หน้าแรก จดหมายข่าว สวทช. ปีที่ 5 ฉ.10 – นาโนเทค สวทช. พัฒนา “โบรอนอินทรีย์” เภสัชรังสีตรวจวินิจฉัยมะเร็ง
จดหมายข่าว สวทช. ปีที่ 5 ฉ.10 – นาโนเทค สวทช. พัฒนา “โบรอนอินทรีย์” เภสัชรังสีตรวจวินิจฉัยมะเร็ง
12 ม.ค. 2563
0
จดหมายข่าว สวทช. ย่อย

alt

alt

นาโนเทค สวทช. พัฒนา “โบรอนอินทรีย์” เภสัชรังสีตรวจวินิจฉัยมะเร็ง

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนาสารตั้งต้นเภสัชรังสีจากสารประกอบโบรอนอินทรีย์ สำหรับใช้จับสัญญาณมะเร็งด้วยเครื่องเพทสแกน ชูจุดเด่นที่กระบวนการเตรียมสารใช้สภาวะที่ไม่รุนแรง ทำให้จำเพาะกับเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ และมีความคงตัว ก่อนต่อยอดงานวิจัยโดยเพิ่มสารเรืองแสง หวังเป็นไกด์นำทางแพทย์ผ่าตัดรักษามะเร็งได้แม่นยำยิ่งขึ้น และปูทางเภสัชรังสีพันธุ์ไทย ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ปกติแล้ว สารเภสัชรังสีที่ใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคในทางการแพทย์ของประเทศไทย จะต้องนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นสารตั้งต้นจากต่างประเทศ ก่อนจะผ่านเครื่องไซโคลตรอนเพื่อผลิตเภสัชรังสี ซึ่งสารเภสัชรังสีต้องเติมฟลูออรีน-18 ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในเทคนิคโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron Emission Tomography; PET) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าเทคนิคเพท สำหรับเครื่องเพทสแกน ซึ่งเทคนิคโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี หรือเพทสแกน เป็นเทคนิคที่มีความสำคัญมากในการวินิจฉัยทางการแพทย์ เช่น การวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคความจำเสื่อม เป็นต้น โดยเทคนิคดังกล่าวต้องอาศัยการฉีดสารเภสัชรังสีที่เตรียมได้จากธาตุไอโซโทปรังสี ได้แก่ ฟลูออรีน-18 ให้กับผู้ป่วย เพื่อติดตามโรค แต่ปัญหาหนึ่งของการเตรียมสารเภสัชรังสีในปัจจุบัน คือ การใช้สภาวะการเตรียมที่รุนแรง เช่น มีความเป็นกรดสูงและใช้อุณหภูมิสูง ส่งผลให้สารเภสัชรังสีบางชนิดที่เป็นอนุพันธ์ของสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น เปปไทด์ โปรตีน หรือแอนติบอดี้ สลายตัว โดยปัจจุบันการแก้ปัญหาดังกล่าว สามารถทำได้โดยการติดฉลากในสารตัวกลางที่เป็นตัวรับฟลูออรีน-18 (18F captor) ก่อน แล้วจึงนำไปต่อกับโมเลกุลเปปไทด์หรือโปรตีนโดยใช้สภาวะที่ไม่รุนแรงภายหลัง ทำให้กระบวนการผลิตซับซ้อนกว่าเดิม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nstda.or.th/th/news/12929-20191211-pet

12 ม.ค. 2563
0
แชร์หน้านี้: