หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ การจัดการความรู้ (KM) โมเดลปลาตะเพียน
โมเดลปลาตะเพียน
24 ก.ย. 2557
0
การจัดการความรู้ (KM)

“โมเดลปลาตะเพียน” เป็นบทขยายความของ “โมเดลปลาทู” ว่า “หัวปลาใหญ่” เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานย่อยร่วมกันกำหนด ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือเป้าหมายร่วม (Common Goal) เมื่อร่วมกันกำหนดแล้ว ก็ร่วมกันดำเนินการตามเป้าหมายนั้นเปรียบเสมือนการที่ “ปลาเล็ก” ทุกตัว “ว่ายน้ำ” ไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่แต่ละตัวมีอิสระในการ “ว่ายน้ำ” ของตนเอง เปรียบได้กับผู้บริหารระดับสูงจะต้องเปิดโอกาสให้ “ปลาเล็ก (พนักงาน)” ได้มีอิสระในการ “ว่ายน้ำ (ทำงาน คิด ริเริ่ม)” โดยผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ “บริหารหัวปลา” และคอยดูแล “บ่อน้ำ” ให้เหล่า “ปลาเล็ก” ได้มีโอกาสได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนในการ “ว่ายสู่เป้าหมายร่วม” ทุกหน่วยงานย่อยเองก็ต้องคอยตรวจสอบว่า “หัวปลาเล็ก” ของตนหันไปทางเดียวกับ “หัวปลาใหญ่” ขององค์กรหรือไม่


แหล่งที่มา : KM วันละคำ “จากนักปฏิบัติ KM สู่นักปฏิบัติ KM” : โมเดลปลาตะเพียน. วิจารณ์ พานิช. (2549). กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

แชร์หน้านี้: