หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ บทบาทของ Open Access ต่อ SDGs
บทบาทของ Open Access ต่อ SDGs
19 มี.ค. 2562
0
นานาสาระน่ารู้

เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สุดลงในปี 2015 องค์การสหประชาชาติ (United Nation – UN) จึงกำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี 2015 (post-2015 development agenda) ตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยประเด็นสำคัญของวาระการพัฒนาภายหลังปี 2015 คือ การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิด “ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” คาดว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030

SDGs ประกอบด้วยเป้าหมาย 17 ข้อ ดังนี้

  1. No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่
  2. Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
  3. Good Health and well-being รับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ
  4. Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
  5. Gender Equality บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง
  6. Clean Water and Sanitation รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
  7. Affordable and Clean Energy รับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย
  8. Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า
  9. Industry Innovation and Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่งถึง และสนับสนุนนวัตกรรม
  10. Reduced Inequalities ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
  11. Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  12. Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน
  13. Climate Action ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
  14. Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  15. Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
  16. Peace and Justice Strong Institutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  17. Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Jayshree Mamtora และ Prashant Pandey จาก Office of Library Services มหาวิทยาลัย Charles Darwin ประเทศออสเตรเลีย เสนอบทบาทของ Open Access (OA) หรือการเข้าถึงแบบเปิด ที่มีต่อ SDGs ทั้ง 17 ข้อ โดยเสนอว่า

  1. No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และ
    2. ด้วยการอำนวยความสะดวกการเรียนรู้
  2. Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศทางเทคนิคล่าสุด และ
    3. ด้วยการอำนวยความสะดวกการเรียนรู้
  3. Good Health and well-being รับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ
    1. ด้วยการเข้าถึงผลการวิจัยล่าสุดในวารสารทางด้านสุขภาพและการแพทย์ ทั้งสำหรับสารสนเทศทางเทคนิครวมถึงการสนับสนุนในการพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ที่เหมาะสมเกี่ยวกับสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ
  4. Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และ
    2. ด้วยการอำนวยความสะดวกการเรียนรู้
  5. Gender Equality บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง
    1. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อขยายขอบเขตและความลึกซึ้งของการอภิปรายเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง และ
    2. ด้วยสารสนเทศเพื่อการพัฒนานโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเพศ
  6. Clean Water and Sanitation รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนานโยบายและการกำหนดโครงการเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
  7. Affordable and Clean Energy รับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย
    1. ด้วยการการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนานโยบายและการกำหนดโครงการเกี่ยวกับพลังงานที่ยั่นยืน
  8. Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเชิงพาณิชย์
    2. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับนโยบายของรัฐบาล
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ และ
    4. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  9. Industry Innovation and Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่งถึง และสนับสนุนนวัตกรรม
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ และ
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศทางเทคนิคล่าสุด
  10. Reduced Inequalities ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
    1. การเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลโดยไม่คำนึงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสถานะทางการเงินสำหรับการเข้าถึงที่เท่าเทียม
  11. Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อความตระหนักหรือการรับรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม
  12. Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับความตระหนักหรือการรับรู้ปัญหาและเพื่อส่งเสริมการอภิปรายเกี่ยวกับการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานผู้กำหนดนโยบาย และ
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สำหรับการกำหนดโครงการและกลยุทธ์บรรเทาผลกระทบ
  13. Climate Action ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับความตระหนักปัญหาและเพื่อส่งเสริมการอภิปรายเกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานผู้กำหนดนโยบาย และ
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สำหรับการกำหนดโครงการและกลยุทธ์บรรเทาผลกระทบ
  14. Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับความตระหนักปัญหาและเพื่อส่งเสริมการอภิปรายเกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานผู้กำหนดนโยบาย และ
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สำหรับการกำหนดโครงการและกลยุทธ์บรรเทาผลกระทบ
  15. Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับความตระหนักปัญหาและเพื่อส่งเสริมการอภิปรายเกี่ยวกับการปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
    2. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานผู้กำหนดนโยบาย และ
    3. ด้วยการเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สำหรับการกำหนดโครงการและกลยุทธ์บรรเทาผลกระทบ
  16. Peace and Justice Strong Institutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    1. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการตระหนักและการอภิปรายเกี่ยวกับการส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก เพื่อการรายงานความโปร่งใสในโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และ
    2. ด้วยการเข้าถึงการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สำหรับการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะ
  17. Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    1. คลัง Open Access ในการสนับสนุนการริเริ่มในท้องถิ่น และ
    2. ด้วยการแบ่งปันการวิจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ที่สะท้อนการทำงานร่วมกันและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

Jayshree Mamtora และ Prashant Pandey ยังได้แนะนำบางประเด็นสำหรับห้องสมุดและสถาบันอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย เกี่ยวกับการริเริ่ม OA กับเป้าหมายระยะยาวในการสนับสนุน SDGs ประกอบด้วย

  1. การพัฒนาคลังความรู้ดิจิทัล (digital repository) เพื่อเก็บการวิจัยและข้อมูลแบบเปิด
  2. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่และการทำให้ ICTs พร้อมใช้งาน เพื่อเผยแพร่การวิจัยและข้อมูลแบบเปิดทางออนไลน์
  3. การสร้างนโยบาย OA เพื่อสั่งการการทำให้ผลการวิจัยพร้อมที่จะให้บริการ และ เพื่อบังคับใช้การปฏิบัติเกี่ยวกับ OA
  4. การส่งเสริมสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์สำหรับการเผยแพร่ผลงาน
  5. การโน้มน้าวทางการบริหารเกี่ยวกับความต้องการ คุณค่า และประโยชน์ของ OA เพื่อการได้รับการสนับสนุน
  6. การจ้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะที่จำเป็นในการทำงานกับคลังข้อมูลสถาบัน (institutional repository)
  7. การทำให้คลังข้อมูลสถาบันเป็นเรื่องง่ายสำหรับบุคลากรในองค์กรในการลงทะเบียนและเก็บผลงาน
  8. การทำงานร่วมกับสถาบัน ห้องสมุด ผู้ให้ทุนวิจัย และสำนักพิมพ์อื่นๆ ในระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่ม นโยบาย และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ OA

 

อ้างอิง

  • สหประชาชาติในประเทศไทย. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เข้าถึงจาก http://www.un.or.th/th/sdgs/
  • it24hrs. (2561, พฤศจิกายน 3). SDGn 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย UN เพื่อให้โลกดีขึ้น. เข้าถึงจาก https://www.it24hrs.com/2018/sdgs-sustainable-development-goals-un/
  • Mamtora, J., & Pandey, P. (2018). Identifying the role of open access information in attaining the UN SDGs:
    perspectives from the Asia-Oceania region. http://library.ifla.org/2110/1/205-mamtora-en.pdf
  • United Nation. Retrieved from https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/
19 มี.ค. 2562
0
แชร์หน้านี้: