หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ การศึกษาวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 (Why we need both science and humanities for a Fourth Industrial Revolution education)
การศึกษาวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 (Why we need both science and humanities for a Fourth Industrial Revolution education)
4 มิ.ย. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในยุคที่เครื่องจักรกลฉลาดขึ้น ที่แท้จริงคืออะไรกำลังเข้ามาแทนที่ องค์การสหประชาชาติตระหนักถึงทำอย่างไรจะนำประโยชน์จากนวัตกรรมสู่ลูกค้าและสังคมโลกได้ขณะที่กำลังเข้าสู่ยุค 5G วิศวกรและนักมนุษยธรรมเก่งๆ หลายคนต่างมองหาแนวทางที่จะดึงเอาประโยชน์จากนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายยุคที่ 5 หรือ 5G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นต้น

ความต้องการของตลาดแรงงานและเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทำให้สถานศึกษาหลายๆ แห่งพุ่งเป้าไปที่ (STEM) คือวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์

Statistia (2016) สำรวจนักศึกษาจบใหม่ในสาขา (STEM) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ พบว่าประเทศที่ศึกษา STEM ได้แก่จีน 4.7 ล้านคน รองลงมาอินเดีย 2.6 ล้านคน อันดับสามสหรัฐอเมริกา 568,000 คน ต่อมาเป็นรัสเซีย 561,000 คน อันดับห้าเป็นอิหร่าน 335,000 คน ต่อมาคืออินโดนีเซีย 206,000 คน และญี่ปุ่น 195,000 คน แม้สถิติชี้ชัดเจนว่าระบบการศึกษากำลังป้อนแรงงานด้าน (STEM) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สู่ตลาดแรงงานจำนวนมาก แต่บ่อยครั้งที่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งตัดสินใจผิดพลาดเมื่อนำนวัตกรรมที่พัฒนาในห้องแลปออกสู่สังคม เช่น ข้อมูลความเป็นส่วนตัว ความโปร่งใสในเอื้อระบบการเมืองใด เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ สังคมและระบบการศึกษาควรหันมาให้ความสนใจศาสตร์ทางด้านมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปะ ไม่แพ้ (STEM) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  วิศกรควรเข้าแนวคิดจากนวนิยายเรือง Brave New World ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ควรมีความเข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้วย

วัตถุประสงค์ของระบบการศึกษาที่ควรเป็น

  1. เพื่อให้ผู้เรียนรักการแสวงหาความรู้พัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
  2. เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน คิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยตนเอง อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
  3. เพื่อพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ศึลธรรม จริยธรรม ประพฤติตนดีงามมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ระบบการศึกษาควรหันมาให้ความสนใจและความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง นั่นคือ สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เป็นเพียงแต่แนวคิด หรือแม้แต่การพิจารณาเรื่องข้อจำกัดด้านอายุในการรับบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา เช่น ขยายอายุจาก 18 – 21 ปี เป็นไปจนถึง   40 ปี เป็นต้น เพื่อให้การศึกษาเตรียมคนให้พร้อมรับมือกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งในอนาคตอันใกล้และที่กำลังจะมาถึง


ที่มา: Hans Vestberg (2018, September 21).Why we need both science and humanities for a Fourth Industrial Revolution education. World Economic Forum. Retrieved May 14, 2019,

จาก https://www.weforum.org/agenda/2018/09/why-we-need-both-science-and-humanities-for-a-fourth-industrial-revolution-education/

4 มิ.ย. 2562
0
แชร์หน้านี้: