หน้าแรก 10 Technologies to Watch: การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบ CAR T–Cell (Chimeric Antigen Receptor T-Cell Therapy)
10 Technologies to Watch: การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบ CAR T–Cell (Chimeric Antigen Receptor T-Cell Therapy)
28 ธ.ค. 2565
0
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความ

การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบ CAR T–Cell (Chimeric Antigen Receptor T-Cell Therapy)

การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบ CAR T–Cell (Chimeric Antigen Receptor T-Cell Therapy)

 

โรคจำนวนมากรักษาให้หายขาดได้ด้วยเทคนิคใหม่ ๆ ทางการแพทย์ที่มีความละเอียดลึกซึ้งมาก รักษาลงไปที่ระดับเซลล์หรือระดับพันธุกรรม คือ ยีนและดีเอ็นเอ แม้กระนั้นโรคบางอย่างก็ยังมีความยากลำบากมากในการรักษาอยู่ เช่น โรคมะเร็ง เพราะมะเร็งชนิดที่แตกต่างกัน มีธรรมชาติหลายอย่างที่แตกต่างกันมาก จึงมีผู้พยายามใช้ความรู้ไปดัดแปลงและปรับเปลี่ยนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้มีความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับเซลล์ปกติ วิธีการที่ได้ผลดีแบบหนึ่งเรียก CAR T–cell คำว่า CAR ในทีนี้ เป็นตัวอักษรย่อมาจากคำว่า chimeric antigen receptor ขณะที่ T-cell คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอม เซลล์ติดเชื้อโรค หรือเซลล์มะเร็ง

 

การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบ CAR T–Cell (Chimeric Antigen Receptor T-Cell Therapy)

 

หลักการสำคัญของวิธี CAR T-cell คือ เราดัดแปลง T-cell ของผู้ป่วยให้สร้างโปรตีนที่เรียกว่า CAR ซึ่งคล้ายกับเครื่องตรวจจับติดอาวุธ เมื่อ T-cell เจอกับเซลล์มะเร็ง จึงจดจำและกำจัดเซลล์มะเร็งจำเพาะเหล่านั้นได้

 

การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบ CAR T–Cell (Chimeric Antigen Receptor T-Cell Therapy)

 

เทคโนโลยีนี้มีจุดเด่นคือ มีความจำเพาะกับเซลล์มะเร็งสูงมาก แทบไม่ทำอันตรายเซลล์ปกติเลย CAR T-cell จำเพาะกับผู้ป่วยแต่ละรายเท่านั้น จึงไม่ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (autoimmunity) ถือว่ามีความปลอดภัยสูง ต่างจากวิธีการรักษามะเร็งส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่

 

การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบ CAR T–Cell (Chimeric Antigen Receptor T-Cell Therapy)

 

ในต่างประเทศมีการใช้เทคโนโลยีนี้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดชนิด B-cell ซึ่งได้ผลดี มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ US FDA ให้ใช้จริงในผู้ป่วยแล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์ชื่อ ทิสซาเจนเลกลูเซล (Tisagenlecleucel) ใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งได้ แต่สำหรับมะเร็งชนิดที่เป็นก้อนเนื้อแข็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง ยังได้ผลไม่ดีมากนัก และยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต แต่ได้มีการศึกษาทางคลินิกบ้างแล้ว

 

การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบ CAR T–Cell (Chimeric Antigen Receptor T-Cell Therapy)

 

ในประเทศไทย ทีมวิจัยนำโดย ศาสตราจารย์ นพ.สุรเดช หงส์อิง นักวิจัยแกนนำของ สวทช. ก็กำลังศึกษาการใช้ CAR T–cell รักษามะเร็งเม็ดเลือดอยู่ในระยะคลินิกเฟส 1 ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับมะเร็งแบบก้อนนั้น การศึกษาในสัตว์ทดลองได้ผลดีชัดเจนคือ ลดขนาดก้อนมะเร็งได้มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์

แชร์หน้านี้: