หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ การจัดการความรู้ (KM) แนวโน้มของ KM ในยุคดิจิทัล
แนวโน้มของ KM ในยุคดิจิทัล
9 ส.ค. 2561
0
การจัดการความรู้ (KM)

ในยุคดิจิทัลมีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีหลายอย่าง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีผลต่อแนวทาง KM (Knowledge Management หรือการจัดการความรู้) ขององค์กร ทำให้การแบ่งปันความรู้ การสกัดความรู้ และการเก็บรักษาความรู้เป็นไปอย่างง่ายขึ้นกว่า KM แบบเก่า ส่งผลให้องค์กรดำเนินกิจการได้ตรงตามเป้าหมายและประสบผลสำเร็จมากขึ้น เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลที่นำมาใช้กับ KM ได้แก่

1. Cloud computing เป็นการให้บริการของผู้ให้บริการเกี่ยวกับระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การจัดเก็บข้อมูล ซึ่งรวมกันอยู่ในศูนย์ข้อมูลหรือก้อนเมฆ มีการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง ผู้ใช้บริการเพียงมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้บริการดังกล่าวได้ โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ notebook tablet และสามารถแชร์บริการร่วมกัน ข้อดีคือผู้ใช้บริการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานได้ เพียงจ่ายเงินเพิ่ม ไม่ต้องดูแลระบบเอง ผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลให้ ไม่ยุ่งยากในการอัพเกรดระบบ ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ KM ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ เช่น Office 365 และ SharePoint Online  BMC Knowledge Management  Salesforce Knowledge Management

2. Big data ความเจริญก้าวหน้าในยุคดิจิทัล ทำให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ อย่างรวดเร็ว มากมายมหาศาลขึ้น ที่เรียกว่า Big data ทำให้องค์กรต้องใช้เครื่องมือ KM มาช่วยบริหาร Big data เพื่อให้องค์กรพัฒนากระบวนการทำงาน แก้ไขปัญหาขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่าง Big data ภายในองค์กร เช่น ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลผลการดำเนินงาน ความรู้ต่างๆ ที่อยู่ในคลังความรู้

3. Internet of Things (IoT) เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์และสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถควบคุมอุปกรณ์และสิ่งต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่นควบคุมการเปิดปิดไฟ เครื่องปรับอากาศ IoT ทำให้ KM เกิดขึ้นแบบ real-time updates

4. Mobile technology เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งช่วยให้ KM เกิดขึ้นได้ในทุกที่ ทุกเวลา แบบ real-time ทำให้ประหยัดเงินและเวลา

5. Artificial Intelligence (AI หรือปัญญาประดิษฐ์) เป็นระบบที่พัฒนาให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนปัญญาของมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบฐานข้อมูล หุ่นยนต์

เทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้นในยุคดิจิทัล นอกจากเกิดมาเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ยังอำนวยความสะดวกในการทำ KM อีกด้วย


ที่มา:

1. Shittu Musa, Aminu Umar Musa and Muhammad Umar (2017, February 1). Knowledge Management (Km) In the Age of Cloud Computing (CC): Benefit and Challenges. ResearchGate. Retrieved July 31, 2018, from https://www.researchgate.net/publication/313164608_Knowledge_Management_Km_In_the_Age_of_Cloud_Computing_CC_Benefit_and_Challenges

2. นภัสวรรณ ไทยานันท์ (28 พ.ค. 2558). Big Data ปรากฏการณ์ใหม่ เขย่าวงการ KM. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. http://www.ftpi.or.th/2015/3518

3. Kgabo H Badimo (2017, September 20). The Increasing Importance of Knowledge Management in the Digital World through the Internet of Things. Linkedin. Retrieved July 31, 2018, from https://www.linkedin.com/pulse/increasing-importance-knowledge-management-digital-world-kgabo-badimo

4. เครื่องมือที่ใช้ในการทำ Knowledge Management. http://ea-rmuti.net/eakm/?page_id=303

แชร์หน้านี้: