หน้าแรก เกี่ยวกับ สวทช. ข้อมูลเผยแพร่ กิจกรรม สวทช. วิทยาศาสตร์และทโนโลยีเพื่อการวิจัยและพัฒนากำลังคน พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ในโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก และด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ออนไลน์)
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ในโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก และด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ออนไลน์)
19 ส.ค. 2565
0
วิทยาศาสตร์และทโนโลยีเพื่อการวิจัยและพัฒนากำลังคน

    พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ในโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก และด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วังสระปทุม และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์)

   ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ : สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยกับหน่วยงานของสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก และด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๒ โครงการ ในวันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วังสระปทุม

ความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก
    มูลนิธิฯ ร่วมกับหน่วยงานไทย จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับ สถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (PRIC) ได้พัฒนาความร่วมมือในการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๖) ในความร่วมมือนี้ นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยของไทย จำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๐ คน ได้เดินทางไปร่วมสำรวจและศึกษาวิจัยในพื้นที่ทวีปแอนตาร์กติก ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของจีน ทุกปี ปีละ ๑-๒ คน โดยเดินทางร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีน Chinese National Antarctic Research Expedition ชื่อย่อ CHINARE (อ่านว่า ชิ-นา-เร่) เกิดความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขั้วโลกในด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการเพื่อรับกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งจะช่วยป้องกันหรือลดผลกระทบที่อาจมีต่อ การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ต่างๆ รวมถึงต่อระบบนิเวศทางทะเล และสามารถนำข้อมูลและความรู้จากการศึกษาวิจัย มาใช้ประกอบการวางแผนป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยได้ในอนาคต

วามร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    ความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน ก.พ. กับมหาวิทยาลัยแห่งสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (UCAS) ในการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาจากประเทศไทยไปศึกษาระดับปริญญาเอกที่ UCAS ที่ดำเนินงานมานานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ (ค.ศ. ๒๐๐๙) จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี มีผู้ได้รับทุนการศึกษารวมทั้งสิ้น ๔๓ คน สำเร็จการศึกษากลับมาทำงานในประเทศไทยแล้วจำนวน ๑๙ คน อยู่ในส่วนราชการ มหาวิทยาลัย หรือสถาบันวิจัย ความร่วมมือนี้ไม่เพียงแต่ช่วยผลิตบุคลากรระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยซึ่งยังมีความขาดแคลน แต่ยังก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ อาจารย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป เช่น การจัดการทรัพยากรน้ำ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล ดาราศาสตร์ เป็นต้น

ข่าวในพระราชสำนักที่เกี่ยวข้อง

 

19 ส.ค. 2565
0
แชร์หน้านี้: