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการน้ำ เกษตรและพลังงานโดยสามารถขยายเครือข่ายงานวิจัยได้อย่างกว้างขวางและยั่งยืน ทั้งนี้ความร่วมมือล่าสุดของสองหน่วยงาน จะร่วมมือภายใต้โครงการแพลตฟอร์ม Thailand Agricultural Data Collaboration Platform (THAGRI) เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาคการเกษตร ซึ่ง สสน.ได้อนุเคราะห์ข้อมูลคาดการณ์น้ำระยะกลาง (1 - 3 เดือน) มาแบ่งปันให้กับนักพัฒนาบนระบบ THAGRI เพื่อให้นักพัฒนาหรือผู้สนใจนำข้อมูลการคาดการณ์น้ำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ขณะที่ สวทช. มีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA อันดับหนึ่งในอาเซียน ด้วยประสิทธิภาพในการคำนวณที่สูงถึง 8.1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที ที่สามารถรองรับการใช้งานได้กับหัวข้อวิจัยที่สำคัญและหลากหลาย เพื่อสนับสนุนนักวิจัยในการสร้างนวัตกรรมให้กับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม อาทิ  การจำลองสภาพภูมิอากาศตามเวลาจริงโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม  และความหลากหลายทางระบบนิเวศวิทยาของไทย เป็นต้น “ที่ผ่านมา สสน.และ สวทช. มีความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่และฤดูกาลปลูกด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม (RiceFit)  โดย สวทช. ได้ใช้ข้อมูลด้านปริมาณน้ำจาก สสน. มาประกอบในการคัดเลือกพันธุ์ปลูกที่เหมาะสมต่อสถานที่และฤดูกาล เพื่อลดความเสี่ยงในการผลิต นอกจากนี้ในโครงการบูรณาการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร (What2Grow) ซึ่งได้จัดทำแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (AgriMap) ยังได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบโทรมาตรของ สสน. มาแสดงผลในชั้นแผนที่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้เกษตรกรสามารถเลือกพืชที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ต้องการปลูกได้สะดวกขึ้น” ผู้อำนวยการ สวทช. ระบุ ด้าน ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการ สสน. กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ สสน. มีแนวทางดำเนินงานให้เกิดความร่วมมือ ด้วยการเพิ่มศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย งานพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงานในทุกภาคส่วน พร้อมส่งเสริม สนับสนุน แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจะขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ เกษตร และพลังงาน ร่วมกับ สวทช. ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่เชื่อมโยง สอดรับแนวนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ ให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างมั่นคงและยั่งยืน /////////////////////////////
ข่าว
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
 
นักวิจัย สวทช. รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566
For English-version news, please visit : https://www.nstda.or.th/en/news/news-years-2023/nstda-researchers-receive-nrct-awards-at-thailand-inventors%E2%80%99-day-2023.html วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา: สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566" (Thailand Investor’s Day 2023) และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 จำนวน 165 คน ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมคณะผู้บริหารร่วมแสดงความยินดีกับนักวิจัย สวทช. ที่ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ รวม 16 รางวัล ดังนี้ สำนักงานกลาง ดร.จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์ และคณะ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี จากผลงานวิจัย “นวัตกรรมอุปกรณ์วิเคราะห์ไมโครพลาสติกแบบพกพาโดยใช้สีย้อมฟลูออเรสเซนต์ไนล์เรด-กราฟีนร่วมกับเทคนิคปัญญาประดิษฐ์” ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม และคณะ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี จากผลงานวิจัย “MagikTuch – ระบบลิฟต์แบบไร้สัมผัส” ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล และคณะ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี จากผลงานวิจัย “ระบบวิธีการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์โดยปัญญาประดิษฐ์ ดร.ปัถย์ ศักดิ์ธนากูล ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี จากผลงานวิจัย “การเพิ่มความสามารถในการเขียนโปรแกรมสำหรับหน่วยเร่งการประมวลผลผ่านรูปแบบการเขียนโปรแกรมและการเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมด้วยคอมไพเลอร์” ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ดร.ฌัลลิกา แก้วบริสุทธิ์ และดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดีมาก จากผลงานวิจัย “บทบาทของโปรตีน ORF3 ในการควบคุมการเพิ่มจำนวนและความรุนแรงของเชื้อไวรัสพีอีดี สำหรับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนแรงเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคท้องเสียในสุกร” ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ และคณะ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี จากผลงานวิจัย “การถอดรหัสจีโนมของกุ้งกุลาดำเพื่ออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา และคณะ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี จากผลงานวิจัย “การพัฒนากระบวนการแยกลิกนินและผลิตภัณฑ์ร่วมจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยวิธีออร์กาโนโซล์ฟระดับโรงงานกึ่งนำร่องสำหรับการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม BCG” ดร.พนิตา ชุติมานุกูล ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก จากผลงานวิจัย “การระบุยีนทนเค็มในข้าวโดยใช้สายพันธุ์ที่มีการแทนที่ชิ้นส่วนของโครโมโซมที่มีพื้นฐานพันธุกรรมของข้าวขาวดอกมะลิ 105” ดร.ธีรวัฒน์ วิวัฒน์พาณิชย์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี จากผลงานวิจัย “บทบาทของไลโซโซมชนิดพิเศษประเภทมีช่องไอออนมิวโคลิปิน” คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี จากผลงานวิจัย “PigXY-AMP” ชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่ไวและรวดเร็วด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว” ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์ และคณะ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี จากผลงานวิจัย “ระบบเว็บสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงอัตราการกัดกร่อนของเหล็กกล้าโครงสร้างในประเทศไทย” ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และคณะ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี จากผลงานวิจัย “บูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมการวิเคราะห์สำหรับพัฒนาและออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะฟอสไฟด์ที่จำเพาะต่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเหลวแห่งอนาคต” ดร.ธีระ บุตรบุรี และดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี จากผลงานวิจัย “การปลูกโครงสร้างนาโนของไททาเนียมไดออกไซด์แบบผลึกเดี่ยวที่มีรูพรุนสูงลงบนซับสเตรทตัวนำโดยตรง เพื่อประยุกต์ใช้ในงานเกี่ยวกับการเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง” ดร.สุรัฐ ธีรพิทยานนท์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี จากผลงานวิจัย “เครือข่ายปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ” ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ และคณะ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก จากผลงานวิจัย “กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนบนผืนผ้าแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์” ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ และคณะ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี จากผลงานวิจัย “ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตผลิตจากเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้ง”   “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” (Thailand Inventors’ Day 2023) ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 24 ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” และยังเป็นเวทีสำคัญระดับชาติและนานาชาติ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย ในด้านการประดิษฐ์คิดค้นต่อการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพออกสู่สายตาคนไทยและประชาคมโลก
ข่าวประชาสัมพันธ์