หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ วิทย์ปริทัศน์ OHESI SCIENCE REVIEW ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2565
วิทย์ปริทัศน์ OHESI SCIENCE REVIEW ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2565
29 พ.ย. 2565
0
คลังความรู้
นานาสาระน่ารู้

วิทย์ปริทัศน์ OHESI SCIENCE REVIEW
ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2565

Metaverse คืออะไร?
Metaverse มาจากคำว่า Meta กับ Verse รวมกันความหมายว่าเป็น “จักรวาลที่อยู่เหนือจินตนาการ” หรือศัพท์บัญญัติคำไทยว่า “จักรวาลนฤมิต” Metaverse เป็นอะไรก็ได้ที่เกิดจากเทคโนโลยีและช่วยเชื่อมต่อผู้คนให้สามารถสื่อสารและทำกิจกรรมกันได้ อย่างไรก็ตาม Metaverse ยังเป็นแนวคิดในอุดมคติ ภาพรวมของ Metaverse ใกล้เคียงกับเครือข่ายอินเทอรเน็ต (World Wide web) กลายเป็นรูปแบบ 3 มิติ มีการไหลเวียนการส่งต่อธุรกิจ ข้อมูล และเครือมือการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง และสามารถใช้งานพร้อมกันเหมือนการจำลองโลกทางกายภาพให้โลกคู่ขนานรูปแบบดิจิทัล

Metaverse จะเกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยีบ้าง?
Metaverse ไม่ใช่เพียงโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ที่เปิดให้คนสื่อสารเพียงคนเดียวแต่ได้เชื่อมต่อผู้คนระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงไปสู่โลกดิจิทัล โดยอาศัยการใช้เทคโนโลยีหลายประเภท เพื่อทำกิจกรรมได้พร้อมกัน คำศัพท์ที่ปรากฏดังต่อไปนี้มีส่วนประกอบสร้าง  Metaverse ให้สมจริงและจับต้องได้มากขึ้น
Assisted Reality เทคโนโลยีผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้สามารถดูหน้าจอและโต้ตอบกับหน้าจอโดยไม่ต้องใช้มือ (hands-free) ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้คือ แว่นตาอัจฉริยะ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายให้ผู้ใช้สื่อสารและสั่งการผ่านเสียงก็จะได้ข้อมูลขึ้นสู่สายตาทันที
Augmented Reality (AR) คือการนำโลกเสมือนเข้ามาผนวกกับโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งใช้ได้บนอุปกรณ์ทั่วไปเช่น มือถือ ไอแพด หรือแท็บเล็ต ผู้ใช้งานจะเห็นเป็นภาพสามมิติที่ลอยอยู่เหนือวัตถุหรือสภาพแวดล้อมในโลกจริง ในวงการธุรกิจเริ่มมีการใช้ AR เข้ามาผสานกับการขายสินค้าบ้าง ให้เห็นชัดๆ ว่าสินค้าที่เลือกดูเป็นอย่างไร แบบไม่ต้องไปเดินเลือกถึงหน้าร้าน เช่น IKEA แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ได้ทำแอปพลิเคชันเพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองนำรูปเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากเทคโนโลยี AR ไปทดลองวางในห้องตนเองได้
Meatspace คำที่ใช้เรียกโลกทางกายภาพหรือโลกที่เราใช้ชีวิตอยู่เป็นส่วนใหญ่
Multiverse หรือ จักรวาลโลกคู่ขนานใช้เรียกแพลตฟอร์ม หรือ Community ในโลกดิจิทัลที่ทำงานอิสระจากกันและกัน เช่น Facebook, Minecraft, Instagram, Roblox, Fortnite, Discord โดยตามทฤษฎีแล้ว Metaverse สามารถถึง Multiverse เหล่านี้มาทำงานอยู่ในที่เดียวได้
NFT หรือ Non-Fungible Tokens เสมือนเครื่องยืนยันว่าใครสามารถครอบครอง ซื้อ หรือ ขาย และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ใดก็ตามที่ปรากฎอยู่ในโลกดิจิทัลเท่านั้น โดยมีเทคโนโลยีบล็อกเชนคอยกำกับความเป็นเจ้าของและป้องกันการขโมยตัวอย่าง NFT ได้แก่ ผลงานศิลปะ บัตรกีฬา ของสะสม โดย NFT สามารถซื้อขายได้โดยสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency
Virtual Reality หรือ ประสบการณ์เสมือนจริง เป็นการใช้อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงผู้ใช้งานกับโลกดิจิทัล

Metaverse มีประโยชน์อย่างไร?
     Metaverse สามารถช่วยจำลองให้เราไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้ โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต, อุปกรณ์, สมาร์ทโฟน, แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ แม้ว้าช่วงแรก Metaverse นำมาใช้ในเกมออนไลน์ แต่ภายหลังเริ่มมีการเข้าไปลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
นอกจากนี้ Metaverse 5G ยังพูดถึงอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยี 5G คือพื้นฐานสำคัญที่ช่วยเพิ่มความเร็วของอินเทอร์เน็ต และการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูง กลายเป็นยุค “Internet of Things” นำไปสู่การพัฒนาและใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น

 A.ด้านแพทย์
1. เครือโรงพยาบาลสินแพทย์ผนึกกำลัง Meta Med และ Metaverse Thailand ปฏิรูปวงการแพทย์ โดยเปิดตัวศูนย์การแพทย์ทางเลือกใหม่แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าบนโลกดิจิทัล ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Move life beyond” ให้คำปรึกษาทางการแพทย์, ห้องแล็บ (Lab), Imagine Center, ร้านขายยา สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ป่วยตอบโจทย์ความสะดวกสบายที่ให้บริการด้านการแพทย์ครบวงจร เช่น การติดตามผู้ป่วย การบริหารจัดการ ทรัพยากรของโรงพยาบาล การจัดส่งยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยในช่วงแรกจะเปิด Telemedicine Plus ให้คำปรึกษาผ่าน Metaverse ในอนาคตคนไข้จะสามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. เทคโนโลยีนี้ยังนำมาใช้รักษาสภาวะป่วยทางจิตใจหลังกระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรงหรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ของกลุ่มทหารที่ผ่านศึกสงครามมาบำบัด มีการศึกษาพบว่า วิธีบำบัดลักษณะนี้ช่วยบรรเทาอาการ PTSD ได้อย่างมีประสิทธิผล
B.ด้านวิศวกรรม
วิศวกร นักออกแบบ และสถาปนิกที่ต้องการทำงานร่วมกันได้ประโยชน์จาก metaverse เทคโนโลยี Augmented และ Virtual Reality มีประโยชน์การเปลี่ยนผ่านจากการทำงานในสำนักงานแบบเดิม วิศวกรใช้ VR และ AR เพื่อติดต่อลูกค้า แสดงแบบจำลองระยะไกล และไม่ต้องเดินทาง และมีค่ามากกว่าการโทรด้วย Zoom
C.ด้านอีคอมเมิร์ซ
ห้างสรรพสินค้าต้องปรับตัวตามสถานการณ์ เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อดึงดูดผู้บริโภค บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือ Virtual Mall
ในญี่ปุ่น ห้างสรรพสินค้าอิชิตันเปิดตัวในรูปแบบ “ห้างเสมือนจริง” จำลองจากห้างอิเซตันที่ชินจุกุ กรุงโตเกียว มีพนักงานให้บริการประจำร้านสามารถพิมพ์แชทคุยกับพนักงานได้ สิงคโปร์จัดทำโครงการ ‘IMM Virtual Mall’ ขึ้นบนระบบออนไลน์ของ Shopee เชื่อมกับร้านค้าในห้างสรรพสินค้า IMM ที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายไม่ต้องออกไปเจอผู้คนในช่วงโควิด-19
ส่วนในไทย มีความร่วมมือกันของ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ซิตี้มอลล์ กรุ๊ป จำกัด (ดิ เอ็มโพเรียม) บริษัท ทวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน) พัฒนาภาคการค้าปลีกเกิดแพลตฟอร์ม V-Avenue by AIS 5G ซึ่งถือเป็น Virtual Mall แห่งแรกของไทย โดยเชื่อมต่อโดยตรงกับมาเก็ตเพลสออนไลน์ให้สัมผัสการช้อปปิ้งที่แตกต่าง 
D.ด้านการลงทุน
ปัจจุบันมีการทำธุรกรรมบนโลกเสมือนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมใช้บริการแบบ non-face to face โดยผนวกแนวคิดการให้บริการทางการเงินบนโลกเสมือน (virtual financial services) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร เช่น บริษัท NH Investment & Securities ในเกาหลีจะเปิดตัว metaverse platform โดยมี virtual space เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ทั้งร่วมสัมมนา หรือธุรกิจธนาคาร KB Kookmin Bank ได้สร้าง Virtual Financial Town เพื่อให้บริการผ่าน avatar และ VDO chat เสมือนไปธนาคารจริง
Metaverse กับสินทรัพย์ดิจิทัล
สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกลไกสำคัญทางเศรษฐกิจใน metaverse ในโลกเสมือน งานศิลปะ ตัวละคร avatar หรือ item เกมต่างๆ ซึ่งมีเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ นอกจากนี้ คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลยังเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการใน metaverse ด้วย
E.ด้านการท่องเที่ยว
“Metaverse Seoul” เมืองเสมือนจริงแห่งแรกของโลก รัฐบาลทุ่มทุนสร้างกว่าร้อยล้านบาท เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘วิสัยทัศน์โซล 2030’ (Seoul Vision 2030) ภายใต้แนวคิด “Future Emotional City” จุดประสงค์คือการสร้างระบบนิเวศเสมือนจริง ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน วัฒนธรรม การบริการพลเมือง การท่องเที่ยว ที่แตกต่างคือ คนในเมืองสามารถเข้าถึงบริการจากภาครัฐได้ง่ายขึ้น แสดงข้อคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลได้โดยตรง นอกจากนี้ Metaverse Seoul เปิดมิติใหม่ทางด้านการท่องเที่ยวด้วยการบริการในรูปแบบ Virtual Tourist Zone ยกสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังในกรุงโซล จัตุรัสควางฮวามุน (Gwanghwamun Square) พระราชวังถ็อกซูกุง (Deoksugung Palace) และแหล่งช็อปปิ้งใหญ่และเก่า ตลาดนัมแดมุน (Numdaemun Market) จะมีการเปิดตัวเป็นทางการในต้นปี 2566

โทษและผลกระทบของ Metaverse
อย่างไรก็ตาม ‘โลกเสมือน’ หรือ ‘Metaverse’ ไม่ได้มีแต่ข้อดี แต่ยังให้โทษและสร้างผลกระทบหลายๆ ด้านด้วยเช่น
1.อาชญากรรมไซเบอร์
อาชญากรรมไซเบอร์เป็นปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตตั้งแต่มีมา แม้รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้เงินหลายล้านดอลลาร์ต่อสู้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก metaverse เป็นแนวคิดใหม่ จึงยังไม่มีระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง ทำให้เสี่ยงต่อกิจกรรมผิดกฎหมายทุกประเภท เช่น การฉ้อโกง การฟอกเงิน การแสวงประโยชน์จากเด็ก สินค้าผิดกฎหมาย การค้าบริการ และการโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งรัฐบาลยังไม่มีอำนาจมากพอที่จะต่อสู้และต่อต้านอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
2. ปัญหาการเสพติด
การเสพติดโลกเสมือน เนื่องจากดำดิ่งสู่โลกเสมือนจริง โดยผู้ใช้เด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด โดยบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าสู่ metaverse จะก่อให้เกิดอันตรายต่อพัฒนาการ ยิ่งไปกว่านั้นการใช้ชีวิตจริงยากต่อการแยกความแตกต่างระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกเสมือน เป็นการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างสมดุลให้วัยรุ่นและผู้ใหญ่ให้มีเวลาเพียงพอ ในขณะที่พยายามป้องกันพฤติกรรมเสพติด
3. ปัญหาสุขภาพจิต

การศึกษาทางจิตวิทยาระบุว่าการหมกมุ่นกับโลกดิจิทัลนี้และการแยกตัวออกจากโลกความเป็นจริงจะเพิ่มโอกาสการหย่าร้างจากความเป็นจริงอย่างถาวรและนำไปสู่อาการใกล้เคียงกับโรคจิตได้อาการซึมเศร้า เป็นความเสี่ยงสำหรับผู้เข้าร่วม metaverse และพบว่าดีกว่าชีวิตจริง ทำให้ความมั่นใจและความนับถือตนเองลดลงอาจทำให้ผู้ใช้เกิดภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรง

4. ปัญหาสุขภาพกาย

สำนักข่าว BBC รายงานว่า ‘นักพัฒนาซอฟต์แวร์และจักษุแพทย์มีความกังวลต่อการใช้แว่น VR ระยะยาว อาจทำให้เกิดอาการตาล้า (Eye Strain) และพบว่า มีอาการปวดตา ระคายเคือง ตาแห้ง ปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ บางรายมีอาการคล้ายโรคบกพร่องทางการอ่าน (Dyslexia)’ นอกจากนี้ การท่องโลกเสมือนร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว ติดแว่น VR และเก้าอี้เป็นเวลานาน นำไปสู่โรคอ้วน ออฟฟิศซินโดรม และส่งผลกระทบร่างกายอีกนับไม่ถ้วน

เปิดตัวอภิมหาโปรเจคระดับโลก Metaverse “Tranclucia”

          ดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) (T&B Media Global )  บริษัท Entertainment รายใหญ่ที่มีความรู้ ความชำนาญด้านการสร้างสรรค์ ล่าสุดได้นำบริษัทที่พัฒนาด้านเทคโนโลยีเข้าซื้อหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา (NASDAQ) ทุ่มสร้างอาณาจักรโลกเสมือน (Metaverse) “Translucia” ซึ่งเป็นโลกเสมือนสุดจินตนาการรายแรกของไทย โดย Metaverse Translucia จะเพิ่มมูลค่าให้กับสังคมและโลกธุรกิจ โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูง มาผสมผสานกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างประสบการณ์ในรูปแบบใหม่

อาชีพอนาคตไกลในยุค Metaverse

1.วิศวกรซอฟต์แวร์ AR/VR

          งานด้าน Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) กำลังมาแรง บริษัทต้องการวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีทักษะ AR/VR เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการประมวลผล ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันต่างๆ

2.ผู้จัดการผลิตภัณฑ์

ตำแหน่งนี้เป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างลูกค้าและองค์กร คอยดูแลรักษาฐานลูกค้า เพราะสินค้าและบริการเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจ จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องวิเคราะห์แนวโน้ม ประเมินสถานการณ์ จับกระแสเทรนด์และความต้องการของผู้บริโภค ต้องรู้ว่าเทคโนโลยีไหนเหมาะที่จะมาใช้กับสินค้าและบริการขององค์กรมากที่สุด มีบริษัทที่เปิดรับเช่น Snap, Google และ Oculus

3.นักออกแบบเกม 3 มิติ

แพลตฟอร์มที่ใช้สร้างวิดีโอเกม ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการสร้างเกมกำลังมุ่งสู่ศิลปินมากขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวนนักเทคโนโลยี โดยนักออกแบบเกมใน metaverse จะต้องรับผิดชอบในการออกแบบ สร้างต้นแบบ และสร้างประสบการณ์การเล่นเกม 3 มิติที่ดึงดูดผู้เล่นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทำให้การเล่นเกมถูกต้องตามกฎหมาย ปัจจุบัน เงินเดือนเฉลี่ยสำหรับนักออกแบบเกม 3 มิติในสหรัฐฯ คือ 78,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/ost-sci-review-jan2022.pdf

 

 

 

แชร์หน้านี้: