หน้าแรก นักวิจัย สวทช. สุดเจ๋ง รวมทัพรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567
นักวิจัย สวทช. สุดเจ๋ง รวมทัพรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567
2 ก.พ. 2567
0
ข่าวประชาสัมพันธ์

(2 กุมภาพันธ์ 2567) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ 2567 Thailand Inventors’ Day 2024” พร้อมพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนำประเทศ” จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 24 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร์ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” โดยปีนี้มีผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจากนักประดิษฐ์ไทยและนานาชาติ ร่วมนำเสนอผลงานกว่า 1,000 ผลงาน ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567

ในโอกาสนี้ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้บริหารร่วมแสดงความยินดีกับนักวิจัย สวทช. ที่ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ รวม 23 รางวัล แบ่งออกเป็น 3 ประเภทรางวัล ดังนี้

  1. รางวัลผลงานวิจัย จำนวน 12 รางวัล

1.1 ดร.ณัฎฐิกา แสงกฤช และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “ระบบนำส่งยาแบบแม่นยำเพื่อการรักษาโรคมะเร็งระบบประสาทส่วนกลาง” รางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

1.2 ดร.วณิลดา รุ่งรัศมี และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง  “ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประชากรแบคทีเรียในลำไส้ต่อระบภูมิคุ้มกันในกุ้ง” รางวัลระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา

1.3 ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์จีโนม และพันธุศาสตร์ประชากรของพืชวงศ์โกงกาง อธิบายการเกิดขึ้นของสปีซีส์ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทางวิวัฒนาการได้” รางวัลระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา

1.4 ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “การคัดเลือกและค้นหาเอนไซม์ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์จากแหล่งจุลินทรีย์ในประเทศไทย : จากความหลากหลายทางชีวภาพสู่ต้นแบบเพื่ออุตสาหกรรม “รางวัลระดับดีมาก สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

1.5 ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ ผลงานวิจัยเรื่อง “เทคโนโลยีกราฟินเพื่อการประยุกต์ใช้ด้านเซ็นเซอร์และพลังงาน ” รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

1.6 ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “การค้นหาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อผลิตพลังงานไฮโดรเจนด้วยปัญญาประดิษฐ์และการคำนวณเคมีคอมพิวเตอร์ “รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

1.7 ดร.คทาวุธ นามดี และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาอนุภาคนาโนทองคำแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่านแนวกั้นระหว่างเลือดกับสมองโดยการห่อหุ้มด้วยเอ็กโซโซมที่มีการแสดงออกของโปรตีนเป้าหมายกับระบบประสาท” รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

1.8 ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์ และคณะ ศูนย์นาโนเทคโลยีแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “การออกแบบและพัฒนาโมเดลการศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ สำหรับการศึกษากลไกเกิดปฏิกิริยาเชิงลึกในสภาวะเสมือนจริงด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาอะตอมเดี่ยวบนตัวรองรับโครงข่ายโลหะ-อินทรีย์” รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

1.9 ดร.ปิติ อ่ำพายัพ และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาอาหารสัตว์น้ำเสริมสุขภาพเพื่อการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเชิงพาณิชย์แบบยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ทคโนโลยีชีวภาพพรีไบโอติก-โปรไบโอติก และการใช้ประโยชน์จากโคพีพอดของไทย”รางวัลระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา

1.10 ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาบทบาทของโปรตีนนิวคลิโอแคปสิดที่สำคัญต่อการเพิ่มจำนวนของไวรัสโคโรนา” รางวัลระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา

1.11 ดร.มาริษา ไร่ทะ และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีการทำบริสุทธิ์น้ำตาลไชโลโอลิโกแซกคาไรด์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากอ้อย” รางวัลระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

1.12 ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ผลงานวิจัยเรื่อง “ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะไม่มีตระกูลขนาดนาโนเมตรเพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงจากน้ำมันปาล์มเละไขมันสัตว์” รางวัลระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

  1. รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 4 รางวัล

2.1 ดร.คณาณัฐ นาคสมบูรณ์ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดพาลาเดียมที่มีลิแกนด์แบบไบเดนเตดสำหรับการเติมหมู่โอเลฟินส์บนสารประกอบอะโรมาติกผ่านการตัดพันธะคาร์บอน-ไฮโดรเจนโดยตรง” รางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

2.2 ดร.ปภล ม่วงสนิท ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาโครงสร้างไฮโดรเจลสามมิติที่ประกอบไปด้วยเซลล์บุผนังหลอดเลือดและเซลล์ชวานน์แบบเรียงตัวสำหรับวิศวกรรมเนื้อเยื่อเส้นประสาทส่วนปลาย” รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

2.3 ดร.ธรรมนูญ ชาญชนิษฐา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ วิทยานิพนธ์เรื่อง “ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์สำหรับการสลายตัวของสารมลพิษอินทรีย์” รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

2.4 ดร.ศศิกานต์ สีทาสังข์ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาโฟโตมิเตอร์แบบย่อส่วนโดยใช้คู่ของไดโอดเปล่งแสงและการประยุกต์ใช้โฟโตมิเตอร์” รางวัลระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

  1. รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 7 รางวัล

3.1 ดร.อรประไพ คชนันทน์ และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังและการประยุกต์ใช้เพื่อเฝ้าระวังและจัดการควบคุมโรคอย่างเป็นรูปธรรม” รางวัลระดับดีมาก สายาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา

3.2 ดร.ชัชวรินทร์ ปูชัย และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ ผลงานเรื่อง “ZafeBat-แบตเตอรี่ปลอดภัย ไม่ระเบิด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

3.3 ดร.จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์ และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ผลงานเรื่อง “D-Sense: ขั้วไฟฟ้าพิมพ์สกรีนจากวัสดุสองมิติแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับการประยุกต์ใช้งานเซนเซอร์เคมีและเภสัช” รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

3.4 ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ผลงานเรื่อง “เส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่และขยะพลาสติกชีวภาพ” รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

3.5 ดร.พรอนงค์ พงษ์ไพบูลย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และคณะ ผลงานเรื่อง “ชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลด้วยการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต” รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

3.6 ดร.สมศักดิ์ สุภสิทธิ์มงคล และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ ผลงานเรื่อง “ENcase: นวัตกรรมเครื่องผลิตสารฆ่าเชื้ออิเล็กโทรไลต์” รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

3.7 นายวันเสด็จ เจริญรัมย์ และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงานเรื่อง “สวัสดีแอมป์-พลัส: ชุดตรวจเชิงสีชนิดใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเป็นต้นแบบชุดตรวจแห่งอนาคตสำหรับรับมือกับโรคอุบัติใหม่อย่างครอบคลุม” รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

2 ก.พ. 2567
0
แชร์หน้านี้: