หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กันยายน 2563
วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กันยายน 2563
17 มี.ค. 2564
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารข่าว วิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือน กันยายน 2563

จากใจ สู่พวกเราชาว อว.

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวง วท. และ อว.
วงการวิทยาศาตร์เทคโนโลยี ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล มีการลงนาม MOU กับประเทศใหญ่ๆ ได้สำเร็จ
เดือน พฤษภาคม 2562 ได้มีการควบรวมงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กับงานด้านวิจัย และอุดมศึกษา ทำให้นักวิชาการได้มีโอกาสใช้ระบบกองทุนวิจัย เพื่อสรรสร้างงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คู่ไปกับงานการศึกษา ปี 2563 การรับตำแหน่งของ รมว.อว. ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เกิดจากการรวมหน่วยงาน 3 หน่วยงาน คือ
1) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
2) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ และ
3) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
โดยราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎหมาย 9 ฉบับในการจัดตั้งกระทรวง อว. โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนแรก และมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม เป็นปลัดกระทรวง อว. เป็นคนแรก

นโยบายการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

นโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการปฏิรูปกระทรวงใหม่ที่จะเป็นตันแบบของการปฏิรูปใน 3 เรื่อง ได้แก่
1. การปฏิรูปการบริหาร (Administrative Reform) ให้มีความเป็นระบบราชการน้อยที่สุด มีความคล่องตัว และมีการไหลเวียนของบุคลากรโดยเฉพาะที่มีสมรรถนะสูง (Talent Circulation and Mobility) ระหว่าง มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย
2. การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory reform) ให้มีการนำเรื่อง Regulatory Sandbox มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม
3. การปฏิรูปงบประมาณ (Budgeting Reform) ให้มีการจัดสรรงบประมาณในลักษณะ Block Gantt และ Multi-year Budgeting โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะต้องร่วมกันขับเคลื่อให้กระทรวงเป็น “กระทรวงแห่งปัญญา กระทรวงแห่งโอกาส และกระทรวงแห่งอนาคต”

การเสริมสร้างและพัฒนาการทำงานแบบ Agile Team

การประยุกต์ใช้ Agile Team (กพร.)
– Agile Team ควรแยกต่างหากจากโครงสร้างปกติ ของ สป.อว. ทำงานมุ่งอนาคตที่ต้อง Scenario ต้องการความสำเร็จเร่งด่วนในลักษณะ agenda base/solution base

-องค์ประกอบของ Agile Team เป็นการรวมกลุ่มคนจากกองต่างๆ เข้าด้วยกัน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก ใช้ระบบแลกเปลี่ยนพนักงานระหว่างองค์กร (Secondment) หรือใช้การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการแบบ Lateral Entry

– กำหนด Agenda ของ Agile team เพื่อให้สามารถส่งมอบงานตามเป้าหมายได้

– ผู้ปฏิบัติงานใน Agile team จะได้รับการมอบหมายงานตามภาระงาน ประเมินผลการปฏิบัติงานตาม KPI ตามข้อตกลง สามารถสะสมผลงานเป็น portfolio เพื่อใช้เลื่อนเงินเดือนและเลื่อนระดับ

– ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าทีมที่มีการบริหารงาน เงิน คน สามารถนำมาใช้เทียบประสบการณ์เพื่อประเมินและคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งประเภทบริหารได้

– ประเมินผลการปฏิบัติงานจากข้อตกลงฯ ประจำปี (Annual Performance Agreement) โดยใช้หลักการ SRAs (Strategic Result Areas) มีลักษณะการวัดเน้น Outcomes และ KRAs (Key Result Areas) มีลักษณะการวัดเน้น output

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/ost-sci-review-sep2020.pdf

 

แชร์หน้านี้: