หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกเผยแพร่ผลงานในระหว่างวารสารเข้าถึงแบบเปิด (open access journal) กับวารสารแบบดั้งเดิม (traditional journal)
สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกเผยแพร่ผลงานในระหว่างวารสารเข้าถึงแบบเปิด (open access journal) กับวารสารแบบดั้งเดิม (traditional journal)
3 ก.ย. 2561
0
นานาสาระน่ารู้

วารสารเข้าถึงแบบเปิดมีเนื้อหาให้ฟรีบนเว็บไซต์และเก็บค่าใช้จ่ายกับนักวิจัยที่จะนำผลงานมาเผยแพร่ ส่วนวารสารแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่เก็บค่าใช้จ่ายที่สูงกับผู้อ่านเพื่อเข้าถึงเนื้อหาของวารสาร

1. ความสามารถในการมองเห็น (Visibility)

เผยแพร่บทความในวารสารเข้าถึงแบบเปิดจะมีคนเห็นบทความนั้นมากกว่าเพราะมีคนมากกว่าที่สามารถเข้าถึงบทความนั้นได้  ถึงแม้ว่ายังไม่แน่นอนว่าการเพิ่มขึ้นในการดาวน์โหลดและผู้เยี่ยมชมทำให้อัตราการอ้างอิงเพิ่มขึ้นหรือไม่ การมองเห็นที่มากกว่าที่เกิดขึ้นกับการเข้าถึงแบบเปิดอาจทำให้พบผู้ร่วมงานที่มีศักยภาพง่ายขึ้น นอกจากนี้บทความจะมีให้กับครูและสาธารณชนที่ส่วนใหญ่ไม่บอกรับเป็นสมาชิกวารสารที่มีค่าสมาชิกแพง

2. ค่าใช้จ่าย

ทั้งวารสารแบบดั้งเดิมและวารสารเข้าถึงแบบเปิดมีค่าใช้จ่ายน้อยในขั้นตอน submission ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการ peer-review และ editorial แต่มีความแตกต่างในค่าใช้จ่ายหลังจาก acceptance

วารสารแบบดั้งเดิมทั่วไปเก็บค่าใช้จ่ายต่อหน้า (บ่อยๆ 100-250 ดอลลาร์ต่อหน้า) และหรือต่อรูปสี (150-1000 ดอลลาร์ต่อรูป)  อย่างไรก็ตามวารสารเข้าถึงแบบเปิดคิดค่าใช้จ่ายตามการดำเนินการบทความ

นอกจากนี้มีค่าใช้จ่ายในการบอกรับเป็นสมาชิก (subscription) บางการบอกรับเป็นสมาชิกทางวิชาการมีค่าใช้จ่ายถึง 40,000 ดอลลาร์ เพื่อการเข้าถึงบทความแบบออนไลน์ ค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ นี้อาจเป็นสาเหตุให้บางห้องสมุดยกเลิกการบอกรับเป็นสมาชิก ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายที่สูงในการบอกรับเป็นสมาชิกทำให้มหาวิทยาลัย Harvard กระตุ้นให้บุคลากรพิจารณาส่งบทความไปยังวารสารเข้าถึงแบบเปิดหรือไปยังวารสารที่มีค่าใช้จ่ายในการบอกรับเป็นสมาชิกที่สมเหตุผล

3. ชื่อเสียง

นักวิจัยบางคนไม่อยากที่จะเผยแพร่ในวารสารเข้าถึงแบบเปิดเพราะไม่เป็นที่รู้จักมากเท่าบางวารสารที่ใหญ่กว่าและมีความมั่นคงกว่า อย่างแท้จริงเหตุผลทั่วไปมากที่สุดซึ่งถูกพูดโดยผู้แต่งทางวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์สังคมสำหรับการไม่ตัดสินใจเผยแพร่ในวารสารเข้าถึงแบบเปิดคือคุณภาพของการเผยแพร่แบบเข้าถึงแบบเปิด นอกจากนี้หลายวารสารเข้าถึงแบบเปิดเป็นวารสารใหม่และยังไม่มีค่า impact factor (IF)

อย่างไรก็ตามวารสารเข้าถึงแบบเปิดที่มีค่า IF สูงมีอยู่ในหลายสาขา ในสาขาชีววิทยา วารสารเข้าถึงแบบเปิด PLOS Biology, BMC Biology และ PLOS ONE มีค่า IF เป็นที่ 1 ที่ 4 และที่ 10 ตามลำดับ ในปี 2009 ข้อมูลจากรายงานการอ้างอิงวารสาร (Journal Citation Reports) นอกจากนี้ในปีเดียวกันในสาขาคณิตศาสตร์และชีววิทยาคอมพิวเตอร์ วารสาร PLOS Computational Biology, BMC Systems Biology และ BMC Bioinformatics มีค่า IF เป็นที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ตามลำดับ

ความจริงยังคงเป็นว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยยังคงให้ความสำคัญกับวารสารที่มีชื่อเสียงเพราะการเผยแพร่ในวารสารเหล่านั้นทำให้เพิ่มโอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง และโอกาสในการได้รับทุน

4. ความเร็ว

จากการสำรวจหนึ่งพบว่าประมาณ 65-70% ของผู้แต่งทางวิทยาศาสตร์พิจารณาว่าความเร็วจาก acceptance ถึง publication มีความสำคัญมากหรือมีความสำคัญทีเดียวในการตัดสินใจว่าจะเผยแพร่ในวารสารไหน ในขณะที่ประมาณ 80-85% ของผู้แต่งเหล่านี้เชื่อว่าความเร็วจาก submission ถึง first decision มีความสำคัญมากหรือความสำคัญทีเดียวในการตัดสินใจว่าจะเผยแพร่ในวารสารไหน

อย่างแน่นอนการเผยแพร่ในวารสารที่มีการ peer-review จะเสมอทำให้เกิดการล่าช้าตั้งแต่ขั้นตอน submission ถึง acceptance และในที่สุดถึง publication นี้จะเป็นปัญหาในทางวิทยาศาสตร์คลินิก ดังเช่นการเผยแพร่ผลการศึกษาล้าหลังการทดลองที่เสร็จโดยค่าเฉลี่ย 21 เดือน การล่าช้านี้ในการเผยแพร่ข้อมูลใหม่สามารถมีผลเสียหลายอย่างกับผู้ป่วยที่กำลังรอการรักษา

ตามปกติวิธีแบบดั้งเดิมของการเผยแพร่บทความทำให้เกิดการล่าช้าที่สำคัญเนื่องจากความจำเป็นที่จะต้องรวมบทความเป็นฉบับ เก็บรวบรวมบทความที่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องเนื้อที่ เวลาที่ต้องการเพื่อพิมพ์สำเนาของวารสารและเผยแพร่

หลายวารสารเข้าถึงแบบเปิดมีการโฆษณาในคำแถลงของภารกิจว่ามีขวบนการการเผยแพร่ที่รวดเร็วกว่า เช่น วารสาร PLOS ONE มีคำแถลงว่าเร่งการเผยแพร่บทความทางวิทยาศาสตร์ที่มีการ peer-review การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ทดสอบ 135 วารสารที่มีอยู่ใน Scopus citation index และแสดงว่าเวลาตั้งแต่ขั้นตอน acceptance ถึง publication สั้นกว่าอย่างชัดเจนสำหรับวารสารเข้าถึงแบบเปิดเมื่อเปรียบเทียบกับวารสารแบบดั้งเดิม

ดังนั้นถ้าความเร็วเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจว่าจะเลือกเผยแพร่ที่ไหน วารสารเข้าถึงแบบเปิดอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

ประเด็นอื่นเพื่อพิจารณาในการตัดสินใจ

เนื่องจากมีหลายวารสารที่มีค่า IF สูงในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์คลินิก ดังนั้นการเผยแพร่ในวารสารเข้าถึงแบบเปิดจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักวิจัยในสาขาเหล่านั้น ส่วนนักวิจัยในสาขาอื่นๆ อาจหันไปเผยแพร่ในวารสารแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือ

การเข้าถึงแบบเปิดกำลังมีบทบาทมากในการเผยแพร่เนื่องจากวารสารแบบดั้งเดิมมีการนำการเข้าถึงแบบเปิดมาผสม วารสารเหล่านี้ทำให้ผู้แต่งต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มสำหรับการเข้าถึงแบบเปิดเพื่อทำให้สามารถเข้าถึงบทความได้ฟรี ตัวอย่างเช่น วารสาร PNAS เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้แต่งเป็นเงิน 1350 ดอลลาร์ (1000 ดอลลาร์ ถ้าสถาบันบอกรับเป็นสมาชิกวารสารนั้น) นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายตามปกติเพื่อทำให้บทความสามารถเข้าถึงได้แบบเปิด

ดังนั้นไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างวารสารเข้าถึงแบบเปิดและวารสารแบบดั้งเดิม การเผยแพร่ในวารสารแบบผสมที่มีค่า IF สูงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด (รวมระหว่างความสามารถมองเห็นได้สูงของวารสารเข้าถึงแบบเปิดและความเป็นที่รู้จักของวารสารแบบดั้งเดิม) 

ที่มา: Sarah Conte. Making the Choice: Open Access vs. Traditional Journals. American Journal Experts. Retrieved August 24, 2018, from https://www.aje.com/en/arc/making-the-choice-open-access-vs-traditional-journals/

3 ก.ย. 2561
0
แชร์หน้านี้: