กิจกรรม

กิจกรรมและการดำเนินการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ด้านคุณธรรมและความโปร่งใส และการต่อต้านการทุจริต

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์การ ในด้านคุณธรรมและความโปร่งใส และการต่อต้านการทุจริต รวมถึงการสร้างจิตสำนึกของบุคลากรในการปฏิบัติงานตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผ่านกิจกรรมต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เช่น การประกาศเจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร การปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ การรณรงค์เรื่องค่านิยมองค์กร กิจกรรมพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามทุจริตผ่านระบบ e-learning ในหลักสูตร จริยธรรมการวิจัย สำหรับนักวิจัย หลักสูตรปราบปรามทุจริต (Anti-Corruption) สำหรับนักวิจัยและผู้บริหาร และหลักสูตรปราบปรามทุจริต (Anti-Corruption) สำหรับบุคลากร สวทช. อื่นๆ รวมถึงมีการสร้างความตระหนักให้บุคลากรมีการทำงานโดยยึดหลัก Core Value (NSTDA) เป็นต้น

ในปีงบประมาณ 2567 สวทช. มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อเป็นการส่งเสริมการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ด้านคุณธรรมและความโปร่งใส และการต่อต้านการทุจริต ดังนี้

  1. การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
  2. การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
  3. ยกระดับและส่งเสริมระบบการพัฒนาบุคลากรให้มีความตระหนักด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)
  4. การขับเคลื่อนจริยธรรม

โดยมีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้

1. การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและเทคโนโลยีแห่งชาติ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีหน้าที่ในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรม ได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พ.ศ. 2567 ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างมีธรรมาภิบาล เกิดความโปร่งใส และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนมีการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยยึดหลักของศาสนาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม นำไปสู่การเป็นองค์กรคุณธรรม และเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 -2570) ต่อเนื่องจากแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559 – 2565) โดยมุ่งเน้นการปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณธรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายในให้คุณธรรมนำการพัฒนา ทำให้สังคมไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และเป็นสังคมแห่งคุณธรรม ทั้งนี้ รายละเอียดของแผนและผลการดำเนินงานตามแผนสามารถดูรายละเอียดได้ในหน้าเว็บไซต์การกำกับดูแลกิจการที่ดี สวทช. https://www.nstda.or.th/home/introduce/governance-org/  เลือกเมนู >เอกสารนโยบายการการกำกับดูแลกิจการที่ดี >แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ เลือก >แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม

2. การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร

2.1 การประกาศนโยบาย No Gift Policy

ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารได้แสดงเจตนารมณ์การไม่รับของขวัญ No Gift Policy โดยการประกาศ “นโยบายไม่รับ ของขวัญหรือของกำนัล (No Gift Policy)” เปลี่ยนของขวัญเป็นคำขอบคุณ สวทช. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการทุจริตซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดหลักคุณธรรม ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ จึงได้ประกาศนโยบาย No Gift Policy ไว้ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2567 และมีการสื่อสารผ่านอีเมลประกาศนโยบายจากผู้อำนวยการ ถึงบุคลากรทุกคนในองค์กร ในหัวข้อ ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัล (No Gift Policy) พร้อมทั้งแสดงไว้บนหน้าเว็บไซต์ สวทช. สื่อสารบนหน้าอินทราเน็ตของสำนักงาน รวมทั้งสื่อสารผ่านทาง NSTDA Line Official และสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Twitter LINE VOOM นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารผ่านสารจากผู้อำนวยการ สวทช. ทางอีเมลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 เพื่อเน้นย้ำนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัล (No Gift Policy) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้บริหารระดับสูงมาสื่อสารเกี่ยวกับการดำเนินงานและนโยบายต่างๆ ภายในองค์กรเพื่อให้พนักงานรับทราบ พร้อมทั้งสื่อสารแนวทางการรายงานการรับของขวัญและของกำนัลตามนโยบาย No Gift Policy และการรับทรัพย์สินอื่นใดตามมาตรา 128 ผ่านอีเมลเพื่อสร้างความเข้าใจ ในการกำกับดูแลติดตามรวมทั้งสื่อสารสร้างความเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้เกิดความสอดคล้องตามนโยบายของสำนักงานและแนวทางที่สำนักงาน ป.ป.ท. กำหนด

2.1.1 ภาพแสดงการดำเนินการแสดงเจตนารมณ์การไม่รับของขวัญหรือของกำนัล No Gift Policy ทั้งภายในและภายนอกองค์กรของ สวทช.

2.1.2 ภาพแสดงบรรยากาศกิจกรรมการสื่อสารผ่านกิจกรรม OMS Tomorrow Together ซึ่งเป็นการสื่อสารระดับสายงาน เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567

2.2 การประชุมของผู้บริหารระดับสูง

การประชุมผู้บริหารระดับสูงซึ่งจัดขึ้นในทุกเดือน โดยมี ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับรองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติเข้าร่วมประชุม ซึ่งในการประชุมฯ มีการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อน ร่วมถอดบทเรียนจากการบริหารจัดการที่มีความเสี่ยงในสำนักงานฯ หรือกรณีตัวอย่างจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ทุจริตมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเป็นการปฏิบัติที่ผิดกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของสำนักงานฯ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหารแต่ละศูนย์ฯ นำความรู้หรือข้อมูลที่ได้ไปสื่อสารถ่ายทอด รวมถึงส่งเสริมและชี้แนะแนวปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับพนักงานในแต่ละสายบังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง มีพฤติกรรมและวิธีการปฏิบัติงานที่สุจริตโปร่งใส เกิดความตระหนักในเรื่องวัฒนธรรมความซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 การประชุมผู้บริหารของสำนักงาน ด้านการบริหารงานบุคคล

การประชุมผู้บริหารของสำนักงาน ด้านการบริหารงานบุคคล โดยมี ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับรองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติเข้าร่วมประชุม ซึ่งได้มีการนำเสนอคะแนนและความเห็นของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปี 2566 มาวิเคราะห์และกำหนดแผนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และเพื่อยกระดับผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปี 2567 ซึ่งดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ และให้ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ

2.4 การประชุมด้านบริหารจัดการภายในของ สวทช.

การประชุมผู้บริหารด้านบริหารจัดการภายในที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันอังคารที่ 3 ของเดือนทุกเดือน โดยมี ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับรองผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และผู้บริหารระดับกลางที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นกลไกในการติดตามการดำเนินการของสำนักงานฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการดำเนินการด้วยความด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และกระบวนการมาตรฐาน ซึ่งในการประชุมฯ มีการกำหนดวาระประจำที่สำคัญในการประชุม ดังนี้ 1) วาระรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดประจำเดือน 2) วาระรายงานสถานะงบประมาณประจำเดือน 3) การรายงานผลการดำเนินงาน 4) รายงานข้อร้องเรียน สวทช. ประจำเดือน

2.5 กิจกรรม NSTDA Day

เวทีการสื่อสารโดยตรงของ ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้บริหารระดับสูงถึงบุคลากรทั่วทั้งสำนักงาน โดยเป็นการสื่อสารข้อมูลอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา สร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้บริหารและบุคลากร สวทช. ร่วมทั้งการสื่อสารนโยบายของสำนักงานฯ ซึ่งในปีงบประมาณ 2567 นี้ มีการจัดกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบสัญจรทุกศูนย์แห่งชาติเพื่อสื่อสารทำความเข้าใจ เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน รวมทั้งสถานะการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานฯ นโยบายการทำงาน เป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ซึ่งในการสื่อสาร ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ได้ให้นโยบายการทำงานในการบริหารจัดการจ่ายให้เกิดประสิทธิภาพ ลด-ละ-เลิก การใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตตามเป้าหมายของสำนักงานฯ และเน้นย้ำให้บุคลากรช่วยกันทบทวนการบริหารทรัพยากรทางการเงิน ติดตามให้มีการใช้จ่ายด้วยซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ปรับวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด พร้อมทั้งเน้นย้ำบุคลากรทุกระดับเรื่องการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

2.6 การสื่อสาร NSTDA Core Values ผ่าน NSTDA STYLE

NSTDA Core Value หรือ ค่านิยมองค์กรที่เปรียบเหมือนกรอบความคิดหลัก ความเชื่อที่แสดงถึงอัตลักษณ์ขององค์กร และเป็นบรรทัดฐานที่กำหนดรากฐานและพฤติกรรมของบุคลากร สวทช. และเมื่อพบเจอกับปัญหา อุปสรรค ความท้อแท้ สามารถนำมายึดถือ ตั้งมั่น และเดินตาม NSTDA Core Values เพื่อก้าวผ่านปัญหา สู่ความสำเร็จ ด้วยหัวใจของคน สวทช. ซึ่งประกอบด้วย

N: Nation first การคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เห็นถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม

S: S&T excellence มุ่งเน้นในการสร้างความเป็นเลิศในสิ่งที่ทำ ค้นคว้าให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ

T: Teamwork การทำงานร่วมกันเป็นทีม พร้อมที่จะเปิดใจรับฟังการกล้าวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์

D: Deliverability ความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบงานที่มีคุณภาพ ให้ได้ตามคำมั่นสัญญา

A: Accountability and Integrity ความมีจริยธรรม จรรยาบรรณ โปร่งใสกล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง

เพื่อเน้นย้ำค่านิยมหลักขององค์กร (NSTDA Core Values) จึงได้มีการสื่อสารแนวทางการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนผ่าน NSTDA STYLE ซึ่งเป็นวารสารสำหรับบุคลากรภายใน สวทช. ทุกเดือนโดยระบุเนื้อหาอยู่ในคอลัมภ์ Inside NSTDA เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรเกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนภายในองค์กร โดยในฉบับเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมาได้มีการสื่อสารแนวทางการดำเนินการตามนโยบาย No Gift Policy เพื่อสร้างความเข้าใจกับบุคลากรด้วยอีกทางหนึ่ง

3. ยกระดับและส่งเสริมระบบการพัฒนาบุคลากรให้มีความตระหนักด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำแผนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนน ITA ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ผลประเมินคะแนน ITA ในปี 2566 วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนและตัวชี้วัด/ประเด็นที่ต้องปรับปรุง และนำมาผลคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดมาเปรียบเทียบกับผลในปีอื่นๆ รวมถึงเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น เพื่อสรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้ตรวจประเมิน รวมถึงเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานให้มีแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการยกระดับผลการประเมินนคุุณธรรมและความโปร่งใสในการ ดำเนิินงานของหน่่วยงานภาครััฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ให้บรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งกำหนดไว้ต้องมีผลคะแนน 85 คะแนนขึ้นไปทุกตัวชี้วัด ภายในปี พ.ศ. 2567

ทั้งนี้ แผนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สามารถดูรายละเอียดได้ในหน้าเว็บไซต์การกำกับดูแลกิจการที่ดี สวทช. https://www.nstda.or.th/home/introduce/governance-org/
เลือกเมนู >เอกสารนโยบายการการกำกับดูแลกิจการที่ดี >มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

4. การขับเคลื่อนจริยธรรม

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รณรงค์และสื่อสารเกี่ยวกับการขับเคลื่อน จริยธรรมภายในองค์กรโดยมีการดำเนินการ ดังนี้

4.1) จัดทำแนวทางปฎิบัติด้านจริยธรรม Dos & Don’ts

เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติตนทางจริยธรรม พร้อมทั้งสื่อสารผ่านอีเมล All NSTDA และผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ Khunse

 

4.2) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรม สวทช.

เพื่อให้คำปรึกษา เสนอแนะนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและส่งเสริมจริยธรรมรวมถึงตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านจริยธรรมและการป้องกันและปราบปรามทุจริตภายในองค์กร ซึ่งมีรายละเอียดคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรม สวทช. แสดงอยู่ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/ita/20230427-committee-appointment-order.pdf
เลือกเมนู >เกี่ยวกับ สวทช. >โครงสร้างการบริหาร >กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ >คำสั่ง

4.3) การฝึกอบรมและสื่อสารเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่

4.3.1 หลักสูตรเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ ซึ่งเป็นการดำเนินการพัฒนาบุคลากรภายในเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับด้านพัสดุ โดยเนื้อหาการฝึกอบรมได้มีการสอดแทรกเรื่องการปฏิบัติงานตามธรรมาภิบาลซึ่งหน่วยงานได้มีการยึดถือปฏิบัติ เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส มีวินัยและตรวจสอบได้ ให้เป็นไปตามค่านิยมขององค์กร พร้อมยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ยอมรับการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ ซึ่งจัดขึ้นจำนวน 3 รุ่น ดังนี้

รุ่นที่ 1: เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 กลุ่มเป้าหมายเข้าอบรมจำนวน 95 คน
รุ่นที่ 2: เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มเป้าหมายเข้าอบรมจำนวน 103 คน
รุ่นที่ 3 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 กลุ่มเป้าหมายเข้าอบรมจำนวน 148 คน

โดยภาพรวมผลประเมินหลักสูตร 87.00% ผลประเมินการรับรู้และเข้าใจ 85.40%

4.3.2 กิจกรรมสื่อสาร HR update
กิจกรรมสื่อสาร HR update เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในมิติต่างๆ ของการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้แก่บุคลากรทุกระดับ อันได้แก่ หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน หลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่ง และการถ่ายทอด (deploy) ตัวชี้วัด โดยยึดหลักการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ซึ่งมีหลักเกณฑ์สำคัญในการปฏิบัติร่วมกันทั้งองค์กร โดยจัดกิจกรรมขึ้นจำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1: เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 หัวข้อ หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน หลักเกณฑ์การ
เลื่อนตำแหน่ง และการถ่ายทอด (deploy) ตัวชี้วัด จำนวนผู้เข้าร่วม 1,340 คน ผลประเมินผลการรับรู้
และเข้าใจ 83.70%
ครั้งที่ 2: เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 หัวข้อ การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งของ สวทช.
จำนวนผู้เข้าร่วม 914 คน ผลประเมินผลการรับรู้และเข้าใจ 82.68%

4.3.3 หลักสูตรการป้องกันและปราบปรามทุจริต NSTDA Anti-Corruption
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการต่อต้านทุจริตและคอรัปชันตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้เหล่าบุคลากรทุกระดับมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ จึงได้มีการดำเนินการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกันและต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และได้มีการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปราบปรามทุจริตผ่านระบบ e-learning เพื่อให้บุคลากรทุกระดับได้เข้าเรียนรู้

4.3.4 หลักสูตรผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
การเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนา เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การวิจัยและพัฒนาอย่างมีคุณภาพจะต้องเป็นไปตามแนวทางจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่พึงตระหนัก สวทช. จึงได้จัดทำหลักสูตรผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและให้ทราบถึง ประเภทผลประโยชน์ทับซ้อน วิธีการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน และตัวอย่างเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อให้บุคลากร สวทช. ได้เรียนรู้ ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ และป้องกันการประพฤติมิชอบในการวิจัย

4.3.5 หลักสูตรจริยธรรมการวิจัย
หลักสูตรจริยธรรมการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากร สวทช. ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย และการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง