หน้าแรก 12 นักวิจัย สวทช. ที่มีบทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์และอ้างอิงสูงที่สุดใน Top 2% ของโลก
12 นักวิจัย สวทช. ที่มีบทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์และอ้างอิงสูงที่สุดใน Top 2% ของโลก
27 พ.ย. 2564
0
ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักพิมพ์ Elsevier บริษัท SciTech Strategies และ Stanford University มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เปิดเผยรายชื่อ World’s Top 2% Scientists by Stanford University ปี 2021 ซึ่งมีนักวิจัยของ สวทช. จำนวน 12 ท่าน อยู่ในรายชื่อดังกล่าว

สำนักพิมพ์ Elsevier บริษัท SciTech Strategies และ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายชื่อ World’s Top 2% Scientists by Stanford University ปี 2021 ในสาขาวิชาต่างๆ แบ่งออกเป็น 22 สาขาหลัก 176 สาขาย่อย รวมมากกว่า 100,000 คน รายงานโดยทีมวิจัยนำโดย 1. Jeroen Baas จาก สำนักพิมพ์ Elsevier 2. Kevin Boyack จาก บริษัท SciTech Strategies และ 3. Professor John P.A. Ioannidis จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)

การคัดเลือกและจัดอันดับนี้ประเมินจากการวิเคราะห์ผลกระทบงานวิจัยจากการอ้างอิงบทความที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี 1996 – 2020 โดยใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น Citation, co-authorship, และ h-index จัดลำดับนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. จำแนกตามผลกระทบการอ้างอิงตลอดอาชีพนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ (career-long citation impact) จนถึงสิ้นปี 2020
  2. ผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี 2020 (citation impact during the single calendar year 2020)

ข้อมูลการจัดลำดับสามารถดูได้ที่ Data for “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators” https://elsevier.digitalcommonsdata.com/datasets/btchxktzyw/3

จากนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก มีนักวิจัย สวทช. ที่ติดอันดับจำนวน 12 ท่าน (โดยในจำนวนนี้มีนักวิจัย 3 ท่าน ที่ติดอันดับทั้งจำแนกตามผลกระทบการอ้างอิงตลอดอาชีพนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ และผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี 2020)

พิจารณาจากผลกระทบการอ้างอิงตลอดอาชีพนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ (career-long citation impact) จนถึงสิ้นปี 2020 มีนักวิจัย สวทช. ที่ติดอันดับจำนวน 7 ท่าน

  1. ศ.เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ จากทีมวิจัยวิศวกรรมโปรตีน-ลิแกนด์และชีววิทยาโมเลกุล (IPMT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลทางการแพทย์ (IMBG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) อยู่ในอันดับที่ 292 จากนักวิจัยทั้งหมด 24,819 คน ในสาขา Mycology & Parasitology
  2. ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) อยู่ในอันดับที่ 734 จากนักวิจัยทั้งหมด 58,351 คน ในสาขา Food Science
  3. ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) อยู่ในอันดับที่ 1,945 จากนักวิจัยทั้งหมด 108,280 คน ในสาขา Optoelectronics & Photonics
  4. Dr.Masahiko Isaka จากทีมวิจัยเคมีอินทรีย์ชีวภาพ (IBOT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ (IBBG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) อยู่ในอันดับที่ 719 จากนักวิจัยทั้งหมด 88,725 คน ในสาขา Medicinal & Biomolecular Chemistry
  5. ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป จากกลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ (BMD) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) อยู่ในอันดับที่ 3,518 จากนักวิจัยทั้งหมด 285,331 คน ในสาขา Materials
  6. ดร.กมล เขมะรังษี กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) อยู่ในอันดับ 3,258 จากนักวิจัยทั้งหมด 183,648 คน ในสาขา Networking & Telecommunications
  7. ดร.วรายุทธ สะโจมแสง กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน (NHIC) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) อยู่ในอันดับ 2,118 จากนักวิจัยทั้งหมด 100,162 คน ในสาขา Polymers

พิจารณาจากผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี 2020 (citation impact during the single calendar year 2020) มีนักวิจัย สวทช. ที่ติดอันดับจำนวน 8 ท่าน

 

  1. ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) อยู่ในอันดับที่ 709 จากนักวิจัยทั้งหมด 58,351 คน ในสาขา Food Science
  2. Dr. Masahiko Isaka จากทีมวิจัยเคมีอินทรีย์ชีวภาพ (IBOT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ (IBBG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) อยู่ในอันดับที่ 872 จากนักวิจัยทั้งหมด 88,725 คน ในสาขา Medicinal & Biomolecular Chemistry
  3. ดร.วรายุทธ สะโจมแสง กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน (NHIC) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) อยู่ในอันดับ 1,309 จากนักวิจัยทั้งหมด 100,162 คน ในสาขา Polymers
  4. ดร.กัลยาณ์ แดงติ๊บ จากทีมวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ (AQHT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำแบบบูรณาการ (AAQG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) อยู่ในอันดับที่ 701 จากนักวิจัยทั้งหมด 32,323 คน ในสาขา Fisheries
  5. ดร.พรกมล อุ่นเรือน จากทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์ (IENT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ (IBBG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) อยู่ในอันดับที่ 911 จากนักวิจัยทั้งหมด 52,513 คน ในสาขา Biotechnology
  6. ดร.เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด จากทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร (APMT) กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ (ACBG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) อยู่ในอันดับที่ 425 จากนักวิจัยทั้งหมด 24,819 คน ในสาขา Mycology & Parasitology
  7. ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย จากทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน (NMV) กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน (NCAP) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) อยู่ในอันดับที่ 2,375 จากนักวิจัยทั้งหมด 131,063 คน ในสาขา Pharmacology & Pharmacy
  8. ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ จากฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (GPERD) ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) ศูนย์วิจัยและพัฒนาเฉพาะทำง (Focus Center) สำนักงานกลาง อยู่ในอันดับที่ 1,593 จากนักวิจัยทั้งหมด 102,767 คน ในสาขา Analytical Chemistry

อ้างอิง

Baas, Jeroen; Boyack, Kevin; Ioannidis, John P.A. (2021), “August 2021 data-update for “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators””, Mendeley Data, V3, doi: 10.17632/btchxktzyw.3

ที่มา : https://www.nstda.or.th/archives/nstda-worlds-top-2-scientists-by-stanford-uni/

แชร์หน้านี้: