หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติเกี่ยวกับ OER ด้วย 5P
จากแนวคิดสู่การปฏิบัติเกี่ยวกับ OER ด้วย 5P
23 พ.ย. 2560
0
นานาสาระน่ารู้

5 กลยุทธ์สำคัญ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติเกี่ยวกับคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resource – OER)

Purpose (วัตถุประสงค์)

ความเข้าใจและการยอมรับของบุคลากรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการนำ OER มาใช้ คือสิ่งสำคัญ ดังนั้นการนำ OER มาใช้ จึงควรมีการพัฒนาแผนงานที่หลักแหลม “SMART plan” ซึ่งประกอบด้วย

Specific – มีความชัดเจน

Measurable – สามารถวัดผลได้

Agreed Upon – ได้รับการเห็นพ้อง

Results Focused – มุ่งเน้นผลลัพธ์และความสำเร็จ

Time Bound – มีกรอบเวลาการทำงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะวันที่ที่เป้าหมายบรรลุผล

การมีวัตถุประสงค์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ชัดเจน และหนักแน่น จะนำไปสู่กระบวนการของการทำให้ OER นั้นเกิดผล และการวัดผลกระทบของ OER ต่อการสอนและการเรียนรู้

Program (แผนงาน)

การกำหนดว่าอะไรคือแผนงานในภาพรวม หรือ ปัจจัยอะไรที่กำหนดว่าโรงเรียนจะใช้ OER และจะทำให้เกิดประโยชน์หรือสำเร็จนั้นเป็นสิ่งที่ควรคำนึง แผนงานสามารถมุ่งเน้นเนื้อหาของ OER ในบางสาขาวิชาก่อน เช่น เนื้อหาในกลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering, and Mathematics – STEM) หรือ ศิลป์ภาษา หรือเนื้อหาตามระดับชั้นเรียน เช่น ชั้นประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา

หลังจากการกำหนดแผนงานแรกแล้ว สิ่งต่อมาคือควรมีการประเมินโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี (Technology infrastructure) เพื่อตรวจสอบเรื่องนโยบายของพื้นที่ที่จะนำ OER มาใช้ เครือข่ายโทรคมนาคม และอุปกรณ์ที่จะสนับสนุนแผนการใช้เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลที่ได้วางไว้ จากนั้นคือการประเมินหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กลุ่มสาขาวิชาใดของหลักสูตรที่ต้องการถูกออกแบบหรือถูกปรับเพื่อให้การใช้เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลเป็นไปอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ควรมีการประเมินว่าเนื้อหาประเภทใดที่จะใช้ เช่น จะเป็นเนื้อหาเชิงการค้าหรือพาณิชย์ เนื้อหาที่สามารถใช้งานฟรี OER เนื้อหาที่ครูผู้สอนเป็นผู้สร้าง หรือการผสมผสานของประเภทเนื้อหาที่กล่าวมา

Process (กระบวนการ)

หลังจากที่เข้าใจวัตถุประสงค์และแผนงานสำหรับการใช้เนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดกระบวนการ หรือ วิธีการที่ครูผู้สอนและนักเรียนจะสามารถค้นหาและใช้ OER ควรมีการให้แนวทางในการนำ OER ไปใช้ในรูปแบบที่สนับสนุนเป้าหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ของพื้นที่ที่นำ OER ไปใช้

Platform (แพลตฟอร์ม)

การพิจารณาแพลตฟอร์มเพื่อจัดวางเนื้อหาและข้อมูลเมทาดาทาทั้งหมด จะต้องพิจาณาว่าเครื่องมือใดมีการใช้งานอยู่บ้าง เช่น ระบบการจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System – LMS) คลังสื่อการเรียนรู้ (Learning Object Repository – LOR) หรือ ระบบการจัดการเนื้อหา (Content Management System – CMS)

People (คน)

การจัดตั้งกลุ่มของผู้ทำงานและผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้นำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัลในพื้นที่ที่นำ OER ไปใช้ การพิจารณาการแต่งตั้งผู้จัดการโครงการสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์และหลักสูตร หรือการจัดตั้งคณะกรรมการที่จัดสรรเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัลสำหรับแผนงานที่ออกแบบและกำหนดไว้ โดยคณะกรรมการอาจรวมตัวกันในระหว่างขั้นตอนการวางแผนเพื่อทำความเข้าใจว่า OER จะถูกนำมาปฏิบัติอย่างไร

ที่มา: Wilhelm, R. (2017, November 19). A Playbook to Go Open: 5 Steps to Adopting OER [Web page]. Retrieved from https://www.edsurge.com/news/2017-11-19-a-playbook-to-go-open-5-steps-to-adopting-oer?utm_content=buffera0a78&utm_medium=social&utm_source=facebook.com&utm_campaign=buffer

23 พ.ย. 2560
0
แชร์หน้านี้: