หน้าแรก เอสซีจี เยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และผลงานวิจัย สวทช.
เอสซีจี เยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และผลงานวิจัย สวทช.
22 ก.พ. 2567
0
ข่าวประชาสัมพันธ์

(22 กุมภาพันธ์ 2567) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย: ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้การต้อนรับ นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหารือความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ซึ่งทางด้าน SCG ได้ตั้งเป้า NET ZERO ไว้ในปี พ.ศ.2593 และเป็นผู้นำด้าน green transformation การเยี่ยมชมและหารือในครั้งนี้ SCG และ สวทช. ได้มุ่งเน้นแสวงหากลไกด้านความร่วมมือ การพัฒนาสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ของทั้งสองหน่วยงาน

ทั้งนี้ผู้อำนวยการ สวทช. ได้นำคณะเยี่ยมชม ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Center, NOC) โดยมี ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง นักวิจัยอาวุโส ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ได้นำเสนอบทบาทภารกิจและการให้บริการของศูนย์ฯ

จากนั้นพาชมห้อง Data Center LANTA ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center: ThaiSC) โดย ดร.มนัสชัย คุณาเศรษฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และดร.รัฐภูมิ ตู้จินดา นักวิจัย ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) นำชมเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

ซึ่งประกอบด้วยหน่วยประมวลผล CPU AMD EPYC เจนเนอเรชั่น ที่ 3 (Milan) รวมทั้งสิ้น 31,744 cores และหน่วยประมวลผล GPU รุ่น NVIDIA A100 ที่เหมาะสมสำหรับการคำนวณด้าน AI ขั้นสูงและการจำลอง simulation ทางวิทยาศาสตร์จำนวน 704 หน่วย มีระบบจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงรุ่น Cray ClusterStor E1000 ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่า 10 เพตะไบต์ (petabytes) หรือ 10,000 ล้านล้านไบต์ โดยใช้การเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายประสิทธิภาพสูง HPE Slingshot Interconnect ที่มีความเร็วในการส่งรับข้อมูล 200 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งทำให้ LANTA มีประสิทธิภาพการประมวลผลสูงสุดในทางทฤษฎี (theoretical peak performance) อยู่ที่ 13.7 petaFLOPS และประสิทธิภาพการคำนวณสูงสุดที่วัดได้ (maximum LINPACK performance) อยู่ที่ 8.1 petaFLOPS หรือ 8.1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที

จากนั้นนำชมห้องปฏิบัติการอุปกรณ์การแพทย์ โดยมี ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ รักษาการ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) พร้อมด้วย ดร. วรวริศ กอปรสิริพัฒน์  นักวิจัยทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี MTEC และ ดร. เปริน วันแอเลาะ ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี MTEC ร่วมบรรยายหัวข้อ Wearable Technologies and Passive Exoskeleton for Silver Econony

นอกจากนี้คณะได้เยี่ยมโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทคและนิทรรศการด้าน Biorefinery โดย ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร BIOTEC บรรยายถึงบทบาทหน้าที่และการให้บริการชมโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการ ไบโอเทค ต่อด้วย ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรม EECi และดร.ปิติชน กล่อมจิต วิศวกรอาวุโส สวทช. อธิบายภาพรวมโครงการด้าน Biorefinery ในพื้นที่ EECi ที่ สวทช. กำกับดูแล

จากนั้นช่วงบ่าย นำโดย ดร. ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน NANOTEC ดร. พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว หัวหน้าทีมวิจัย ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน NANOTEC ดร. ศรัณย์ อธิการยานันท์ นักวิจัย ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน NANOTEC ดร.สมประสงค์ ทองคำ นักวิจัย ทีมวิจัยวัสดุผสมนาโนสำหรับอุตสาหกรรม NANOTEC นำเสนองานความร่วมมือกับ SCG-Nano Coating และ โครงการอื่นๆ พร้อมด้วย Nano Cool Paint (สีลดอุณหภูมิภายในอาคาร) และ Bioplastic โดยคณะเยี่ยมชมเข้าชมห้องปฏิบัติการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) บรรยายโดย ดร. ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์  ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สวทช.

 

22 ก.พ. 2567
0
แชร์หน้านี้: