หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ SciVal : Research Performance Assessment Platform
SciVal : Research Performance Assessment Platform
13 ก.ค. 2560
0
นานาสาระน่ารู้

SciVal คือแพลทฟอร์มหรือเครื่องมือที่ออกแบบมาสำหรับ Research Performance Assessment และเพื่อการบริหารจัดการงานวิจัยเป็นหลัก พัฒนาขึ้นโดยสำนักพิมพ์ Elsevier B.V. เปิดบริการในปี 2552 ในชื่อว่า SciVal Spotlight เป็นระบบที่ใช้วัด ตรวจสอบ และติดตามสมรรถนะงานวิจัย (Research Performance) ขององค์กรวิจัยหนึ่งๆ โดยใช้ข้อมูลผลงานวิจัยตีพิมพ์ (Publications) และการอ้างอิงจากบทความวิจัยตีพิมพ์ (Citation) ในฐานข้อมูล Scopus

SciVal ทำการประมวลผลความสามารถของหน่วยงานวิจัยกว่า 4,600 แห่ง ใน 220 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สามารถติดตามและตรวจสอบความสามารถและผลงานวิจัยและวิชาการของทุกระดับภายในหน่วยงาน หรือ ระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับใช้วิเคราะห์ว่าองค์กรนั้นมีจุดเด่นงานวิจัยด้านใดบ้าง ด้วยการวัดความเป็นเลิศ (Research Excellence) หรือสมรรถนะ (Competency) ขององค์กร และสามารถเปรียบเทียบสมรรถนะระหว่างองค์กรได้ พร้อมทั้งช่วยจัดทำรายงานวิเคราะห์ความสามารถจากผลงานวิจัยและวิชาการ ในรูปแบบ Visualization matrix สำหรับหน่วยงานวิจัยหนึ่งๆ เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับผู้กำหนดนโยบาย และแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย

จากเดิมฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) ได้ศึกษา Bibliometrics ด้วยวิธีการสืบค้นหาข้อมูลภาพรวมผลงานวิจัยตีพิมพ์ สวทช. โดยตรง จากฐานข้อมูล Scopus ที่ สวทช. บอกรับเป็นสมาชิก ในครั้งนี้ STKS ได้ใช้ฐานข้อมูล SciVal จากบัญชีสมาชิกของห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่เป็นเครือข่ายพันธมิตรกับ STKS เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมผลงานวิจัยตีพิมพ์ สวทช. (สืบค้นข้อมูล ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2560)

 

รูปภาพที่ 1 แสดงโมดูลหลักของ SciVal

จากรูปภาพที่ 1 SciVal ประกอบด้วย 4 โมดูลหลัก คือ Overview, Benchmarking, Collaboration และ Reporting

 


รูปภาพที่ 2 แสดงโมดูล Overview ภาพรวมผลงานวิจัยตีพิมพ์ สวทช.

จากรูปภาพที่ 2 โมดูล Overview ประกอบด้วยข้อมูล Summary, Awarded Grants, Collaboration, Published, Viewed, Cited, Economic Impact, Society Impact, Authors และ Competencies

Summary แสดงข้อมูล Overall research performance ภาพรวมผลงานวิจัยตีพิมพ์ สวทช. ความสามารถงานวิจัยวิทยาศาสตร์ช่วง 6 ปี (2012-2017) จำนวนบทความตีพิมพ์ (Publications) 3,457 เรื่อง จำนวนการได้รับอ้างอิง (Citations) 17,531 ครั้ง จำนวนผู้แต่งบทความ (Authors) 1,543 คน Field-weighted citation impact เท่ากับ 1.06 และ Citations per publication เท่ากับ 5.1

ในส่วนของ Publications และ Authors มีสัญลักษณ์ลูกศรชี้ขึ้นและชี้ลงเป็นสีเขียวและแดง หมายความว่า ลูกศร
ชี้ขึ้นสีเขียว หมายถึง มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนลูกศรชี้ลง หมายถึง มีจำนวนลดลงจากปีก่อน

จากผลงานวิจัยตีพิมพ์ สวทช. ปี 2012-2017 จำนวน 3,475 เรื่อง มีลูกศรชี้ขึ้นสีเขียว หมายถึงจำนวน Publications ของ สวทช. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1.1% ในช่วงเวลานั้น


รูปภาพที่ 3 แสดงข้อมูล Authors

จากรูปภาพที่ 3 ข้อมูล Authors จำนวน 1,543 คน หมายถึง Authors ของ สวทช. ทั้งที่เป็น First-author และ Co-authors ในบทความวิจัยเรื่องนั้น เครื่องหมายลูกศรสีเขียวหมายถึง Authors มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 14.6% ในช่วงเวลานั้น

 
รูปภาพที่ 4 แสดงข้อมูลการอ้างอิง (Citation)

จากรูปภาพที่ 4 ข้อมูลการได้รับการอ้างอิง (Citation) มี 2 ตัวเลข คือ Field-Weighted Citation Impact และ Citation per Publication

Field-Weighted Citation Impact เป็นหน่วยวัด (Metrics) ความเข้มแข็งของบทความวิจัยค่าหนึ่งในบริการ SciVal ซึ่งให้ความหมายของ Field-Weighted Citation คือ The ratio of citations received relative to the expected world average for the subject field, publication type and publication year หมายถึง อัตราส่วนระหว่างจำนวนการอ้างอิงที่เกิดขึ้นจริง และจำนวนการอ้างอิงที่คาดว่าจะได้รับจากค่าเฉลี่ยบทความในสาขาวิชาการเดียวกัน หากค่าเฉลี่ยมากกว่าหนึ่ง แสดงว่ามีการอ้างอิงสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ตัวเลข 1.06 หมายถึง การอ้างอิงสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก

Citation per publication หมายถึง ค่าเฉลี่ยจำนวนการอ้างอิงของบทความชุดหนึ่งๆ จากจำนวน Publication 3,457 Citations 17,531 นำมาหารหาค่าเฉลี่ย Citation per publication เท่ากับ 5.1

SciVal ประมวลผลข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus มีการวิเคราะห์บทความที่ตีพิมพ์ ออกเป็นสาขาวิจัย ใน 4 Subject Clusters (Life Sciences, Social Sciences, Physical Sciences และ Health Sciences) และแบ่งย่อยออกเป็น 27 Subject Area จากจำนวนผลงานตีพิมพ์รวม 6 ปี (2012-2017) ของ สวทช. พบว่าความเชี่ยวชาญวิจัยของ สวทช. อยู่ในสาขาวิจัยหลักของศูนย์แห่งชาติ ในสาขา Engineering มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15 รองลงมาคือ สาขา Materials Science ร้อยละ 12 และ Biochemistry, Genetics and Molecular Biology ร้อยละ 10 ตามลำดับ

 


รูปภาพที่ 5 แสดง Performance Indicators

จากรูปภาพที่ 5 แสดงข้อมูล Performance ของ สวทช. ในด้านผลงานวิจัยตีพิมพ์ เทียบเคียง (Benchmark)กับค่าเฉลี่ยของประเทศ พบว่า 6 ปีล่าสุด

Outputs in Top Citation Percentiles สวทช. มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ 11.8% ของทั้งหมด อยู่ใน Top Citation List (10 Percentiles สูงสุดของแหล่งข้อมูล ที่ถูกอ้างอิง (Cited) มากที่สุด) ปริมาณมากกว่าค่าเฉลี่ยประเทศที่ 9.1%

Publications in Top Journal Percentiles สวทช. มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ 25.4% ของทั้งหมด อยู่ใน Top List
(10 Percentiles สูงสุดของ Journals ที่ถูกอ้างอิง (Cited) มากที่สุด ในขณะที่ประเทศ เฉลี่ยอยู่ที่ 19.7%)

International Collaboration สวทช. มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ร่วมกับสถาบันต่างประเทศ คิดเป็น 26.2% น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ 39%

Academic-Corporate Collaboration สวทช. มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ร่วมกับสถาบันอื่นรวมถึงบริษัท คิดเป็น 1.7% มากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ 1.3%

 


รูปภาพที่ 6 แสดง Most cited publications

จากรูปภาพที่ 6 แสดงรายการบทความวิจัยตีพิมพ์ สวทช. 5 อันดับแรก ที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด โดยบทความลำดับที่ 1 ได้รับการอ้างอิง 1,145 ครั้ง ชื่อบทความ Nuclear ribosomal internal transcribed spacer (ITS) region as a universal DNA barcode marker for Fungi บทความนี้มีผู้แต่งรวมมากกว่า 100 คน เป็นนักวิจัย BIOTEC จำนวน 6 คน คือ Jones, E.B.G., Luangsa-ard, J.J., Maharachchikumbura, S.S.N., Mongkolsamrit, S., Suetrong, S.,Tedersoo, L.ตีพิมพ์เมื่อปี 2012 ในวารสารชื่อ Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America (PNAS)

 
 รูปภาพที่ 7 Top10 Authors

 จากรูปภาพที่ 7 แสดงรายชื่อนักวิจัย สวทช. 10 อันดับแรก ที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์สูงสุด ลำดับที่ 1 คือ
ดร.สิทธิรักษ์ รอยตระกูล (BIOTEC) มีจำนวนบทความวิจัย 115 เรื่อง มีค่าการได้รับการอ้างอิง 481 ครั้ง ค่า h-index 17

 

สรุป

 SciVal คือ เครื่องมือที่มีความสามารถวิเคราะห์และสรุปข้อมูลดิบผลงานวิจัยตีพิมพ์ของหน่วยงานวิจัยหนึ่งๆ จากทั่วโลกได้อย่างอัตโนมัติ ระบบประมวลผลข้อมูลตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เช่น จำนวนบทความวิจัย (Publications) จำนวนการได้รับการอ้างอิง (Citations) รวมทั้งข้อมูล Benchmarking, Collaboration โดยการเข้าใช้ฐานข้อมูลมีค่าใช้จ่ายในการบอกรับ ทั้งนี้ สวทช. ปัจจุบันยังไม่ได้บอกรับเป็นสมาชิก

.

 

13 ก.ค. 2560
0
แชร์หน้านี้: